วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระราชวังเดิม

พระราชวังเดิม


ภายหลังจากที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ.2310 พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ แทนกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมจนไม่สามารถบูรณะให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ การที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น สันนิษฐานว่า เนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังไพร่พล ที่พระองค์มีอยู่ในขณะนั้น ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ อยู่ใกล้ทะเลทำให้สามารถควบคุม เส้นทางเดินเรือเข้าออก มีป้อมปราการเป็นชัยภูมิที่ดี และตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ หากเพลี่ยงพล้ำก็สามารถหลบหลีกศัตรูออกสู่ทะเลได้สะดวก

(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
แผนที่พระราชวังเดิม
หลังจากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของ ป้อมวิไชยเยนทร์ เดิม (ซึ่งภายหลังได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น ป้อมวิไชยประสิทธิ์) อาณาเขตของพระราชวังเดิมในสมัยนั้น มีพื้นที่ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวัง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ทรงสร้างพระบรม มหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรี จึงได้รับการเรียกขานว่า "พระราชวังเดิม" นับแต่นั้นมา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกำหนดเขตของพระราชวังกรุงธนบุรีให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองอยู่ภายนอกพระราชวัง รวมทั้งให้รื้อตำหนักแดง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพระราชวังเดิม ไปปลูกสร้างให้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ที่ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูง ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่พระราชวังเดิม เนื่องจากพระราชวังเดิมและกรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรักษา

    พระราชวงศ์ชั้นสูงที่เคยได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้มาประทับที่พระราชวังเดิมเรียงตามรัชกาลตั้งแต่รัชกาลที่ 1 มีดังนี้

    • รัชกาลที่ 1 - เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์ ระหว่างพุทธศักราช 2325-2328
           - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ระหว่างปีพุทธศักราช 2328-2352

    • รัชกาลที่ 2 - สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ระหว่างปีพุทธศักราช 2354-2365
           - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ระหว่างปีพุทธศักราช 2366-2367

    • รัชกาลที่ 3 - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศเรศรังสรรค์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2364-2394

    • รัชกาลที่ 4 - พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ระหว่างปีพุทธศักราช 2384-2413

    • รัชกาลที่ 5 - สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2424-2443
นอกจากนี้ พระราชวังเดิมยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ ซึ่งทุกพระองค์เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ได้แก่


  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2330

  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2347

  • พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2351
ภายหลังจากที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พลเรือโทพระชลยุทธโยธินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลขอพระราชวังเดิมเพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2443 โดยทรงมีพระราชกระแสให้รักษาซ่อมแซมสิ่งที่ปลูกสร้างที่มีมาแต่เดิม ได้แก่ ท้องพระโรง, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และศาลศีรษะปลาวาฬ

โรงเรียนนายเรือ ตั้งอยู่ที่พระราชวังเดิมเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2487 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่สัตหีบชั่วคราวในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปี พ.ศ.2489 ได้ย้ายไปอยู่ที่เกล็ดแก้วก่อนจะย้ายมาตั้งที่สมุทรปราการ ในปี พ.ศ.2495 จนถึงปัจจุบัน ส่วนอาคารเดิมของโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิมนั้น กองทัพเรือได้ดัดแปลงเป็นอาคารแบบทรงไทย แล้วใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน
ท้องพระโรงกรุงธนบุรี
อาคารท้องพระโรงสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2311 พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานี อาคารนี้มีรูปทรงแบบไทย ประกอบด้วย พระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน ได้แก่ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่า ท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย อยู่ทางทิศเหนือใช้เป็นที่เสด็จ ออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีที่สำคัญมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี และพระที่นั่งองค์ทิศใต้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร อันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน กองทัพเรือได้ใช้โถงท้องพระโรงภายในพระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เป็นสถานที่ที่จัดงาน และประกอบพิธีสำคัญเป็นประจำ ส่วนพระที่นั่งขวาง ได้ใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และเป็นห้องประชุมในบางโอกาส


ป้อมวิไชยประสิทธิ์
ป้อมนี้เดิมชื่อ "ป้อมวิไชยเยนทร์" หรือ "ป้อมบางกอก" สร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สร้างขึ้นพร้อมป้อมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรงสร้างพระราชวังในบริเวณป้อมแห่งนี้พร้อมกับปรับปรุงป้อม และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันป้อมวิไชยประสิทธิ์ใช้เป็นที่ยิงสลุตในพิธีสำคัญต่างๆ และติดตั้งเสาธงเพื่อประดับธงราชนาวี และธงผู้บัญชาการทหารเรือ



ตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก
อาคารหลังนี้รูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง โดยเฉพาะประตูหน้าต่าง เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้ซ่อมแซมและดัดแปลงในช่วง พ.ศ.2367-2394 พร้อมกับให้สร้างพระตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ในรูปแบบที่สอดคล้องกับอาคารหลังนี้ ปัจจุบัน อาคารนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทางด้านการรบของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่
อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นระหว่างรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



ตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นระหว่างรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นระหว่างรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



ศาลศีรษะปลาวาฬ
อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นระหว่างรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



เรือนเขียว
อาคารหลังนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างไทยและจีน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นระหว่างรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสร้างขนานกับอาคารเก๋งคู่หลังเล็กที่อยู่ทางทิศเหนือ ส่วนหลังคาของอาคาร มีการเขียนสีตกแต่งเป็นลวดลายแบบจีน แต่กรอบหน้าต่างมีการจำหลักลายประดับแบบไทย ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 
กองทัพเรือ พระราชวังเดิม ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
 
0-2475-4117, 0-2466-9355
 
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.
- เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าเตียน
- เรือหางยาวรับจ้าง : ท่าวัดอรุณ
- เรือข้ามฟาก : ท่าเตียน - วัดอรุณ
 
กุฎีเจริญพาศน์, ป้อมวิชัยประสิทธ,ิ์ มัสยิดต้นสน, วัดเครือวัลย์, วัดโมลีโลกยาราม, วัดระฆังโฆสิตาราม, วัดราชสิทธาราม, วัดสังข์กระจาย, วัดหงส์รัตนาราม, วัดอรุณราชวราราม, สะพานเจริญพาศน์
 
ที่มาข้อมูล : http://www.wangdermpalace.com
https://www.myfirstbrain.com/AroundTheCity_View.aspx?Id=63348



Hotmail® goes with you. Get it on your BlackBerry or iPhone.