วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แต่งกายดีเสริมพลังชีวิตได้..จริงหรือ ?

แต่งกายดีเสริมพลังชีวิตได้..จริงหรือ ?
โดย แดงส์ ตักสิลา 2 เมษายน 2552 11:41 น.
       fashionhora@gmail.com
       


       ผลลัพธ์ของนิยาม "แต่งกายให้ดูดี เหมาะสม ลงตัว กับตัวตนที่ใช่คุณทุกสภาวะ" จะมีส่วนเสริมสร้างพลังความสำเร็จชีวิตแต่ละคนได้จริงหรือ ? คือคำถามและข้อสงสัยที่ผมได้รับผ่านคอลัมน์นี้มาตลอด
       
       
การแต่งกายอาจคิดว่าเป็นเพียงเพื่อปกปิดเรือนร่าง หรือแต่งตามกฎระเบียบองค์กร หรือกติกาค่านิยมสังคมกลุ่ม หรือความเชื่อส่วนตัว หรืออิทธิพลกระแสแนวนิยมต้นแบบแฟชั่น เมื่อเริ่มต้นคิดเช่นนี้ ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้ผลลัพธ์แตกต่าง เพราะเป็นการ "แต่ง เพราะต้องแต่ง" แต่มิใช่ "แต่ง เพราะควรแต่ง"
       
       เรามีภาพเชิงซ้อนบนชิ้นส่วนเครื่องแต่งกายทั้งที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม จินตนาการซ้อนภาพสไตล์แฟชั่นที่อยากแต่งบนตัวเรา และประเมินด้วยภาพรวมของภาพลักษณะที่อยากจะเป็น หรือคิดว่าน่าจะเป็น การเลือกแต่งจากชิ้นส่วนที่มี การเลือกซื้อชิ้นส่วนเพิ่ม แล้วผสมผสานใส่ให้ครบเป็นชุดเพื่อปกปิดเรือนร่าง หรืออาจแค่หยิบเอาชิ้นส่วนที่เป็นเครื่องแบบบริษัท แค่ใส่ให้ถูกระเบียบ แล้วเลือกทำผมแต่งหน้า ใส่รองเท้าถือกระเป๋า เสริมด้วยเครื่องประดับ ตามรสนิยม ค่านิยมส่วนตัว หรือกลุ่มตน โฟกัสไปที่ชิ้นส่วนเสริมตามอารมณ์ส่วนตัว มองเฉพาะมุมของสิ่งที่สะท้อนตัวตน แต่ลืมมองภาพรวมที่ไปบวกกับเครื่องแบบนั้น เมื่อยืนดูตัวเองหน้ากระจกเงา ทั้งเฉพาะจุด หรือเต็มตัว ใจมันเน้นไปที่จุดเสริม ไม่ใส่ใจหรือมองแบบชาชินเครื่องแบบที่ใส่ซ้ำ เราอาจพอใจเฉพาะจุด แต่อาจนึกไม่ถึงและไม่คาดคิดว่า ถูกคนอื่นมองเห็นภาพรวมที่ขัดแย้ง
       
       ผมมีโอกาสไปร่วมซ้อมหนีไฟที่อาคาร 30 ชั้นแถวอโศก กำหนดให้ผู้ที่ทำงานทุกชั้นทุกคนในตึกนั้น ลงบันไดหนีไฟมารวมกันที่หน้าอาคาร จากการที่ผมได้เคยเห็นสาวๆ ทีละกลุ่มย่อย ขึ้นลิฟท์ไปพร้อมกัน หลากสไตล์ หลากสีสัน แต่พอมารวมกัน ก็เลยมองเห็นอะไรที่แปลกๆ และน่าสนใจในการวิเคราะห์ตัวตนของเธอๆ

       ลองเริ่มที่กลุ่มสาวทำงานสถาบันการเงินซึ่งแปลกมากที่หันกลับมาใส่เสื้อโปโล สีสัญลักษณ์องค์กร และมีโลโก้เด่นชัด เป็นชิ้นส่วนหลักที่ดูเหมือนเป็นเอกภาพเชิงเอกลักษณ์ตัวตนองค์กร สไตล์เสื้อโปโล เป็นแนว Casual Sport ผ้ายืดหยุ่น และยืดย้วย หรือห่อเหี่ยวไปตามศักยภาพของคุณภาพเนื้อผ้า และรูปร่างผู้ใส่ ซึ่งความเหมือนด้วยแบบและสีสัน ก็เกิดผลรวมที่แตกต่างกันอยู่แล้ว จุดหนึ่ง
       
       คราวนี้ลองมองเลยจากคอเสื้อขึ้นไป ไล่ไปตามลำคอ สู่รูปหน้า และทรงผม จะพบกับความหลากหลายสไตล์การเลือกทรงผม และการแต่งหน้า ที่จะสะท้อนรสนิยมและค่านิยมตัวตนแต่ละคนได้ชัดเจน มีความแตกต่างทั้งเหมาะสมสัมพันธ์กับเจ้าเสื้อโปโลภาคบังคับต้องใส่ และขัดแย้งไปคนละทาง อีกจุดหนึ่ง
       
       ต่อไปมองผ่านลงไปด้านล่างจากชายเสื้อ พบส่วนล่างซึ่งมีทั้งกางเกงขายาว และกระโปรงหลากสไตล์ สี และลักษณะเนื้อผ้าแตกต่างกัน บางคนดูเนี้ยบได้สัดส่วน บางคนดูหลวม บางคนดูรัดติ้ว บางคนก็มีรายละเอียดตกแต่งมากมาย เช่นกันครับ มีผลบวกผลลบต่อเจ้าเสื้อโปโลเช่นกัน อีกจุดหนึ่ง
       
       ทีนี้มองต่ำไปถึงเท้า จะเห็นรองเท้าหลากสไตล์ ทั้งกึ่งแตะ มีส้นบาง ส้นสูง มีสายรัด มีรายละเอียด มีสีสันหลากหลาย สะท้อนเห็นตัวตน รสนิยม ความชื่นชอบของผู้ใส่ได้อีกมุมหนึ่ง คงไม่ต้องบอกนะครับ นึกเอาเองว่า มันจะมีทั้งที่เหมาะสม ขัดแย้ง จนกระทั่งขัดตากับเจ้าเสื้อโปโลเจ้ากรรมนายเวรนั้น

       เสื้อโปโล เป็น Dress code ที่บ่งบอกถึงความอิสระ ผ่อนคลาย สบายๆ และทะมัดทะแมง สำหรับใส่ในวาระที่ต้องการผ่อนคลาย และอยู่ในสถานที่ที่ไม่น่าจะเป็นที่ทำงานเช่นออฟฟิศ และเมื่อมีกระแสเสื้อเหลืองนำ ทำให้องค์กรมองเห็นว่า น่าจะเป็นตัวสะท้อนเอกลักษณ์ได้ ก็เลยหันมาใส่กันทั้งเมือง ผู้หญิงก็เลยอิสระผ่อนคลาย รอบเอวขยายไปตามผ้ายืด แต่งตัวเหมือนพนักงานทำความสะอาดกันทั้งเมือง
       
       เมื่อภาพรวมของสังคมคนเมืองแฟชั่นในองค์กรธุรกิจขาดความรู้ หรือหลักการในการมองภาพรวมตัวตนที่ควรจะเป็น หรือแนวทางในการปรับแต่งเติมเต็มชิ้นส่วนที่ไม่น่าจะมาเป็น Workwear Style สำหรับ Working Woman ที่ต้องสะท้อนความเป็น Career Lifestyle ให้ดูดีมีพลังได้ ก็ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ทำให้สาวออฟฟิศ ไร้พลังที่น่าเชื่อถืออย่างที่เห็นๆ
       
       HEP Lifecode จะมี 6 กลุ่มอักระรหัส ที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ภาพรวมตัวตนกลุ่ม ด้วยการมองทีละจุดด้วยแต่ละอักขระรหัส และนำเอาแต่ละอักขระรหัสมาเป็นจุดตั้งต้นในการคิดเชิงภาพ กำหนดผลลัพธ์ของภาพรวมที่ต้องการเห็นตัวเอง ทั้งการเลือกชิ้นส่วนเครื่องแต่งกายใหม่ หรือการนำเอาชิ้นส่วนเช่นเจ้าเสื้อโปโล มาเป็นตัวการหลักแล้วเลือกชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ต้องให้ผสมผสานกลมกลืนให้กลายเป็นการแต่งกาย ด้วยชิ้นส่วนหลักคือ เสื้อโปโล ให้เกิดเป็น Dress Code ว่า Business Casual หรือ Business Casual Sport ได้ ก็คงเป็นหนึ่งใน "เคล็ดลับแต่งกายเสริมพลังชีวิต 4 ตัวตน" ที่ผมจะนำเสนอใน HEP Forum ซึ่งก็มีหลายองค์กรที่ตอบรับร่วมจัดกิจกรรม
       
       ส่วนสาวๆ ที่สนใจเป็นส่วนตัว ผมก็ต้องจัดกลุ่มเชิญไปร่วมกิจกรรมที่สถาบันแดงส์ตักส์ศิลา ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นร่วมกันค้นหาคำตอบว่า "แต่งกายดีเสริมพลังชีวิตได้ จริงหรือ ? "

       http://www.manager.co.th/Lady/ViewNews.aspx?NewsID=9520000037325



Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.