วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พุทธอัจฉริยะ - ประกาศความยิ่งใหญ่แห่งพุทธปัญญา






 



From: dmgbooks@gmail.com
To: 
Subject: พุทธอัจฉริยะ - ประกาศความยิ่งใหญ่แห่งพุทธปัญญา
Date: Fri, 10 Jul 2009 15:22:19 +0700


กราบขออภัยอย่างสูง หากอีเมล์นี้รบกวนความเป็นส่วนตัวของท่าน
If you cannot read this mail, please click here

 

"พุทธอัจฉริยะ" ผลงานของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์คงศักดิ์ ตันไพจิตร ตอกย้ำอัจฉริยะแห่งพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็น "พระปัญญาธิกะพุทธเจ้า" ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ แห่งการเป็น "อัจฉริยะ" อย่างที่ไม่สามารถหาผู้ใด เทียบได้ เท่าที่ประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษย์ชาติ จะพึงจารึกไว้

"พุทธอัจฉริยะ" เปิดมุมมอง เหตุแห่งอัจฉริยะว่า "พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร" โดยยึดแนวทางแห่งวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ และผ่านการพิสูจน์จนเห็นจริงว่า หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ล้วนเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น

พระศาสดา ทรงเน้นว่า สิ่งที่พระองค์ทรงรู้นั้น มีมากมายมหาศาล เปรียบประดุจใบไม้ในป่า (เทียบได้กับธรรมชาติ หรือธรรมโดยทั่วไป) ที่พระองค์ทรงประทับอยู่ พร้อมกับสงฆ์หมู่หนึ่ง ที่ชายป่าประดู่แห่งหนึ่ง หากแต่ว่า สิ่งที่พระองค์ทรงนำมาสอนนั้น ประดุจใบไม้กำมือเดียว ในพระหัตถ์ของพระองค์ นั่นคือ "ที่สุดของธรรมชาติ" หรือ "แก่นธรรม" อันนำไปสู่การตรัสรู้ ให้ล่วงพ้นทุกข์ ได้แก่ อริยสัจจ์ 4 ปฏิจจสมุปบาท โพธิปักขิยธรรม 37


นี่แหละ คือ พระพุทธอัจฉริยะ ที่ทรงเป็นยอดแห่งอัจฉริยะ เหนือกว่าหมู่อัจฉริยะทั้งหลายในโลกนี้ ทรงเป็นสัพพัญญูผู้รู้แจ้งโลก ทรงเลือกเฟ้นแก่นธรรมมาสอนมวลมนุษย์ เพื่อให้พ้นทุกข์ ดังนั้น การสอนของพระองค์ จึงทรงเป็นไปด้วยอานุสาสนียปาฎิหารย์ นั่นคือ ทรงสอนด้วยคำสอนที่เป็นจริง (ปริยัติ) สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติ (ปฏิบัติ) ได้ผลล่วงพ้นทุกข์ได้จริง (ปฏิเวธ) เป็นอัศจรรย์ ซึ่งตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ ว่าต้องพิสูจน์ได้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์คงศักดิ์ ตันไพจิตร


"...การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความจริงทางธรรมชาติทั้งหมด เปรียบได้กับใบไม้ทั้งป่า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้ด้วย พระสัพพัญญุตญาณ หนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" เป็นหนังสือที่อธิบาย ธรรมะกับวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ (อุตุนิยาม)
และหนังสือ"พุทธอัจฉริยะ"เป็นหนังสือที่เชื่อมโยงธรรมะ กับวิทยาศาสตร์ชีววิทยา (พีชนิยาม) ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด... หนังสือเล่มนี้ จึงทรงคุณค่าอย่างยิ่ง เป็นหนังสือ ธรรมะ - แพทยศาสตร์ ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ให้กับวงการหนังสือ

พระพุทธองค์ทรงค้นพบ หลักทางพีชนิยาม แต่มิปรารถนาจะทรงสอน เพราะไม่ใช่หนทางแห่งการหลุดพ้น แต่จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในยุคกึ่งพุทธกาล ทำให้มนุษย์มีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น การนำพีชนิยาม มาเป็นพื้นฐานในการเชื่อมเข้าสู่การอธิบายเรื่องจิตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม จึงมีประโยชน์มาก และสิ่งนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วด้วยหนังสือ"พุทธอัจฉริยะ"
ทันตแพทย์สม สุจีรา

กำหนดการ

14:00 - 14:30 น.   ลงทะเบียน
14:30 – 15:00 น.
ผู้ดำเนินรายการเชิญผู้เขียนบรรยายหัวข้อ "Buddhist Genesis"
   - ศาสตราจารย์ นายแพทย์คงศักดิ์ ตันไพจิตร
    
ประธานสมัชชาพุทธแห่งมหานครเซนต์หลุยส์

15:00 - 15:45 น.
ผู้ดำเนินรายการเชิญผู้ร่วมเสวนา
   - รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล
     นักวิทยาศาสตร์
   - คุณเทพรัตน์ สงเคราะห์
    
นักอภิปรัชญา

15:45 – 16:00 น.
ถามตอบปีญหา

(*) ดำเนินรายการโดย คุณต่อ-นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล


ขอเรียนเชิญ  ร่วมบุญไถ่ชีวิตสัตว์ โดยการปล่อยปลาทุกวัน ตลอดการเข้าพรรษานี้ โดยมีกำหนด ปล่อยปลาร่วมกันอีกครั้ง
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2552 เวลา 10.00 น.
ณ วัดหอมเกร็ด (แผนที่) Photo Gallery ปล่อยปลา ครั้งล่าสุด!
สอบถามรายละเอียด คุณปลา โทร. 0 2610 2366

ร่วมบุญโอนเงินเข้าบัญชี - ออมทรัพย์/ ธ.กรุงเทพ/ สาขาเพลินจิต/ เลขที่ 205-0-408943/ ชื่อบัญชี 'ดนัย จันทร์เจ้าฉาย (ทศบารมี)' พร้อมส่งสลิป โทร. 0 2610 2345 - 6
Download คำอธิษฐานปล่อยปลา
สำรองที่นั่งกิจกรรม โทร. 0 2685 2255 (คุณสุกัญญา)

www.dmgbooks.com
สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี โทร. 0 2685 2254-5 อีเมล์ info @ dmgbooks.com



แชตออนไลน์ทันใจกับเพื่อนและครอบครัวของคุณ! Windows Live Messenger

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นาฬิกาชีวิตวิถีแห่งธรรมชาติ


นาฬิกาชีวิตวิถีแห่งธรรมชาติ

โดย หมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41

นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์
กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร
เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถส่งทอดลักษณะการทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม

Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย

ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง
จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียลและต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหวถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิตของร่างกาย

ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้นประสาทการรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น

แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน

มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้

การวิจัยนาฬิกาชีวิต
ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย
1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย

2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น.

3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ
เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท
เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท
การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น.
การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น.

4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้

5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม
การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก
ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

6. อุณหภูมิของร่างกาย
อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น.
อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น.
และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง

7. ระดับกลูโคสในเลือด
ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ไม่เปลี่ยนแปลง

ในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้

8. ระบบการขับถ่าย
ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน

การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต

คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ)

9. ระบบฮอร์โมน
ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน
ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น.
ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.)
ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง
ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน
คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด)
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน
ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด

10. ระบบสืบพันธุ์
รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่
ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง
อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอดมักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น.

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย

“มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว” คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเราสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิตนั่นเอง

**********************************************


ข้อมูลจาก นิตยาสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41


ผู้แต่ง: โดย หมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 หน้า 38-41 - dmhstaff@dmhthai.com - 21/6/2007
http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1040

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.pdc.go.th
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com