วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

เผยวิธีการทำงานของเจ้าหนอนร้าย

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11358 มติชนรายวัน


เผยวิธีการทำงานของเจ้าหนอนร้าย





นายพอล เฟอร์กูสัน นักวิจัยภัยคุกคามขั้นสูง จาก เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์หนอนอันตรายระบาดช่วงวันเมษาหน้าโง่ หรือ April Fool"s Day จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการตรวจสอบการติดต่อสื่อสารที่ใช้โปรโตคอลเพียร์ทูเพียร์ (P2P) ของหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK พบว่าการกระทำดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแหล่งที่มาบางแห่ง และค้นพบการทำงานของโค้ดบางอย่างที่สำคัญซึ่งถูกนำมาใช้จากเอกสารที่มีอยู่ย้อนหลังไปเมื่อ พ.ศ.2540

หน่วยงานที่ดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส และความช่วยเหลือด้านการวิเคราะห์จากหน่วยงานระดับชาติ SRI International เกี่ยวกับวิธีการทำงานของ WORM_DOWNAD.KK p2p ให้ความสนใจไปที่โค้ดเฉพาะในพอร์ตชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) เพื่อแพร่กระจายหนอนร้าย WORM_ DOWNAD.KK p2p

รูปที่ 1 - พอร์ตชุดคำสั่งประจำเพื่อแพร่กระจายหนอนร้าย WORM_ DOWNAD.KK p2p

โดยเฉพาะค่า "15A4E35h" - ซึ่งเป็น "hard-coded" ต้นกำเนิดสำหรับสุ่ม-หมายเลขชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) เพื่อแพร่กระจายหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด คือโค้ดนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่มันเคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ในชื่อ "raZZia" ที่พบในการแพร่กระจายชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย)



ความจริงโค้ดดังกล่าวเกือบจะแพร่กระจายเชื้อร้าย WORM_DOWNAD.KK เพื่อใช้เป็นตัวแพร่กระจายชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) โดยกำหนดว่าพอร์ตไหนจะใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารแบบเพียร์ทูเพียร์ (P2P) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย อีกทั้งผู้สร้างหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK ยังเปลี่ยนความต้องการใหม่ แทนที่จะใช้มันเพื่อพุ่งเป้าไปที่ชุดคำสั่งประจำหลัก เปลี่ยนเป็นการสุ่มตัวอย่างหาพอร์ตชุดคำสั่งเพื่อแพร่กระจายเชื้อร้ายต่อไป

รูปที่ 2 - โค้ด "1997 raZZia"

เช่นเดียวกันกับชุดคำสั่งด้านบน โดยเฉพาะค่าความสำคัญของ "15a4e35h" เป็น hard-coded ในหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการแพร่พันธุ์ ทั้งการเลือก key-gen code และ WORM_DOWNAD.KK จะใช้หลักตรรกวิทยาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด โค้ด WORM_DOWNAD.KK จะมีข้อแตกต่างเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย แต่ว่าคุณสามารถที่จะดูได้จากตารางด้านล่าง



รูปที่ 3 - ภาพแสดงตัวอย่างว่าโค้ดนี้เคยถูกใช้โดยอาชญากรใต้ดิน

รูปที่ 4 - ตัวอักษรจีนที่ไม่ชัดเจน

เป็นตัวอักษรจีนที่แปลความหมายได้ว่า "บริเวณทุ่งหญ้าที่หนาแน่น" หรือ "ต้นหญ้า, วัชพืชที่หนาแน่น" ซึ่งเป็นคำเหน็บแนมที่หมายถึงโฮสต์ทิ่ติดเชื้อร้ายเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น เครือข่ายบ็อตเน็ตขนาดใหญ่

ความจริงแล้ว 15A4E35h คือรูปแบบเลขทศนิยม 22695477 และ 15A4E35 ไม่ได้มีความหมายพิเศษสำหรับ raZZia - เพียงแต่พวกเขาเคยใช้โค้ดดังกล่าว และขณะนี้วิธีการดังกล่าวถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งโดยผู้สร้างโค้ด Conficker

นักวิจัยภัยคุกคามสรุปข้อมูลได้ว่า กลุ่มคนบางพวกซึ่งอาจจะเป็นอาชญกรไซเบอร์ หรืออีกคำหนึ่งที่เรามักจะพบ คือ Russkrainians (อาชญกรไซเบอร์ชาวรัสเซียและยูเครน) เลือกใช้ลักษณะบางอย่างของวัฒนธรรมจีน เพื่อก่อให้เกิดผลกระทบ และเกิดความเสียหายแก่ชาวจีน ขณะนี้อาชญกรไซเบอร์ชาว Russkrainians มีแนวโน้มที่จะสร้างความปั่นป่วนเพิ่มขึ้นโดยใช้สินทรัพย์ของชาวจีน (เช่น ในการจดทะเบียนโดเมน. .CN ฯลฯ) เพื่อหลอกลวงกลุ่มคนที่ไม่รู้เรื่องให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญกรไซเบอร์ดังกล่าวด้วย

พวกเรายังคงวิเคราะห์โค้ดร้ายนี้ และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในแง่ของการพยายามตรวจสอบหาข้อเท็จจริงให้แน่ชัด หรือถ้าหากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าโค้ดนี้ถูกนำกลับมาใช้โดยเหล่าอาชญากรไซเบอร์ใต้ดิน และถูกพบในสถานที่ที่ไม่ควรจะเกิด

เทรนด์ ไมโคร มีแนวทางการป้องกันข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งานออนไลน์ว่า ป้องกันโดยตรวจสอบชื่อเสียง และประวัติเว็บไซต์ (Web Reputation) สามารถวัดระดับความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนเข้าชมได้ และต้องมั่นใจว่าอัพเดทหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใหม่ ทั้งควรหมั่นอัพเดท วินโดว์ส (Update Windows) ทุกครั้งที่มีการเตือน โอกาสที่จะมีปัญหากับเวิร์มหรือไวรัสเข้ามาแทรกแซงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลง

หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe02150452&sectionid=0147&day=2009-04-15