วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

"ปักกิ่งพาราลิมปิค" ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ "ปักกิ่งพาราลิมปิค" ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/summer/2008/09/19/entry-3 ....................................................................... ผู้ส่ง "ปักกิ่งพาราลิมปิค"

มะเร็งเต้านม ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ มะเร็งเต้านม ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/summer/2008/09/21/entry-11 ....................................................................... ผู้ส่ง มะเร็งเต้านม

Klongs วิถีริมน้ำ ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ Klongs วิถีริมน้ำ ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/summer/2008/09/21/entry-12 ....................................................................... ผู้ส่ง Klongs วิถีริมน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

บทบาท 'พตท.' กับภารกิจดับไฟใต้

วันที่ 23 เมษายน 2552 เวลา 00:02 น. |
 
 
บทบาท 'พตท.' กับภารกิจดับไฟใต้
แก้ปัญหาความไม่สงบในหมู่บ้าน
สถานการณ์ความไม่สงบ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ได้เกิด "จำเลย" ทาง "สังคม" ขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มความรุนแรงของสถานการณ์ จำเลยเหล่านั้น อาทิ ชาวมุสลิมในพื้นที่ ที่ถูกมองว่า สนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ สื่อมวลชน ซึ่งถูกมองว่า เสนอข่าวด้านเดียวทำให้สังคมเห็นเพียงภาพของความโหดร้ายรุนแรง อย่างต่อเนื่อง และ จำเลยสุดท้ายคือ เจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ทหาร ที่ยังใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติการต่อประชาชน และฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งยังไม่สามารถ "เข้าใจ เข้าถึง ปัญหาอย่างแท้จริง จึงไม่สามารถดึงมวลชน" ในพื้นที่ ให้หันมาร่วมมือกับรัฐ เป็นเหตุให้ "สันติสุข" ยังไม่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
หน่วยงานหลัก ในการปฏิบัติการทั้งทางการเมือง และทางยุทธวิธี ในการสร้าง "สันติสุข" ให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ พตท. หรือ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งมี พล.ท.กสิกร คีรีศรี เป็นผู้บัญชาการ หรือ ผบ.พตท. ซึ่งตกเป็น "จำเลย" ของสังคมว่า ทำไม พตท. จึงยังไม่สามารถ "จัดการ" ดับ "ไฟใต้" ให้ได้ ทั้งที่มีการทุ่มกำลังเจ้าหน้าที่นับ 100,000 นาย พร้อมงบประมาณมหาศาล เพื่อสร้างความสงบให้เกิดขึ้น
 
โดย พล.ท.กสิกร ได้เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 3 คือการเน้นหนักงานด้านมวลชน โดยการส่งทหารชุด พัฒนาสันติ เข้าไปทำหน้าที่ ในหมู่บ้านจำนวน 217 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้าน "เป้าหมาย" โดยกำลังผสมชุด พัฒนาสันติ จะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในหมู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน ทั้งการให้ความช่วยเหลือ การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน การพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งของประชาชน และเยาวชน
 
จากการที่เราได้แก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมา 4-5 ปี เราพบข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า การที่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนสามารถขับเคลื่อนไปได้คำตอบอยู่ที่ "หมู่บ้าน" ร้านน้ำชา สถานศึกษา มัสยิด วิธีการของฝ่ายก่อความไม่สงบจะประสบความ "สำเร็จ" หรือ "ล้มเหลว" คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ "ประชาชน" ซึ่งเป็นหลักคิดเดียวกับ "เจ้าหน้าที่รัฐ" ที่ผ่านมา หนึ่งเดือนมี 30 วัน เจ้าหน้าที่รัฐอยู่กับประชาชน 1 วัน อีก 29 วัน ประชาชนอยู่กับ "แนวร่วม" ขบวนการ จึงทำให้การแก้ปัญหา ทำไม่สำเร็จ ไม่สามารถ "แยกปลาออกจากน้ำ" อย่างได้ผล เมื่อเรามีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าคำตอบอยู่ที่ "หมู่บ้าน" ภารกิจของ พทต.จึงต้องรุกคืบลงไปที่หมู่บ้าน สร้างเครือข่ายพันธมิตรกับ "มวลชน" ผ่านงาน "พัฒนา" แทนการรุกรบ        ด้วยอาวุธ โดยหัวหอกสำคัญคือ "หน่วยพัฒนาสันติ" ที่ถูกขนานนามว่า "ผู้กล้าพวกแรก วัคซีนตัวสำคัญ บ้านหลังใหญ่ใจดี เศรษฐีด้วย"
 
แม้จะมีการมองว่า สถานการณ์ความรุนแรงยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง และตัวเลขของการเกิดเหตุ จะเห็น       ว่าจำนวนการก่อเหตุลดน้อยลง เพราะ     เราสามารถควบคุมพื้นที่ ซึ่งเคย   เป็นฐานที่มั่นของแนวร่วมได้ทั้งหมด ทำให้การก่อเหตุทำ ได้ยากขึ้น ถ้าเราสามารถสร้างความมั่นใจ    ให้กับประชาชนถึงความปลอดภัย ลดความหวาดระแวง และมองเห็นความจริงใจของรัฐ เปลี่ยนทัศนคติของผู้ที่มีอคติต่อเจ้าหน้าที่และต่อรัฐ อำนวยความยุติธรรมให้กับผู้หลงผิด ให้ออกมามอบตัว เรื่องสำคัญคือเรื่อง จิตวิทยามวลชน ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำกันแค่ 3 เดือน 6 เดือน อย่างในอดีต แต่ต้องทำระยะยาวเป็น 2 ปี 3 ปี หรือมากกว่านั้นก็ต้องทำ เช่นเดียวกับงานด้านยุทธการ การตรวจค้น ติดตาม แนวร่วม กลุ่มติดอาวุธ ก่อวินาศกรรม ซึ่งหลังจากที่ เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลหมู่บ้านทั้ง 217 หมู่บ้าน การติดตาม จับกุม แนวร่วมติดอาวุธ ทำได้มากขึ้น และได้ผลที่น่าพอใจ เพราะแนวร่วม กลุ่มติดอาวุธ ไม่สามารถอาศัยมวลชน อาศัยหมู่บ้านเป็น "หลังพิง" อย่างในอดีต
 
วันนี้เราไม่มีการแบ่งสีของหมู่บ้านว่าเป็น สีแดง สีเหลือง สีเขียว มีแต่หมู่บ้านเสริมสร้างสันติสุข 217 หมู่บ้าน ในส่วนของหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ยังไม่มีความรุนแรงของปัญหา หน่วยงานอื่น ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกัน และสร้างความเข้มแข็ง ให้ผู้นำและประชาชน ในด้านการรักษาความสงบ สำหรับหมู่บ้านทั้ง 217 หมู่บ้าน ใน 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของ จ.สงขลา เราคงจะไม่ตั้งเป้าหมายว่า จะใช้ เวลาเท่าไหร่ในการสร้างสันติสุขให้เกิด        ขึ้น แต่จะมีการประเมินเป็นระยะ ๆ แต่เชื่อว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้น        ไป ในการทำให้หมู่บ้านทั้งหมดเป็นชุมชนเข้มแข็ง
 
สำหรับบทบาทของผู้นำศาสนา ซึ่งถูกมองว่า มีบทบาทมากในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น พล.ท.กสิกร กล่าวว่า พตท. ไม่เคยคิดว่าผู้นำศาสนา เช่น อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เป็นคนของฝ่ายขบวนการ หรือฝ่ายเจ้าหน้าที่ เพียงแต่ที่ผ่านมา เรายังเข้าไม่ถึงปัญหา เข้าไม่ถึงหมู่บ้าน เมื่อเราส่งหน่วยพัฒนาสันติเข้าไป ก็มีการพูดคุย สร้างความเข้าใจ ให้ความช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือ ทำให้เขาเห็นถึงความตั้งใจจริงในการสร้างความสงบสุขให้กับหมู่บ้านของเขา เรารู้หมดว่า ใครที่ไหน ทำอะไร ดังนั้นเรื่องบางอย่างอาจจะแก้ได้เร็ว บางอย่างอาจจะต้องใช้เวลา ซึ่งก็ต้องรอ เพราะปัญหาความไม่สงบ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้เกิดเมื่อปี 2547 แต่เกิดมาเป็นร้อย ๆ ปี  มีการแก้ไขปัญหากันมาโดยตลอด อยู่ ๆ จะให้สงบทันทีคงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราเชื่อมั่นว่า วิธีการที่ใช้เป็นวิธีการที่ถูกต้อง สถานการณ์จะต้องดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมจะพิสูจน์ได้เอง
 
และทั้งหมดนี้คือแนวทางของ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งเป็น  "หัวหอก" ในการแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ฝากความ "สำเร็จ" หรือ "ล้มเหลว" ในการดับ "ไฟใต้" ไว้ที่         "หน่วยสันติพัฒนา" ซึ่งก็ได้แต่เชื่อมั่นว่า ครั้งนี้ กอ.รมน.ภาคที่ 4 ส่วนหน้า คงจะเดินมาถูกทางแล้วอย่างแท้จริง.
 
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197032&NewsType=1&Template=1


Windows Live™ Hotmail®:…more than just e-mail. Check it out.

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

พิธีบูชากบ-คางคก-คันคาก ของพวกชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11365 มติชนรายวัน


พิธีบูชากบ-คางคก-คันคาก ของพวกชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ


คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



ส้วม ออกเสียงอย่างไทยๆ แต่ส่วม ออกเสียงอย่างลาวๆ นานเข้าก็ออกเสียงปนกันเป็นอย่างเดียวว่า ส้วม

ส่วม เป็นรูปดั้งเดิม ออกเสียงดั้งเดิม เป็นคำในตระกูลภาษาไทย-ลาวดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว หมายถึงห้องนอนของลูกสาว

ลูกสาวดั้งเดิมเป็นผู้สืบสกุล เป็นผู้ดูแลเรือนและที่ดิน เป็นผู้ดูแลผีเรือน จึงต้องมีห้องนอนต่างหากโดยเฉพาะ แล้วมีข้อห้ามสำคัญ คือคนนอกตระกูลเข้าห้องนี้ไม่ได้ เพราะเป็นห้องส่วนตัว

คนในกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็รักษาประเพณีส่วมเป็นห้องส่วนตัว

เมื่อไม่นานมานี้ชาวบ้านในเมือง "กุวาฮาตี" ทางเหนือของประเทศ "อินเดีย" ได้จัดงานแต่งงานอย่างยิ่งใหญ่ให้กับเจ้ากบตัวน้อย โดยหวังว่าพิธีวิวาห์นี้จะทำให้พระเจ้าประทานฝนลงมาให้หลังจากเกิดภัยแล้ง

งานนี้มีสักขีพยานกว่า 2,000 คน ที่มาร่วมฉลองให้เจ้าสาวกบ "บิจูลี" และเจ้าบ่าวกบ "บารัน" โดยในงานเลี้ยงของพิธีวิวาห์ เจ้ากบทั้ง 2 ตัว ก็จะได้กินอาหารแบบพิเศษเป็นแมลงวันและยุงอย่างจุใจ

ทางโฆษกของหน่วยราชการท้องถิ่นเปิดเผยว่าการแต่งงานในครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพื้นที่ในเมือง "กุวาฮาตี" กำลังประสบปัญหาฝนแล้งเรื้อรัง

"เราหวังว่าฝนจะตกมาตอนนี้ เพราะพื้นที่ของเราแล้งเหลือเกิน เราต้องการฝน แต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้มากไปกว่านี้" โฆษกของหน่วยราชการท้องถิ่นกล่าว (รูปและคำอธิบายจาก บางกอกทูเดย์ ฉบับวันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2552 หน้า 10)


ครั้นรับ "ห้องน้ำ" คือห้องขี้เยี่ยวอาบน้ำจากฝรั่ง เรียก Private Room หรือ Toilet ยังไม่รู้จะแปลคำฝรั่งเป็นคำไทยอย่างไร เลยเรียกห้องนั้นว่า ส่วม แล้วเพี้ยนเป็น ส้วม สืบมาถึงทุกวันนี้

ฉะนั้น ชื่อ ผาส่วม ในลาว ถ้าออกเสียงอย่างไทยๆก็คือผาส้วมนั่นแหละ แต่ลาวยังรักษาความหมายเดิมว่าส่วม หรือส้วมคือห้องหอ (เสียงกระซิบ---ที่ผาส่วม ในมติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2552 หน้า 9)

ส่วนรูปประกอบที่เอามาลงให้ดูนี้ เป็นประเพณีพิธีกรรมบูชากบศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาหมในแคว้นอัสสัมของอินเดีย มีเมืองเกาหะตีหรือกุวาฮาตีเป็นเมืองหลวง เป็นพวกพูดภาษาตระกูลไทย-ลาว เคลื่อนย้ายหนีความขัดแย้งไปจากลุ่มน้ำ สาละวินในพม่า

แคว้นอัสสัมอยู่ลุ่มน้ำพรหมบุตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย อยู่ติดกับแคว้นนาคาแลนด์ (ชนเผ่านาค) ที่มีพรมแดนติดกับพม่าและจีน ชื่ออัสสัมตรงกับคำว่า สยาม

อัสสัมและนาคาแลนด์ ยุคดึกดำบรรพ์ราว 2,000 ปีมาแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ ถือเป็นดินแดนตะวันตกสุดของสุวรรณภูมิ มีวัฒนธรรมฆ้อง คือมโหระทึกเช่นเดียวกับสุวรรณภูมิ

มโหระทึก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองกบ เพราะมีกบอยู่หน้ากลอง 4 ทิศ บางทีกบซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ของการร่วมเพศเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับพวกจ้วงในมณฑลกวางสี-กวางตุ้ง ซึ่งเป็นดินแดนตะวันออกสุดของสุวรรณภูมิ มีประเพณีบูชายัญกบเพื่อให้มีพลัง แล้วเป็นแหล่งผลิตกลองกบ

กลุ่มชาติพันธุ์สุวรรณภูมิราว 2,000-3,000 ปีมาแล้ว ล้วนบูชากบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์ที่บันดาลให้ฝนตก เช่นเดียวกับชาติพันธุ์สองฝั่งโขง ยกย่องนับถือพญาคันคาก(คางคก) ตระกูลครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกบ เป็นสัตว์ขอฝนในตำนานจุดบั้งไฟของฝนของตระกูลไทย-ลาวทั้งสุวรรณภูมิ

หน้า 21

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เพื่อการคืนดีปรองดองของคนของชาติ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11365 มติชนรายวัน


เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เพื่อการคืนดีปรองดองของคนของชาติ


โดย เสรี พงศ์พิศ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต www.lifethailand.net




สถานการณ์สังคมไทยวันนี้ทำให้คิดถึงเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อโรคเอดส์เริ่มระบาดแบบระเบิดเถิดเทิง จากการพบผู้ติดเชื้อคนแรกในปี 2527 กลายเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านในเวลาไม่ถึง 10 ปีให้หลัง ระบาดขนาดนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากลไกของรัฐไม่อาจควบคุมโรคร้ายนี้ได้

รัฐบาลสั่งให้มีโครงการพิเศษเพื่อรับมือกับโรคเอดส์ทางภาคเหนือ ซึ่งเพียง 6 จังหวัดมีผู้ติดเชื้อมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศ ในเวลาเดียวกันก็เริ่มเรียกร้องให้ชุมชน "มีส่วนร่วม" ในการควบคุมโรคเอดส์ บอกกับชาวบ้านว่า ขอให้ช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหา ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่ารัฐทิ้งชุมชน ปล่อยให้ดูแลเรื่องโรคเอดส์เอง

ก็น่าจะเข้าใจผิดหรอก เพราะชั่วนาตาปีมีแต่สั่งจากข้างบน คิดแทนชาวบ้าน ทำแทนชาวบ้านมานาน วันหนึ่งก็พบว่า กลไกของตนเอง "ทื่อ" เกินไปสำหรับการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งดูๆ แล้วน่าจะควบคุมง่ายกว่าโรคร้ายหลายชนิด เพราะรู้กันดีว่าเอดส์แพร่ได้กี่วิธี แต่ก็ไม่มีปัญญาจัดการกับปัญหานี้

ผู้เขียนขึ้นไปเชียงใหม่ในปี 2536 เป็นผู้จัดการโครงการไทยออสเตรเลียป้องกันเอดส์ภาคเหนือ โครงการที่รัฐบาลออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือไทย การที่รัฐบาลออสเตรเลียเลือกผู้เขียนทำให้หลายคนประหลาดใจไม่น้อย เพราะไม่ใช่หมอ ไม่ได้ทำงานเอดส์เป็นเรื่องเป็นราวมาก่อน ทำงานกับชุมชนมายาวนานเท่านั้น

หลายคนหายข้องใจเมื่อได้ฟังคำอธิบายของเจ้าหน้าที่รัฐบาลออสเตรเลีย รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขาที่ไปติดตามโครงการนี้ที่เชียงใหม่เมื่อพวกเขาบอกว่า ประเทศออสเตรเลียประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคเอดส์ไม่ใช่เพราะความเก่งกาจสามารถของรัฐ แต่เพราะผู้คนในชุมชนต่างๆ รวมกลุ่มกัน ผนึกกำลังกับหน่วยงานองค์กรภาคประชาสังคม กดดันให้รัฐมีนโยบายและมาตรการด้านกฎหมาย งบประมาณ กองทุน และอื่นๆ และให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันจนสามารถควบคุมโรคร้ายนี้ได้

รัฐบาลออสเตรเลียจึงเห็นว่า ความช่วยเหลือสังคมไทยเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายนี้ควรเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนมากกว่าวิธีอื่น

ไปทำงานที่ภาคเหนือ ไปเห็นสภาพของชุมชนและหมู่บ้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด จึงได้เข้าใจว่า ทำไมโรคเอดส์ถึงได้ระบาดอย่างรวดเร็วปานนั้น ได้เห็น "ความอ่อนแอ" ของชุมชนในแทบทุกด้าน

ถ้าพูดอีกแบบหนึ่ง คือ เห็นการล่มสลายของชุมชนที่กำลังเกิดขึ้นเพราะโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องทางสังคม ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งทาง "จิตวิญญาณ" เอดส์เป็นเพียงหนึ่งในปรากฏการณ์ที่แสดงออกมาเท่านั้น

วันนี้สังคมไทยกำลังเผชิญกับ "โรคร้าย" อีกโรคหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ร้ายแรงน้อยกว่าโรคเอดส์เลย คือ ความแตกแยก การแบ่งฝัก แบ่งฝ่าย ก่อให้เกิดความรุนแรงแพร่กระจายไปทั่วแผ่นดิน ตั้งแต่ในครอบครัว ไปถึงชุมชนหมู่บ้าน ชุมชนเมือง ในหน่วยงาน องค์กร สถาบัน มีการเผชิญหน้ากันทุบตี ทำร้าย ขยายตัวไปเป็นการจลาจล บ้านเมืองลุกเป็นไฟ

รัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เชื่อกันว่าจะต้องมีการปะทุขึ้นมาอีกในหลายรูปแบบอย่างแน่นอน เพราะความแตกแยกนั้นไม่ได้อยู่ที่กรุงเทพฯเท่านั้น แต่อยู่ทั่วทุกหัวระแหง และฝังรากลึกลงไปใน "วิญญาณ" ของผู้คนที่แยกตนเป็นสี เป็นพวก เป็นฝ่าย

วันนี้รัฐบาลน่าจะกลับไปศึกษาวิธีการแก้ปัญหาโรคเอดส์ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นหนึ่งในประเทศตัวอย่างที่ควบคุมโรคเอดส์อย่างได้ผล และวิธีการที่ได้ผลมากที่สุด คือ การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ของภาคประชาสังคม ของกลุ่มผู้ติดเชื้อ ซึ่งรวมตัวกันมากกว่า 600 กลุ่ม และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในทุกระดับ

กลุ่มองค์กรภาคประชาชน ภาคชุมชนเหล่านี้ร่วมมือกับภาครัฐ ภายใต้การสนับสนุนด้านนโยบายที่ดีของรัฐบาล ทำให้งานเอดส์ประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ไม่เช่นนั้น ป่านนี้จำนวนผู้ติดเชื้อในเมืองไทยน่าจะมากกว่า 3-4 ล้านคนแล้ว (ตัวเลขที่ไม่น่าจะเกินจริง ถ้าหากนึกถึงหลายประเทศในแอฟริกาที่มีผู้ติดเชื้อกว่าหนึ่งในสามของประเทศ)

ความแตกแยกในสังคมไทย คือโรคร้ายแรงระลอกสองต่อจากโรคเอดส์ คราวนี้เป็นโรคความบกพร่องทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และทางจิตวิญญาณไปพร้อมกัน (social-economic-spiritual deficiency syndrome) เป็นโรคร้ายที่รัฐไม่สามารถแก้ไข เยียวยารักษาแต่ผู้เดียวได้ และถึงเวลาที่ "ชุมชน" จะต้องลุกขึ้นมาหาทางแก้ไขปัญหา อันเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคมไทยวันนี้

เริ่มจากเครือข่ายองค์กรชุมชน องค์กรภาคประชาชน ประชาสังคม แต่ละภาคส่วนต้องระดมพลังกันขนานใหญ่ เริ่มจากเครือข่ายที่เห็นพ้องต้องกันในหลักการขั้นพื้นฐาน มีเป้าประสงค์ชัดเจนร่วมกัน จากนั้นนำเอาแกนนำเครือข่ายต่างๆ เข้ามาร่วมกันในระดับต่างๆ จนถึงระดับชาติ

วันนี้มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะร่วมมือกันรณรงค์เป็น "เครือข่ายหยุดทำร้ายไทย" ซึ่งเป็นความพยายามที่ดี แต่จะทำอย่างไรให้มีเครือข่ายที่เป็นระบบ มีโครงสร้างอย่างน้อยหลวมๆ ที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อเนื่อง จัดวาระและความสำคัญของประเด็นต่างๆ เพื่อทำการดำเนินงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ หรือเพื่อแสดง "มติ" ของประชาชนในประเด็นเฉพาะต่างๆ

อย่างไรก็ดี ถ้าจะให้เกิดความต่อเนื่องและประสิทธิภาพในระยะยาว ควรมีเครือข่ายที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการเยียวยาสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยเริ่มจากองค์กรชุมชนระดับ "รากหญ้า" ซึ่งมีสถานภาพใกล้เคียงกัน โดยเรียกให้สั้นๆ ว่า "เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง" และมีเป้าประสงค์ร่วมกันว่า ต้องการสร้างรากฐานมั่นคงให้เกิดการพัฒนายั่งยืน

ประเด็นหรือวาระเร่งด่วนที่สุดอันแรกคือ "ความปรองดองของคนในชาติ" หรือแปลว่า "ปฏิบัติการเพื่อการคืนดีของคนในชาติ" (National Reconciliation) โดยผู้แทนของชุมชนเข้มแข็งมาร่วมประชุมกันเพื่อร่วมกันหาวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการคืนดี ให้เลิกแบ่งสีแบ่งฝ่าย แบ่งภาคแบ่งพวก วิธีการระยะสั้น ระยะยาว อะไรที่ควรเสนอให้รัฐกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ เป็นกฎหมายเป็นระเบียบปฏิบัติ อะไรที่ให้ชุมชนเอง ภาคประชาชนเองเป็นผู้ดำเนินการและลงมือทำ

ทั้งหมดนี้มาจากกระบวนการเรียนรู้ และการร่วมกันพัฒนา "ยุทธศาสตร์ร่วม" (common strategy) ซึ่งมาจากแผนงานที่ต่อเนื่อง เพราะต้องเป็นกระบวนการที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ต้น ไม่ปล่อยให้ใครคนหนึ่ง หรือองค์กรหนึ่งคิดขึ้นมาแล้วไปเรียกคนมายกมือและร่วมมือ ซึ่งจะไม่เป็นไปตามแนวทางของการสร้างเครือข่ายที่ดีและมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งเพื่อการคืนดีหรือเพื่อความปรองดองแห่งชาติจะเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ในระยะยาวด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนที่มีกระบวนทัศน์เดียวกัน ที่ยืนอยู่จุดเดียวกัน มีเป้าหมายและวิธีการบนฐานคิดเดียวกัน แม้ว่าจะแตกต่างกันในรายละเอียดของวิธีการ แต่ต้องเป็นวิธีการที่ดีที่สมาชิกเครือข่ายทั้งหมดยอมรับได้

ฐานคิดเดียวกันของกระบวนทัศน์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางไปสู่การคืนดีของคนในชาติต้องมีอย่างน้อย 3 ฐาน คือ

1) ฐานแห่งธรรม ความเชื่อในหลักธรรม คุณธรรม ความเป็นธรรม ความถูกต้องดีงาม ต้องมีแนวทางที่จะทำให้ผู้คนกลับไปสู่ธรรมะของแต่ละศาสนาเพื่อให้ "ตั้งสติ" แยกความดีจากความชั่ว ความจริงจากความเท็จ ฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้คนด้วยจิตใจอันมีเมตตา ความเป็นมิตร และการให้อภัย

2) ฐานของท้องถิ่น คือสำนึกในท้องถิ่น ความภูมิใจในรากเหง้าของตนเองภูมิปัญญา เห็นคุณค่าของทรัพยากร ของทุนทางสังคม ทุนทั้งหลายอันเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพชน คนไม่มีรากเหง้าจะถูกเขาครอบงำและกำหนดอนาคตให้หมดเลย คนไม่รู้ว่าตัวเองมาจากไหนก็ไม่รู้ว่าจะไปไหน สำนึกในท้องถิ่น คือสำนึกในความเป็นตัวของตัวเอง กำหนดชะตากรรมของตนเองได้

3) ฐานทางปัญญา อันมาจากการเรียนรู้ที่ให้พลังและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ปัญญาอันมาจากการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งเชื่อมโยงกับโลกทั้งโลก ปัญญาอันมาจากการค้นพบตัวเอง ค้นพบทุนท้องถิ่น ที่ไม่ได้มีแค่เงิน ปัญญาอันมาจากการค้นพบสถานภาพของตนเองของชุมชน รู้ว่ากินอยู่อย่างไร มีรายรับรายจ่ายหนี้สินเท่าไหร่

ปัญญาที่มาจากการค้นพบปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ที่เป็นปัญญาเพราะไม่ได้ค้นพบแต่ปัญหาและความต้องการ แต่ค้นพบทางออกด้วยในเวลาเดียวกัน ทางออกที่ไม่ใช่เพียงแค่การร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐหรือภายนอก แต่มาจาก "การระเบิดจากข้างใน" ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนวิธีคิด การจัดระเบียบชีวิต อยู่อย่างมีแบบมีแผน มีเป้าหมายและหาทางพึ่งพาตนเอง

อย่างน้อย 3 ฐานนี้จะเป็นหลักให้เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งเพื่อการคืนดีแห่งชาติเกิดขึ้นและยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง และหากจะสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ในแบบ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" ของคุณหมอประเวศ วะสี ก็ยังขาดอยู่เพียงฐาน "การเมือง" เพราะมีฐานสังคมและฐานความรู้อยู่แล้ว

ฐานการเมืองในที่นี้หมายถึง 2 อย่าง อย่างหนึ่งหมายถึงการผลักดันนโยบายสาธารณะ ซึ่งกลไกของรัฐรับไปดำเนินการโดยกระบวนการต่างๆ ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทำให้เกิดการบังคับใช้อย่างจริงจัง ทำให้การดำเนินงานของเครือข่ายขยายผลสู่สังคมโดยรวมได้

อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเองและการดำเนินงานของชุมชน ซึ่งเป็นนโยบายหรือการตัดสินใจทางการเมืองด้วยเช่นเดียวกัน เพราะไม่ว่ารัฐจะดำเนินการให้เกิดนโยบายสาธารณะหรือไม่ ชุมชนก็ต้องดำเนินการด้วยตนเองอยู่ดี เพราะไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลงานนี้ต้องเป็นงานที่ชุมชนต้องทำเพื่อให้เกิดความปรองดองแห่งชาติที่มีฐานรากจากชุมชน

เหตุการณ์แดงเดือดอันไปสู่สงกรานต์เลือดทำให้เราได้เห็นพลังเงียบของชุมชนจำนวนมากในกรุงเทพฯ ซึ่งใครๆ คิดว่า คนเหล่านี้คงต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาทำมาหากิน ตัวใครตัวมัน ไม่ว่าที่ดินแดง นางเลิ้ง เพชรบุรี และที่อื่นๆ สถานการณ์บีบบังคับเอาพลังข้างในออกมาเพื่อป้องกันตนเอง

ปรากฏการณ์เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพของชุมชนมีอยู่จริง ถ้ามีเงื่อนไขที่เหมาะสมก็จะปรากฏออกมาให้เห็น

คนดีคนเก่งมีอยู่ทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ชุมชนเข้มแข็งก็มีอยู่ทุกจังหวัด และเครือข่ายของบุคคลและชุมชนก็มีอยู่ทุกภาคเช่นเดียวกัน ขาดอย่างเดียว คือ เครือข่ายของเครือข่ายเหล่านี้ เพื่อการผนึกพลัง (synergy) ให้ได้ผลเป็นทวีคูณ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ (nuclear chain reactions) ซึ่งก่อให้เกิดการแตกตัวของนิวตรอนอีกมหาศาล เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันปูพรม หน้ามือเป็นหลังมือได้

ปริมาณของคนดีคนเก่ง ชุมชนเข้มแข็ง และเครือข่ายอาจจะไม่มากมายเมื่อเทียบกับ 64 ล้านคน 8,000 ตำบล 80,000 หมู่บ้าน แต่แม่แรงเล็กนิดเดียว สามารถยกรถเพื่อเปลี่ยนยางได้ คานงัดไม่จำเป็นต้องใหญ่ก็สามารถเคลื่อนไหวสิ่งที่ใหญ่โตได้เหมือนไม้ซีกงัดไม้ซุง ถ้ามีจุดงัดที่เหมาะสมเหมือนกับที่อาร์คีเมดิสผู้ค้นคิดเรื่องฟันเฟืองและเครื่องทุ่นแรงเคยบอกไว้สมัยที่คนยังเชื่อว่าโลกแบนว่า "หาที่ยืนนอกโลกดีๆ ให้ผมสิ ผมจะงัดโลกให้ดู"

เรื่องการสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งเป็นอะไรที่ภาคประชาชนต้องดำเนินการเอง รัฐควรแค่ให้การสนับสนุน เพราะหน่วยงานของรัฐมีข้อจำกัด แค่วิธีคิดเชิงอำนาจซึ่งเป็นความสัมพันธ์แนวดิ่งก็ขัดแย้งกับแนวคิดเครือข่ายซึ่งเป็นความสัมพันธ์แนวราบ การเป็นภาคีที่เท่าเทียม (equal partnership) ที่สัมพันธ์กันอย่างเสมอภาค ที่ไม่ก้าวก่ายการบริหารจัดการของภาคี

ไม่มีการใช้อำนาจครอบงำ แต่ร่วมมือกันเพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่าง ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการขยายผลออกไปอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การ "ปูพรม" เพื่อผลทางการเมือง หรือผลทางงบประมาณ ซึ่งไม่ได้ผลที่จีรังยั่งยืน งบฯหมดก็เลิก

เครือข่ายชุมชนเข้มแข็งจะเป็นพลังสำคัญในการรังสรรค์สังคมที่เคารพความแตกต่างทางความคิดเห็นทางการเมืองและความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ศาสนา และวัฒนธรรม

สังคมประชาธิปไตยไม่ใช่สังคมที่ปราศจากความขัดแย้งหรือความแตกแยก แต่เป็นสังคมที่อยู่กับความขัดแย้งและความแตกแยกอย่างสมดุลได้ แก้ไขความขัดแย้งและความแตกแยกด้วยสันติวิธี ด้วยจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ให้เกียรติและยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพของกันและกันด้วยความจริงใจ

และพร้อมที่จะกลับสู่การคืนดีปรองดองของผู้คนในสังคมด้วยใจที่เป็นธรรม

หน้า 7
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01220452&sectionid=0130&day=2009-04-22