วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2552 เวลา 18.00-19.30 น. ณ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า มุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

พุทธเถรวาทจากเสมาหิน
โดย : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เมื่อ : 20/03/2009 04:51 PM

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ขอเชิญร่วมฟังเสวนาเรื่อง

ไทยเป็นเมืองพุทธ
และคนไทยนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท
เถรวาทเป็นอย่างไร? มาจากลังกาหรือไม่?
หาคำตอบจาก...

"พุทธเถรวาทจากเสมาหิน"


โดย
ศรีศักร วัลลิโภดม

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
ดำเนินการอภิปราย


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2552
เวลา 18.00-19.30 น.
ณ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า มุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0-2280-3340 หรือ 0-2281-1988

เว็บไซต์ http://www.lek-prapai.org

เสนอจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษดูแลการประกาศวัตถุอันตรายโดยเฉพาะ

ส.ส.ระบบสัดส่วน ปชป. เสนอจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษดูแลการประกาศวัตถุอันตรายโดยเฉพาะ
19 มี.ค.52 - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ระบุ จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ในการยกเลิกกำมะถันเป็นวัตถุอันตรายเนื่องจากมีการใช้ในภาคการเกษตร พร้อมเสนอตั้งคณะกรรมการพิเศษดูแลการประกาศวัตถุอันตรายโดยเฉพาะ
นายบรรพต ต้นธีรวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมประกาศยกเลิกพืชสมุนไพร 13 ชนิด ออกจากการเป็นวัตถุอันตรายว่า ขณะนี้ตนมีข้อสงสัยว่าจะมีความเป็นได้หรือไม่ที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย ของกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีการยกเลิกสารเคมีจำพวก กำมะถันหรือ ซัลเฟอร์ ที่มีการใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์และการป้องกันเชื้อราในภาคการเกษตรออกจากบัญชีวัตถุอันตราย อีกทั้งตนอยากเรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษมาดูแลเรื่องนี้เป็นกรณีเฉพาะ เพราะที่ผ่านมาคณะกรรมการวัตถุอันตราย ของกระทรวงอุตสาหกรรม ถูกวิพากษ์วิจารณ์การทำงานมาโดยตลอด


เกรียงไกร หอมจันทร์เทศ ข่าว / เรียบเรียง
http://www.parliament.go.th/php4/radio/temp/news6870.doc

อาสาสร้างบ้านดิน : ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้าน ณ ชุมชนบ้านฟ้าประทาน ต. ห้วยสัตว์ใหญ่ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์

สร้างบ้านดิน : ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้าน
โดย : ฝ่ายส่งเสริมการให้เพื่อสังคม มูลนิธิกองทุนไทย เมื่อ : 20/03/2009 10:26 AM
วันหยุดที่ 28-29 มีนาคม 2552 นี้ถ้าเพื่อนๆไม่ได้ไปไหน มูลนิธิกองทุนไทยอยากชวนเพื่อนๆมาร่วมกิจกรรมอาสาดีๆ “สร้างบ้านดิน : ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้าน” ชุมชนบ้านฟ้าประทาน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งทางเครือข่ายป่าชุมชนป่าละอู ร่วมกับโรงเรียนอนันต์ มีความต้องการจะต่อเติมศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นอาคารดิน 1 ชั้น ขนาด 5 x 10 เมตร ให้แล้วเสร็จ เพื่อจะเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับน้องๆ นักเรียนในโรงเรียนอนันต์ และคนในชุมชน ได้เรียนรู้วิถีชีวิติเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และการทำการเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งวิถีชีวิตแบบพึ่งตนเอง ดังนั้นการทำกิจกรรมนี้ให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว จึงต้องการแรงอาสามาช่วยกันย่ำดิน และต่อเติมอาคาร งานนี้ขอเชิญเพื่อนอาสามาร่วมกิจกรรมดีๆด้วยกันนะคะ

อาสาสร้างบ้านดิน : ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้าน

ณ ชุมชนบ้านฟ้าประทาน ต. ห้วยสัตว์ใหญ่ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์

28-29 มีนาคม 2552

***********************************************************

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2552

6.00 – 11.00 ออกเดินทางจากมูลนิธิกองทุนไทยมุ่งหน้าไป โรงเรียนอนันต์ ชุมชนบ้านฟ้าประทาน (แวะเติมพลัง ด้วยอาหารเช้าระหว่างทาง)

11.30 – 12.00 กล่าวต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเครือข่ายชุมชนป่าละอู โดย พี่หลวงแกนนำเครือข่าย อธิบายงาน และภาพรวม

12.00-13.00 ทำเอง กินเอง กับอาหารจากผักพื้นบ้าน

13.00-17.00 แบ่งงานตามถนัด ร่วมแรงร่วมใจ โดยเหล่า Give Gang และน้องๆเยาวชน พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ปฏิบัติภารกิจต่อเติม ศูนย์การเรียนรู้ ตามสไตล์บ้านดิน สองเท้าย่ำ สองมือโบก

18.00-19.30 ล้อมวงกินข้าว

20.00-21.00 กิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกับน้องๆ เยาวชน ถ่ายทอดแบ่งปันประสบการณ์จากเหล่าพี่อาสาใจดี

22.00 พักผ่อน เติมพลัง เพื่อวันใหม่

อาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2552

6.00-7.00 ล้างหน้า ล้างตา ยืดเส้นยืดสาย
7.00-8.00 เติมพลังอาหารเช้า
8.30-11.30 เก็บตกงานที่ค้างอยู่ ส่งมอบงาน ความภาคภูมิใจจากทุกแรงใจ
12.00-13.00 พี่น้องร่วมวงอาหารเที่ยงด้วยกัน
13.30-14.00 อำลาชุมชน และน้องๆ เยาวชน ชมธรรมชาติและความงดงาม สายน้ำตกป่าละอู

20.00 ถึงกรุงเทพฯ..... โดยสวัสดิภาพ กับความสุขที่เต็มเปี่ยม

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามความเหมาะสมแห่งเวลา ยืดหยุ่นตามความเป็นไปแห่งธรรมชาติ


สมทบค่าใช้จ่าย ท่านละ 1,400 บาท เพื่อเป็นค่าเดินทางไป-กลับกรุงเทพฯ-พื้นที่ทำกิจกรรม/ ที่พัก /อาหาร 4 มื้อ/ ประกันอุบัติเหตุ / อุปกรณ์

อยากเข้าร่วมทำอย่างไร

- พร้อมโอนเงินสมทบค่าใช้จ่ายท่านละ 1,400 บาท
- ชื่อบัญชีมูลนิธิกองทุนไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ เลขบัญชี 043-2 47734-4 ส่งหลักฐานการโอนเงิน และแฟกส์เอกสารมาที่ 0-2718-1850 หรือ givegang@gmail.comพร้อมเขียนชื่อ-นามสกุล และเบอร์ติดต่อกลับ หรือ โทรศัพท์บอกได้ที่ 08-5075-7906 (แอปเปิ้ล)

หมายเหตุ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับหลักฐานการโอนเงินจะติดต่อกลับหาท่านทันที เป็นการยืนยันการเข้าร่วม และจะขอรายละเอียดเพิ่มเติมในการทำประกันอุบัติเหตุให้ หากท่านส่งเอกสารแล้วไม่ได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ กรุณาติดต่อเพื่อยืนยันด้วยตนเองด้วยคะ

การเตรียมตัวอาสาสมัคร

- ของใช้ส่วนตัว และยาประจำตัว
- อุปกรณ์การนอกน เช่น ถุงนอน ผ้าห่ม เราจะนอนรวมกันที่บ้านดินของเครือข่ายชุมชนเป็นสุขป่าละอู (ทางชุมชนจัดเตรียมหมอน มุ้ง และสื่อให้) แต่ถ้าใครไม่สะดวกให้เตรียมไปเองได้
- อุปกรณ์กันแดด เช่น หมวก ครีมกันแดด เสื้อแขนยาว
- เสื้อผ้า/ชุดที่เลอะเปรอะเปื้อนได้
- ยาทากันยุง
- ต้องเป็นคนอยู่ง่าย กินง่าย สำหรับอาหารทางชาวบ้านจะเป็นผู้จัดเตรียมให้ เป็นอาหารพื้นบ้าน เน้นผักและผลไม้ปลอดสารพิษ ซึ่งเราสามารถช่วยชาวบ้านเตรียมอาหารได้
- ความพร้อมของร่างกาย และจิตใจอาสา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายส่งเสริมการให้ มูลนิธิกองทุนไทย
โทรศัพท์ 02-3144112-3 ต่อ 301 โทรสาร 02-7181850
หรือพูดคุยกับ พี่ตือ 08-1699-5557 / แอ๋ว 08-9646-8007 / แอปเปิ้ล 08-5075-7906

บอกข่าวโดย แอปเปิ้ล

ขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันความสุขด้วยการให้

มูลนิธิกองทุนไทย : เราสร้างโอกาสร่วมกัน ในการพัฒนาสังคม

ยินดีตอบทุกคำถาม ฝ่ายส่งเสริมการให้ 02-3144112-3 ต่อ 301 พี่ตือ / 302 หน่อย / หรือคุยกับ แอปเปิ้ล 085-0757906

แนะตั้งคณะทำงานสังเคราะห์ข้อมูลที่กรรมาธิการประจำรัฐสภาได้ทำการศึกษาไว้ เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการปฏิรูปการเมืองตามแนวคิดของรัฐบาล

ส.ส.ปชป.แนะนำข้อมูลที่กรรมาธิการประจำสภาได้ศึกษาไว้ประกอบการปฏิรูปการเมือง
19 มี.ค.52 - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ แนะตั้งคณะทำงานสังเคราะห์ข้อมูลที่กรรมาธิการประจำรัฐสภาได้ทำการศึกษาไว้ เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการปฏิรูปการเมืองตามแนวคิดของรัฐบาล
นายบรรพต ต้นธีรวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการปฏิรูปการเมืองตามแนวคิดของนายกรัฐมนตรีที่เสนอให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการว่า เรื่องดังกล่าวตนเห็นว่า รัฐสภามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่ามากมายต่อการปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้ อาทิ ผลงานของกรรมาธิการประจำสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่มีการศึกษาและสรุปผลงานเป็นอย่างดี ดังนั้นตนจึงเห็นว่า รัฐสภาน่าจะมีการจัดตั้งคณะทำงานชุดพิเศษเพื่อทำการสังเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ในการที่จะนำไปสู่การพัฒนาและปฏิรูปต่างๆ ตามที่รัฐบาลได้ตั้งใจที่จะดำเนินการ

เกรียงไกร หอมจันทร์เทศ ข่าว / เรียบเรียง

นายแพทย์ประสิทธิ์ เผย งบประมาณจัดซื่อจัดจ้างปลูกต้นไม้ของ กทม. ไม่ก่อประโยชน์เท่าที่ควร

นายแพทย์ประสิทธิ์ แนะ กทม.ปลูกพืชสมุนไพร
19 มี.ค. 52 - นายแพทย์ประสิทธิ์ เผยงบประมาณจัดซื่อจัดจ้างปลูกต้นไม้ของ กทม. ไม่ก่อประโยชน์เท่าที่ควร แนะควรนำไปใช้ผลักดันให้ประชาชนปลูกพืชสมุนไพรจะส่งผลประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
นายแพทย์ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตนได้เข้าไปดูงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างปลูกต้นไม้ของ กทม. แล้วเห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวมีจำนวนที่สูงขึ้นทุกปี ปีละกว่า 100 ล้านบาท แต่ต้นไม้ที่ปลูกกลับไม่มีประโยชน์เท่าทีควร จึงต้องการกล่าวฝากถึง กทม. และผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ควรนำเงินจำนวนดังกล่าวไปทำการส่งเสริมหรือผลักดันให้แต่ละเขตปลูกพืชสมุนไพรมากกว่า เพราะถือเป็นสิ่งที่คนไทยภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมาก


วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง

กมธ.พลังงาน วุฒิสภา ชี้ ประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีที่ใช้ในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นความร้อน

กมธ.พลังงาน วุฒิสภา ชี้ ประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีที่ใช้ในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นความร้อน
18 มี.ค. 52 ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา เผย หลังจัดสัมมนาเรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์:ทางรอดประเทศไทย พบ ประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีที่ใช้ในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นความร้อน ระบุ จะต้องผลักดันในการพัฒนาพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน
พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังจัดสัมมนาเรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ : ทางรอดประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยค่อนข้างช้าและไม่ทันกับภาคอุตสาหกรรม ทำให้ขาดเทคโนโลยีที่จะผลิตอุปกรณ์ที่จะใช้ในการแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานความร้อนและไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงความสามารถในด้านอุตสาหกรรม การส่งเสริมของภาครัฐ และภาคเอกชน ยังมีน้อย ทำให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์น้อย ส่งผลให้ค่าผลิตค่อนข้างแพง หาคนมาลงทุนยาก ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลควรผลักดันในเรื่องของการพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้นจึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการศึกษาวิจัย การพัฒนาผลิต ต้องพยายามที่จะสนับสนุนผู้ที่จะลงทุน
พลเอกเลิศรัตน์ กล่าวด้วยว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องการให้รัฐสนับสนุนเพิ่มขึ้นทั้งด้านการส่งเสริมให้มีการลงทุน ทั้งนี้ เห็นว่า หากทุกฝ่ายช่วยกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้คนใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างแพร่หลาย ก็จะสามารถพัฒนาศึกษาการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างจริงจัง ให้คุ้มค่ากับการใช้พลังงานที่จะต้องเตรียมทดแทนพลังงานหลักอื่น ๆ

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

140 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอถอดถอน 9 ปปช. กรณีกล่าวหาอดีตนายกฯ สมชายละเว้นปฏิบัติหน้าที่

140 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอถอดถอน 9 ปปช. กรณีกล่าวหาอดีตนายกฯ สมชายละเว้นปฏิบัติหน้าที่
18 มี.ค. 52- ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 140 คน ยื่นหนังสือขอถอดถอน 9 ปปช. ต่อประธานวุฒิสภา กรณีกล่าวหา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีสั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับ อธิบดีกรมบังคับคดี ชี้ หากปล่อยให้ ปปช.ทั้ง 9 คนทำงานต่อ อาจทำให้บ้านเมืองเสียหาย
ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังยื่นหนังสือต่อวุฒิสภาเพื่อขอให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถอดถอน กรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน ว่าจากการที่ ป.ป.ช. กล่าวหา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงยุติธรรม ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีสั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับอธิบดีกรมบังคับคดี โดยเห็นว่า ป.ป.ช. มุ่งหวังทำให้ประวัติการรับราชการของนายสมชายเสียหาย และทำลายความน่าเชื่อถือ ตลอดจนชื่อเสียงทางการเมืองของ นายสมชาย
ร.ต.ท.เชาวริน กล่าวด้วยว่า การสั่งคดีดังกล่าว ปปช.ได้แจ้งข้อกล่าวหาทุจริตต่อหน้าที่กับทั้ง 2 คน แต่กลับสั่งคดีว่าประมาทเลินเล่อ ทั้งที่ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวตั้งแต่แรก จึงถือว่าเป็นการสั่งคดีที่ไม่ชอบธรรม อีกทั้งที่ผ่านมาส.ส.พรรคพลังประชาชนได้ลงชื่อยื่นถอดถอน ป.ป.ช.ทั้ง 9 คนแล้ว แต่ถูกยุบพรรคก่อน ประกอบกับมีคนมาติดต่อไม่ให้ดำเนินการยื่นถอดถอน ควรให้โอกาส ปปช.ทำงานก่อน แต่เมื่อ ปปช.แจ้งข้อกล่าวหา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และฟ้องพล.ต.ท .สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น.ทั้งทางวินัยและคดีอาญา ซึ่งทำให้วงการตำรวจทั่วประเทศไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นหากปล่อยให้ทั้ง 9 คนทำงานต่อไปบ้านเมืองจะเสียหาย ไม่มีความยุติธรรม สันติสุขก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องยื่นถอดถอนเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป


อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

ขอให้การบินไทยศึกษาผลกระทบการย้ายจากดอนเมืองไปสุวรรณภูมิให้รอบคอบ

กมธ.กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญฯ สผ.ขอให้การบินไทยศึกษาผลกระทบการย้ายจากดอนเมืองไปสุวรรณภูมิให้รอบคอบ
20 มี.ค. 52 รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เผย หลายกลุ่มไม่เห็นด้วยหากจะย้ายการบินไทยไปรวมที่สุวรรณภูมิ ชี้ ขอให้ศึกษาผลกระทบให้รอบคอบ ระบุ หากย้ายไปจริง ขอให้รัฐดูแลสายการบินที่เหลือที่ดอนเมือง
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังการพิจารณาเรื่องการย้ายการให้บริการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิว่า กมธ.ได้เชิญรองปลัดกระทรวงคมนาคม ตัวแทนการบินไทย นกแอร์ และวันทูโก มาร่วมหารือ โดยเห็นว่า นโยบาย Single Airport ที่จะย้ายเที่ยวบินที่ดอนเมืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ ได้รับการคัดค้านจากสหภาพแรงงาน และทำให้การเดินทางของประชาชนที่ใช้บริการไม่สะดวก ดังนั้น จึงอยากขอให้การบินไทยได้ศึกษาถึงผลกระทบให้รอบคอบ และรัฐควรดูแลสายการบินที่เหลือ โดยไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น กกต.แทนตำแหน่งที่ว่าง 14 คน

มีผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น กกต.แทนตำแหน่งที่ว่าง 14 คน
20 มี.ค. 52 ประธานคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง เผย มีผู้สนใจมาสมัครเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ถึง 14 คน เตรียมส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและส่งกลับมายังวุฒิสภา 26 มี.ค. นี้
นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง กล่าวถึงการเปิดรับสมัครผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้งแทนนายสุเมธ อุปนิสากร ว่า หลังจากเปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 13-19 มีนาคม ที่ผ่านมา มีผู้มาสมัครถึง 14 คน ซึ่งประกอบไปด้วย
1.นายวิมุติ บัวจันทร์ ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสมุทรสาคร
2.รศ.อำไพ อินทรประเสริฐ รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
3.นายศักดา มหานันทโพธิ์ กรรมการการเลือกตั้งจังหวัดอ่างทอง และทนายความอิสระ
4. ร้อยตรีวิจิตร อยู่สุภาพ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯ ข้าราชการบำนาญและทนายความอิสระ
5. พล.ร.อ. วิชัย ยุวนางกูร อดีตรองผู้บัญชาการทหารเรือ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
6. พ.ต.ท.สุภัทรพงษ์ กิจนิธี ทนายความ
7. พล.อ.อ.วัลลภ มีสมศัพท์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ
8. พล.ต.ท.ธวัชชัย จุลสุคนธ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการการเลือกตั้ง
9. นางอารีย์ อึ้งจะนิล อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี
10. นายพีระพงษ์ ไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
11. นายพันธ์ศักดิ์ ศรีทรัพย์ นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ วุฒิสภา
12. พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ ข้าราชการบำนาญ
13. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น ข้าราชการบำนาญ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. และอดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ
14. นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมหาสารคาม
ทั้งนี้ คณะกรรมการการสรรหากรรมการการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง จะจัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและส่งข้อมูลกลับมาภายในวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552 เพื่อที่จะทำการลงมติเพื่อเลือกผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งให้เหลือจำนวน 1 คน ในการประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ครั้งที่ 2 ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552 เวลา 09.30 น.เพื่อเสนอรายชื่อต่อประธานวุฒิสภาต่อไป

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

วันที่ 23-24 มีนาคม 2552 ณ ห้องบุหงา โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพมหานคร

กมธ.กีฬา วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการวาระแห่งชาติ
20 มี.ค. 52 ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา เผย จะจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการวาระแห่งชาติ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย” หวัง ศึกษาเปรียบเทียบการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพในต่างประเทศและระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อเสนอแนวคิดในการพัฒนารูปแบบฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย 23-24 มี.ค. นี้
นายวรวุฒิ โรจนพานิช ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา กล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการวาระแห่งชาติ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย” ว่า การประชุมดังกล่าวจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2552 ณ ห้องบุหงา โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพในต่างประเทศโดยระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อเสนอแนวคิดในการพัฒนารูปแบบฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย
นายวรวุฒิ กล่าวด้วยว่า ตนจะบรรยายพิเศษเรื่อง “ความเห็นและแนวทางการพัฒนาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย” และจะมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “ความร่วมมือด้านการพัฒนาฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ระหว่างบริษัทพรีเมียร์ ลีก จำกัด ของประเทศอังกฤษกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย” โดย ประธาน บริษัท พรีเมียร์ลีก จำกัด ของประเทศอังกฤษ จะมาร่วมบรรยายด้วย

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

23 มี.ค. 2552 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 310 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 เวลา 08.30-15.00 น.

กมธ.ท่องเที่ยว วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง “มาตรการในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว” วันจันทร์นี้
20 มี.ค. 52 ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา จะจัดเสวนาเรื่อง “มาตรการในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว” หวัง หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 23 มี.ค. นี้
นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2552 กรรมาธิการจะร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหากฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว จัดเสวนาเรื่อง “มาตรการในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการเสวนาดังกล่าวจะจัดขึ้น ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 310 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 เวลา 08.30-15.00 น.
ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว กล่าวด้วยว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือเป็นกลไกหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนเงินตราในระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล ทั้งนี้ การจัดเสวนาดังกล่าวจะมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อเรื่องดังกล่าว โดย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมโรงแรมไทย ผู้แทนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว ผู้แทนสภาหอการค้าไทย ผู้แทนสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

23 มี.ค.เวลา 09.00-15.00 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

กมธ. วุฒิสภา จัดสัมมนาเรื่อง “งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับประเทศไทย”
20 มี. ค. 52 คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา จะจัดสัมมนาเรื่อง “งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับประเทศไทย” หวัง นำข้อมูลไปจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อวุฒิสภาและหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย 23 มี.ค.นี้
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวถึงการจัดสัมมนา เรื่อง “งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับประเทศไทย” ในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2552 ว่า คณะกรรมาธิการต้องการหาแนวทางในการจัดทำและการบริหารจัดการงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีความรู้ความเข้าใจถึงที่มาของวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก ตลอดจนการจัดทำงบประมาณและมาตรการของประเทศต่าง ๆ เพื่อรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
นายจิตติพจน์ กล่าวด้วยว่า การจัดสัมมนาดังกล่าวจะมีขึ้นระหว่างเวลา 09.00-15.00 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 โดยมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงมาร่วมอภิปราย อาทิ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยมี นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ ดำเนินรายการ

อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง

ไปร่วมงานบรรจุอัฐิสหายดงมูล 8 มีนาคม 2552

http://www.oknation.net/blog/arunprapa/2009/03/22/entry-1
ไปร่วมงานบรรจุอัฐิสหายดงมูล 8 มีนาคม 2552

เมื่อไหร่ควรวิ่ง..อยู่นิ่ง ๆ ระวังพรุน!!
http://www.oknation.net/blog/arunprapa/2008/10/11/entry-1

บทเพลงแห่งเดือนตุลา
http://www.oknation.net/blog/arunprapa/2008/10/05/entry-1

กบข.เจ๊ง ..ถึงคิว สหกรณ์ เตรียมตัวตาย

http://www.oknation.net/blog/kaenta/2009/03/21/entry-1
กบข.เจ๊ง ..ถึงคิว สหกรณ์ เตรียมตัวตาย

สาวนักแชท..โปรดระวัง...อาจตกเป็นเหยื่อสวาท..
http://www.oknation.net/blog/rutdy/2007/08/08/entry-1

ชมวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ... วัดจำลองพระราชวังปักกิ่ง
http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/03/20/entry-1

ชมวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ... วัดจำลองพระราชวังปักกิ่ง (ตอนที่ 2)
http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/03/22/entry-1

ศิลปะนู้ดขึ้นปกหนังสืองานศพพญาอินทรีแห่งสวนอักษร
http://www.oknation.net/blog/acharawadee/2009/03/22/entry-1

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552 เวลา 13.30 - 15.30 น. ณ หอประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ถนนเพลินจิต

บริษัท โกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรเทด จำกัด หรือ SRAN จับมือ บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด และบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “ไทยช่วยไทย ไอทีคุ้มค่า ใช้ SRAN คุ้มครอง” เพื่อกระตุ้นตลาด IT Security และมอบสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าและองค์กรทั่วไป ให้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการด้าน IT Security แบรนด์ไทยที่มีคุณภาพและคุ้มค่า ต่อการลงทุน อีกทั้งยังเป็นการรักษาระดับการให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศในยุครัดเข็มขัด ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552 เวลา 13.30 - 15.30 น. ณ หอประชุมพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ถนนเพลินจิต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 610 2364-5 ปิยวรรณ ศรีวัย

วันพุธที่ 25 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 3 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร

การพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเพื่อส่งเสริมให้มีจิตสาธารณะหรือจิตอาสานั้นเกิดจากการเรียนรู้ศึกษาซึ่งประกอบด้วยสองส่วน คือ หนึ่งการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือในตำราเรียน สองเรียนรู้นอกห้องเรียนเรียนรู้จากสังคม จากประสบการณ์ที่ผ่านการลงมือทำได้เห็นข้อเท็จจริงถึงปัญหาจากการลงมือทำ การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาของเด็กและเยาวชน คือโรงเรียน การปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกต่าง ๆ เพื่อหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเติบโตไปเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าช่วยเหลือสังคมในอนาคต
ปัจจุบันพบว่า เด็กและเยาวชนจำนวนมากในสถานศึกษาที่มีความตั้งใจทำดีเพื่อสังคม แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ติดต่อใคร โรงเรียนก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันในเรื่องของการขาดพื้นที่ทำความดีสำหรับเด็กนักเรียน ขาดพื้นที่ที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนที่จะทำอย่างไรจึงจะขับเคลื่อนสิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นได้ในสังคม โดยปกติแล้วเด็กมีวิสัยทัศน์ ที่ต้องการพี่เลี้ยง เพิ่มเติมความรู้ ความสามารถ ในการแนะนำและให้คำปรึกษา ทำให้เด็กและเยาวชน มีเครื่องมือในการปฏิบัติงาน มีความมั่นใจอีกระดับในการปฏิบัติหน้าที่ โดยที่ไม่ต้องไปเริ่มต้นจากศูนย์ เป็นการลดต้นทุนในการทำงาน และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานนำไปสู่เป้าหมายและขยายเครือข่ายตามที่เด็กและเยาวชนต้องการอย่างยั่งยืน
มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จึงร่วมมือกับโรงเรียนและโรงพยาบาล สร้างสรรค์งานในรูปแบบ “’งานอาสาสมัคร” เพื่อเข้าไปสนับสนุนการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาขยายผลเครือข่ายการทำงานจิตอาสาสู่สังคมแบบยั่งยืนต่อไปเพื่อเป็นการสนับสนุนงานจิตอาสาของเยาวชนไทย มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับองค์กรเครือข่าย กำหนดจัดเวทีพลังเยาวชนจิตอาสา “สร้างสุข” สานสัมพันธ์จากสถานศึกษาสู่โรงพยาบาล วันพุธที่ 25 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 3 โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร (รายละเอียดตามกำหนดการ)
ในฐานะที่ท่านสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารอันเป็นประโยชน์สู่สาธารณชนในวงกว้าง จึงขอเรียนเชิญเข้าร่วมงานตามวันและเวลาดังกล่าว

ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล
หมายเหตุ : สื่อมวลชนสามารถแจ้งชื่อเข้าร่วมงานได้ที่ คุณวารุณี บุญสงค์ โทร.0-2270-1350-4 มือถือ 08-9684-2052

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 – 15:00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เตรียมรับมือกับการบริหารบุคลากรในภาวะวิกฤต ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมืออาชีพ ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ “เคล็ด (ไม่) ลับกับการบริหาร ‘ฅ’ คน” และ “เคล็ด (ไม่) ลับกับการจ้างคนดีที่สุด” ในงานมหกรรม Happy Workplace Forum II 2009 : วิถีแห่งความสุขในภาวะวิกฤต ร่วมเสวนาโดย คุณสุชาดา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา อดีตนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คุณสาธินี โมกขะเวส กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ดำเนินรายการโดย คุณวิชัย วรวนาวงศ์ ผู้ดำเนินรายการ CEO VISION คลื่นความคิด FM 96.5 MHz ในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13:00 – 15:00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี โทร. 0-2685-2254-5 และ www.dmgbooks.com

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
สุรีรัตน์ ปานพรม / ปัทมา วัฒนาพรินทร
โทรศัพท์ 02-610-2367 / 2377

26 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 – 13.30 น. ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี ชั้น 7 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดการโครงการความเคลื่อนไหวเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติฯ
เวทีสังเคราะห์และบูรณาการความรู้
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ :
สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนโยบายอย่างมีส่วนร่วม
เวลา 08.30 – 13.30 น. วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552
ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี ชั้น 7 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.10 น. เกริ่นนำโครงการจีเอ็นเอชฯ
09.10-10.00 น. ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนา การประสานระบบคุณค่า จริยธรรม วัฒนธรรมกับเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
10.00-10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15-12.00 น. กรณีศึกษาบทบาทของสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้ไปพ้นจากผลผลิตมวลรวมประชาชาติ
• ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) “ICT เครื่องมือเพื่อสร้างความสุขให้คนด้อยโอกาสในสังคม”
• คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา “การใช้สื่อสารสนเทศในการเคลื่อนไหวทางสังคม และในโครงการความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม”
• คุณสุเทพ วิไลเลิศ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ “บทบาทของวิทยุชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชน”
• คุณสุนิตย์ เชรษฐา Change Fusion “นวัตกรรม ICT เพื่อสังคม”
• คุณชิดพงษ์ กิตตินราดร เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ "การส่งเสริมเสรีภาพในการแบ่งปันต่อยอดสื่อสร้างสรรค์บนโลกออนไลน์"
• ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ
12.00 – 12.25 ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
12.25 – 12.30 พิธีปิด
12.30 – 13.30 รับประทานอาหารกลางวัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

ขอเชิญเข้าร่วมงาน Music for Children 2nd Play and Learn Plearn Music
โดย : โรงเรียนเพลินพัฒนา เมื่อ : 19/03/2009 01:44 PM
เนื่องด้วยโรงเรียนเพลินพัฒนา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเต็มศักยภาพแห่งวัย ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา โดยคำนึงถึงการพัฒนาทักษะชีวิต และทักษะทางสังคมควบคู่กันไป ด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย ซึ่งหน่วยวิชาดนตรีชีวิต เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์การเรียนรู้และฝึกฝน ผ่านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กๆ ทางโรงเรียนเพลินพัฒนา จึงได้จัดงาน Music for Children 2nd Play and Learn Plearn Music เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล และระดับประถมศึกษา ในการแสดงความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ ให้ผู้ปกครอง คุณครู และผู้ใหญ่ที่เฝ้ามองการเติบโตของพวกเขาได้ร่วมชื่นชมชื่นใจ ซึ่งจัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. การแสดงของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล

เวลา ๑๘.๓๐ – ๒๐.๓๐ น. การแสดงของนักเรียนระดับชั้น ๓ และชั้น ๖

อนึ่ง การแสดงทั้งหมดเป็นการนำกิจกรรมที่เด็กๆ เรียนรู้ในหน่วยวิชาดนตรีชีวิต ตามแนวทางการเรียนการสอนดนตรีแบบ Orff Schuwerk มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่เชื่อมประสานศาสตร์แห่งการแสดงทั้ง ๕ อันประกอบด้วย ๑.นาฏกรรม ๒.การบรรเลง ๓.การขับร้อง ขับขาน ๔.กวีนิพนธ์ และ๕.ศิลปะการละคอนที่สนุกสนาน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาเข้าร่วมงานและเผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจในสื่อของท่านตามความเหมาะสม


ผู้ประสานงาน : ดวงกมล พลเยี่ยม ๐๘๙-๐๖๖๖๑๔๔

วันพุธที่ 8 เมษายน 2552 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.30 น. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เสวนาเพื่อสิทธิและชีวิตของเกย์และกะเทยไทย
โดย : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อ : 19/03/2009 01:43 PM
ศมส. เปิดเวทีเสวนาเพื่อสิทธิและชีวิตของเกย์และกะเทยไทย
วันพุธที่ 8 เมษายน 2552 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.30 น. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ขอเชิญฟัง การเสวนาเรื่อง สิทธิและชีวิตของเกย์และกะเทยไทยในศตวรรษที่ 21 พบกับการนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและชีวิตประกอบด้วย การลวนลามทางเพศกะเทย นัยสำคัญภายใต้วาทกรรมรักต่างเพศ โดย ดร.กิตติกร สันคติประภา การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของเกย์ในกรุงเทพมหานคร โดย ร.ต.อ.ดร.สิทธิพัฒน์ เฉลิมยศ ยุคเติบโตของเกย์-กะเทยในกรุงเทพฯ ในศตวรรษที่ 21 ภาพสะท้อนการบริโภคสื่อ สิทธิ และโรคเอดส์ โดย รศ.ดร.ปีเตอร์ แจ๊คสัน และ การแสดงความ “สาว” ของเกย์ไทย พรมแดนที่คลุมเครือระหว่างเกย์กับกะเทย โดย นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

ประเด็นดังกล่าวจะถูกตีแผ่โดยนักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเกย์และกะเทย ซึ่งประเด็นทั้งหมดจะได้เชื่อมโยงไปถึงสิทธิและชีวิตที่ควรจะได้รับความเท่าเทียมในสังคมไทย หรือแค่เพียงใช้มุมมองด้วยความไร้อคติ

เข้าร่วมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร 0 2880 9429 ต่อ 3811 หรือ www.sac.or.th

25 มีนาคม 2552 เวลา 8.30 - 16.45 น. ณ ห้องสุโขทัย โรงแรมท๊อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก

สัมมนาเรื่อง กลยุทธ์การค้าออนไลน์





สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก
ร่วมกับ
ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกภาคเหนือ (เชียงใหม่)
และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม

“กลยุทธ์การค้าออนไลน์”

วันที่ 25 มีนาคม 2552 เวลา 8.30 - 16.45 น.
ณ ห้องสุโขทัย โรงแรมท๊อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก




กลุ่ม: ทั่วไป

วันที่: 25/3/2552

เวลา: 8:30-16:45

สถานที่จัด: โรงแรมท๊อปแลนด์

ที่อยู่ของสถานที่จัด: 68/33 ถ.เอกาทศรฐ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

เบอร์โทรของสถานที่จัด: (055) 247-800

ห้อง-ชั้น: ห้องสุโขทัย

จำนวนคนสูงสุด: 80 คน

ค่าใช้จ่ายต่อคน: ไม่มีค่าใช้จ่าย

แผนที่: View

ผู้บรรยาย: นารีมาลย์ เจียงประดิษฐ์

เอกสารประกอบ: กำหนดการและใบสมัคร

ผู้จัดสัมมนา: กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์

วิธีเข้าร่วมการสัมมนาหรือการอบรม: ท่านที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนาโปรดกรอก ใบตอบรับการเข้าร่วมการสัมมนา (ตามสิ่ิงที่ส่งมาด้วย) และส่งใบตอบรับไปท่ี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก ทางแฟกซ์หมายเลข 055 243033 โปรดแจ้งตอบรับภายในวันที่ 20 มีนาคม 2552 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณปริญญา โทรศัพท์ 055 242909

วันที่ 24 มีนาคม 2552 เวลา 08.30- 12.00 น. ณ ห้องรวยเพชรโรงแรมมารวยการ์เด้น

24 มี.ค. เวทีเสวนา รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกัน


เวทีเสวนา รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกัน

วันที่ 24 มีนาคม 2552 เวลา 08.30- 12.00 น.

ณ ห้องรวยเพชร

โรงแรมมารวยการ์เด้น (บริเวณแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝั่งตรงข้าม)

ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร



08:30 - 10:00 น. ลงทะเบียน



10:00 - 10:10 น. กล่าวเปิดงาน โดย ทพ.ศิริเกีรยติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักปัจจัยเสี่ยง 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)



10:10 - 12:00 น. เวทีเสวนา “รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกัน”

คุณรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิตย์ ผู้ตรวจการกรม สำนักงานประกันสังคม และผู้อำนวยการโครงการประกันสังคมตามมาตรา 40

คุณสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ

คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผช.ผอ.สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยฝ่ายข่าว



ดำเนินรายการโดย คุณประพจน์ ภู่ทองคำ

ถ่ายทอดสดวิทยุชุมชน 127 ทั่วประเทศ โดยมูลนิธิสื่อภาคประชาชน



12:00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

“เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี” เดือน เมษายน ถึงเดือน สิงหาคม 2552

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการสัมมนาผู้ประกอบการ
เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี”


เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีนโยบายที่ต้องการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพตั้งแต่เริ่มประกอบธุรกิจ จึงได้เริ่มโครงการอบรมนิติบุคคลตั้งใหม่ตั้งแต่ปี 2548 และต่อเนื่องจนถึงปีปัจจุบัน ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้มีเนื้อหา ในการบริหารจัดการมากขึ้น
โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโครงการสัมมนาผู้ประกอบการ เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายและภาษี ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจให้ถูกต้อง

ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดีแก่ผู้ประกอบการ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ จึงได้จัดทำโครงการสัมมนา เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี” ขึ้น จำนวน 4 ครั้ง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือน เมษายน ถึงเดือน สิงหาคม 2552 ซึ่งมีกำหนดการ ดังนี้

ครั้งที่ วันเดือนปี เวลา สถานที่จัด
1 วันพุธที่ 29 เมษายน 2552 8.30 – 16.45 น.
โรงแรมริชมอนด์
จังหวัดนนทบุรี
2 วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552 8.30 – 16.45 น.
3 วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2552 8.30 – 16.45 น.
4 วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2552 8.30 – 16.45 น.

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนับชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชีเป็นวิชาอื่น จำนวน 6 ชั่วโมง 30 นาที โดยผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาสามารถสำรองที่นั่งด้วยการกรอกใบสมัคร พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 200 บาท ณ ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา และตรวจสอบ รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ Website กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ก่อนสัมมนาหนึ่งอาทิตย์










กำหนดการสัมมนา
โครงการสัมมนาผู้ประกอบการ เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี”
ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 29 เมษายน 2552
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
เวลา 8.30 – 16.45 น.

เวลา การดำเนินการ วิทยากร
08.00 - 08.30 น.

08.30 – 09.30 น.


09.45 – 11.45 น.




11.45 – 13.00 น.

13.00 – 13.30 น.


13.30 – 15.00 น.


15.15 – 16.45 น. ลงทะเบียน

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายห้างหุ้นส่วนและบริษัท


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การวางแผนภาษี

พักรับประทานอาหารกลางวัน

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543


การจัดทำบัญชีอย่างง่าย


การใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชีมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการธุรกิจ



ผู้แทนจากสำนักทะเบียนธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากกรมสรรพากร






ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- นางวราภรณ์ อุ่นปิติพงษา
- น.ส.กมลทิพย์ เกตุทัพ

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลาประมาณ 09.30 – 09.45 น. และ 14.30 – 14.45 น.








กำหนดการสัมมนา
โครงการสัมมนาผู้ประกอบการ เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี”
ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 4 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
เวลา 8.30 – 16.45 น.

เวลา การดำเนินการ วิทยากร
08.00 - 08.30 น.

08.30 – 09.30 น.


09.45 – 11.45 น.




11.45 – 13.00 น.

13.00 – 13.30 น.


13.30 – 15.00 น.


15.15 – 16.45 น. ลงทะเบียน

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายห้างหุ้นส่วนและบริษัท


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การวางแผนภาษี

พักรับประทานอาหารกลางวัน

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543


การจัดทำบัญชีอย่างง่าย


การใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชีมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการธุรกิจ



ผู้แทนจากสำนักทะเบียนธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากกรมสรรพากร






ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- นางวราภรณ์ อุ่นปิติพงษา
- น.ส.กมลทิพย์ เกตุทัพ

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลาประมาณ 09.30 – 09.45 น. และ 14.30 – 14.45 น.








กำหนดการสัมมนา
โครงการสัมมนาผู้ประกอบการ เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี”
ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2552
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
เวลา 8.30 – 16.45 น.

เวลา การดำเนินการ วิทยากร
08.00 - 08.30 น.

08.30 – 09.30 น.


09.45 – 11.45 น.




11.45 – 13.00 น.

13.00 – 13.30 น.


13.30 – 15.00 น.


15.15 – 16.45 น. ลงทะเบียน

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายห้างหุ้นส่วนและบริษัท


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การวางแผนภาษี

พักรับประทานอาหารกลางวัน

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543


การจัดทำบัญชีอย่างง่าย


การใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชีมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการธุรกิจ



ผู้แทนจากสำนักทะเบียนธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากกรมสรรพากร






ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- นางวราภรณ์ อุ่นปิติพงษา
- น.ส.กมลทิพย์ เกตุทัพ

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลาประมาณ 09.30 – 09.45 น. และ 14.30 – 14.45 น.








กำหนดการสัมมนา
โครงการสัมมนาผู้ประกอบการ เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี”
ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2552
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
เวลา 8.30 – 16.45 น.

เวลา การดำเนินการ วิทยากร
08.00 - 08.30 น.

08.30 – 09.30 น.


09.45 – 11.45 น.




11.45 – 13.00 น.

13.00 – 13.30 น.


13.30 – 15.00 น.


15.15 – 16.45 น. ลงทะเบียน

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายห้างหุ้นส่วนและบริษัท


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- การวางแผนภาษี

พักรับประทานอาหารกลางวัน

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543


การจัดทำบัญชีอย่างง่าย


การใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชีมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการธุรกิจ



ผู้แทนจากสำนักทะเบียนธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากกรมสรรพากร






ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนจากสำนักกำกับดูแลธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แทนสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- นางวราภรณ์ อุ่นปิติพงษา
- น.ส.กมลทิพย์ เกตุทัพ

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลาประมาณ 09.30 – 09.45 น. และ 14.30 – 14.45 น.








ใบสมัครการเข้าร่วมสัมมนา
เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี”
ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 29 เมษายน 2552 , ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2552
ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2552 และ ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2552
ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
เวลา 8.30 – 16.45 น.

ชื่อ ……………………. ..…………………......................... นามสกุล …………………………………
เลขที่บัตรประชาชน ----
ทะเบียนผู้สอบบัญชี  รหัสผู้ทำบัญชี 
โทรศัพท์ .................................................................................... โทรสาร ...............................................................
สถานที่ติดต่อ ………....................................................................................................................................................
ประสงค์จะเข้าสัมมนา  ครั้งที่ 1  ครั้งที่ 2  ครั้งที่ 3  ครั้งที่ 4

โปรดนำเอกสารฉบับนี้ไปชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย “เท่านั้น” 1 ท่าน ต่อใบสมัคร 1 ใบ
กรุณาเลือกครั้งที่จะเข้าร่วมสัมมนา โดยเลือกช่องรหัสธนาคารในแบบฟอร์มการชำระเงิน 1 ครั้ง “เท่านั้น”
(ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร)

แบบฟอร์มการชำระเงินผ่าน บมจ. ธนาคารกรุงไทย


สำหรับธนาคาร : For Bank Only

สาขา ............................. วันที่ ................................

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Company Code : 9207

ชื่อลูกค้า
(ผู้เข้าร่วมอบรม / สัมมนา)


………………………………………………………………………………………….
ชื่อหลักสูตร: เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี
เลขที่บัตรประชาชน
หมายเลขอ้างอิง 1
(Ref No.1) :


 หมายเลขอ้างอิง 2
(Ref No.2) :
02-020 (ครั้งที่ 1 วันที่ 29 เม.ย.2552)
02–021 (ครั้งที่ 2 วันที่ 12 มิ.ย.2552)
02-022 (ครั้งที่ 3 วันที่ 10 ก.ค.2552)
02-023 (ครั้งที่ 4 วันที่ 3 ส.ค.2552)

จำนวนเงิน (ตัวอักษร) สองร้อยบาทถ้วน
จำนวนเงิน (บาท)
Amount (Baht)

200.-


ชื่อผู้นำฝาก..................................….....…………………… เบอร์โทรศัพท์....................................

คำแนะนำในการกรอกใบสมัครเข้าร่วมสัมมนา

1. กรอกชื่อ-นามสกุล พร้อมด้วยเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัครเข้าร่วมสัมมนา
2. การสมัครเข้าร่วมสัมมนา ท่านสามารถชำระค่าสัมมนาตามแบบฟอร์มใบสมัครโดยไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า 1 ท่าน ต่อ 1 ใบสมัคร (ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร)
3. กรมฯ ขอสงวนสิทธิให้กับผู้สมัครที่จ่ายชำระเงินก่อนในกรณีที่จำนวนที่นั่งเต็ม สำหรับกรณีที่ชำระค่าธรรมเนียมแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวันที่เข้าร่วมสัมมนาได้
4. การสัมมนาของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นไปเพื่อเผยแพร่และให้ความรู้โดยมิได้มุ่งแสวงหาผลกำไร จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
5. ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ก่อนวันสัมมนาหนึ่งอาทิตย์ ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
6. กรณีมีข้อสงสัย ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-5475981 ในวันและเวลาราชการ


หมายเหตุ
1.กรณีที่ท่านชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารกรุงไทยสำหรับการเข้าร่วมโครงการสัมมนา
เรื่อง “เสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารกิจการที่ดี” แล้ว หากท่านไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาในวันและเวลา ที่กำหนดไว้ กรมขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับผิดชอบในค่าธรรมเนียมที่ท่านได้ชำระแล้ว
ทั้งนี้ ท่าน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือขอเงินคืนได้แต่อย่างใด
2.ในวันสัมมนากรุณานำใบสมัครพร้อมใบนำฝากจากธนาคารมาที่งานสัมมนาเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันการเข้าร่วมสัมมนา

แน่ใจหรือว่า “ประชาธิปไตย” แบบ ‘อภิสิทธิ์’ หมายถึง “ประชาธิปไตย” จริงๆ

แน่ใจหรือว่า “ประชาธิปไตย” แบบ ‘อภิสิทธิ์’ หมายถึง “ประชาธิปไตย” จริงๆ



ณัฐกร วิทิตานนท์



และแล้วการปาฐกถาภายใต้หัวข้อ “การจัดการความท้าทายในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย” ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ St. John’s College มหาวิทยาลัย OXFORD ก็เกิดขึ้นจนได้ ท่ามกลางเสียงคัดค้านถึงความเหมาะสมของตัวผู้พูด และข่าวลือเกี่ยวกับการยกเลิกการพูดในครั้งนี้



และเมื่อมีโอกาสอ่านเนื้อหาบางส่วนของการปาฐกถาครั้งนี้แล้ว ตัวเนื้อหาเองก็ได้สะท้อนถึง ‘ความไม่เข้าใจ’ ในหลักการ “ประชาธิปไตย” พื้นฐานของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับช่วงที่กล่าวว่า… “เป็นธรรมชาติของการเมืองไทย พอจะก้าวหน้าก็ต้องถอยหลัง แต่ก็พิสูจน์ได้ว่าการก้าวหน้าของประชาธิปไตย โดยเสียงส่วนใหญ่ ที่ปราศจากประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนได้ ผมจะไม่ยอมแลกความโปร่งใส ธรรมาภิบาล กับการได้มาซึ่งเสียงส่วนใหญ่ และจะใช้หลักการนี้ นำไปสู่การปฏิรูปการเมือง ที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ภายใต้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” [1] เป็นอาทิ



แน่นอนที่สุด ความข้อหนึ่งซึ่งใครก็ตามที่จะกล่าวอ้างถึงคำว่า “ประชาธิปไตย” ควรพึงตระหนักไว้ก็คือ ประชาธิปไตย ≠ ความดี เสมอไป บ่อยครั้งที่ ประชาธิปไตย = ความเลว แต่การยอมรับในหลักการที่ว่า “ประชาชนต้องเป็นใหญ่” (rule by the people) ต่างหากที่ถือเป็นหัวใจของคำๆ นี้ เพราะแม้แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เอง ได้ให้นิยามเอาไว้สั้นๆ แต่ชัดเจนมากว่าหมายถึง ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ส่วนผลลัพธ์จะออกมาดีหรือเลวย่อมเป็นคนละเรื่องกัน



แน่ละว่า ประชาธิปไตยที่ดี ย่อมเป็นหลักหมายที่ผู้คนในแต่ละสังคมปรารถนา หลายประเทศต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด การสูญเสียครั้งใหญ่ และบ่อยครั้งก็ต้องอาศัยความอดทน การต่อสู้เรียกร้องยาวนาน ถึงได้มา อย่างเช่นที่คนผิวดำ ประชากรส่วนน้อยในสหรัฐฯ ใช้เวลาเฝ้าคอยถึง 200 กว่าปี เพื่อที่จะรอเห็น บารัค โอบามา นักการเมืองผิวดำคนแรกก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของอเมริกานั่นเอง



ผมไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าขณะที่พูดคุณอภิสิทธิ์รู้ตัวหรือไม่ว่าหลายสิ่งที่ได้พูดออกไปมันช่างดูห่างไกลจากความเป็น “ประชาธิปไตย” ตามความรู้สึกธรรมดา (หรือคอมมอนเซนส์) เสียเหลือเกิน และนี่เองที่เป็นความตั้งใจของข้อเขียนต่อไปนี้ เพื่อทบทวนประวัติศาสตร์ของคำสามัญประจำโลก (สมัยปัจจุบัน) คำนี้กันอีกสักคราว





ย้อนรอย “ประชาธิปไตย” โลก [2]

ว่ากันว่าห้วงก่อนหน้า สมัยโบราณ (500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ส่วนใหญ่ของโลกต่างถูกปกครองโดย กษัตริย์ (King) คงมีเพียงในบางที่และในบางช่วงเท่านั้น ซึ่งพอจะเริ่มเห็นความเป็น “ประชาธิปไตย” อยู่บ้าง เช่น ในนครรัฐเอเธนส์ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ยอมให้ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองต่างๆ ได้เอง โดยตรง (Direct Democracy) เนื่องจากประชากรขณะนั้นยังคงจำนวนไม่มากนัก ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนในตอนนั้นก็ยังหาได้รวมถึงทาส ผู้หญิง และเด็กด้วยแต่ประการใด



ถึงกระนั้น คำว่า Democracy ก็มาจากรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ 2 คำ คือ Demos ที่แปลว่า ประชาชน (the community) กับ Kratos หมายถึง อำนาจ (sovereign power) เมื่อรวมกันแล้วแปลความว่า อำนาจของประชาชน นั่นเอง



ต่อมาได้มีปรัชญาเมธีคนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Socrates (469-399 BCE) Plato (427-347 BCE) และ Aristotle (384-322 BCE) ทั้งหมดต่างล้วนเป็นผู้คัดค้าน ”ประชาธิปไตย” ด้วยเชื่อถือในการปกครองของบุคคลเดียวหรือกลุ่มบุคคล ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถ มากกว่าการปกครองโดยประชาชนหมู่มาก กล่าวคือ โสกราตีส โจมตีระบอบ “ประชาธิปไตย” ของนครรัฐเอเธนส์ว่าเป็นการปกครองที่ปราศจากคุณธรรม และความยุติธรรม และสนับสนุนรูปการปกครองแบบ “อภิชนาธิปไตย” ส่วน เพลโต เชื่อว่ารัฐที่ดีสมควรจะต้องปกครองด้วยคนๆ เดียว โดย “ราชาปราชญ์” (Philosopher-Kings) ทั้งยังเห็นว่ามีเพียง “ทรราชย์” แบบเดียวเท่านั้นที่เลวร้ายกว่า “ประชาธิปไตย” ขณะที่ อริสโตเติล ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ ผู้ทำการจำแนกระบอบการปกครอง (The Aristotelian Classification of Regimes) ออกตามตารางข้างท้ายนี้



จำนวนผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

(Number of Rulers)
จุดมุ่งหมาย (Purposes)

เพื่อประชาชน

Rule in General Interest

(Right Type)
เพื่อผู้ปกครอง

Self-Interested Rule

(Wrong Type)

คนเดียว (One)
ราชาธิปไตย

(Kingship)
ทุชนาธิปไตย

(Tyranny)

คณะ (Few)
อภิชนาธิปไตย

(Aristocracy)
คณาธิปไตย

(Oligarchy)

ประชาชนทั้งหมด (Many)
‘โพลิตี้’

(Polity)
“ประชาธิปไตย”

(Democracy)




และเขาเองก็จัดให้ “ประชาธิปไตย” อยู่ในปีกของระบอบการปกครองที่ไม่ดีเอาเสียเลย เพราะมีฝูงชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนยากคนจนมาเป็นผู้ปกครอง จุดมุ่งหมายจึงมีลักษณะจำกัดผลประโยชน์และความก้าวหน้าไว้กับกลุ่มคนจนเพียงกลุ่มเดียว โดยเขายึดมั่นว่าการปกครองแบบ “โพลิตี้” (บ้างก็เรียกว่า “ธรรมาธิปไตย” บ้างก็เรียกว่า “มัชฌิมาวิถี” สุดแท้แต่มุมมอง) เป็นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยเหตุผลว่าเป็นระบบที่สามารถประนีประนอมมิให้ความขัดแย้งในสังคมระหว่างคนรวยและคนจนถึงขั้นระเบิดออกมา เนื่องจากใช้กลุ่มอภิชนจำนวนมากเป็นผู้ทำการปกครอง ไม่ใช่ยอมให้ประชาชนทั้งหมดเป็นผู้ปกครองตามแนวคิด “ประชาธิปไตย” ห้วงดังกล่าว



จวบจนมาถึง ยุคกลาง (ค.ศ.500-1500) อิทธิพลทางความคิดของศาสนาคริสต์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรมแผ่ขยายปกคลุมไปทั่วยุโรป ความศรัทธาในศาสนจักรทำให้เหล่ากษัตริย์ต้องหันมาเชื่อฟังคำชี้นำในการปกครองของพระสันตะปาปา (Pope) เป็นอย่างมาก บรรดานักบวชในคริสต์ศาสนาต่างพากันสนับสนุนระบอบการปกครองภายใต้อำนาจศาสนจักร อาทิ St. Thomas Aquinas (1225-1274) เห็นว่า การปกครองแบบ “ราชาธิปไตย” ย่อมมีความชอบธรรมตามหลักการคำสอนของศาสนา เนื่องด้วยอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ได้รับมอบมาจากพระสันตะปาปาอีกทอดหนึ่ง พร้อมตอกย้ำอีกว่า “ประชาธิปไตย” เป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีความยุติธรรม เพราะเป็นการใช้อำนาจของคนชั้นต่ำหรือคนยากจน ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนกลุ่มอื่นๆ ไม่



ทว่า เมื่อตอนสมัยพระเจ้าจอห์น (King John) ของอังกฤษ พระองค์ต้องการเงินทำสงคราม จึงบังคับให้ประชาชนเสียภาษีมากขึ้น และทำการปกครองโดยการกดขี่ประชาชน ทำให้พสกนิกรเดือดร้อนจนก่อให้เกิดการรวมกำลังต่อต้านพระมหากษัตริย์ของขุนนาง นักบวช กับราษฎร จนบังคับให้พระเจ้าจอห์นลงพระนามในเอกสารสำคัญ เรียกว่า มหาบัตร หรือ Magna Carta (The Great Charter) อันมีผลทำให้กษัตริย์อังกฤษไม่อาจจะอยู่เหนือกฎหมายได้อีกเลย ในปี ค.ศ.1215 นี่เองที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมที่สุดในการจำกัดขอบเขตอำนาจของผู้ปกครอง ต่อมาก็เลยกลายเป็นพื้นฐานของระบบรัฐสภาตัวแทนแบบอังกฤษในเวลาต่อมา (ซึ่งค่อยๆ ถ่ายเทอำนาจจาก ‘กษัตริย์’ มาเป็น ‘สภาขุนนาง’ และลงมายัง ‘สภาสามัญชน’ ในที่สุด เปลี่ยนแปลงไปตามดุลอำนาจระหว่างชนชั้นต่างๆ ในแต่ละบริบทเวลา)



นักปรัชญาคนสำคัญๆ หลังจากช่วงดังกล่าว มีไม่น้อยที่เขียนงานออกมาส่งเสริมพลังอำนาจของกษัตริย์ให้มีมากยิ่งขึ้นไปอีก เช่น Jean Bodin (1530-1596) เชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ และไม่มีอำนาจอื่นใดที่จะเหนือไปกว่าอำนาจดังกล่าวอีกแล้ว Thomas Hobbes (1588-1679) ก็กล่าวสนับสนุนให้กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองแบบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Absolute Monarchy) เฉกเช่นกัน



ล่วงเลยมาถึงใน สมัยใหม่ (ค.ศ.1500-2000) หรือยุคเรอแนสซองส์ อิทธิพลของคริสต์ศาสนาลดน้อยลงเรื่อยๆ เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการนานา เช่น ช่วงศตวรรษที่ 16-17 เกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ พร้อมๆ กันกับที่แนวคิด ”ประชาธิปไตย” เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และกว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นลำดับ อันเป็นผลมาจากแนวคิดที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ตามทฤษฎี “สัญญาประชาคม” (The Social Contract) ของนักปรัชญากฎหมายและการเมืองหลายคน ณ เวลานั้น อย่างเช่น John Locke (1632-1704) เห็นว่า “...เมื่อใดที่รัฐไม่รับผิดชอบ หรือหากรัฐบาล ปฏิบัติการใดที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจ เมื่อนั้นประชาชนก็มีสิทธิที่จะล้มล้างอำนาจการปกครองเหล่านั้นลงได้...”

ด้าน Rousseau (1712-1778) กล่าวว่า “...สังคมเกิดจากความยินยอมพร้อมใจของมนุษย์ การที่มนุษย์ทุกคนยินยอมมารวมเป็นสังคมภายใต้เจตนารมณ์ทั่วไปนั้น ก่อให้เกิดเป็นสัญญาประชาคมขึ้น ส่งผลให้อำนาจอธิปไตยของประชาคมเข้ามาแทนที่สิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์แต่ละคน...” ยิ่งกว่านั้น Montesquieu (1689-1755) เจ้าทฤษฎี “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) ได้พยายามอธิบายให้เราเห็นว่า อำนาจนั้นยั่วยวนใจ และเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดโดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ อำนาจจึงย่อมหยุดยั้งได้แต่โดยอำนาจ (Power Stop Power) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ซึ่งกันและกันขององค์กรที่ใช้อำนาจทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislature) ฝ่ายบริหาร (Executive) และฝ่ายตุลาการ (Judiciary)



กระทั่งในปี ค.ศ.1776 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกจึงเริ่มบังเกิด นับตั้งแต่ 13 ดินแดนอาณานิคมในอเมริกาประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence) แยกตัวออกจากการเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดินิยมอังกฤษ และในปี ค.ศ.1787 ก็ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ (The Constitution of the United States) ขึ้นมา เพื่อวางกฎเกณฑ์การปกครองประเทศอย่างเป็นระบบระเบียบชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน ตลอดจนยังบัญญัติให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด พร้อมทั้งยอมรับในหลักการอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา และต่อมาภายหลัง จึงได้เพิ่มเติมให้มีบทคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎร (Bill of Rights) ผนวกเข้าไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ก็ถือเป็นการนำเอาแนวความคิดของนักปรัชญาข้างต้นที่มักถูกถกเถียงเชิงนามธรรมนำมาบัญญัติเอาไว้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด เป็นต้นว่าความคิดที่ให้มีประธานาธิบดีเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งในระยะเวลาอันจำกัด ขณะที่โลกแทบทั้งใบยังคงอาศัยเจ้าผู้ปกครองแบบสืบสันตติวงศ์อยู่เลย



บ่อเกิดแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลก และยังเป็นฉบับเดียวกันกับที่ชาวอเมริกันคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นต้นแบบให้ประเทศต่างๆ เอาอย่าง ไม่ว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ.1789 โดยการประกาศใช้ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen) ซึ่งเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ฉบับปี ค.ศ.1791 และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (United Nations Universal Declaration of Human Rights) ในปี ค.ศ.1948 และถือเป็นรากฐานของหลักกฎหมายมหาชนที่ไปปรากฏอยู่ในหมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของรัฐธรรมนูญต่างๆ ทั่วโลกในเวลาต่อมา



อาจกล่าวได้ว่า ภายหลังทั้ง 2 เหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้น การปกครองโดย คนๆ เดียว ก็ดี หรือ การปกครองโดย คณะบุคคล ก็ดี เป็นระบบที่ไม่น่าพึงปรารถนาของคนส่วนใหญ่อีกแล้ว พิจารณาจากการที่ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ค.ศ.1848 ซึ่งกระแสการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์กระจายทั่วยุโรป และแล้วก็ทยอยเกิดขึ้นตามมาทั่วโลก จาก “ราชอาณาจักร” (Kingdom) สู่การปกครองแบบ “สาธารณรัฐ” (Republic) ตามแนวทางรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) กระแสความคิดดังกล่าวแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่กับกรณีของประเทศไทย ซึ่งก็เลี่ยง “การปฏิวัติสยาม” เพื่อเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบ “ประชาธิปไตย” ซึ่งกษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) โดยกลุ่มชนในนาม คณะราษฎร ในปี พ.ศ.2475 (ค.ศ.1932) มิพ้นเช่นกัน



และเป็น Abraham Lincoln (1809–1865) ท่านนี้เองที่ทิ้งวาทะอมตะเอาไว้ไม่กี่ปีก่อนที่จะถูกลอบสังหารว่า... “ประชาธิปไตยหมายถึง การปกครองโดยรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” (‘Democracy is … government of the people, by the people, and for the people’) จนกลายเป็นนิยาม (ยอดนิยม) ของคำๆ นี้ที่ผู้คนทั่วโลกเอ่ยถึงมากที่สุด



แต่ควรทราบด้วยว่าอารยะธรรม “ประชาธิปไตย” นั้น ถือกำเนิดขึ้นมาในระดับท้องถิ่นก่อน และการเมืองท้องถิ่นนี่เองที่เปรียบดุจผู้ให้กำเนิดแก่ระบอบประชาธิปไตยในระดับชาติเสียด้วยซ้ำ ซึ่งข้อเขียนชิ้นนี้มิได้เอ่ยถึง [3]



แน่นอน “รัฐสมัยใหม่” (Modern State) นับเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสถาปนาระบอบ”ประชาธิปไตย”ในปัจจุบัน ในช่วงศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรัฐใหม่ๆ ทยอยเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ซึ่งรัฐต่างๆ เหล่านี้ ต่างล้วนมุ่งสู่ความเป็น “รัฐชาติ” (Nation State) ทั้งสิ้น ทว่าด้วยข้อจำกัดของความเป็นรัฐชาติเอง เฉพาะอย่างยิ่งในแง่จำนวนประชากร “ประชาธิปไตย” ตัวแทน หรือ “ประชาธิปไตย” ทางอ้อม (Representative Democracy) จึงเป็นรูปแบบอันเหมาะสมกับเงื่อนไขดังกล่าวที่สุด พร้อมๆ กันกับที่ การเลือกตั้ง (Election) ได้เริ่มถูกนำมาใช้เป็นกระบวนการทางการเมืองที่แสดงออกถึงเจตจำนงในการเลือกสรรผู้ปกครองของประชาชนอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยที่ความหมายของประชาชนแรกเริ่มเดิมทีก็ยังหาใช่ประชาชนทุกคนจะเท่าเทียมกัน เพราะก็ยังคงไม่ได้หมายความรวมถึงบรรดาไพร่ทาสทั้งหลาย คนผิวสี และผู้หญิงแต่อย่างใด (ว่ากันว่า การเลือกตั้งที่เปิดกว้างอย่างเช่นในทุกวันนี้ เพิ่งจะทยอยได้รับการยอมรับในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 20 มานี่เอง)



ถึงกระนั้น โลกก็เดินหน้าเข้าสู่ภาวะ “สงครามเย็น” เต็มรูป ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียต (USSR) กับสหรัฐอเมริกา (USA) นำมาซึ่งการสู้รบระหว่างกลุ่ม “สังคมนิยมคอมมิวนิสต์” กับกลุ่ม “เสรีนิยมประชาธิปไตย” เป็นสงครามตัวแทนในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก เช่น สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม



แต่พอถึงต้นทศวรรษ 90 ก็ไม่อาจมีสิ่งใดมาหยุดยั้งทุนนิยมได้อีกต่อไป กำแพงเบอร์ลินถูกพังทลาย สหภาพโซเวียตล่มสลาย และจากนั้น หลายๆ ประเทศที่มีผู้นำเผด็จการครองอำนาจมายาวนานก็มีอันต้องสิ้นสุดลง เกิดรัฐเอกราชใหม่ๆ ขึ้นมากมายในยุโรป พร้อมๆ กันกับคำว่า จัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order) เริ่มถูกใช้ และแล้ว ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (อาทิ NGOs, International Organizations, Terrorists, Individuals ฯลฯ) ก็ได้เข้ามามีบทบาทมหาศาลจริงๆ จังๆ ต่อ “ประชาคมโลก” (World Community) กลายเป็นอำนาจอธิปไตยเชิงซ้อนที่ครอบงำรัฐอธิปไตยต่างๆ อยู่อย่างแนบเนียน ท่ามกลางสถานการณ์ผันผวนต่างๆ ของโลก



และที่สุด ความจำเริญทางเศรษฐกิจกับความเป็น “ประชาธิปไตย” ก็ถูกทำให้สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น



อนึ่ง ในยุค หลังสมัยใหม่ (นับตั้งแต่ ค.ศ.2000 เป็นต้นมา) ทั้งคำว่า สิทธิมนุษยชน, ประชาสังคม (Civil Society), การเมืองภาคประชาชน ถูกนำไปใช้กันจนแพร่หลาย กลุ่มย่อยๆ ภายในสังคม เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ, ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ เริ่มมีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายและการเมืองยิ่งขึ้น หากมองภาพใหญ่ นี่เป็นแนวโน้มที่จะหวนคืนกลับสู่ความเป็น “ประชาธิปไตย” ทางตรง หรือ แบบมีส่วนร่วม ยิ่งขึ้น โดยผ่านทางภารกิจการเมืองใหม่ๆ ของพลเมือง อาทิ การทำประชามติ (popular referendum), การริเริ่มกฎหมาย (popular initiative) และการถอดถอน (recall) ฯลฯ



เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เมื่อกล่าวถึง “ประชาธิปไตย” ในทางปฏิบัติแล้ว อย่างน้อยๆ ควรประกอบด้วย สถาบันการเมืองที่มีความเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่, การเลือกตั้งที่เป็นไปอย่างเสรีและเที่ยงธรรม, มีหลากหลายพรรคการเมืองให้ประชาชนได้เลือกกัน, ความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง, เสรีภาพในการแสดงความคิด การรวมกลุ่ม ตลอดจนสิทธิส่วนบุคคลสำคัญๆ ย่อมต้องได้รับคุ้มครอง โดยฝ่ายตุลาการที่มีความอิสระ และภายใต้มาตรการอื่นๆ ในการจำกัดอำนาจรัฐอันสมดุล [4] เป็นต้น



อย่างไรก็ตาม ประเทศส่วนใหญ่ล้วนมีแนวทางก้าวสู่ความเป็น “ประชาธิปไตย” เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น ดังเช่นที่ Daniel Griswold พบว่า ในปี 2005 ประชากรร้อยละ 46 ของโลก มีชีวิตอยู่ในประเทศที่มีลักษณะ ‘Free’ หรือมีระบบการเมืองแบบเปิด และมีความเคารพต่อเสรีภาพของพลเมือง เพิ่มขึ้นจากปี 1973 ที่มีเพียงร้อยละ 35 และด้วย ‘Wind of Globalization’ ส่งผลให้มีรัฐบาลที่เป็น “ประชาธิปไตย” มากถึงกว่าร้อยละ 64 กำลังปกคลุมโลกอยู่ ณ เวลานี้ [5]



ด้วยเหตุผลนานัปการดังกล่าวมาแล้ว “ประชาธิปไตย” ย่อมจัดว่าเป็นตัวเลือกเดียวของการเมืองการปกครองของโลก และถือเป็นกระแสหลักของแวดวงวิชาการสากล (ตามกระบวนการ Democratization ของโลกาภิวัตน์) อย่างที่นายอภิสิทธิ์ย้ำต่อผู้ฟังในวันนั้นว่า “ประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทุกประเทศในโลกนี้ รวมทั้งประเทศไทย” เสียดายก็แต่ว่า “ประชาธิปไตย” แบบ ‘อภิสิทธิ์’ มันเป็นคนละความหมายกับ “ประชาธิปไตย” ที่สามัญชนกำลังเพรียกหา เพื่อทำให้เสียงของประชาชนส่วนใหญ่มีความหมายขึ้นมาจริงๆ



…………………………………………………..



[1] อ้างจาก ‘มาร์ก’ ลั่นไม่ยอมให้เสียงข้างมากหักล้างความโปร่งใส ถาม ‘ใจ’ ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร ในhttp://www.prachatai.com/05web/th/home/15920 และ การพูดของอภิสิทธิ์ที่อ็อกซ์ฟอร์ดและการโต้คารมกับนายใจ รายงานจากผู้ฟังทั้งในและนอกห้อง ทาง http://www.prachatai.com/05web/th/home/15969

[2] รายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิด มุมมอง ทัศนะวิจารณ์ ตลอดจนคำพูดของปรัชญาเมธีต่างๆ ในหัวข้อนี้ อาศัยการเรียบเรียงจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Andrew Heywood, Key Concepts in Politics, (New York: Palgrave, 2000), Gregory S. Mahler, Comparative Politics: An Institutional and Cross-National Approach, (New Jersey: Prentice Hall, 2000). เจน ชิสโฮล์ม (เขียน), นุชนาฏ เนตรประเสริฐศรี และคณะ (แปล), ย้อนรอยประวัติศาสตร์โลก, (กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2548), บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2546), พฤทธิสาณ ชุมพล และคณะ, คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546), วิษณุ เครืองาม, ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน ใน กฎหมายมหาชน, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545), อานนท์ ภักดีวงศ์, ตัวแบบ”ประชาธิปไตย”: มุมมองของนักทฤษฎีการเมือง ใน รวมบทความทางรัฐศาสตร์: สังคมกับการปกครอง, (กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต, 2539) เป็นต้น

[3] โปรดดู ธเนศวร์ เจริญเมือง, การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก ภาคแรก: จากยุคกรีกถึงยุคทุนนิยมตะวันตก, (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2550).

[4] Teach Yourself, Instant Reference-Politics, (London: Helicon Publishing Ltd, 2001). pp.50-51.

[5] Globalization, Human Right, and Democracy by Daniel T. Griswold in http://usinfo.state.gov/journals/itgic/0206/ijge/griswold.htm











http://www.prachatai.com/05web/th/home/15987
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/3/2552

“คุณภาพ” ของสื่อไทยกรณีอภิสิทธิ์ที่ Oxford

“คุณภาพ” ของสื่อไทยกรณีอภิสิทธิ์ที่ Oxford



สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ที่มา: กระดานข่าวฟ้าเดียวกัน, 19 มีนาคม 2552



ความจริง เรื่องนี้ ก็ไม่ใช่เรื่อง "ใหญ่" นัก แต่เนื่องจากวันนี้ ประชาไท ได้เผยแพร่ บทความ 2 บท เกี่ยวกับการพูดของอภิสิทธิ์ ที่ Oxford รวมทั้งการโต้ กับใจ



"ผมไม่ได้หนี" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15986



"แน่ใจหรือว่า ประชาธิปไตย แบบ อภิสิทธิ์ หมายถึง ประชาธิปไตย จริงๆ" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15987



ทั้ง 2 บทความ เอารายงานข่าวคำบรรยายของอภิสิทธิ์ และการโต้ กับ ใจ จากสื่อไทย มาเป็นจุดเริ่มต้น เขียนขยายความเสียเยอะ



ปัญหาคือ รายงานของสื่อไทยที่ทั้ง 2 บทความ นำมาเป็นจุดเริ่มต้น เขียนต่อ นั้น เป็นรายงานที่ผิด ครับ



ผมขอเริ่มจากบทความ "ผมไม่ได้หนี"



บางคนอาจจะจำได้ว่า เมื่อ อภิสิทธิ์ โต้ กับ ใจ เสร็จ สื่อไทย ได้รายงานกันอย่างแพร่หลายทันทีว่า มีอยู่ตอนหนึ่ง อภิสิทธิ์ พูดทำนองว่า คนที่เจอข้อหาหมิ่นฯ เขาไม่ได้หนีกัน เขาอยู่สู้คดี ซึ่ง ใจ ได้พูดแทรก ขึ้นมาว่า



"ผมไม่ได้หนี" (I did not run away)



สื่อรายงานว่า อภิสิทธ์ "ตอกกลับ" ใจ ดังนี้



"ถ้าไม่หนี เหตุใดจึงมาอยู่ทีนี่"

So why are you here?



แล้วก็รายงานว่า คนฟังในห้อง ปรบมือ กับการ "ตอกกลับ" นี้เป็นการใหญ่



รายงาน ตอนนี้ มีลักษณะว่า อภิสิทธิ์ มี "ชัยชนะ" ในการโต้กัน (ซึ่งความจริง เป็นประเด็นจิ๊บจ๊อย) ประเภท สามารถสวนกลับใจ ในสิ่งที่ใจ ตอบไม่ได้



ปัญหาคือ ที่จริง อภิสิทธิ์ ไม่ได้สวนกลับ ใจ ด้วยประโยคทีว่าเลย



ประโยคจริงๆ ที่อภิสิทธิ์ สวนกลับคือ



"ผมก็ไม่ได้บอกว่า คุณหนี"

I didn't say you did [run away]

พูดซ้ำ ถึง 2 ครั้ง



(บทความ "ผมไม่ได้หนี" เอารายงานที่ผิดของสื่อ เรื่องอภิสิทธิ์โต้ "เหตุใดจึงมาอยู่ทีนี่" ไปเขียน)



ถ้า กรณีนี้ อภิสิทธิ ได้รับการเสนอภาพในฐานะ "ผู้ชนะ" ในการ "โต้" อีกกรณีหนึ่ง การรายงานข่าว กลับออกมาในรูปที่ให้อภิสิทธิ์ พูดอะไรในทางขัดแย้งกับหลักการ คือ รายงานว่า อภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ผมจะไม่ยอมแลกความโปร่งใส ธรรมาภิบาล กับการได้มาซึ่งเสียงส่วนใหญ่"



ความจริง อภิสิทธิ์ พูดดังนี้ “We need not trade-off majority rule for transparency and good governance”



แปลว่า "“เราไม่จำต้องเสียสละ ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล เพื่อที่จะแลกกับการปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่”



ซึ่งเป็นคนละความหมายกับที่รายงานเลย และค่อนข้างสำคัญด้วย



(บทความ "แน่ใจหรือว่า .." ของประชาไท เอารายงานผิดของสื่อ ว่า อภิสิทธิ์ พูดว่า "ผมจะไม่ยอมแลก..." ไปเขียนต่อ)



สรุปแล้ว เวลาอ่านหรือฟัง สื่อ ไทย ไม่ว่า ช่องไหน ฉบับไหน ถ้าเป็นเรื่องสำคัญๆ ต้องลอง double-check ให้ดีก่อน ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เป็นประเด็นที่ถูกนำเสนอ เป็น "หัวข่าว" (คือชูเป็นประเด็นใหญ่) ต้องลองเช็คให้ดีๆ



ดูเพิ่มเติม กรณีหลัง ที ความเห็นที่ 1 ของผู้ใช้นามว่า Serious Reader (ผมสังหรณ์ว่า เป็นคนที่ผมรู้จักแฮะ) ทีนี่



ดูเพิ่มเติม กรณีแรก (เรื่อง ใจ "หนี") ดูที่ผมเขียนไว้ใน ความเห็นที่ 5-6 ทีนี่







http://www.prachatai.com/05web/th/home/15993
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 20/3/2552

สงครามเว็บบราวเซอร์ .. ยกใหม่ ..

สงครามเว็บบราวเซอร์ .. ยกใหม่ ..
http://www.oknation.net/blog/neozone/2009/03/19/entry-1

59 รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2552

59 ผู้สมัครกรรมการสิทธิฯ ถึง 19 มี.ค.



ตามที่คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กำหนดให้มีการเปิดรับสมัครบุคคลผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นที่ประจักษ์ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องตามมาตร 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกอบกับมาตรา 207 (4) และมาตรา 209 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2552 และสิ้นสุดการรับสมัครในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม นี้ โดยสามารถสมัครได้ในเวลาราชการ ไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ชั้น 6 ห้องเสวนา ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210 (รายละเอียดเอกสาร)



สำหรับรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2552
ลงสมัครวันที่ 14 มีนาคม 2552
1. นายวิสูตร สีหนนท์
2. ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์
ลงสมัครวันที่ 15 มีนาคม 2552
3. นายโอภาส เจริญพจน์
4. นายเจตน์ บุตรหวังวัฒนา
ลงสมัครวันที่ 17 มีนาคม 2552
5. นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์
6. นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร
7. นางศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา
8. นายชาญยุทธ โฆศิรินนท์
9. นายกฤต อรุณแสง
10. นายบรรลือ สันทวไมตรี
11. ดร.ไพโรจน์ ผลชู
12. ดร.นคร เสรีรักษ์
13. นายประสาน หวังรัตนปราณี
14. นายแพทย์ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล
ลงสมัครวันที่ 18 มีนาคม 2552
15. นายสกุล สื่อทรงธรรม
16. นายสรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์
17. รศ.ดร. ภมร ขันธหัตถ์
18. ดร.บุญเลิศ มาแสง
19. ดร. นรินทร์ กรินชัย
20. นางสาวอรอนงค์ อินทรจิตร
21. นายประเสริฐ กมลนาวิน
22. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
23. นายปราโมทย์ ไพรชนม์
24. พลตำรวจเอกวันชัย ศรีนวลนัด
25. นางอุบล หลิมสกุล
26. นายธเนศ ตามจิตเจริญ
ลงสมัครวันที่ 19 มีนาคม 2552
27. นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล
28. นางสาวลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
29. นายกิรศักดิ์ จันทรจรัสวัฒน์
30. นางฮาลีเมาะ อุตรสินธุ์
31. นายสวิง ตันอุด
32. นางวิสา เบ็ญจะมโน
33. นายธงชัย กะทา
34. นายยอดชาย โทธรัตน์
35. นายสุพล สุขศรีมั่งมี
36. นายพงษ์ศักดิ์ ผุยพอกสิน
37. นายมนัส โกศล
38. พันเอกปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ
39. ศ.นางยุพา วงศ์ไชย
40. นางอังคณา นีละไพจิตร
41. ดร.อาคม ตุลาดิลก
42. นายสมชัย คงปรีชา
43. พล.ต.ต. สมชาย มหาวันสุ
44. พลอากาศเอกวัลลภ มีสมศัพท์
45. นายสมชัย อำภา
46. นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์
47. นายบรรจง นะแส
48. ดร.สุรพล ศรีวิทยา
49. นางพจนาลัย ไชยรังสี
50. นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
51. นายยรรยงชัย โควัฒนาภรณ์
52. นางรัชนี แมนเมธี
53. นายธงชัย เปาอินทร์
54. นางสมบุญ สีคำดอกแค
55. นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล
56. นายบารมี ชัยรัตน์
57. นางปวีณา หงสกุล
58. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
59. นายปีติชา ทุมเทียง







http://www.prachatai.com/05web/th/home/15990
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 19/3/2552

29 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม GM Hall ศศนิเวศ (ตรงข้ามเรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ด้านข้าง MBK)

เครือข่ายพลเมืองเน็ต นัดคุยกันไปกินกันไป เรื่องเสรีภาพโลกออนไลน์ ครั้งที่ 1
เครือข่ายพลเมืองเน็ต นัดคุยกันไปกินกันไป เรื่องเสรีภาพโลกออนไลน์ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ

“เสรีภาพในโลกออนไลน์


ภายใต้ความย้อนแย้งของแนวคิดวัฒนธรรมเสรี VS กรอบเก่าๆของสังคมไทย


อะไรคือสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัว”

พูดเปิดงาน

“ทำไมเราต้องสนใจเสรีภาพของโลกออนไลน์”

ประเด็น สนทนาประสาพลเมืองเน็ต

อะไรคือความหมายของ วัฒนธรรมเสรี (Free culture) และ ความเป็น พลเมือง ‘เน็ต’ (Netizen)
สื่อออนไลน์มีความต่างจากสื่อมวลชน ชุมชนเน็ตคือวัฒนธรรมใหม่ที่ต้องเปิดกว้างแต่ใช่ว่าจะไร้ขอบเขต
เสรีภาพคือเสรีภาพ เราไม่ควรยอมจำนนต่อการจำกัดเสรีภาพนั้น
บทเรียนจาก “ประชาไท” สุวิชา และ ผู้ต้องหาจาก พรบ.คอมฯ กับราคาที่ต้องจ่ายของเสรีภาพ
เสรีภาพจะมีความหมาย ต้องมาคู่ความรับผิดชอบและการเคารพศักดิ์ศรี เสรีภาพของผู้อื่น
ทบทวนหลักการของเสรีภาพ จากนักปรัชญาสู่มาตรฐานสากล สู่แนวทางการปฏิบัติจริง
เสรีภาพ - ความรู้ – ความคิด กับจิตวิญญาณประชาธิปไตย
ก่อนปิดงาน ร่วมระดมความคิดเห็น

“ก้าวต่อไปของเครือข่ายพลเมืองเน็ต”

ณ ห้องประชุม GM Hall ศศนิเวศ (ตรงข้ามเรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ด้านข้าง MBK)

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

เปิดห้องเวลา 12.30 น. เป็นต้นไป

การประชุมจะเป็นไปในรูปแบบ Brown bag meeting เริ่มจากมื้อเที่ยงของวันอาทิตย์ โดยให้ทุกคนนำอาหาร ของกินที่ชอบติดไม้ติดมือกันมา เช่น แซนด์วิช ข้าวมันไก่ หมูทอด กล้วยแขก ลูกชิ้นปิ้ง ขนมขบเคี้ยว และอื่นๆอีกมายๆ เราจะคุยกันไปกินกันไป คาดการณ์ว่า สมาชิกพลเมืองเน็ตจะตื่นสายๆในเช้าวันอาทิตย์จากนั้นเดินทางออกจากบ้าน ทำอาหารง่ายๆ หรือแวะซื้อของกินแล้วมาตั้งวงกินข้าวเสวนากัน ตั้งแต่เที่ยงครึ่งเป็นต้นไป ทางทีมงานจะเตรียมเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำเปล่าไว้บริการ รวมถึงขนมเล็กๆ น้อยๆ แต่อาหารหลักๆขอให้ทุกท่านหิ้วมาเอง แต่ขอเป็นอาหารที่ไม่ซับซ้อนที่ต้องใช้จานช้อนวุ่นวายขอเป็นอาหารง่ายๆแต่ อิ่มท้องไม่สร้างมลภาวะหรือกลิ่นมากเกินไป ถ้าท่านต้องการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่อยากใส่ถุงพลาสติก และไม่มี brown bag เป็นถุงรีไซเคิลก็ให้ใส่ กล่อง หรือปิ่นโตมาแล้วเอากลับไปล้างที่บ้านได้ก็จะดีค่ะ

เราตั้งใจให้การประชุมครั้งนี้เป็นรูปแบบสบายๆ ไม่เป็นทางการใดๆ แม้ว่าเราจะคุยกันในห้องประชุมในสถาบันการศึกษาซึ่งติดแอร์ก็ตาม เพราะอากาศช่วงนี้ร้อนมาก เราไม่สามารถจัดคุยแบบบรรยากาศปิคนิคช่วงกลางวันได้ คงต้องรอให้ถึงหน้าหนาวอีกครั้งถ้าจะจัดแบบนั้น ครั้งนี้แม้จะเป็นการนัดคุยกันในกลุ่มสมาชิกพลเมืองเน็ตซึ่งมีฐานจากทุกคนใน เมล์กลุ่มแต่เราก็เปิดกว้างให้ใครต่อใครที่สนใจเข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนด้วย ซึ่งทุกคนสามารถหอบหิ้วของกินของชอบของตัวเองใส่ถุงใส่กล่องแบบกระทัดรัดมา นั่งกินไปคุยกันไปตลอดบ่ายวันอาทิตย์

กติกาเล็กน้อย

อยากให้ทุกคนเตรียมประเด็นเขียนใส่กระดาษเล็กๆ ถึงข้อเสนอในเรื่องการบังคับใช้ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ดีกว่าในปัจจุบัน คนละ 1 ข้อ เขียนใส่ card มาจากบ้านหรือมาเขียนที่งานก็ได้ เราจะแปะบนบอร์ดและรวบรวมไปทำเป็นข้อเสนอต่อไป
ช่วงพูดคุยกัน ขอให้ทุกคน คุยไป กินไปเป็นหลัก คือแบบว่า ถ้าไม่กางจอคอมพิวเตอร์ได้ก็จะดีมากแต่ถ้าจำเป็นก็ไม่ว่ากันอ่ะ
จะมีการถ่ายทำ สัมภาษณ์ท่านที่สมัครใจเป็นสื่อรณรงค์ของพลเมืองเน็ตต่อไปดโปรดเตรียมพร้อมถูกถ่ายทำด้วยค่ะ
RSVP ได้ที่ 02-6910574 (ติดต่อ ต้อม) หรือ freethainetizen@gmail.com

24 มีนาคม 2552 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ ชั้น 6

นับจากผลกระทบของวิกฤตการเงินในสหรัฐได้แปรสภาพเป็นคลื่นวิกฤตคุกคามความอยู่รอดของหลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทย ก็เช่นเดียวกัน ไม่อาจรอดพ้นจากผลกระทบดังกล่าวได้ และเผชิญความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นครั้งแรก นับจากเกิดวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อ 11 ปีก่อน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า การชะลอตัวอย่างฉับพลันของเศรษฐกิจไทย ส่งผลลบอย่างมากต่อทุกภาคส่วนในสังคมไทย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป จนสร้างความหวั่นวิตกไปทั่ว
ด้วยเหตุดังกล่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติธุรกิจ” จึงจัดงานเสวนาเพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้นักวิชาการที่มีความเข้าใจสถานการณ์วิกฤตอย่างถ่องแท้ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มองอนาคต และตีแผ่แง่มุมต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “โคตรวิกฤต ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย : ถึงเวลาเผชิญหน้าความจริง” โดยได้รับเกียรติ จากดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารทีมนโยบายการค้าและเงินทุน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักการเงิน และนักวิชาการอิสระ ดำเนินรายการ โดย ดร.ปกป้อง จันวิทย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันอังคารที่ 24 มีนาคม 2552 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ ชั้น 6
พร้อมกันนี้ ประชาชาติธุรกิจ ได้ใช้โอกาสนี้เปิดตัวหนังสือ “โคตรวิกฤต : หายนะฟองสบู่ซับไพรม สู่วิกฤตโลก” อันเป็นผลงานจากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารรอบด้าน เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก นำมาเรียบเรียง จัดพิมพ์ และเผยแพร่เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่านในวงกว้าง

23 มีนาคม 2552 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ เวลา 08.00 – 12.00 น.

สคร. จัดสัมมนา “บุคคลในบัญชีรายชื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ” ในวันที่ 23 มีนาคม 2552 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 มีนาคม 2552 สคร. จะมีการจัดงานสัมมนาเรื่อง “นโยบายและความคาดหวังของภาครัฐและกระทรวงการคลังต่อบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 1 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ เวลา 08.00 – 12.00 น. โดยมี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน
ผอ.สคร. กล่าวว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้บุคคลในรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจได้รับทราบถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกรรมการรัฐวิสาหกิจ บุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ โดยหัวข้อในการสัมมนาประกอบด้วย 1. นโยบายและความคาดหวังของภาครัฐและกระทรวงการคลังต่อบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ 2. แนวนโยบายภาครัฐและภาพรวมการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลังและ 3. กฏหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ
“ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 วันที่ 25 สิงหาคม 2551 และวันที่ 9 ตุลาคม 2551 ซึ่งบุคคลที่ได้รับการคัดสรรขึ้นบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และมีคุณสมบัติเหมาะสมกับภารกิจ และความรับผิดชอบของ การเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการดังกล่าวได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยขณะนี้มีบุคคลที่ได้รับการคัดสรรขึ้นบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจแล้ว จำนวน 380 คน"

20 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ โรงแรมที เค พาเลซ ห้องประชุมจามจุรี ชั้น 1 ถ.แจ้งวัฒนะ กทม.

ด้วยคณะอนุกรรมการด้านสุขภาพ อนามัย ผู้สูงอายุ และผู้พิการในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จัดสัมมนาเรื่อง ปิดช่องว่างของระบบบริการสุขภาพไทย
ในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 - 16.00 น.
ณ โรงแรมที เค พาเลซ ห้องประชุมจามจุรี ชั้น 1
ถ.แจ้งวัฒนะ กทม.

เพื่อรับทราบสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานภายใต้ระบบสุขภาพต่าง ๆ
และเป็นการระดมความคิดเห็นเกี่ยกับแนวทางและกลไกที่จะสามารถ
แก้ไขปัญหาในระบบสุขภาพได้

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

การให้บริการปรึกษาแนะนำของ BOC

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400







กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมโครงการ “การให้บริการปรึกษาแนะนำของ BOC” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น มีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.1 เพื่อให้ความรู้ ข้อมูล แนะแนวทางการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจแก่ผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ

1.2 เพื่อแนะแนวทางการแก้ปัญหาการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบการใหม่ และผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเภทธุรกิจ หรือผู้ที่ต้องการขยายธุรกิจเดิม ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์

1.3 เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การลงทุนใหม่ๆ และแนวทางในการวางแผนธุรกิจ

1.4 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบในปัจจุบันของผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ ในแง่ของการมีที่ปรึกษาให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและกำลังใจในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้

1.5 เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระและการเป็นเจ้าของธุรกิจสำหรับผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างและบัณฑิตใหม่ ที่จะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและตกต่ำในขณะนี้



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ธาริดา คงโต

โทรศัพท์ : 08-9078-5086, 08-1816-4796

โทรศัพท์ : 0-216-5898

แฟกซ์ : 0-215-3314



E- mail: boc_industrial@hotmail.com

Website: http://boc.dip.go.th



หมายเหตุ: ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นในการเข้าร่วมโครงการฯ

Fringer | คนชายขอบ

http://www.fringer.org/?p=259
Fringer | คนชายขอบ

http://tewson.com
Shelfari : social network ของคนรักการอ่าน

จดหมายเปิดผนึกจาก คปส และ FACT ถึง พลเมืองไทย

จดหมายเปิดผนึกจาก คปส และ FACT ถึง พลเมืองไทย
ว่าด้วยการบังคับใช้ พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม เป็นต้นไป



วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 คือวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ถูกผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภายหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549




ทั้งนี้ หลังการประกาศใช้ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้จริงภายใน 30 วัน ดังนั้น ในวันพรุ่งนี้คือวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็น วันที่กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อพลเมืองไทยทุกคน โดยเฉพาะปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ความเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ใน ทุกมิติ อีกทั้งกระทรวงไอซีทีกำลังดำเนินการผลักดัน กฎกระทรวงซึ่งเป็นกฎหมายประกอบ พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จำนวน 3 ฉบับ คือ




* หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
* หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.
* กฎกระทรวงว่าด้วยการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์




คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เห็นความสำคัญในการมีกติกาสำหรับการป้องกันการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณชน แต่เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการควบคุมสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร (Communication Rights) ของพลเมือง




ทั้งนี้เรามีข้อสังเกตว่า

1. การออก พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ เป็นการออกกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมากในการตรวจสอบข้อมูล ทั้งโดยผ่านศาลและอำนาจโดยตรงของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายยังกำหนดด้วยว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet Service Providers-ISP) จะต้องเก็บข้อมูลย้อนหลังนานถึง 90 วันไว้ให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องรับรู้ ดังนั้นหากเปรียบก็เหมือนเราจะถูกค้นบ้านได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลและไม่ต้อง แจ้งเรา นอกจากจะถูกค้นได้ภายในวันนั้นแล้ว ยังสามารถถูกย้อนหลังตรวจได้อีก 90 วัน ซึ่งนอกจากจะถูกลิดรอนสิทธิการตรวจสอบข้อมูลที่ถือได้ว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล ในการสื่อสารแล้ว ขณะนี้ยังมีประเด็นที่เป็นข้อกังวลถึงความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายด้วยว่า เมื่อมีกฎหมายมาแล้ว แต่ในกฎหมายกลับยังไม่มีการระบุคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย นั้นว่าจะได้มาอย่างไร ใครจะเป็นผู้แต่งตั้งมา ดังนั้นจึงต้องติดตามต่อไปว่าจะมีการระบุกติกาที่มาของเจ้าหน้าที่อย่างไร

2. การออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดคอมพิวเตอร์ เป็นการออกกฎหมายตามที่เคยต้องการให้มีกฎหมายควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิคส์ ที่เดิมออกแบบกฎหมายไว้ 6 เรื่องซึ่งจะมีทั้งการป้องกันปราบปราม และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล แต่ปรากฏว่าในการออกกฎหมายครั้งนี้รัฐบาลตั้งใจเลือกจะออกแต่เฉพาะกฎหมายที่ เป็นการปราบปราม ซึ่งกระทบและลิดรอนสิทธิประชาชนผู้สื่อสาร โดยรัฐบาลไม่คิดที่จะยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ บังคับร่วมกันเลย ซึ่งหากจะออกฎหมายที่มีผลตรวจสอบข้อมูลการสื่อสารของบุคคลย้อนหลังได้ถึง 90 วัน รัฐก็ควรผลักดันให้ออกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย




เราเกรงว่า นับตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป รัฐจะใช้กฎหมายดังกล่าวในการลิดรอนสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to privacy) และสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) ของประชาชนหนักข้อขึ้น ด้วยการใช้กฏหมายโดยมีเหตุผลซ่อนเร้นทางการเมืองมากกว่าการป้องปราม อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันที่สังคมไทยขาดความเป็นประชาธิปไตย และแนวโน้มในอนาคตที่รัฐอำนาจนิยมจะครอบงำสิทธิเสรีภาพพลเมืองไทยมากขึ้น เช่น การผลักดันกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ… หรือทิศทางการสืบทอดอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช) เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องตื่นตัวเฝ้าระวังการใช้อำนาจรัฐคุกคาม สิทธิของประชาชนอย่างจริงจังมากขึ้น




เราเห็นด้วยกับหลักการในการคุ้มครองเด็ก หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่รับความเสียหายจากการใช้คอมพิวเตอร์ แต่เราไม่เห็นด้วยที่รัฐจะมีอำนาจมากเกินไปในการควบคุมเซ็นเซอร์เนื้อหาสาระ ในสื่อคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เนท จนกระทั่งทำให้เส้นแบ่งระหว่างการที่รัฐจะปกป้องผู้ที่ถูกกระทำจาก คอมพิวเตอร์ กับการละเมิดสิทธิของพลเมืองโดยรัฐเองนั้นคลุมเครือยิ่ง




การเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าค้น ยึด อายัด สื่อคอมพิวเตอร์ได้นั้น ย่อมไม่ต่างจากแนวคิดรัฐอำนาจนิยมในอดีตที่ออกกฏหมายให้มีการยึดแท่นพิมพ์ หรือจับกุมเครื่องส่งกระจายเสียงสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ถ้ารัฐเห็นว่าการกระทำใดขัดต่อกฏหมายหรือความมั่งคงของรัฐ ทั้งที่กระบวนการร่างกฏหมายดังกล่าวนี้ ไม่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากสภานิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนโดยตรงของ ประชาชนเลย แต่ผลก็คือเราทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างยอมจำนน




วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2550 เป็นวันที่กฏหมายดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้

คปส และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชน ชุมชนสื่อออนไลน์ ช่วยเผยแพร่ ข่าวสาร ความคิดเห็น หรือส่งเสียงประท้วงคัดค้าน ในกรณีที่มาตรการตามกฏหมายดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสวงหาข้อมูล เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อคอมพิวเตอร์และ สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะเสรีภาพของประชาชนที่มีจุดยืน ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกทางการเมืองแตกต่างจากอำนาจรัฐ

ถึงเวลาแล้วที่พลเมืองผู้ไม่ยอมรับการคุกคามสิทธิเสรีภาพผ่านสื่อออนไลน์ (Cyber dissidents) จักต้องรวมพลังกันติดตาม ตรวจสอบ คัดค้าน หรือประท้วงการใช้อำนาจของรัฐในทางมิชอบ ก่อนที่เราจะตกเป็นฝ่ายที่ถูกรัฐจัดการตรวจสอบและดำเนินคดีกับเราคนใดคน หนึ่งโดยไม่ทันรู้ตัว

เราต้องไม่ยอมให้รัฐรุกล้ำคุกคามสิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อสิทธิเสรีภาพถูกยึดกุมไปได้แล้ว ยากที่เราจะเรียกร้องให้คืนกลับมา




ที่สำคัญ ความผิดทางอาชญากรรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นคนละเรื่องกับเสรีภาพการนำเสนอ ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นผ่านสื่ออินเตอร์เนท เพราะการพูดการเขียน การแสดงความคิดเห็นไม่ใช่อาชญกรรม อีกทั้งเวบไซต์การเมืองไม่ใช่เวบโป๊เปลือย การอ้างเรื่องการควบคุมเวบไซต์ลามกอนาจารพ่วงแถมด้วยการควบคุมเวบไซต์ทางการ เมืองด้วยนั้น เท่ากับรัฐกำลังทำให้การเมืองเป็นเรื่องอนาจาร ที่ประชาชนไม่ควรดู ไม่ควรอ่าน ไม่ควรคิด ไม่ควรพูด หรือแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกใดๆ ในพื้นที่สาธารณะ

เสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ ไม่ต่างจากเสรีภาพสื่ออื่น เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือสื่อสารมวลชนใดในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมถึงกันหมด (Convergence) ดังนั้นจึงต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง เพราะสิทธิเสรีภาพสื่อเหล่านี้คือสิ่งชี้วัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย







คณะกรรมการณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)
เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT)




18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550







http://www.fringer.org/?p=259

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

1,900 องค์กรภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมสรรหาสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1,900 องค์กรภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมสรรหาสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ



ตามที่ สำนักงานสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศรับสมัครองค์กรภาคเอกชนเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ระหว่างวันที่ 22 มกราคม และปิดการรับสมัครเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 นั้น



เมื่อ 16 มี.ค. สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ได้ทำการประกาศรายชื่อองค์กรทั้งหมดที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ รวม 1,932 องค์กร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nesac.go.th/selection3



ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13-19 มีนาคม 2552 จะเปิดโอกาสให้องค์กรที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามบัญชีรายชื่อแต่ละกลุ่ม ที่ประสงค์จะคัดค้านองค์กรที่สมัครในกลุ่มเดียวกันที่เห็นว่าขาดคุณสมบัติหรือไม่เหมาะสม สามารถยื่นคำคัดค้านตามแบบ สศ.5-02 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำคัดค้าน ด้วยตนเอง ณ สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 27 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2552 ในวันและเวลาราชการ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือไปรษณีย์ด่วนพิเศษ โดยจ่าหน้าซองถึงเลขาธิการสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตู้ ปณ.27 ปณฝ.ราชเทวี กรุงเทพฯ 10401 (โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันยื่นคำคัดค้าน)



และภายหลังจากการคัดค้านกันเองแล้วนั้น คณะอนุกรรมการสรรหา จะดำเนินการคัดเลือกองค์กร และประกาศรายชื่อองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2552 ทั้งนี้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 3 ได้ที่ http://www.nesac.go.th/selection3 หรือศูนย์อำนวยการเพื่อการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2612-6916, 0-2612-6975






http://www.prachatai.com/05web/th/home/15956

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 17/3/2552

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 เวลา 17:00 – 22:00 น. ณ ห้องบอลรูม 2 อาคารประชุม หอการค้าไทย-จีน ถ.สาทรใต้

การแสดงดนตรีเพลงปฏิวัติ “ความรักและความเสียสละ อันบริสุทธิ์เพื่อชาติและประชาชน”
โดย : คณะผู้จัดงาน เมื่อ : 16/03/2009 02:20 PM
การแสดงดนตรีเพลงปฏิวัติ
“ความรักและความเสียสละ อันบริสุทธิ์เพื่อชาติและประชาชน”
วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 เวลา 17:00 – 22:00 น.
ณ ห้องบอลรูม 2 อาคารประชุม หอการค้าไทย-จีน ถ.สาทรใต้

ตามเว็บไซต์นี้:http://cpt.igetweb.com
ลักษณะพิเศษของการจัดงานครั้งนี้ก็คือ เป็นการแสดงดนตรีของนักปฏิวัติ "ของแท้" ที่ยังแสดงมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา การร่วมกันร้องเพลง (บางเพลง) และปิดท้ายด้วยการรำวงร่วมกันอีกด้วย

งานแสดงดนตรีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่ใช่งานรณรงค์ทางการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้ดนตรีและเพลงปฏิวัติมาเพื่อการสมทบทุนจัดกิจกรรมแสดงความรักและความกตัญญู และการให้ความช่วยเหลือในการยังชีพ การรักษาพยาบาล ตลอดจนการฌาปนกิจแก่นักต่อสู้อาวุโสที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

การสมทบทุนเป็นการบริจาคตามความสมัครใจของผู้เข้าชม คณะผู้จัดงานและนักร้อง-นักดนตรีก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ หรือไม่ได้หักค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ การจัดเตรียมงานหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด

สุดท้ายนี้คณะผู้จัดงานจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะไปร่วมงานหรือร่วมสนับสนุนเจตนาดีและบริสุทธิ์ใจของคณะผู้จัดงานในครั้งนี้ โปรดช่วยกันชักชวน-บอกต่อเพื่อนสนิทมิตรสหายด้วย และขอบพระคุณท่านล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

ด้วยความขอบคุณ
คณะผู้จัดงาน
Email: cpt.song@gmail.com URL:http://cpt.igetweb.com

http://www.thaingo.org/prboard_1/view.php?id=8106

วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีสัมพันธ์ ถ.พระราม ๖

เวทีสาธารณะพิจารณ์ ชำแหละร่างกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ : ใครได้ ใครเสีย?
โดย : ไตรภาคีสมาคม เมื่อ : 17/03/2009 08:07 AM
ไตรภาคีสมาคม ขอเชิญร่วมเวทีสาธารณะพิจารณ์
“ชำแหละร่างกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ : ใครได้ ใครเสีย?

วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม๒๕๕๒

ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีสัมพันธ์ ถ.พระราม ๖
-------------------------------------------------
ภาคเช้า ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน

นายชาตวิทย์ มงคลแสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย กล่าวรายงาน

๐๙.๐๙ น.เปิดงานและแสดงปาฐกถาพิเศษ โดย รมต.สาทิตย์ วงศ์หนองเตย วิทยากรเสวนา

ภาคเช้า ๐๙.๐๙ – ๑๒.๓๐น.

-ส.ส. เชน เทือกสุบรรณ รองประธานคณะกรรมาธิการ ICT สภาผู้แทนราษฎร
-ส.ส.สงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย
-นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ผู้ตรวจการกระทรวงไอทีซี
-นายพากเพียร สุนทรสิต ผู้อำนวยการสำนักบริการอย่างทั่วถึง สนง.กทช.

-เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น (พักรับประทานของว่าง 10.15-10.30 น.)

ดำเนินการโดย นายวุฒิพร เดี่ยวพานิช นายกสมาคมสิทธิผู้บริโภค

พักรับประทานอาหารเที่ยง

ภาคบ่าย ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. อภิปราย (ต่อ)โดย
วิทยากรเสวนา
-นายเทวพจน์(ดอน)สัมพันธารักษ์ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม
-น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ภาคประชาชน คปส.
-นายวิเชียร คุตตวัส ภาคองค์กรวิทยุชุมชน
-นายวิชัย เบญจรงคกุล ภาคผู้ประกอบการ

-เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น (พักรับประทานของว่าง 15.00-15.15 น.)

ดำเนินการโดย ดร.อธิวัฒน์ สินรัชตานันท์ เลขาธิการสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคไทย

สำรองที่นั่งได้โทร : ๐๒ ๕๘๐ ๒๐๐๐ - ๑
หมายเหตุ : ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และจะมีการถ่ายทอดสัญญาณเสียงผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2552 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เลขที่ 39 สี่แยกมาบข่า ถนนทางหลวงระยองสาย

กลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด ผู้จัดสร้างสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้สนับสนุนการจัดงานกิจกรรม “ตลาดนัดสุขภาพดี ” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกิจกรรมหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย โดยครั้งนี้มีแนวคิดในการฟื้นฟูประเพณี มารยาท วัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน แก่ชุมชนระยองและบุคคลทั่วไปผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแสดงบนเวที การสาธิตอาหารขนมโบราณ การสาธิตประเพณีวิถีชีวิตบุคคลสมัยก่อน ในชื่องาน “ ย้อนรำลึก ตราตรึงเสน่ห์ความเป็นไทย ” ซึ่ง ปตท. ได้ร่วมกับชุมชนชาวระยอง วิทยากรจากหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้ร่วมกัน นอกจากนี้ทั้งครอบครัว ยังได้สนุกสนานกับภาพยนตร์สำหรับเด็ก ตอบคำถามและรับรางวัลจากเกมส์ เลือกซื้ออุดหนุนสินค้าชุมชน วิสาหกิจชุมชนระยองและภูมิภาค พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมอบรมคุณภาพชีวิตสร้างสุขด้วย การฝึกทำของชำร่วยหอมบุหงารำไป การร้อยพวงมาลัยดอกไม้ บริเวณลานกิจกรรมภายในสวน ในวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2552 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เลขที่ 39 สี่แยกมาบข่า ถนนทางหลวงระยองสาย 3191 อำเภอนิคมพัฒนา จ.ระยอง โทรศัพท์ 038- 915-213-5 โทรสาร 038-915-216
หมายเหตุ : เข้าชมฟรีและเข้ารับสาธิต อบรมตลอดงาน สมัครเข้าร่วมออกร้านชุมชนคุณภาพ โดยไม่เสียค่าใช้ จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ขอความร่วมมือแต่งกายแบบไทยโบราณหรือพื้นเมือง “แต่งกายดีมีรางวัล”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 081-5857-115 เกณิกา ชาติชายวงศ์

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

‘SB unity’หมวกแฟชั่นสุดฮิป เปิดประสบการณ์แกร่งจากวิกฤต

‘SB unity’หมวกแฟชั่นสุดฮิป เปิดประสบการณ์แกร่งจากวิกฤต
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000019265

“ศิริวัฒน์แซนด์วิช” นักสู้วิกฤตชาติ ตำนานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000013630

มุมมอง เจ้าสัว – CEO ปีหน้าเผาทั้งเป็นจริงหรือ? จะรับมือกันอย่างไร
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9510000152943

“ปะการัง เอ็กซ์ปอร์ต” ปรับตัวอย่างไรในภาวะตลาดโลกวิกฤต
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000016968

เวทีน้ำโลกย้ำวิกฤติ อีก 20 ปีคนครึ่งโลกขาดน้ำจืด
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000030121

Moment Club ภาพถ่ายสร้างสุข จำลองบรรยากาศโฟโต้จุฬาสู่ธุรกิจ

Moment Club ภาพถ่ายสร้างสุข จำลองบรรยากาศโฟโต้จุฬาสู่ธุรกิจ
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000027985

ทางรอด SMEs จะลดต้นทุนได้ ต้องรู้ต้นทุนก่อน
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000028498

“SWITCH ON” แฟรนไชส์เสื้อมือสอง เส้นทางสร้างอาชีพของคนเงินน้อย
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000029029

“เอสเอ็มอี แบงก์” จับมือ “กสอ.” ปั้นเถ้าแก่ใหม่
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000028252

ผ่ากึ๋น ‘วงษ์พาณิชย์’ เจ้าพ่อเก็บขยะ ชี้ ศก.เน่าโอกาสทองยกกำลังสอง
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000024899

ชี้ธุรกิจอาหารอนาคตยังใส เกี่ยวเทรนด์รักสุขภาพโตสวนกระแส

ชี้ธุรกิจอาหารอนาคตยังใส เกี่ยวเทรนด์รักสุขภาพโตสวนกระแส

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มีนาคม 2552 12:27 น.



นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร


สถาบันอาหารชี้ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพโตสวนกระแส เผยแนวโน้มกลุ่มลูกค้าเติบโตสูงได้แก่ เด็กเล็ก ผู้ชาย ผู้สูงอายุ และผู้รักสิ่งแวดล้อม แนะห้ามอวดสรรพคุณเกินจริง

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แต่สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารคาดว่าจะไม่กระทบมากเหมือนธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากอาหารถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ประกอบจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีก รวมถึงความรวดเร็วในการกระจายสินค้า ทำให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกมองตรงกันว่า ตลาดอาหารโลกยังคงขยายตัวได้ดีในปีนี้ (2552) แม้ว่าจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ อย่างมากก็ตาม

ทั้งนี้ มุมมองนักวิเคราะห์และผู้ผลิตอาหารชั้นนำโลก สรุปแนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีอนาคตในปีนี้ ประกอบด้วยกลุ่มที่เน้นผู้บริโภคเป้าหมาย 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1. กลุ่มทารกและเด็กเล็ก โดยเฉพาะการทำตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นรูปแบบเพิ่มความสะดวกในการบริโภคมากขึ้น 2. กลุ่มผู้ชายรักสุขภาพ ปัจจุบันแนวโน้มผู้ชายหันมาให้ความใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคหัวใจ และผมร่วง

3. กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มประชากรโลกที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้ง เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ต้องการอาหารป้องกันโรคมากกว่าบริโภคยา และ 4. กลุ่มผู้รักสิ่งแวดล้อม มีผู้บริโภคจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ชั้นนำของโลกต้องเริ่มตอบสนองความต้องการด้วยการเพิ่มขอบเขตการคัดเลือกสินค้าเข้าสู่ชั้นวางสินค้า

นายยุทธศักดิ์ เผยต่อว่า อีกแนวโน้มที่น่าสนใจ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายๆ ด้านใน 1 ผลิตภัณฑ์ และหากมีผลงานวิจัยทางวิชาการรับรองจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ โดยรวมแนวโน้มอาหารโลกจะเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ทำให้ปีนี้จะมีผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพออกสู่ตลาดมากมาย โดยสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการห้ามมองข้าม คือ จรรยาบรรณในการผลิต ไม่ควรนำเสนอข้อมูลสรรพคุณเพื่อสุขภาพเกินจริง เพราะผู้บริโภคจะคาดหวังสูง และเข้าใจผิดในการซื้อมารับประทาน ซึ่งจะเกิดผลเสียแก่ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพแทนที่จะเติบโตในระยะยาว จะกลายเป็นโตรุนแรงแล้วตายไปอย่างรวดเร็ว

http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9520000029822

วันที่ 18-20 และ 25-27 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

กรมพัฒนาธุรกิจฯ ใจดี ปั้นเถ้าแก่ถอดด้าม ฟรี!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มีนาคม 2552 10:31 น.



นายสุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า


กรมพัฒนาธุรกิจฯ ฝึกอบรม สำหรับ SMEs หน้าใหม่ เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ ระหว่างวันที่ 18-20 และ 25-27 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ หวังปั้นเถ้าแก่ใหม่ที่มีศักยภาพ เผยผู้สนใจร่วมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

นายสุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดฝึกอบรมเพื่อปูพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่เพิ่งเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ในหลักสูตร “การเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ” ระหว่างวันที่ 18-20 และ 25-27 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี หวังมุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ให้มีความพร้อมและความมั่นใจในการทำธุรกิจ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างเหมาะสม และเป็นการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีขีดความสามารถ จนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง

สำหรับกำหนดจัดอบรมหลักสูตร “การเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ” ซึ่งหัวข้ออบรมประกอบด้วย การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ, การตัดสินใจลงทุน, ความรู้เกี่ยวกับบัญชีและภาษีอากร, หลักการเขียนแผนธุรกิจ, รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ, การวิเคราะห์แผนธุรกิจ, การเขียนแผนธุรกิจ, กลยุทธ์และแผนการตลาดเพื่อสร้างโอกาสในภาวะวิกฤต, เทคนิคการสร้างความประทับใจเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ตลอดจนพาศึกษาดูงานนอกสถานที่ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนมาเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร โดยผู้ประกอบธุรกิจและผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสมัครเข้ารับการอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่สำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ ชั้น 12 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทรศัพท์ 0 2547 5962, 64 โทรสาร 0 2547 5963 E-mail : training@dbd.go.th หรือ www.dbd.go.th ได้ในวันเวลาราชการ.

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00 นาฬิกา ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 โรงแรมรามาการ์เดนท์ กรุงเทพฯ

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า จัดสัมมนาพิเศษ เรื่อง “นโยบายประชานิยม...ความฝันของรัฐบาลหรือประชาชน” ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00 นาฬิกา ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 โรงแรมรามาการ์เดนท์ กรุงเทพฯ ผู้สนใจสำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดที่ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง หมายเลขโทรศัพท์ 0-2527-7830-9 ต่อ 2505-2508 หรือที่ www.kpi.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า
โทรศัพท์ 0-25277830-9 ต่อ 2310 และ 2302
โทรสาร 0-2527-7822

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-631-2290 ต่อ 310 บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด

วันศุกร์ที่ ๒๐ และ วันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

กำหนดการ
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๔
“ประสานปัญญาแห่งอนาคต ลดวิกฤตโลกร้อนและพลังงาน”
วันศุกร์ที่ ๒๐ และ วันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
วันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา กิจกรรมหลัก การบรรยาย/การเสวนาพิเศษ นิทรรศการ
๐๗.๓๐– ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน บริเวณหน้าห้อง Grand Hall ชั้น ๒ (เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๑.๐๐ น.) การเสนอผลงานวิจัยของนักเรียน นิสิต นักศึกษา
๐๘.๓๐– ๐๙.๓๐ น. พิธีเปิดงาน มอบโล่ และบรรยายพิเศษเกี่ยวกับ การเสวนา เรื่อง นิทรรศการภาวะโลกร้อน
โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “ประสานปัญญาต้นกล้าวิทยาศาสตร์ไทย” นิทรรศการพลังงาน
(นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์) ณ ห้อง Grand Hall ๒๐๑ - ๒๐๒ กิจกรรมวัดแววผู้มีความสามารถพิเศษ
ณ ห้อง Grand Hall ๒๐๑ - ๒๐๒ ข้อสอบ online
๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น. ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการและ การประชาสัมพันธ์หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์
ชมโปสเตอร์ผลงานวิจัย นักเรียน นิสิต นักศึกษา การพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
บริเวณหน้าห้อง GH๒๐๓ กิจกรรมสาธิตทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ รอบที่ ๑ เทคโนโลยี
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน พักรับประทานอาหารกลางวัน สนุกกับปฏิบัติการเสริมทักษะการคิด
๑๓.๐๐ – ๑๔.๔๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย (เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.) ห้อง MR ๒๒๔ การออกร้านจำหน่ายหนังสือ สื่อการสอน
ห้องMR๒๑๑–MR๒๒๓ และ MR๒๒๕ การบรรยายเรื่อง “โจรกรรมทางวิชาการ”
๑๔.๔๐ – ๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ฯลฯ
๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย และนายแพทย์กิตติศักดิ์ กุลวิชิต
ห้อง MR๒๑๑–MR๒๒๓และMR๒๒๕
๑๗.๐๐ – ๑๘.๓๐ น. กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ โดย สมาคมนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.) ระดับมัธยมศึกษา ณ ห้อง MR ๒๑๗ และ ระดับอุดมศึกษา ห้อง
MR ๒๒๔

วันเสาร์ที ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เวลา กิจกรรมหลัก รายการพิเศษ นิทรรศการ
๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน บริเวณหน้าห้อง Grand Hall ชั้น ๒ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.) ห้อง MR ๒๑๗ การเสนอผลงานวิจัยของนักเรียน นิสิต นักศึกษา
การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย ผึกปฏิบัติการ “หนังสือทำมือ” โดย ชมรมนักเขียนและ นิทรรศการภาวะโลกร้อน
ณ ห้อง MR ๒๑๑ – MR๒๒๓ และ MR ๒๒๕ ผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) นิทรรศการพลังงาน
(เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.) ห้อง MR ๒๑๗ กิจกรรมวัดแววผู้มีความสามารถพิเศษ
อบรม "การเขียนบทความทางวิชาการ" ข้อสอบ online
๑๐.๑๐ – ๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง การประชาสัมพันธ์หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์
๑๐.๑๐ – ๑๑.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ รอบที่ ๒ (เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.) การพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย สาธิตการแข่งขันฟิสิกส์สัประยุทธ์ ห้อง MR ๒๒๔ กิจกรรมสาธิตทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ
ณ ห้อง MR ๒๑๑- MR ๒๑๕ และ เทคโนโลยี
ห้อง MR ๒๑๘ - MR ๒๒๑ สนุกกับปฏิบัติการเสริมทักษะการคิด
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน พักรับประทานอาหารกลางวัน การออกร้านจำหน่ายหนังสือ สื่อการสอน
การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย (เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.) ฯลฯ
ณ ห้อง MR ๒๑๑- MR ๒๑๕ และ ห้อง MR ๒๑๗
ห้อง MR ๒๑๘ - MR ๒๒๑ ผึกปฏิบัติการ “หนังสือทำมือ” โดย ชมรม นจวท.
๑๔.๔๐ – ๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง ห้อง MR ๒๒๔
การบรรยายเรื่อง “โรคที่มากับโลกร้อน”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพล สินธุนาวา
๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
โดย นายแพทย์ปราการ ถมยางกูร
๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. รับวุฒิบัตรการเสนอผลงาน ณ ห้อง MR ๒๑๐

หมายเหตุ ประกาศผล รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง Grand Hall ๒๐๑
ไฟล์:กำหนดการแนวขวาง 13 มีนาคม 52
การบรรยายเรื่อง"บริหารจิต วันละนิด เป็นนักวิทย์ที่สดใส" ณ ห้อง Grand Hall ๒๐๑
๑๓.๐๐ – ๑๔.๔๐ น.
๐๘.๓๐ – ๑๐.๑๐ น.
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.
http://www3.ipst.ac.th/meeting_dpst/news/file_link/12370246891.pdf

วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552 เวลา 09.00-14.00 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

CAT ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว"การใช้งานเครือข่าย Uninet 10 Gbps. เพื่อการวิจัย" ในวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552 เวลา 09.00-14.00 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ข้อมูลเบื้องต้น
CAT จัดบริการเครือข่ายช่องสัญญาณโทรคมนาคมในประเทศ ความเร็ว 10 Gbps. เชื่อมโยงระหว่าง Node Uninet ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 14 เส้นทาง แก่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งจัดให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ภายใต้ชื่อ Uninet

กำหนดการแถลงข่าว
09.00 - 10.00 น. ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง
10.00 - 10.15 น. กล่าวความเป็นมาโครงการเครือข่าย Uninet 10 Gbps. เพื่อการศึกษาวิจัย
โดย ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล
ผู้อำนวยกการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา
10.15 - 10.45 น. กล่าวเปิดงานพร้อมแถลงนโยบาย วิสัยทัศน์ และแนวทางในการดำเนินโครงการ
เครือข่าย Uninet 10 Gbps. เพื่อการศึกษาวิจัย
โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น (เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา)
10.45 - 11.15 น. โครงการความร่วมมือระหว่าง CAT และ Uninet
11.15 - 11.45 น. การนำเสนอผลงานการใช้เครือข่าย Uninet ด้าน Telemedicine
โดย ผศ.นพ.พรณรงค์ โชติวรรณ
11.45 - 13.00 น. Lunch Talk
การอภิปรายเรื่อง "ประสบการณ์การใช้เครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัยกับต่างประเทศ"
โดย - รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์
- รศ.สุภาวดี รัตนมาส
- ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาค
- พันเอกสุรัตน์ เลิศล้ำ
ดำเนินการอภิปรายโดย
- ผศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์
13.00 น. ร่วมชมผลงานความก้าวหน้าด้านการใช้เครือข่าย Uninet เพื่อการศึกษาวิจัย

ร่องรอย นิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง(2)

ร่องรอย ตำนาน ประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง(1)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20090308/22703/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87(1).html

ร่องรอย นิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง(2)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20090315/24782/ร่องรอย-นิทาน-ตำนาน-ประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง(2).html

Space พื้นที่แห่งการพักผ่อน
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20090315/24407/Space-พื้นที่แห่งการพักผ่อน.html

ระวัง! ไม่มีแผ่นดินจะอยู่

ระวัง! ไม่มีแผ่นดินจะอยู่
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20090305/21862/ระวัง!-ไม่มีแผ่นดินจะอยู่.html

คันตามตัว กลัว “งูสวัด”
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20090305/21936/คันตามตัว-กลัว-“งูสวัด”.html

เอสไอเอสคว้ากูเกิล แอนดรอยด์ ผนึกค่ายมือถือวางตลาดไทย เม.ย.
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20090306/22266/เอสไอเอสคว้ากูเกิล-แอนดรอยด์-ผนึกค่ายมือถือวางตลาดไทย-เม.ย..html

เยลโล่เพจเจสเจรจากูเกิลเบนเข็มบริการผ่านเน็ต
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/corporate/20090305/21660/เยลโล่เพจเจสเจรจากูเกิลเบนเข็มบริการผ่านเน็ต.html

จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ พลิกภารกิจซิป้า

จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ พลิกภารกิจซิป้า
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20090316/24883/จีรศักดิ์-พงษ์พิษณุพิจิตร์-พลิกภารกิจซิป้า.html

ประธานบอร์ดใหม่ซิป้าเร่งสางปัญหาภายใน
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20090311/23365/ประธานบอร์ดใหม่ซิป้าเร่งสางปัญหาภายใน.html

เนคเทคสำรวจคนไทยรูปร่างสูงใหญ่ใกล้ไซส์ต่างชาติ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20090225/19796/เนคเทคสำรวจคนไทยรูปร่างสูงใหญ่ใกล้ไซส์ต่างชาติ.html

โซลาร์เซลล์อัจฉริยะหมุนตามแสงตะวัน
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20090305/21925/โซลาร์เซลล์อัจฉริยะหมุนตามแสงตะวัน.html

จับสองผัวเมียลวงสรรพากรคืนเงินภาษีได้ 1.5 ล้าน

จับสองผัวเมียลวงสรรพากรคืนเงินภาษีได้ 1.5 ล้าน
http://www.komchadluek.net/detail/20090306/4169/จับสองผัวเมียลวงสรรพากรคืนเงินภาษีได้1.5ล้าน.html

"กก.สิทธิฯ"จี้"นายกฯ"ตั้งสภาจัดการที่ดินแห่งชาติ
http://www.komchadluek.net/detail/20090316/5478/กก.สิทธิฯจี้นายกฯตั้งสภาจัดการที่ดินแห่งชาติ.html

รัฐทุ่ม 6,900ล้านบาทอบรม 5 แสนคนตกงาน
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20090316/25064/รัฐทุ่ม-6,900ล้านบาทอบรม-5แสนคนตกงาน.html

ส.ว.-เครือข่ายพ่อแม่จี้เลิกเอเน็ต-โอเน็ต
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20090316/24946/ส.ว.-เครือข่ายพ่อแม่จี้เลิกเอเน็ต-โอเน็ต.html

Windows 7 สามารถเอา IE8 ออกได้!!! -_-

Windows 7 สามารถเอา IE8 ออกได้!!! -_-
http://www.oknation.net/blog/aumpradya/2009/03/05/entry-1

IE8 โหลดเว็บเร็วกว่าไฟร์ฟ็อกซ์และ Chrome
http://www.oknation.net/blog/aumpradya/2009/03/16/entry-1

ค้นหาโปรแกรมทดแทนที่เหมาะสมกับลินุกส์
http://www.oknation.net/blog/aumpradya/2009/03/15/entry-1

บริการล่าสุด มาแล้ว Google Voice บริการเบอร์เดียวเบ็ดเสร็จ สำหรับมือถือ
http://www.oknation.net/blog/aumpradya/2009/03/12/entry-1

Google เปิดอบรมวิธีใช้ Analytics ผ่านเว็บฟรี
http://www.oknation.net/blog/aumpradya/2009/03/04/entry-2