วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ทปอ.ให้มหา"ลัยร่วมรณรงค์ "หยุดทำร้ายประเทศไทย"

วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11376 มติชนรายวัน


"ดิเรก"แย้มนิรโทษไว้ทีหลัง มุ่งแก้"รธน." "ชทพ."เตรียมเสนอรื้อ7ปม


ทปอ.ให้มหา"ลัยร่วมรณรงค์ "หยุดทำร้ายประเทศไทย"



ประธาน กก.สมานฉันท์เปรยมุ่งแก้ รธน.ที่มีปัญหา ส่วนเรื่องนิรโทษกรรมคดีการเมืองเอาไว้ทีหลัง ปชป.เตือน"ดิเรก"ให้วางตัวเป็นกลาง อย่าชี้นำ ปธ.วิปรัฐบาลชี้ช่องประชาชนยื่นตั้ง ส.ส.ร.แก้รัฐธรรมนูญได้ ชทพ.เสนอรื้อ 7 ประเด็น ทปอ.มีมติชวนทุกมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมร่วมรณรงค์"หยุดทำร้ายประเทศไทย"

@ "ดิเรก"เปรยนิรโทษฯไว้ทีหลัง

ภายหลังจากที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดคือ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมือง มีนายสมศักดิ์ บุญทอง อดีตรองอัยการสูงสุด ประธานนั้น

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานคงต้องพูดคุยถึงปัญหาทีละประเด็น รวมถึงรัฐธรรมนูญบางมาตราที่เป็นปัญหา เช่น มาตรา 190 และมาตรา 237 การแก้รัฐธรรมนูญกับการนิรโทษกรรม เป็นคนละเรื่อง การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองต้องทำทีละประเด็น การนิรโทษกรรมต้องพูดกันทีหลัง เชื่อว่าจะใช้เวลา ทำงานประมาณ 45 วัน จะทราบรายละเอียดทั้งหมด

ข่าวแจ้งว่า ระหว่างการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้นายกฯชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ในช่วงเย็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา และนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมพิจารณารายชื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ โดยทั้ง 3 ฝ่ายหารือกันว่าประธานควรเป็นคนกลาง ก่อนเห็นควรให้นายดิเรกเป็นประธานกรรมการสมานฉันท์ฯ ส่วนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯเห็นควรให้นายสมศักดิ์เป็นประธาน

@ ปชป.ติง"ดิเรก"อย่าชี้นำ

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมการสมานฉันท์ฯกล่าวว่า คณะกรรมการสมานฉันท์ฯควรมีกรอบเวลานำไปสู่การปฏิรูปการเมืองภายใน 2 สัปดาห์ คณะกรรมการทั้ง 40 คนต้องเสนอประเด็นปัญหาเข้ามากางบนโต๊ะก่อนจะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยในที่สุดก็ต้องรับฟังความเห็นของประชาชนก่อน รวมทั้งหากได้ข้อสรุปอย่างไรแล้วก็ต้องทำประชามติเพื่อสอบถามเสียงส่วนใหญ่อีกครั้ง

"ล่าสุดนายดิเรกให้ข่าวในลักษณะว่าจะต้องแก้ไขมาตรา 237 ผมคิดว่านายดิเรกได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานต้องรักษาความเป็นกลาง และพูดให้น้อย รวมทั้งไม่ให้ความเห็นที่ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปยากยิ่งขึ้น ต้องนำปัญหามากางบนโต๊ะก่อน" นายนิพิฏฐ์กล่าว

@ "ชินวรณ์"ชี้ปชช.ชงตั้งส.ส.ร.ได้

นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรครัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า เชื่อว่านายดิเรกจะสามารถขับเคลื่อนและสร้างความปรองดองได้ เพราะนายดิเรกมีความเป็นกลางพอสมควร ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการยอมรับ ส่วนที่นายดิเรกระบุว่าจะใช้เวลาในการทำงานเบื้องต้น 45 วันนั้นถือเป็นเรื่องของคณะกรรมการว่าจะวางกรอบการทำงานและกำหนดภารกิจอย่างไรโดยเงื่อนไขเวลาไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ประเด็นปัญหาที่นำไปสู่เป้าหมายสำคัญกว่า ซึ่งนายกฯประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่ไปก้าวก่ายแทรกแซงและพร้อมดำเนินการตามหากเห็นว่าการลาออกหรือยุบสภาจะเป็นการยุติปัญหา

นายชินวรณ์กล่าวว่า ส่วนที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าคณะกรรมการชุดนี้มีสัดส่วนจากภาคประชาชนน้อยนั้นเป็นใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 135 จึงมีข้อจำกัด แต่สามารถตั้งคณะอนุกรรมการที่มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้และท้ายสุดหากมีประเด็นที่เป็นข้อกังขาก็สามารถทำประชามติเพื่อรับฟังความคิดจากประชาชนได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการสามารถนำผลการวิจัยของหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ ทั้งจากภาคประชาชน หรือสถาบันพระปกเกล้าหรือผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรที่เคยศึกษาไว้ก่อน หน้านี้มาประกอบการพิจารณาได้ และทุกพรรคการเมืองก็สามารถรวบรวมประเด็นปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญเสนอต่อคณะกรรมการฯได้

"เมื่อได้ข้อสรุปประชาชนสามารถเข้าชื่อกันตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้น และภายหลังคณะกรรมการเสนอเรื่องเข้าสู่สภาและมีการพิจารณาผ่านวาระ 1 และ 2 แล้วสามารถเปิดทำประชามติเพื่อให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้" นายชินวรณ์กล่าว

@ "พท."ให้ทุกฝ่ายสลัดภาพเก่าทิ้ง

นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนคร ศรีอยุธยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคนที่หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์ฯกล่าวว่า ทุกคนที่เป็นกรรมการต้องสลัดภาพเก่าทั้งหมดออก แล้วเอาบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ขอแค่ว่าทุกคนยอมรับข้อเท็จจริงแล้วหันหน้ามาพูดคุยร่วมกันแก้ปัญหา การทำงานจะไม่มีปัญหา

เมื่อถามว่า การที่ฝ่ายการเมืองดำเนินการเองโดยที่ไม่มีภาคประชาชนเข้าร่วมอาจเกิดการไม่ยอมรับ นายวิทยากล่าวว่า อาจจะเป็นที่พอใจก็ได้ ตนว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายนิติบัญญัติทำเอง ที่ผ่านมาทหารทำให้ทั้งนั้น ปฏิวัติฉีกรัฐธรรมนูญแล้วก็มาเขียนฉบับใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้บ่อยครั้ง แต่งวดนี้เป็นมิติใหม่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ทำหน้าที่ ส่วนการเปิดให้องค์กรภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น สามารถทำได้ในวาระต่อไป ขั้นนี้เป็นเพียงวาระหนึ่งเพื่อนำไปสู่การแก้ไขเท่านั้น

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส. ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องศึกษาหรือหาประเด็นให้เสียเวลาอีกแล้ว เพราะการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร็วภายใน 5-7 วันด้วยซ้ำ หรืออย่างช้าภายใน 2 เดือนเพื่อให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ จากนั้นยุบสภาและเลือกตั้งใหม่

@ "ประยุทธ์"เชื่อลดขัดแย้งได้

นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ กรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ได้เฝ้ามองปัญหาที่เกิดขึ้น รู้สึกไม่สบายใจที่เห็นสังคมเกิดความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างนี้ การที่มีคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาและมีตัวแทนจากหลายแนวคิดมาร่วมประชุมหารือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เชื่อว่าจะสามารถหาช่องทางที่จะบรรเทาหรือลดความขัดแย้งในสังคมลงไปได้ไม่มากก็น้อย เพราะปัญหาปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้แต่โรคไข้หวัดใหญ่เอที่กำลังระบาดอยู่ก็ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายมาสกัด ถ้าทุกฝ่ายยังตั้งท่าขัดแย้งกันอย่างเดียวบ้านเมืองก็เดินไปต่อไม่ได้

"ผมมีความหวังว่า คณะกรรมการทั้ง 40 คนที่มีภูมิรู้และความเชื่อที่แตกต่างกันนี้จะเป็นจุดแข็ง เพราะแต่ละคนจะต้องนำความรู้ที่มีอยู่มาเสนอต่อที่ประชุม และพิจารณาร่วมกันเพื่อมองทะลุปัญหาของชาติที่กำลังอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลต้องมาช่วยกัน ไม่ให้คนในชาติแตกแยกกันไปมากกว่านี้ ถ้าความขัดแย้งยิ่งบานปลาย ประเทศชาติก็ยิ่งบอบช้ำมากเท่านั้น" นายประยุทธ์กล่าว

@ ชทพ.เสนอแก้รธน.7ประเด็น

นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) เปิดเผยถึงการเสนอประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนพรรคชาติไทยพัฒนาว่า พรรคสรุปประเด็นที่เห็นควรจะแก้ไขเรียบร้อยแล้ว รอปรับปรุงในรายละเอียดอีกเล็กน้อย โดยมี 7 ประเด็น ประกอบด้วย

1.ประเด็นที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา มาตรา 190
2.ประเด็นที่นำไปสู่การยุบพรรค มาตรา 237
3.ประเด็นข้อห้าม ส.ส.ไปดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี มาตรา 265 และ 266
4.ประเด็นการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.
5.ประเด็น ส.ส.สัดส่วนควรกลับไปเป็นแบบระบบบัญชีรายชื่อ
6.ประเด็นอำนาจของ ส.ส.ในการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ
7.ประเด็นที่มา ส.ว.ที่ควรจะมาจากการเลือกตั้ง

นายชุมพลกล่าวว่า เพื่อให้การพิจารณาประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้อย่างราบรื่น ทางพรรคจึงคิดว่าไม่ควรนำทั้ง 7 ประเด็นเสนอคราวเดียวกัน แต่ควรแยกออกเป็น 2 ขยัก คือ ช่วงแรกควรพิจารณาประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันก่อน คือ มาตรา 190, 237, 265 และ 266 ส่วนขยักที่ 2 จึงหยิบประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องที่มาของ ส.ว.-ส.ส.และเรื่ององค์กรอิสระมาพิจารณา หากแยกเช่นนี้เชื่อว่าจะสามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็ว

@ "มาร์ค"ชี้ไม่ฟังปชช.เสี่ยงขัดแย้ง

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พูดว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 4 มาตราหลักๆ ก่อนว่า นั่นเป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นเท่านั้นว่ามีหลายมาตราที่มีปัญหาอยู่ ส่วนจะแก้ไขกี่มาตราและแก้อย่างไรบ้างก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทยต้องการให้ศึกษาให้เสร็จใน 30 วัน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อยู่ที่คณะกรรมการเพราะไม่ทราบว่าแต่ละพรรคมีความคิดสอดคล้อง หรือต่างกันมากแค่ไหน และเมื่อพรรคการเมืองได้กรอบระดับหนึ่งแล้วต้องหาทางเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่วนระยะเวลาการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้นต้องดูให้มีความพอดี ถ้าจะทำโดยไม่ให้ช้าเกินไปน่าจะทำได้ แต่ถ้าทำโดยไม่ฟังเสียงประชาชนเลย ก็อาจจะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งอีก

นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้เวทีรัฐสภาสร้างสมานฉันท์ พรรคมั่นใจว่าการทำงานของคณะกรรมการจะแก้ปัญหาได้ แต่การทำงานจะไม่ประสบความสำเร็จถ้าไม่มีการระดมพลังจากประชาชนทุกภาคส่วน ดังนั้น คณะกรรมการจะต้องเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน หากจะแก้รัฐธรรมนูญก็จะต้องทำเพื่อความสมานฉันท์บนผลประโยชน์ของส่วนรวม

@ "เลิศรัตน์"ชี้อาจทำประชามติ

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. สรรหา และกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า กรรมการค่อนข้างมีความหลากหลาย โดยมีผู้แทนจากทุกภาคส่วน ไม่คิดว่าจะเป็นปัญหา การนำทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งมาหารือกันบนโต๊ะถือเป็นทางออกหนึ่ง แต่ข้อสรุปจะต้องเกิดจากการเห็นพ้องต้องกันจากเสียงส่วนใหญ่ ส่วนประเด็นไหนไม่มีข้อ ขัดแย้ง ต้องดูในแต่ละมิติ การสร้างความสมานฉันท์นั้นคงไม่เฉพาะการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว แต่ควรมองเรื่องอื่นด้วย ถ้าเป็นประเด็นใดจะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่หรือมีความละเอียดอ่อนต้องเสนอให้สังคมพิจารณาด้วย โดยอาจทำประชามติหรือการรับฟังความคิดเห็น ส่วนกรณีนิรโทษกรรมคดีการเมืองนั้นเป็นประเด็นที่นำมาประกอบการพิจารณา แล้วแต่ที่ประชุมว่าจะคิดว่าเป็นทางออกหรือไม่

"อย่าคิดว่ากรรมการต้องการเกี้ยเซี้ยกัน เพราะสัดส่วนกรรมการไม่ได้มีเพียงนักการเมือง แต่มี ส.ว.และนักวิชาการที่ไม่ได้ประโยชน์ ทั้งนี้มองว่าควรใช้เวลา 1-2 เดือนในช่วงปิดสมัยประชุมเพื่อหาแนวทางสร้างสมานฉันท์ คาดว่าต้นเดือนสิงหาคมก็น่าจะสามารถเสนอต่อสภาได้" พล.อ.เลิศรัตน์กล่าว

@ นักวิชาการเชื่อกก.ไม่เผชิญหน้า

นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ต้องหารือกับที่ประชุมว่ามีแนวทางการสร้างสมานฉันท์อย่างไรบ้าง ส่วนตัวมีประเด็นที่อยู่ในใจแล้ว แต่ไม่อยากพูดไปก่อน เพราะสังคมอาจจะมองว่าตั้งธงไว้ก่อน เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาจะช่วยลดความขัดแย้งทางการเมืองได้ หรืออย่างน้อยก็ช่วยลดระดับความขัดแย้งของการเมืองนอกสภาได้มากพอสมควร

นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า ต้องดูแนวทางของกรรมการทั้ง 40 คนก่อนว่ามีจุดหมายอย่างไร จากที่ดูขอบเขตอำนาจหน้าที่ระบุว่าต้องฟังเสียงของประชาชนนั้นคงต้องดูว่าจะรับฟังอย่างไร ส่วนข้อมูลที่สถาบันพระปกเกล้าเคยรวบรวมไว้นั้นถือเป็นผลวิจัยที่มีความหลากหลาย สามารถหยิบมาพิจารณาได้ แต่ต้องฟังทั้ง ส.ส.และ ส.ว.รวมถึงนักวิชาการที่เป็นกรรมการว่าคิดเห็นอย่างไร เบื้องต้นคงหนีไม่พ้นการกำหนดประเด็นว่าอะไรที่เป็นปัญหาให้เกิดความขัดแย้งบ้าง ส่วนที่ฝ่ายการเมืองเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญนั้นต้องดูว่าจะแก้ไขประเด็นใด มาตราใด มีจุดมุ่งหมายอะไร เชื่อว่ากรรมการทั้ง 40 คนต่างเป็นผู้ใหญ่และมีวุฒิภาวะ แม้จะมีความคิดเห็นแตกต่างกันก็ไม่น่าจะทำให้เกิดการเผชิญหน้า แต่จะเป็นเวทีของการคุยกันด้วยเหตุด้วยผลและหาข้อสรุปได้พอสมควร

@ ปธ.สอบสลายม็อบหนักใจ

นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมือง กล่าวว่า ในวันที่ 4 พฤษภาคมจะไปรายงานตัว จากนั้นจะพิจารณาคำสั่งดังกล่าวว่าคณะกรรมการมีอำนาจตรวจสอบอย่างไรได้บ้าง จากนั้นจะเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดกรอบและวางแผนดำเนินการ โดยจะต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบอย่างที่สุด รู้สึกหนักใจสำหรับการทำงานนี้ อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้อย่างดีที่สุด

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ยังกล่าวถึงการแต่งตั้งนายสมศักดิ์ บุญทอง เป็นประธานคณะกรรมการสลายการชุมนุมฯว่า นายสมศักดิ์ถือเป็นคนที่มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับ คิดว่าผลภายหลังการสอบสวนจะสามารถตอบคำถามสังคมได้ หากพรรคเพื่อไทยหรือประชาชนมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมก็สามารถยื่นข้อมูลต่อคณะกรรมการชุดนี้ได้

นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง เปิดเผยว่า คิดว่าจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงวันสงกรานต์มีผู้ร้องเรียนมายังพรรคเพื่อไทยจำนวนมาก ส่วนกรรมการที่มีตัวแทนจากเสื้อแดงเข้าร่วมนั้นไม่คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งในการทำงาน

@ มติทปอ.หนุน"หยุดทำร้ายปท."

วันเดียวกัน นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังประชุมสามัญที่ประชุม ทปอ. ครั้งที่ 2/2552 ว่า ที่ประชุม ทปอ.มีมติเชิญชวนให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคมนี้ โดยขอให้มหาวิทยาลัยต่างๆ รณรงค์อย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ เช่น การติดธงชาติไว้ที่หน่วยงาน ติดป้าย กิจกรรมร้องเพลง หรืออื่นๆ แล้วแต่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะเห็นสมควร ทั้งนี้ ทปอ.เห็นตรงกันว่าขณะนี้ความขัดแย้งในสังคมไทยที่แบ่งเป็นสีต่างๆ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ถ้าปล่อยไว้ต่อไปอาจเกิดสงครามกลางเมือง ยากที่จะเยียวยาแก้ไข มหาวิทยาลัยจึงควรเข้ามามีบทบาทในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ และเพื่อให้คนทั้งในและต่างประเทศเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องการความสงบสุข ไม่ต้องการให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ

นายวันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า การเข้าร่วมรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทยครั้งนี้ แม้จะไม่เห็นผลในทันที แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพื่อบอกให้คนส่วนใหญ่รู้ว่าต้องการความสงบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรม ราช ในฐานะโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทยว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ คณะกรรมการที่ขับเคลื่อนเป็นนักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรการเมืองภาคประชาชน จึงไม่น่าจะเป็นประโยชน์ทางการเมือง เชื่อว่ากลุ่มนี้จะหยุดการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงได้


หน้า 1
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0103030552&sectionid=0101&day=2009-05-03


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

พท.ข้องใจ"ปู่ชัย" ตั้ง"ดิเรก-สมศักดิ์"นั่งประธาน2คณะ สวนทางวิปรบ.มั่นใจเป็นกลาง-สังคมยอมรับผลสอบ

วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 12:46:20 น.  มติชนออนไลน์

พท.ข้องใจ"ปู่ชัย" ตั้ง"ดิเรก-สมศักดิ์"นั่งประธาน2คณะ สวนทางวิปรบ.มั่นใจเป็นกลาง-สังคมยอมรับผลสอบ

ปธ.วิปรัฐบาลมั่นใจ "ดิเรก"เป็นกลาง เชื่อสังคมยอมรับผลสอบชุด"สมศักดิ์" "สดศรี"แนะเพิ่มบทเฉพาะกาล ม.237 เพื่อนิรโทษกรรม วิปค้านอยากเชิญ"บิ๊กบัง"ร่วมแก้ไขด้วย ปธ.สมานฉันท์ฯรับหนักใจ แนะแยกประเด็นนิรโทษฯต่างหาก ขณะที่"ป๋าเหนาะ"นั่งที่ปรึกษาและกรรมการ

ปธ.วิปรัฐบาลมั่นใจ "ดิเรก"เป็นกลาง
 
นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรครัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการแต่งตั้งนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เมื่อวิป 3 ฝ่ายได้มอบหมายให้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งก็ต้องยอมรับ โดยเห็นว่านายดิเรกก็เป็นตัวแทนจากวิปวุฒิสภาและเป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เชื่อว่าจะสามารถขับเคลื่อนและสร้างความปรองดองได้ เพราะนายดิเรกมีความเป็นกลางพอสมควร ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการยอมรับ ส่วนกรณีที่นายดิเรกระบุว่าจะใช้เวลาในการทำงานเบื้องต้น 45 วันนั้นถือเป็นเรื่องของคณะกรรมการว่าจะวางกรอบการทำงานและกำหนดภารกิจอย่างไร โดยมองว่าเงื่อนไขเวลาไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ประเด็นปัญหาที่จะเป็นกลไกที่จะนำไปสู่เป้าหมายถือเป็นเรื่องสำคัญกว่า ซึ่งรัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯ ได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงและพร้อมหากเห็นว่าแนวทางการลาออกหรือยุบสภาจะเป็นการยุติปัญหา

นายชินวรณ์  กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่าคณะกรรมการฯชุดนี้มีสัดส่วนจากภาคประชาชนน้อยนั้นเป็นใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 135 จึงมีความจำกัด แต่สามารถเปิดใจกว้างด้วยการตั้งคณะอนุกรรมการที่มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้และท้ายสุดหากมีประเด็นที่เป็นข้อกังขาก็สามารถทำประชามติเพื่อรับฟังความคิดจากประชาชนได้ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ สามารถนำผลการวิจัยของหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ ทั้งจากภาคประชาชน หรือสถาบันพระปกเกล้าหรือผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรที่เคยศึกษาไว้ก่อนหน้านี้มาประกอบการพิจารณาได้และทุกพรรคการเมืองก็สามารถรวบรวมประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้รัฐธรรมนูญเสนอต่อคณะกรรมการฯได้ เมื่อได้ข้อสรุปประชาชนสามารถเข้าชื่อกันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ขึ้น ขณะเดียวกันภายหลังคณะกรรมการฯ เสนอเรื่องเข้าสู่สภาและมีการพิจารณาผ่านวาระ 1 และ 2 แล้วก็สามารถเปิดทำประชามติเพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นได้
 
วิปรบ.เชื่อผลสอบชุด"สมศักดิ์"สังคมจะยอมรับ
 
นายชินวรณ์ กล่าวถึงถึงการแต่งตั้งนายสมศักดิ์ บุญทอง อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ว่า นายสมศักดิ์ถือเป็นคนที่มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับจึงคิดว่าผลภายหลังการสอบสวนแล้วเปิดผลการสอบสวนต่อสาธารณะจะสามารถตอบคำถามสังคมได้ ทั้งนี้หากพรรคเพื่อไทยหรือประชาชนมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมก็สามารถยื่นข้อมูลต่อคณะกรรมการชุดนี้ได้ ทั้งนี้ไม่คิดว่าการมีคณะกรรมการฯ ชุดนี้จะทำให้พรรคฝ่ายค้านนำข้อมูลเท็จมาใส่ร้ายรัฐบาลได้ ถ้าพรรคเพื่อไทยอ้างว่ามีข้อมูลการเสียชีวิตจากศูนย์แจ้งคนหายก็ควรนำมาให้คณะกรรมการฯ โดยการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งที่ผ่านมาเราก็ได้ประกาศให้ประชาชนมาร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครเข้าร้องเรียนแม้แต่รายเดียว
 
เพื่อไทยข้องใจ"ปู่ชัย" ตั้ง"ดิเรก-สมศักดิ์"นั่งประธาน2คณะ
 
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กล่าวถึงกรณีที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา มีคำสั่งแต่งตั้ง นายสมศักดิ์ บุญทอง เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง และแต่งตั้งนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า พรรคเพื่อไทยขอตั้งข้อสังเกตว่าการแต่งตั้งประธานทั้ง 2 คณะดังกล่าวมีความเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งเป็นที่ยอมรับหรือไม่ เพราะขนาดตนอยู่ในแวดวงการเมือง ยังไม่รู้ประวัติลึกซึ้งและเมื่อเอ่ยชื่อออกมาก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นคนกลางที่สังคมและประชาชนยอมรับได้จริง เพราะในสถานการณ์ที่เกิดวิกฤติทางการเมืองขณะนี้ คนที่เป็นประธานต้องมีคุณสมบัติที่สังคมไว้เนื้อเชื่อใจและมีประวัติผลงานที่ชัดเจน เมื่อเอ่ยชื่อแล้วทุกคนต้องรู้จัก

นายวรวัจน์ กล่าวอีกว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าตามระบบรัฐสภา ควรให้กรรมการตัวแทนจากพรรคต่างๆ เป็นผู้เลือกประธาน กันเอง แต่การทำเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะปกติแล้วไม่ว่าฝ่ายค้านและรัฐบาล น่าจะตกลงกันได้ อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการครั้งแรก พรรคเพื่อไทยจะได้มีการสอบถามประวัติที่มาที่ไปของประธานและเหตุผลในการแต่งตั้ง เพื่อให้เกิดความกระจ่างกับทุกฝ่าย

 "ชินวรณ์"อ้อมแอ้มเปิดกว้างฟังความเห็น นิรโทษกรรม

 
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ในฐานะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ที่ผ่านมามีประเด็นศึกษาเรื่องผลกระทบ เกี่ยวกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแล้ว รวมถึงในส่วนของภาคประชาชน ก็เคยมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมา จึงจะมีการหยิบยกประกอบการศึกษาด้วย พร้อมเปิดให้หลายฝ่ายเข้ามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยที่ประชุมต้องพิจารณาว่าจำเป็นต้องตั้งคณะอนุกรรมการชุดใดขึ้นมาดำเนินการบ้าง

เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเสนอคณะกรรมการแก้ไขในประเด็นใดบ้าง นายชินวรณ์ กล่าวว่า แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.ประเด็นที่พูดถึงกัน ได้แก่ มาตรา 190 มาตรา 265-266 และมาตรา 237
2.โครงสร้างอำนาจ เช่น ที่มาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา กระบวนการการทำหน้าที่ของส.ส.และส.ว. และ
3.หลักการทั่วไปที่จะทำให้รัฐธรรมนูญมีความเข้มแข็ง


เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเสนอแก้ไขประเด็นการนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ นายชินวรณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องความผิดของนักการเมือง สามารถหยิบยกขึ้นมาหารือในที่ประชุมได้ เพราะนายกรัฐมนตรีได้เคยพูดไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า พร้อมเปิดกว้างรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วน ถ้าข้อสรุปของที่ประชุมเป็นอย่างไร พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ขัดข้อง

ผู้สื่อข่าวถามว่าในการประชุมคณะกรรมการ หากพรรคเพื่อไทยเสนอให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลักจะว่าอย่างไร กรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองฯ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยต้องยอมรับความจริงว่าในสังคมประชาธิปไตยไม่มีใครจะได้อะไรทุกอย่าง ขณะเดียวกันก็ไม่มีใครเสียอะไรทุกอย่างเช่นกัน 
 
"สดศรี"แนะเพิ่มบทเฉพาะกาล ม.237 เพื่อนิรโทษกรรม
 
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ถึงกรณีที่นักการเมืองส่วนใหญ่เห็นว่า ควรแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรคว่า มาตราดังกล่าวมีข้อดี ทำให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรครับผิดชอบร่วมกัน พรรคการเมืองต้องระมัดระวัง แต่ก็มีข้อเสีย คือ เมื่อมีการยุบพรรคแล้ว อาจต้องมีการเปลี่ยนขั้ว ทำให้มีผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล

ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่วิกฤตการเมืองรอบใหม่หรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า มาตรา 237 แม้จะยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค แต่ในความเป็นจริง บุคคลเหล่านั้นไม่ได้ตายไปจากการเมือง ยังส่งตัวแทนเข้ามาเล่นการเมือง ดังนั้น การให้คนที่อยู่เบื้องหลัง ออกมาเล่นการเมืองจริงๆ ไปเลย จะไม่ดีกว่าหรือ ส่วนถ้ามีการแก้ไข มาตรา 237 จริง ก็อาจให้เพิ่มเติมในบทเฉพาะกาล ว่า ให้สามารถย้อนหลังไปถึงกรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้ไม่ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งก็ถือเป็นการนิรโทษกรรมไปในตัว โดยไม่ต้องร่างกฎหมายนิรโทษกรรมขึ้นมา
 
นายกฯ ย้ำแก้ไขรธน. ต้องเปิดกว้างให้ ปชช.มีส่วนร่วม 
  
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า มีหลายมาตราที่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรค ซึ่งแนวทางการแก้ไขขึ้นอยู่กับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการเมืองเพื่อความปรองดองสมานฉันท์และการศึกษาเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะวางกรอบในการรวบรวมความคิดเห็นจากพรรคการเมือง รวมทั้งต้องเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ส่วนกรอบเวลาในการแก้ไข ต้องขึ้นอยู่กับความพอดีและไม่ช้าเกินไป

 
นายกฯ บอกปธ.กก.สมานฉันท์ฯ ชี้ยิ่งหลากหลาย ยิ่งดี 
 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมว่า ประธานคณะกรรมการปองดองเพื่อความสมานฉันท์และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น จะเป็นที่ยอมรับของวิปทั้ง 3 ฝ่าย ส่วนคณะกรรมการ ยิ่งมีหลากหลายความคิดเห็น ก็ยิ่งดี เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่ทุกอย่างต้องรับฟังเสียงของประชาชน เพื่อไม่ให้เป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่ในอนาคต

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ได้กำชับโฆษกและบุคคลใกล้ชิดให้ระมัดระวังในการให้สัมภาษณ์ เพื่อรักษาบรรยากาศของบ้านเมือง แต่ก็ย่อมมีการตอบโต้กันบ้าง ขณะที่การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง รัฐบาลและทหารมีหน้าที่ที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง
 
วิปค้านหนุนแก้ม.237 เผยอยากเชิญ"บิ๊กบัง"ร่วมแก้ไขด้วย

นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมว่า เห็นพ้องกับแนวทางของนายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องกรอบระยะเวลา 45 วัน และการแก้ไขมาตรา 237 ที่ว่าด้วยการยุบพรรค เพราะอยู่ในเกณฑ์ที่ที่ประชุม 3 วิป เคยมีการหารือกันเอาไว้ในเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม วันที่ 6 พฤษภาคมนี้ พรรคเพื่อไทยจะได้มีการหารือเพื่อสรุปแนวทางเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน เพื่อเตรียมนำเสนอต่อประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีกครั้ง

ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า ส่วนตัวอยากเชิญ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ด้วย เพื่อจะได้เปิดรับฟังความเห็นรอบด้านจากหลายฝ่ายๆ ในการทำงาน
 
"สมศักดิ์"หนักใจนั่งปธ.สอบสลายม็อบ ถูกจับตาเป็นกลาง 
 
นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมือง กล่าวเมื่อ 2 พฤษภาคมว่า รู้สึกหนักใจสำหรับการทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากการทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานระดับชาติ เชื่อว่าคงมีการตั้งคำถามถึงความเป็นกลางอย่างแน่นอน เพราะต้องยอมรับว่าเวลานี้ประเด็นปัญหาดังกล่าวมีการแบ่งเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ตนจะพยายามทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้อย่างดีที่สุด เพราะเชื่อว่าประชาชนกำลังเฝ้ามองการทำหน้าที่ของตนเองอยู่ ส่วนกรอบระยะเวลาในการทำงานนั้น เบื้องต้นคงต้องขอเข้าไปดูรายละเอียดคำสั่งแต่งตั้งของนายชัย ชิดชอบประธานรัฐสภา ก่อน แต่เบื้องต้นจะพยายามกำหนดกรอบการทำงานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด
 
ปธ.กก.สมานฉันท์ฯ หนุนแก้ม.237-แยกประเด็นนิรโทษฯ
 
นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมว่า ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ที่ว่าด้วยการยุบพรรคการเมือง เนื่องจากไม่เป็นธรรมกับนักการเมืองที่มิได้กระทำความผิด อีกทั้งยังเห็นว่าการยุบพรรคการเมืองทำให้ระบอบประชาธิปไตยอ่อนแอ เพราะพรรคการเมืองเป็นแม่บทสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย หากถูกสลายได้โดยง่ายและไม่เข้มเข็ง โอกาสที่จะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย คงเป็นไปได้ยาก

นายดิเรก กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมนั้น เห็นว่าควรแยกประเด็นกัน เพราะหากนำเรื่องการนิรโทษกรรม รวมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก อีกทั้งจะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญกลายเป็นเรื่องน่ากลัว แต่หากทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการนิรโทษกรรม ก็ควรไปออกกฎหมายต่างหาก ส่วนกรอบระยะเวลาในการทำงานนั้น เบื้องต้นตั้งเป้าไว้ว่าน่าจะอยู่ประมาณ 45 วัน

กก.สมานฉันท์ฯ คาดเดือนหน้ามีคำตอบแก้รธน.หรือไม่
 

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนของ ส.ว. กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะได้มีการประชุมร่วมกันของทุกฝ่าย ซึ่งจะมีการวางกรอบการทำงาน หลังจากนั้นจะมีการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนจากทุกภาคส่วน โดยระยะเวลารวบรวมข้อเสนอเชื่อว่าจะเสร็จสิ้นประมาณเดือนมิถุนายน ส่วนที่มีความกังวลกันว่าหากฝ่ายการเมืองเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราแล้วตกลงกันไม่ได้จะทำให้เกิดปัญหาการทำงานร่วมกันนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ ย้ำว่า ไม่น่าห่วง เพราะการทำงานจะต้องใช้มติของคณะกรรมการ หากเสียงส่วนมากเห็นด้วยก็ควรยอมรับ

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวด้วยว่า การลงพื้นที่รับฟังความเห็นประชาชน จะนำมาสู่การเสนอให้มีการทำประชามติเพื่อขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ แต่หากประชาชนเห็นดี ก็คงจะนำความเห็นเสนอที่ประชุมสภาเพื่อให้ร่วมกันชี้ขาด
 
ตั้ง2ปธ.กก."เสนาะ"นั่งที่ปรึกษารธน.

รายงานข่าวจากรัฐสภาแจ้งว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ลงนามในคำสั่งรัฐสภา 2 ฉบับ ได้แก่ คำสั่งรัฐสภา ที่ 16/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง จำนวน 40 คน โดยมี นายสมศักดิ์ บุญทอง อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน และคำสั่งรัฐสภาที่ 17/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งสิ้น 40 คน มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน มีนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เป็นที่ปรึกษาและกรรมการ

"มาร์ค"ร้องปชช.หนุนกก.ปรองดอง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ถึงกรณีฝ่ายนิติบัญญัติลงมติตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การเมืองระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน และคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีหลายฝ่ายรู้สึกเป็นห่วงเนื่องจากมีแต่ฝ่ายการเมือง ว่าองค์กรนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่กระบวนการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน ขณะนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคนนอกมาร่วมด้วย

เมื่อถามว่า ผู้ทรงคุณวุฒิก็ถูกเสนอโดยฝ่ายการเมืองเกรงจะถูกหาว่าการเมืองครอบงำหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "ไม่หรอกครับ ยังมีคนพร้อมเข้าทำงานมาทำ ถ้าบอกว่าการเมืองทั้งหมดคงไม่ใช่ ต้องฟังเสียงประชาชนด้วย เพราะไม่มีประโยชน์ที่คนเพียง 400-500 คน จะไปแก้ปัญหากันเอง แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมได้"

เมื่อถามว่า นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่าความรู้สึกของสังคมเป็นสิ่งเปราะบาง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เป็นความเห็นที่ควรรับฟัง เพราะถ้าแก้ปัญหาสังคมไม่ได้ ก็แก้ปัญหานักการเมืองไม่ได้ เมื่อถามถึงกรณีที่ระบุว่าจะใช้เวลา 6-8 เดือน ทำให้บ้านเมืองดีขึ้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การประชุมอาเซียนและการฟื้นตัวเศรษฐกิจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 เดือน จึงจะมีความชัดเจน เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกคาดกันว่าปีหน้าน่าจะดีขึ้น รัฐบาลจะเดินหน้าทำงานต่อไป ส่วนการแก้ปัญหาทางการเมืองให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการปรองดอง ส่วนตัวอยากเรียกร้องให้ประชาชนส่วนใหญ่หันมาสนับสนุนให้กลไกดังกล่าวสามารถทำงานได้ ไม่ควรให้บางฝ่ายที่มีวาระซ่อนเร้นอยู่สามารถมาชี้นำประเทศได้

นัดพรรคร่วมถกแก้รธน.สัปดาห์หน้า

ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวในเรื่องกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า อยากให้ทุกฝ่ายมีความฉุกคิด เพราะทุกคนต่างมีหน้าที่รับผิดชอบปัญหาบ้านเมืองด้วยกัน เมื่อถามว่าการนิรโทษกรรมเหมือนทุกฝ่ายจะยอมรับกันได้แล้ว นายสุเทพกล่าวว่า อย่ารีบสรุป ธงที่ได้รับการยืนยันจากทุกฝ่าย คือจะแก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ใช่แก้ปัญหาบุคคล ซึ่งจะนิรโทษกรรมเฉพาะความผิดทางการเมืองหรือไม่ ตนจะไม่เข้าไปยุ่งในรายละเอียด เพราะมีคณะกรรมการทำงานอยู่ซึ่งเขาจะต้องประชุมหารือกันอย่างลึกซึ้ง

เมื่อถามว่า นัดพรรคร่วมรัฐบาลส่งความเห็นถึงแนวทางแก้รัฐธรรมนูญหรือยัง นายสุเทพกล่าวว่า สัปดาห์นี้คงจะต้องทยอยส่งมาแล้ว เมื่อถามว่า จะเชิญแต่ละพรรคมาประชุมอย่างเป็นทางการหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า หลังงานวันฉัตรมงคล 1-2 วัน คงจะได้ตั้งวงพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ กัน เมื่อถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุขอทำงานอีก 6-8 เดือน จากนั้นจะยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือยุบสภา เป็นสัญญาณอะไรหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า อย่าไปคาดเดาเลย หมอดูก็ทายผิดไปหลายคนแล้ว อย่าทำตัวเป็นหมอดูอีกเลย รัฐบาลตั้งใจแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เพราะรู้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ซ้ำเติมปัญหาหลายอย่าง เมื่อก่อนมาจากเรื่องสถาบันการเงิน เดี๋ยวนี้มีไข้หวัด เมื่อมาบวกปัญหาภายในของเราทำให้สถานการณ์ยากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องระดมกำลังมาแก้ปัญหาทุกส่วน

พท.เชื่อศึกษาแก้รธน.เสร็จใน30วัน

นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการเมือง เพื่อความปรองดองสมานฉันท์และการศึกษาเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน (วิป) 3 ฝ่ายมีมติให้เพิ่มคำว่า "ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ในรายชื่อคณะกรรมการแทนการใช้คำว่า เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียวว่า เชื่อไม่เป็นปัญหา แต่จะต้องนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะสิ่งนี้คือปัญหาหลักของประเทศ ทั้งนี้ หน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวอาจทำการศึกษาประเด็นที่ต้องการแก้ไข และเสนอผลศึกษาไปให้ใครตัดสินใจแก้ไขก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในกรณีนี้จะต้องเป็นไปตามที่มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ สำหรับระยะเวลาการศึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ไม่ควรเกิน 30 วัน เนื่องจากที่ผ่านมามีผลการศึกษาในประเด็นปัญหารัฐธรรมนูญจำนวนมาก รวมไปถึงแต่ละพรรคการเมืองทราบดีว่าพรรคของตัวเองต้องการให้ปรับแก้ในประเด็นใด โดยพรรคเพื่อไทยจะเสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาใช้ทั้งฉบับ

เชื่อ"เสนาะ"เหมาะนั่ง ปธ.มากที่สุด

นายพีรพันธุ์ กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่านายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช อาจไม่เข้าร่วมคณะกรรรมการปรองดองฯเนื่องจากประธานวิปรัฐบาลมีท่าทีที่ไม่ยอมรับว่า นายเสนาะเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว แต่จะต้องรอดูก่อนว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาจะมีคำสั่งแต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขานุการ ของคณะกรรมการความปรองดองลงมาเลยหรือไม่ หรือจะตั้งเพียงแต่คณะกรรมการแล้วให้ไปดำเนินการคัดเลือกกันเอง เมื่อที่ประชุมมอบอำนาจให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการไปแล้ว ประธานรัฐสภาจะให้ความไว้วางใจใครก็เป็นเรื่องของท่าน โดยคุณสมบัติของประธานจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมืองอย่างแท้จริง ต้องมีความตั้งใจเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะต้องดีรับการแก้ไข รวมไปถึงมีความเป็นผู้นำที่จะทำคณะกรรมการประสบความสำเร็จในภารกิจ และต้องเป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ

เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าวิปรัฐบาลตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อาจจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีปัญหาได้ นายพีรพันธุ์กล่าวว่า ไม่เป็นไร ตนรู้จักนายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าดี รู้ว่ามีความเชี่ยวชาญเรื่องท้องถิ่น ส่วนนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ไม่ทราบว่าคิดเห็นอย่างไรบ้าง แต่เห็นว่าคนที่เคยเป็นลูกศิษย์มาบ่นให้ตนฟังว่าอยากจะคืนปริญญาให้กับนิด้าไป อย่างไรก็ตาม ไม่กังวลใจที่จะต้องมีการทำงานร่วมกัน เพราะการศึกษารัฐธรรมนูญจะต้องนำเหตุและผลมาพูดคุยกัน

วุฒิเลือกตัวแทน14 ส.ว.แล้ว

วันเดียวกันนี้ ในการประชุมวุฒิสภา มี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม มีการลงคะแนนเลือก ส.ว.และผู้ทรงคุณวุฒิ ไปเป็นคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองฯโดยใช้วิธีลงคะแนนลับ ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเลือก
1.พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา
2.นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา
3.นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร
4.นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี
5.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา
6.นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง และ
7.นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา 
ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ที่ประชุมเลือก นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายประสงศักดิ์ บุญเดช
ด้านการเลือก ส.ว.และผู้ทรงคุณวุฒิ ไปเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ที่ประชุมใช้วิธีลงคะแนนลับ ปรากฏว่ามีมติเลือก
1.พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ส.ว.อุดรธานี
2.นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม
3.นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา
4.นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี
5.นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร
6.นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ และ
7.พล.ต.ต.สุเทพ สุขสงวน ส.ว.สรรหา
ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ได้แก่ นพ.บรรลุ ศิริพานิช และ พล.ต.อ.ล้วน ปานรศทิพ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ จะมีการส่งรายชื่อทั้ง 2 คณะ ให้ประธานรัฐสภาต่อไป


"ปชป."แนะสอบ 3 ปมหนุนแก้รธน.
 
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการชุดแรกที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ทางการเมืองในระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน โดยอยากให้ตรวจสอบข้อกล่าวหา 3 เรื่องคือ
1.การขนศพไปทำลายที่ จ.ลพบุรี
2.เหตุการณ์ที่ดินแดง และ ถนนราชปรารภ ที่นำภาพที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ใช้กระสุนจริงยิงล้อรถ และถูกนำไปขยายผลว่าใช้ยิงประชาชน และ
3.กรณีการเสียชีวิตของพลทหารอภินพ เครือสุข ทหารรับใช้บ้านแม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งผู้ถูกพาดพิงจะต้องเดินสายชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบ
ในส่วนของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นโจทย์สำคัญของสังคมที่รัฐบาลต้องตอบให้ได้ ตนอยากให้คนที่ปลุกระดมและไม่ประสงค์ที่จะให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบสุข รวมไปถึงกระบวนการใต้ดินยุติการกระทำดังกล่าวเสีย เพราะความสมานฉันท์เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำวิกฤตออกจากการเมือง ความสำเร็จของคณะกรรมการชุดนี้ก็อยู่ที่ปัจจัยสำคัญคือ ต้องมีความชัดเจนในเรื่องของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งก่อนและหลังที่มีการยกร่างแนวทางการปฏิรูปการเมือง


ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา คณะทำงานด้านกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีการพูดคุยกันในพรรคเบื้องต้นเห็นด้วยหากจะแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 190, 265 และ 266 แต่ไม่เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนเขตเลือกตั้งไปใช้แบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 เนื่องจากการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่สามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ดี และช่วยให้นักการเมืองมีคุณภาพมากขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบดูแลประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ขณะที่เขตเล็กจะทำให้นักการเมืองกลายเป็นเหมือนนักการเมืองท้องถิ่น เอาแต่ไปงานศพ งานแต่งงาน และขอสนับสนุนให้มีการแก้ไขมาตรา 63 ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ที่ควรปรับปรุงถ้อยคำให้สามารถออกกฎหมายควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะได้

ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ 1 ในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กล่าวถึงกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ว่า หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ คือการไขความกระจ่างในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงที่สังคมยังคลางแคลงใจ อย่างไรก็ตามจะนำประเด็นที่มีกระแสข่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าร่วมการชุมนุมคนเสื้อแดง เข้าร่วมการตรวจสอบด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง โดยใช้อำนาจของคณะกรรมการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบได้

ส.ว.ซัด"สาทิตย์"อุปสรรคปรองดอง 

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมวุฒิสภาเพื่ออภิปรายทั่วไปรัฐบาลโดยไม่มีการลงมติของวุฒิสภา สมาชิกได้อภิปรายกันกว้างขวาง โดยมี ส.ว.สายสรรหาและเลือกตั้งบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า นายอภิสิทธิ์ควรรู้เท่าทันการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เตรียมนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ว่า มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะให้รัฐบาลยุบสภาเลือกตั้งใหม่โดยเร็ว และสงสัยว่าเหตุใดจึงต้องเร่งให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนบางคนกลับเข้ามามีอำนาจ เนื่องจากขณะนี้มีหลายคดีที่ศาลใกล้จะตัดสินคดี พร้อมกันนี้ยังได้แสดงความเป็นห่วงในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนที่อาจได้รับข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

ด้านกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม และนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี เสนอให้รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อแก้ปัญหาทางการเมือง และนายกฯต้องกล้าตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เพื่อแสดงภาวะความเป็นผู้นำมากกว่านี้ ขณะที่นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นความปรองดองเกิดขึ้น เพราะบุคลากรใน ครม.หลายคนกลับเป็นตัวปัญหา ถ้าปรับทัศนคติไม่ได้จะยิ่งมีปัญหาเพิ่มขึ้น 

"ดิฉันเห็นว่าทัศนคติของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นอุปสรรคในการสร้างความปรองดองตามที่นายกฯรัฐบาลประกาศอย่างมาก อาทิ จะจัดทำซีดีเหตุการณ์การชุมนุมในวันที่ 8-14 เมษายน แจกประชาชน หรือการให้ กอ.รมน.ลงพื้นที่ในทุกจังหวัด ทั้งที่สถานการณ์ทางการเมืองที่อ่อนไหวมากอย่างนี้ควรใช้สื่อในทางที่สร้างสรรค์ มิใช่การต่อกรหรือตอบโต้กัน" นางนฤมลกล่าว

"สมชาย"แฉหว่านเงินให้เสื้อแดง 200 ล.ล้มรบ.

วันเดียวกันนี้ มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติที่ ส.ว. 51 คน เข้าชื่อเสนอตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 มีถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ช่อง 11 ด้วย โดยนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้เสนอญัตติ อภิปรายว่า ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์นายกรัฐมนตรีเสี่ยงชีวิตถึง 2 ครั้ง และการยกเลิกการประชุมสุดยอดอาเซียนและประเทศคู่เจรจาทำให้ประเทศชาติเสียหายมาก ทางหนึ่งได้สะท้อนว่ารัฐบาลบริหารจัดการสถานการณ์ไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยข่าวกรองล้มเหลว เพราะมีข่าวว่าระดมมวลชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลมีการรับเงิน 2 ครั้ง ครั้งละ 100 ล้านบาท ที่สำนักงานย่านรามคำแหง ครั้งแรกมี นาย "ก" และครั้งที่ 2 มี น.ส. "ย" เป็นผู้รับเงิน นอกจากนั้นมีการปลุกระดมผ่านวิดีโอลิงก์กล่าวหาประธานองคมนตรี ประธานศาล ว่า อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร และการวางแผนลอบสังหาร แต่ไม่มีใครปกป้องผู้ใหญ่คนสำคัญในบ้านเมือง จนมีการจับกุมผู้ที่จะลอบสังหารอดีตประธานศาลฎีกา จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งหมดพบว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นั้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคลที่เคยเป็นอดีตคอมมิวนิสต์ที่มีบทบาททางวิชาการ เช่น เอ็นจีโอ สื่อมวลชน กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19 กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 19 กันยายน 49 และกลุ่มปัญญาชนรุ่นใหม่ ที่ใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือ ทำงานสอดรับกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีเป้าหมายโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้เป็นระบบสาธารณรัฐ รัฐบาลต้องใช้สื่อรัฐในการทำความเข้าใจกับประชาชนมากยิ่งขึ้น

จี้รบ.บังคับใช้กม.หมิ่นเบื้องสูงอย่างเคร่งครัด  

ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า นายกฯต้องตระหนักว่า รัฐบาลเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจไม่ใช่รัฐบาลปกติ โดยภารกิจเร่งด่วนที่นายกฯต้องทำคือ การปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ โดยบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างเร่งด่วน เพราะสถานการณ์ในขณะนี้ถือว่าเป็นสงครามที่ฝ่ายตรงข้ามพร้อมทำลายด้วยสรรพอาวุธทุกรูปแบบ และต้องยุติการเมืองที่ล้มเหลว และเพิ่มมุมมองด้านความมั่นคง ต้องใช้สื่อให้มากขึ้นโดยต้องพูดถึงสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆ ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับทุกฝ่าย โดยเริ่มจากการปฏิรูปตำรวจทั้งคนและระบบ เลือกใช้บุคลากรใหม่ทั้งหมด เร่งรัดการสร้างกลไกตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักรโดยเร็วที่สุด เพราะสามารถใช้โดยไม่ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นกฎหมายที่เปิดให้ภาคประชาชนเข้ามาตรวจสอบในการทำงาน เพราะต้องมีการรายงานผลการปฏิบัติต่อรัฐสภา และต้องมีแผนงานวางไว้ล่วงหน้า

"นายกฯต้องจับเข่าคุยกับนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย อย่างตรงไปตรงมา เพื่อยุติการเมืองที่ล้มเหลว เพราะขณะนี้การเมืองไทยได้เกิดอำนาจ 3 ขา คือ
1.นายกฯสามารถได้กุมหัวใจคนในเมือง
2.นายเนวินสามารถกุมหัวใจของคนในชนบทแทนที่อดีตนายกรัฐมนตรีที่เคยใช้นโยบายประชานิยมในชนบท และ
3.ทหารและพลเรือนสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ ทำให้ทหารปัจจุบันไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้ นายกฯและนายเนวิน คงขาดกันไม่ได้ถ้าหวังที่จะอยู่รอดกันทั้งหมด การคุยกันก็เพื่อ หากรอบแห่งความพอดีในการร่วมมือกันทำงานอย่างน้อยในระยะเฉพาะหน้าอย่างน้อย 2-3 ปีถัดจากนี้ รวมถึงยกระดับการร่วมมือกันอย่างหลวมๆ แบ่งโควต้า กระทรวง และงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาประเทศชาติที่ทั้ง 2 คนและประเทศจะวินวินทั้งหมด โดยยกระดับจากแนวร่วมชั่วคราวเป็นแนวร่วมถาวร ส่วนที่ไม่ต้องคุยกับทหารเพราะไม่ต้องการให้อำมาตยาธิปไตยนำ" นายคำนูณกล่าว  


เตือน"อภิสิทธิ์"รับมือชุมนุม 6 พ.ค.

ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา อดีต ส.ส.ร. 50 กล่าวว่า ปรากฏการณ์เสื้อเหลือง-เสื้อแดง เป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ต่อเนื่องถึงสงกรานต์เลือด เป็นสงครามแย่งชิงมวลชนระหว่างพรรคการเมืองโดยมีประชาชนเป็นฐานสนับสนุน หากจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองก็ต้องเริ่มต้นปฏิรูปนักการเมืองเพื่อให้ได้นักการเมืองที่อุดมการณ์ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะนี้นักการเมืองมีการเรียกร้องให้นิรโทษกรรม แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งล้วนเพื่อตนเองทั้งสิ้น ตนห่วงว่า หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของประชาชน จะทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น ขอเรียกร้องรัฐบาลทำให้เกิดนิติรัฐคือ เร่งรีบการออกกฎหมายที่ค้างคาและบังคับใช้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า มีเจ้าของพรรคบางพรรค ไม่ต้องการให้นายอภิสิทธิ์ บริหารประเทศต่อไป เพราะยอมรับสภาพกับการเสียผลประโยชน์เสียอำนาจไม่ได้ มีการยกระดับการต่อต้าน กล่าวพาดพิง จาบจ้วง สถาบันศาล สถาบันองคมนตรี รวมทั้งก่อจลาจล โดยมีเป้าหมายเดียวคือต้องการให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภา แต่เมื่อแผนการต่างๆ ไม่สำเร็จจึงทำให้ผู้นำการชุมนุม ผู้นำการก่อจลาจล วางแผนใหม่ จึงอยากเตือนให้นายกฯ เตรียมการรับมือกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 6 พฤษภาคมไว้ให้ดี เนื่องจากเชื่อว่า จะมีความพยายามในการก่อจลาจล เช่น อาจยิงระเบิด M79 เข้าไปในกลุ่มผู้ชุมนุม หรือมีการปล่อยเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่โดยอ้างว่ารัฐบาลเป็นผู้กระทำ เพื่อเป็นข้ออ้างให้ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาโดยมีความชอบธรรมมากขึ้น
 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1241190368&grpid=05&catid=01


Hotmail® has a new way to see what's up with your friends. Check it out.

กว่าสิบปีที่รอคอย วัฒนา นาคประดิษฐ์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

กว่าสิบปีที่รอคอย วัฒนา นาคประดิษฐ์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม


  4-5 ปีหลังมานี้สถานการณ์การเมืองถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการชิงไหวชิงพริบระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันรุกผลัดกันรับ ต่างฝ่ายต่างคิดกลเกมมากมาย เพื่อโน้มน้าวชักชวนให้ฝ่ายของตนเองมีมวลชนมากขึ้น เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองในยามนี้ จึงควรทำใจให้นิ่งๆ ละจากความรัก โลภ โกรธ หลงในตัวบุคคล รวมถึงควรตรวจสอบตัวเองอย่างซื่อสัตย์ด้วยว่า "ตัวเรานั้นมี 2 บรรทัดฐาน" ในการตัดสินใจหรือไม่     เพราะหากเราวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึง "หลักการ" เราจะกล่าวโทษกันไปมาไม่มีที่สิ้นสุด และจะยิ่งบ่มเพาะความเกลียดชังให้เจริญงอกงามจนยากที่จะเยียวยา ยิ่งในสถานการณ์บ้านเมืองที่ใครมีสื่อในมือนั้น ย่อมถือว่าได้เปรียบคู่ต่อสู้ไปหลายขุม สื่อที่ถูกใช้และถูกกล่าวถึงในแง่ร้ายๆ นอกจากสื่อกระแสหลักแล้ว สื่อเล็กๆ อย่าง "วิทยุชุมชน" ก็โดนเข้าเต็มๆ

     เราๆ ท่านๆ จึงมักได้ยินข่าวว่าจะปิดวิทยุชุมชนที่ต้องสงสัยว่าสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามกับตนทุกครั้ง ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าไปมีอำนาจ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จนประชาชนทั่วไปเกิดความสับสนว่านิยามและหน้าที่ที่แท้จริงตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญของวิทยุชุมชนที่ควรจะเป็นคืออะไร

     ภายใต้การรองรับของกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ระบุว่า "...ให้ภาคประชาชนเข้าถึงและเข้าไปใช้คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 โดยการดำเนินการดังกล่าวของภาคประชาชนต้องไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ และหากภาคประชาชนไม่พร้อม องค์กรอิสระต้องให้การสนับสนุน..."

     แม้กฎหมายจะรองรับสิทธิในการเข้าถึงคลื่นความถี่ แต่ก็ใช่ว่าการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนจะสามารถเกิดขึ้นได้ทันที เพราะการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนในแต่ละที่นั้น ต้องใช้ความเห็นชอบร่วมกันของชุมชน การหาสถานที่ตั้งก็ต้องเป็นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ การตั้งชื่อยิ่งต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมถึงการเตรียมความคิดความเข้าใจในนิยามของวิทยุชุมชน การฝึกให้เกิดความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์ในห้องส่งกระจายเสียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา เพื่อให้วิทยุชุมชนสามารถทำงานได้จริงดังคำขวัญที่ว่า วิทยุชุมชนเป็นของชุมชน เพื่อชุมชน และโดยชุมชน

     กระทั่งปี 2544 วิทยุชุมชนแห่งแรกจึงถือกำเนิดขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และทยอยเกิดขึ้นให้หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยบางพื้นที่ใช้คำว่าจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการนั้น วิทยุชุมชนถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์มากมาย เป็นพื้นที่ที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายเรื่อง

     ตั้งแต่การทำมาหากิน วันเวลาการปิดเปิดน้ำของชลประทาน ใครที่วัวหายก็สามารถฝากข่าวผ่านมาทางวิทยุชุมชนได้ การเลือกตั้งท้องถิ่นเอง ชุมชนจะมีอาสาสมัครอยู่ตามหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งจะรายงานทางโทรศัพท์ถึงสถานการณ์การเลือกตั้งและผลคะแนนเข้ามายังรายการวิทยุชุมชน ก่อเกิดชุมชนทางอากาศที่พึ่งพาช่วยเหลือกัน สิ่งเหล่านี้สื่อกระแสหลักเข้าไม่ถึง ในแต่ละปีชาวบ้านต่างจัดงานบุญต่างๆ ตามแต่วัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ผ้าป่า, โต๊ะจีน, เลี้ยงน้ำชา เพื่อระดมทุนให้การดำเนินการวิทยุชุมชนดำรงอยู่ได้

     แต่ด้วยฐานคิดแห่งความหวังดี หรือฐานคิดที่ต้องการแบ่งแยกแล้วปกครอง ก็สุดจะคาดเดา ปี 2547 รัฐบาลโดยกรมประชาสัมพันธ์อนุญาตให้วิทยุชุมชนสามารถมีโฆษณาได้ 6 นาทีต่อชั่วโมง ส่งผลให้วิทยุชุมชนเพิ่มจาก 500 สถานี เป็นกว่า 4,000 สถานีในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งวิทยุชุมชนตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และที่แอบแฝงตั้งขึ้นมาเพื่อหารายได้จากการโฆษณา ขายปุ๋ยขายยาฆ่าแมลง แม้กระทั่งการเปิดเพลงของค่ายเพลงใหญ่ๆ

     ก็ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า ต่างกับการโฆษณาแฝงอย่างไร ขณะที่ในทางนโยบายเอง การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อมากำกับดูแลเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดความเป็นธรรม ที่ใช้ชื่อว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช.ก็ยังไม่สามารถจัดตั้งให้เป็นรูปเป็นร่างได้ หลายส่วนจึงใช้ช่วงสุญญากาศแบบนี้เข้ามาใช้คลื่นความถี่ โดยเรียกตัวเองว่าวิทยุชุมชน ก็ยิ่งสร้างความสับสนทั้งผู้จัดตั้งเอง ผู้รับฟังและสาธารณชนทั่วไป ต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมากขึ้นไปอีก

     แต่หากเรายึดสุภาษิตที่ว่า "มาช้าดีกว่าไม่มา" จะช่วยให้เราไม่เป็นทุกข์มากจนเกินไป เพราะกว่า 10 ปี จากมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 จนถึงมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 กฎหมายลูกอย่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 จึงคลอดออกมา โดยที่มาตรา 78 ของบทเฉพาะการ ได้ให้อำนาจคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) 

     ปัจจุบัน กทช.ได้จัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ คือ การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างฉบับดังกล่าว ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ

     กว่า 10  ปี ที่ผู้ดำเนินการวิทยุชุมชน และเพื่อนมิตรจากหลากหลายอาชีพ ที่ยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ช่วยเหลือ เพื่อให้วิทยุชุมชนดำเนินงานอยู่ได้ท่ามกลางการพิสูจน์ตัวเอง การหล่อหลอม เรียนรู้ร่วมกัน ลงมือทำเพื่อสั่งสมประสบการณ์ สมควรอย่างยิ่งที่จะมีที่ยืนในสังคมอย่างสง่างาม.

 http://www.thaipost.net/tabloid/030509/4028

 



Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

เงิน 10 ล้านดูมากแต่ไม่ยากหากจะช่วยกันมิใช่หรือ!?

วิสามัญบันเทิง : ไม่ใช่เรื่องยาก


      กรอบภาพ-ข่าวเล็กๆ ที่หน้า 6 เอ็กซ์ไซท์ ไทยโพสต์ ฉบับวันพุธที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ผู้คนในวงการภาพยนตร์ไทยจะรู้สึกรู้สากันอย่างไรไม่รู้ ผมรู้แต่ว่าการที่บมจ.เอสโซ่(ประเทศไทย)ได้มอบเช็คจำนวนเงิน 100,000 บาทให้กับคุณโดม สุขวงศ์ เพื่อสนับสนุนการรักษาฟิล์มภาพยนตร์เก่า แผ่นฟิล์ม วีดิทัศน์ความรู้และเหตุการณ์สำคัญๆ ของชาติในอดีต รวมถึงกิจกรรมในโครงการต่างๆ ของหอภาพยนตร์แห่งชาตินั้น
     มันได้บ่งบอกถึงว่าสิ่งที่คุณโดมปรารถนาและต้องการอยู่ในเวลานี้นั้น "คนนอก" ได้มองเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของ "ห้องเย็น" ในการเก็บรักษาฟิล์มมากกว่า "คนใน" หมายถึงผู้ประกอบการหนังไทย อย่างที่ไม่อาจมองเป็นอื่นได้
     ผมไม่ถามหรอก "น่าละอายแก่ใจไหม?" แต่ผมอยากจะบอกว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่คนในวงการหนังโดยเฉพาะกับ "องค์กร" คนทำหนัง อย่างสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ จะได้แสดงบทบาทในการที่จะสนับสนุนหอภาพยนตร์ฯ ให้สามารถจัดสร้างห้องเย็นสำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์เสียที
     จริงอยู่เงิน 10 ล้านบาทนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างที่เห็นเป็นอยู่ แต่ผมก็เชื่อว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เกินกำลังของผู้คนในวงการหนัง ถ้าเผื่อจะมี "ใจ" ช่วยกันคนละไม้คนละมือ อย่างกับที่บริษัทเอสโซ่ได้เริ่มจุดประกายทำให้เห็น

     อย่าอ้างกันอยู่เลยครับ ว่าเรื่องนี้ควรจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องจัดงบให้การสนับสนุน เพราะหากมัวแต่เฝ้ารอหวังเงินจากรัฐ เชื่อแน่ว่า "ฟิล์มหนัง" ที่คุณโดมเปรียบเป็น "ผู้ป่วย" ที่อยู่ระหว่างการรักษาเยียวยา  คงจะมีลมหายใจอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะบางเรื่องฟิล์มเริ่มที่จะหมดอายุ เกินกว่าที่จะช่วยต่อลมหายใจได้อีกแล้ว
     รัฐบาลนั้นก็รู้กันอยู่ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย เรื่องที่จะหันมาดูอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยอย่างจริงจัง เป็นระบบเหมือนกับเกาหลี-ญี่ปุ่นนั้นอย่าไปหวัง ใช่ว่ารัฐบาลไม่คิดไม่ทำหากแต่หน่วยงาน หรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแล ขาดซึ่งวิสัยทัศน์และความรู้ความเข้าใจในภาพยนตร์ ที่ใครก็รู้ว่าไม่ใช่เป็นแค่ความบันเทิง หากแต่ยังเป็น "สื่อ" ช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศชาติ การท่องเที่ยว และเป็น "สินค้า" ที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้อีกทางหนึ่ง
     อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่อยากไปตำหนิติติงรัฐบาลเสียฝ่ายเดียว เพราะในบางเรื่องที่ภาคเอกชนคนในวงการหนังพอจะทำกันได้ ก็น่าที่จะได้แสดงความร่วมมือร่วมใจให้ปรากฏ อย่างกับการสร้าง "ห้องเย็น" ของหอภาพยนตร์ฯ ที่ว่านี้ แม้ประโยชน์จะไม่ได้กับบริษัทผู้สร้างหนังโดยตรง
     แต่ด้วยสำนึกและจิตวิญญาณของผู้ที่ได้ชื่อว่า "รักหนังไทย" ทำมาหากินอยู่กับหนังไทยมายาวนาน การที่จะมีห้องเก็บฟิล์มหนังให้มีอายุยาวนานนับร้อยนับพันปี เพื่อที่จะได้เป็น "มรดก" สืบทอดให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อๆ ไป ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้คุณโดมต่อสู้ดิ้นรนโดดเดี่ยวตามลำพังหยั่งงี้
     สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ฯ ต้องรับหน้าที่เป็น "เจ้าภาพ" แล้วล่ะ หรือหากได้คิดและดำเนินการเรื่องนี้อยู่ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ตรงนี้ แต่หากมีความว่างเปล่าอยู่ก็น่าจะเร่งคิด-อ่านกันดู..

     เงิน 10 ล้านดูมากแต่ไม่ยากหากจะช่วยกันมิใช่หรือ!?
                                                        สันต์ สะตอแมน
 
http://www.thaipost.net/x-cite/010509/3929


Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.

Internet banking ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ Internet banking ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/bankbank/2009/05/03/entry-1 ....................................................................... ผู้ส่ง Internet banking

หน้ากากอนามัย ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ หน้ากากอนามัย ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/doctornursethailoyalty/2009/05/03/entry-1 ....................................................................... ผู้ส่ง หน้ากากอนามัย

วันที่ 30 เม.ย. 2518

ภาพวินาทีเวียดนามใต้ได้รับการปลดปล่อย

รายงานโดย :สมาน สุดโต รายงานจากนครโฮจิมินห์:
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
วันที่ 30 เม.ย. 2518 หรือเมื่อ 34 ปีที่แล้ว ผู้ที่ติดตามข่าวสงครามเวียดนามคงได้เห็นภาพการหนีกันอย่างโกลาหลของกองกำลังต่างชาติ

และกองกำลังเวียดนามใต้ที่เบียดเสียดยัดเยียดขึ้นเฮลิคอปเตอร์หลบหนีที่สถานทูตอเมริกันในไซง่อน หลังจากพ่ายแพ้ต่อกองทัพประชาชนเวียดนามที่มาปลดปล่อยเวียดนามใต้
ทำเนียบประธานาธิบดีปัจจุบันมีชื่อว่า ทำเนียบเอกภาพ
ทันทีที่รถถัง 2 คัน ของกองทัพประชาชนพังประตูเหล็กทำเนียบประธานาธิบดีที่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 108 Nguyen Du Street นายทหารที่บังคับการรถถัง ยศร้อยเอกกระโดดลงจากรถ วิ่งตรงไปยังห้องโถง ชั้นล่างทำเนียบประธานาธิบดี ที่ เดืองวันมินห์ ประธานาธิบดีในขณะนั้นยืนคอยเพื่อเจรจาสงบศึก แต่นายทหารผู้นั้นแจ้งว่าไม่มีการเจรจาแล้ว ต้องยอมจำนนเท่านั้น
ต่อจากนั้น ธงชาติสีแดงมีดาวทองตรงกลาง ของเวียดนามได้ขึ้นโบกสะบัดที่ชั้น 4 ของทำเนียบประธานาธิบดี นับแต่วินาทีนั้นเวียดนามใต้ได้รับการปลดปล่อย รวมกันเป็นเอกภาพ เป็นเวียดนามหนึ่งเดียว สมเจตนารมณ์ของประธานโฮจิมินห์ ที่ตั้งไว้ก่อนถึงอสัญกรรมในปี 2512

ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 30 เม.ย.ของทุกปี จะมีการฉลองเอกภาพ แต่ปีนี้ครบปีที่ 34 รัฐบาลเวียดนามประกาศหยุดงาน 4 วัน ฉลองควบกับวันแรงงาน (1 พ.ค.) และวันหยุดเสาร์อาทิตย์ คาดว่าจะมีผู้ร่วมฉลองทั่วประเทศ รวมทั้งนครโฮจิมินห์ หรือไซง่อนเดิม ผู้บริหารนครโฮจิมินห์จึงสั่งให้ผู้รับเหมาที่ทำงานยังไม่เรียบร้อยตามถนนต่างๆ ในนครโฮจิมินห์ ให้จัดการให้เรียบร้อยเพื่อจะไม่มีปัญหาจราจรและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนที่ร่วมฉลองความยิ่งใหญ่

2 ประเทศในแผ่นดินเดียว

เมื่อ 34 ปีที่แล้ว สาธารณรัฐประชาชนเวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศคือเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยใช้เส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่ง เขตแดน

ประชาชนไซง่อนยินดีที่ปลดปล่อยภาคใต้สำเร็จ
การที่แบ่งเป็น 2 ประเทศก็สืบเนื่องมาจากข้อตกลงทางการเมืองที่กรุงเจนีวา หลังจากที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งปกครองเวียดนามมาตั้งแต่ปี 2401 ต้องพ่ายแพ้แก่ประชาชนเวียดนามในการรบที่ เดียนเบียนฟู 7 พ.ค. 2497 ตอนนั้นกองกำลังฝรั่งเศสกว่า 8,000 คน ต้องตกเป็นเชลยของเวียดนาม

ศุขปรีดา พนมยงค์ เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง โฮจิมินห์ เทพเจ้าผู้มีลมหายใจ ว่า ชัยชนะที่เดียนเบียนฟูเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชาติอาณานิคมเอเชียที่มีต่อมหาอำนาจเช่นฝรั่งเศส ผู้เป็นเจ้าแห่งยุทธศาสตร์สงครามป้อมค่ายประชิด ผู้โอ้อวดว่าไม่มีทางแพ้อาณานิคมของตน และแน่นอนเหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนทำให้นายทหารระดับสูงฝรั่งเศสเสียหน้าเป็นอย่างยิ่ง

ผลสะท้อนทางการเมือง ณ ที่ประชุมกรุงเจนีวา หลังพ่ายแพ้ที่เดียนเบียนฟู รัฐบาลฝรั่งเศสที่มีนาย ปิแอร์ มองเดส ฟรองก์ เป็นนายกรัฐมนตรี กับ ฟามวันดง แห่งเวียดนาม ได้บรรลุข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวา โดยสรุปได้ว่าดินแดนเวียดนามนับแต่เส้นขนานที่ 17 ขึ้นไปทางเหนือ ให้อยู่ในความปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ที่มีท่านโฮจิมินห์เป็นประธานประเทศ ส่วนใต้เส้นขนานที่ 17 ลงมา ที่มีไซง่อนเป็นเมืองหลวง ฝรั่งเศสเป็นผู้ดูแล

นี่คือต้นเหตุให้มี 2 ประเทศในแผ่นดินเดียวกัน

ทหารกองพลที่10 โจมตีสนามบินไซง่อน

พยายามรวมประเทศ

เมื่อประเทศอันเป็นที่รักถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ ในขณะที่ฝรั่งเศสซึ่งพ่ายแพ้ ณ เดียนเบียนฟู กำลังถอนตัว สหรัฐอเมริกาได้พยายามเข้ามาแทนที่ ท่านประธานโฮจิมินห์ หรือลุงโฮ ของชาวเวียดนามในขณะนั้นอายุ 75 ปี แต่ยังเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้เวียดนามมีเอกภาพ หรือเป็นประเทศเดียวกันให้ได้ โดยเฉพาะหลังจากเกิดเหตุการณ์เรือพิฆาตแมคดอกซ์ ของสหรัฐ ล้ำน่านน้ำเวียดนามที่อ่าว ตังเกี๋ย แล้วเกิดปะทะกับเรือเร็วตรวจฝั่งของเวียดนาม อเมริกาฉวยโอกาสส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือที่ฮานอย และเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญๆ อีกหลายเมือง

ศุขปรีดา เขียนว่า สงครามกู้ชาติครั้งที่ 2 (ของลุงโฮ) เปิดฉากขึ้น เป็นสงครามเวียดนามกับ จักรวรรดินิยมอเมริกา และลูกสมุนเวียดนามใต้ ภายหลังอเมริกาละเมิดข้อตกลงปี 2497 โดยเริ่มให้ โงดินเดียม โค่น เบาได๋ (จักรพรรดิเวียดนาม) แล้วตั้งสาธารณรัฐเวียดนามขึ้นมา

ต่อมาโงดินเดียมที่เป็นประธานาธิบดีคนแรก หลังจากเป็นสาธารณรัฐก็ถูกอเมริกาเขี่ยทิ้ง เพราะบริหารประเทศไม่เอาไหน เมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นจึงถูกประหารชีวิต แล้วสหรัฐอเมริกาเอาคนที่สามารถชี้นิ้วได้ขึ้นครองอำนาจ แต่ไม่ได้หยุดยั้งความรักชาติชาวเวียดนามได้ ในปี 2503 จึงเกิดแนวร่วมปลดปล่อยเวียดนามใต้ หรือเวียดกง ซึ่งท่านประธานโฮจิมินห์ และกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์ ได้มีมติสนับสนุนทุกวิถีทางให้ปลดปล่อยเวียดนามใต้ให้ได้

ประชาชนไซง่อนแสดงความต้อนรับกองกำลังปลดปล่อย
ในช่วงนั้นการส่งกำลังทหาร ยุทธสัมภาระจากเวียดนามเหนือเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องผ่านเส้นขนานที่ 17 ลงไปทางใต้ โดยอาศัยเส้นทางป่าเขาที่ลดเลี้ยวเคี้ยวคด ต่อมาเส้นทางดังกล่าวมีชื่อว่า เส้นทางโฮจิมินห์

ในขณะที่การต่อสู้ปลดปล่อยเวียดนามใต้ดำเนินการอยู่นั้น สุขภาพท่านประธานโฮจิมินห์ในวัยกว่า 75 ปี ก็ถดถอยไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังหวังว่าจะมีโอกาสไปเยี่ยมเยียนพี่น้องทางภาคใต้สักวันหนึ่งเมื่อได้รับการปลดปล่อยแล้ว โดยให้กำลังใจ (นักรบ) ว่า สู้กับฝรั่งเศสใช้เวลาถึง 10 ปี จึงชนะ การสู้กับอเมริกาที่มีกำลังและอานุภาพมากกว่าอาจต้องใช้เวลามากกว่านั้นก็ได้ แต่ชัยชนะจะต้องเป็นของประชาชนชาวเวียดนามเท่านั้น

แต่ท่านไม่มีโอกาสมีชีวิตอยู่ดูชัยชนะของประชาชาติชาวเวียดนาม เพราะเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2512 ท่านก็ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในวัย 79 ปี
ต่อมาอีก 5 ปี หลังอสัญกรรมของโฮจิมินห์ คือ 30 เม.ย. 2518 ชาวเวียดนามทั้งมวลก็ประกาศ ชัยชนะเหนือศัตรูที่มีพลังอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาได้อย่างสิ้นเชิง ความเป็นเอกภาพกลับมาสู่ประเทศเวียดนามตามเจตนารมณ์ท่านประธานโฮจิมินห์อีกครั้ง นักหนังสือพิมพ์เล่าเหตุการณ์

ฟามก็อกโตน
ฟามก็อกโตน หรือ องต่วน รองประธานสมาคมนักหนังสือพิมพ์เวียดนาม ที่นักหนังสือพิมพ์ไทยรู้จัก เล่าบรรยากาศและความรู้สึกในฐานะสื่อมวลชนเวียดนามเมื่อ 34 ปีให้ฟังว่า เมื่อรู้ว่าได้รับชัยชนะ ขับไล่ผู้รุกรานออกไปได้ เหมือนยกภูเขาออกจากอก รู้สึกดีใจ ปลอดโปร่ง ตื้นตันชนิดบรรยายไม่ถูก เป็นชัยชนะที่รอคอยและปรารถนามานานหลายปี เพื่อให้เห็นภาพว่าดีใจอย่างไร องต่วนยกมือทั้งสองออกจากอก แสดงความโล่งใจ เพราะความรู้สึกกดดันได้ หมดสิ้น

องต่วน ในฐานะนักข่าวยศร้อยโทกองทัพบก (ก่อนเกษียณมียศ นายพันตรี) แห่งหนังสือพิมพ์ทหารรายวัน บอกว่าในกรุงฮานอยไม่มีใครเรียกใคร แต่ทุกคนออกจากบ้านมาฉลองกันเต็มถนน ประชาชนกอดกันแสดงความดีใจ และความภูมิใจต่อชัยชนะ

บางคนไม่มีอุปกรณ์ที่จะเอามาฉลอง หยิบเอาหม้ออะลูมิเนียมและภาชนะอื่นๆ มาตีฉลองกันอย่างสนุกสนาน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ

หนังสือพิมพ์พิมพ์มาเท่าไรก็ขายหมดเกลี้ยง

องต่วน ในนามสมาคมนักหนังสือพิมพ์เวียดนาม ได้มอบภาพเหตุการณ์เมื่อ 34 ปี ที่กองทัพปลดปล่อยเวียดนามได้บุกเข้ายึดทำเนียบประธานาธิบดี เวียดนามใต้ และภาพที่ศัตรูกำลังหนี รวมทั้งภาพที่ประชาชนชาวเวียดนามออกมาแสดงความยินดี ซึ่งเป็นภาพที่สมาคมฯ เก็บไว้ให้กับ โพสต์ทูเดย์ ด้วย
 
http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=44977



Hotmail® has a new way to see what's up with your friends. Check it out.

วิธีรักษาปากแห้งแตกเป็นขุย / กลิ่นปาก

วันที่ 27 เมษายน 2552 เวลา 00:00 น. |
 
 
วิธีรักษาปากแห้งแตกเป็นขุย
ใครที่กำลังปากแห้งแตกเป็นขุยและไม่รู้จะรักษายังไง วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีรักษามาบอก....
วิธีรักษาสิ่งที่ดีสุด คือ ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ หรือจิบน้ำอุ่น ๆ บ่อย ๆ หากปากแห้งมากจนลอกเป็นขุย ให้ใช้น้ำอุ่น ผสมเกลือป่นเล็กน้อย แล้วใช้สำลีหรือทิชชูชุบน้ำอุ่นผสมเกลือป่นให้เปียกพอหมาด ๆ แล้วใช้ปากคาบทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที หรือเช็ดเบา ๆ ไปบนริมฝีปาก ก็จะช่วยให้ขุยต่าง ๆ หลุดลอกออกไปได้ และหมั่นทาลิปมันที่มีส่วนผสมของสารบำรุง หรือถ้าปากแห้งมากแนะนำให้ใช้ปิโตเลี่ยมเจล (มีลักษณะเป็นเจลใสคล้ายขี้ผึ้ง) ทาบนริมฝีปากได้บ่อยครั้งตามต้องการ
รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าใครปากแห้งแตกเป็นขุย ก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้.
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72940&NewsType=2&Template=1
 
กลิ่นปาก

ทราบหรือไม่ว่าสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากนั้นมาจากอะไร และควรจะทำอย่างไรเมื่อเกิดกลิ่นปาก วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีเรื่องนี้มาบอก...
สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก
- การไม่ดื่มน้ำหรือไม่รับประทานอาหาร ทำให้แบคทีเรียไม่ถูกชะล้างจึงเกิดกลิ่นปาก
- โรคฟัน เช่นฟันผุ สุขลักษณะช่องปากไม่ดี มีการขังของเศษอาหารในช่องปาก
- กลิ่นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เช่น กาแฟ สุรา หอมใหญ่ กระเทียม พริก บุหรี่
- หายใจทางปากเนื่องจากเป็นหวัด
- โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไซนัสอักเสบ คออักเสบ เป็นต้น
- โรคบางชนิดเช่น โรคไต โรคตับ
การดูแลรักษากลิ่นปาก
- ให้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อทุกวัน
- ให้ดื่มน้ำมะนาวซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำลาย
- ให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
- เคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมระหว่างมื้ออาหาร
- แปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง และให้แปรงลิ้น
- ขูดหินปูน 2 ครั้งต่อปี
       
ถ้าอาการไม่ดีภายหลังจากได้ปฏิบัติแล้ว 10 วัน ให้ไปพบทันตแพทย์ทันที.
 

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=73055&NewsType=2&Template=1

Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ยกต้นไม้ 100 ปี สู่ป่าคอนกรีต ธรรมชาติจัดสรร...มีไว้บอกรสนิยม

วันที่ 26 เมษายน 2552 เวลา 00:00 น. |
 
 
ยกต้นไม้ 100 ปี สู่ป่าคอนกรีต ธรรมชาติจัดสรร...มีไว้บอกรสนิยม
วิธีแก้ปัญหาอากาศร้อนสมัยนี้คิดแบบรวบรัด คือการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในอาคารบ้านเรือนแทน แต่การที่จะขุดดินลงแรง ปลูกต้นไม้รอบบ้านอาคารที่อยู่อาศัยเพื่อลดไอร้อนจากแดด หลายคนละเลยเพราะเหนื่อยยากไม่น้อย หากแต่บ้านผู้มีฐานะมีเงินจ้างบริษัทมาจัดสวนให้บ้านร่มรื่น มีต้นไม้มากมายแปลกพันธุ์แปลกชื่ออยู่ในบ้าน ทำให้น่าอยู่น่าอาศัยและเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาได้ไม่น้อย

หมู่บ้านจัดสรร โรงแรม รีสอร์ท ร่มรื่นมีต้นไม้ใหญ่ยักษ์เกิดขึ้น เป็นเรื่องน่าทึ่งและให้ความสวยงามไปพร้อม ๆ กัน แม้ต้นไม้จะใหญ่สักเพียงใดก็ย้ายถิ่นฐานได้ด้วยเทคโนโลยี อยากย้ายข้ามจังหวัดหรือข้ามประเทศก็ทำกันได้ กลายเป็นธุรกิจหนึ่งที่เฟื่องฟูไม่น้อย

สุวินิจ พันธุ์ชาลี นักขุดล้อมต้นไม้และเจ้าของร้าน ขายต้นไม้สวนลีลา ไม้ป่า รังสิตคลองหก บอกเล่าให้ฟังว่ากระแสการซื้อขายต้นไม้ใหญ่อายุหลายร้อยปีเริ่มต้นมาจากนักจัดสวน นักจัดสวนแนะนำเจ้าของบ้านถึงการเลือกหาต้นไม้หลากชนิดมาประดับสวน บวกกับคนขายต้นไม้ทดลองนำต้นไม้ที่ขุดมาขาย แล้วลูกค้าสนใจเกิดกระแสปากต่อปาก

สำหรับไม้ที่เรียกหากันในการจัดสวน สุวินิจ บอกว่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าแต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ป่ามีค่ามีราคาทั้งหมด อาทิ ไม้พะยูง พะยอม กันเกรา กระโดน จิกน้ำ จิกน้ำระย้า จิกเศรษฐี อโศกน้ำ สาละ ลีลาวดี เสม็ดแดง แคนา เป็นต้น บางต้นมีราคาเป็นแสนขึ้นอยู่กับรูปทรงของต้นไม้เป็นหลัก อย่างเช่น ต้นสาละ ต้นโพธิ์ เป็นต้น แต่ต้นไม้ที่ตลาดต้องการและขายง่ายยังเป็น ลีลาวดี ไม้ชนิดนี้ดูที่เส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดลำต้นเป็นสำคัญ เช่น เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้วราคาประมาณ 12,000-15,000 บาทต่อต้นแล้วแต่รูปทรงของต้นประกอบกับพันธุ์ด้วย ถ้าเป็นขาวพวงก็ยิ่งราคาดีเพราะมีดอกเยอะ ยิ่งต้นไม้ที่มีรูปทรงคดเคี้ยว มีปุ่มโปนอยู่ตามลำต้น ดูแล้วแปลกขลัง กลายเป็นไม้มีราคา ซื้อขายกันเป็นแสนต่อต้น

"รูปทรงเหล่านี้เกิดจากธรรมชาติสร้างใช้เวลาหลายปี เกิดจากพายุช่วยบ้างให้ต้นไม้มาเบียดกัน ไม้จึงออกมาเป็นสภาพอย่างนี้ ในจังหวัดในอำเภอหนึ่งมีไม่กี่ต้นราคาจึงแพงมาก ชาวบ้านบางคนไม่รู้ตัดทิ้ง บางต้นราคาเท่า ๆ กับรถคันหนึ่ง ในหมู่คนจัดสวนเรียกกันว่าไม้ลีลา"

ชาญชัย ศรีสวัสดิ์ นักจัดสวนที่อยู่ในวงการมากว่า 20 ปี
บอกเล่าว่า งานจัดสวนส่วนใหญ่จะต้องเน้นเลียนแบบธรรมชาติให้ได้ใกล้เคียง ที่สุด ดังนั้นการเลือกต้นไม้ต้องดูลีลาให้กลมกลืนธรรมชาติ เช่น จิกน้ำ เป็นไม้ธรรมชาติอยู่ริมน้ำ เวลาเลือกไปปลูกในสวนก็ต้องเป็นสวนที่มีแหล่งน้ำทอดเลี้ยวข้ามคลองยิ่งเป็นที่ต้องการ การนำเสนอต้นไม้หรือต้นไม้แปลก ๆ ขึ้นอยู่กับงบประมาณของลูกค้าด้วย อย่างคนที่เป็นระดับมหาเศรษฐี ส.ส.นักการเมืองจะชอบไม้ล้อมยืนต้นขนาดใหญ่ไปปลูกที่บ้าน เช่น พะยอม กันเกรา จิกเศรษฐี จัดอยู่ในกลุ่มไม้มงคล ซึ่งไม้เหล่านี้บางต้นอายุนับ 100 ปี คนที่มีฐานะหน่อยจะชอบเพราะเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะและบารมีของเจ้าของบ้านด้วย

"เวลาซื้อต้นไม้ใหญ่ขุดล้อม ให้สังเกตมีใบอ่อนที่แตกออกมาเจริญงอกงาม ดูโคนต้นเกิดรากเล็ก ๆ เกิดขึ้นนั้นแสดงว่าต้นสมบูรณ์ ดูขุยมะพร้าวมีสีคล้ำแสดงว่าเป็นต้นไม้ที่ขุดล้อมมานานแล้ว เพราะบางชนิดต้องมาเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นไม้เปลือกแข็ง เช่น กันเกรา พะยูง ทองกวาว ต้องเลี้ยงให้เกิดรากก่อนจึงย้ายไปปลูกที่ใหม่ได้ ส่วนไม้เปลือกอ่อน เช่น ประดู่ หางนกยูงฝรั่ง สามารถย้ายแล้วปลูกในที่ใหม่ได้ทันที" นักจัดสวนให้คำแนะนำ

ไม้ขุดล้อมเหล่านี้บางต้นมีอายุยาวนานมาหลายชั่วอายุคน วิธีการเสาะแสวงหาไม้เหล่านี้ต้องใช้นายหน้าไม่ต่างกับการซื้อขายที่ดิน แต่ไม่มีการเข้าไปขุดล้อมไม้ในเขตป่าหรือพื้นที่อุทยานเด็ดขาดเพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ไม้เหล่านี้มีที่มาจากผืนดินที่มีเจ้าของ ทั้งบ้านคน วัด หรือที่ทางของมหาเศรษฐีที่ทิ้งร้างไว้ให้คนเฝ้า วันดีคืนดีคนเฝ้าขายต้นไม้ใหญ่ไปแล้วก็มี

"เมื่อมีคนติดต่อว่ามีไม้เราจะไปดูด้วยตัวเอง จะดูจากรูปทรงของไม้แล้วประเมินราคาฟอร์มสวยมากก็หลายหมื่นดูแล้วมาขายในกรุงเทพฯอาจได้เป็นแสน ติดต่อกับชาวบ้านบางคนไม่ขายบอกว่าจะเก็บไว้ให้ลูกหลาน เราก็เพิ่มราคาให้อีกเจรจาต่อรองกัน บอกว่าเอาเงินไว้ปลูกบ้านดีกว่า เขาก็ใจอ่อนเหมือนกัน แต่มีเหมือนกันที่อยากปลูกบ้านแล้วต้องการเอาต้นไม้ใหญ่ออกไม่ให้เหลือตอ เขาให้เราฟรี ๆ ก็มี เพราะเขาไม่มีรถเครนยก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง" นักขุดล้อมต้นไม้บอกวิธีการทำงาน

สุวินิจ เล่าว่าการขุดล้อมต้นไม้ใหญ่ต้องดูฤดูกาลด้วย ฤดูกาลที่เหมาะคือหมดฝนไปแล้ว และหลีกเลี่ยงช่วงหน้าหนาวที่มีลมแรง ซึ่งขั้นตอนการขุดไม้เหล่านี้ต้องใช้ความใจเย็นเป็นหลัก ก่อนลงมือ ขุดต้องจุดธูปบอกกล่าวขอขมาต้นไม้ก่อนตามความเชื่อ บางต้นใช้เวลาเป็นอาทิตย์ ต้องกินอยู่หลับนอนกับต้นไม้โดยใช้แรงงานคนในการขุดทั้งหมด ค่อย ๆ เซาะดินให้ลึกลงไปถึงราก หากต้องตัดรากจะใช้เลื่อยมาตัดรากไม้แทนการใช้เสียมเพื่อป้องกันการเกิดแผลให้น้อยที่สุด ระหว่างขุดจะต้องมีไม้ค้ำยัน เพื่อป้องกันตุ้มหรือดินที่หุ้มรากหลุดโดยใช้กระสอบป่านหุ้มตุ้มดินไว้ เหตุผลที่ต้องใช้กระสอบป่านเพราะเก็บความชื้นและป้องกันตุ้มดินแตกเคลื่อนได้ดีที่สุด ซึ่งตุ้มดินเป็นเรื่องสำคัญของการขุดล้อมต้นไม้จะรอดหรือไม่รอดตุ้มดินเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อขุดไปจนสุดราก ขั้นตอนต่อมาต้องใช้รถเครนยก บางต้นสูงใหญ่ต้องใช้ระดับ เพาเวอร์เครนยกขึ้น

ต้นไม้เกือบทุกชนิดขุดล้อมได้แต่ไม้ที่ทำได้ยากสุดเห็นจะเป็นไม้ผล น้อยต้นที่ขุดแล้วจะรอดหรือให้ผลเหมือนเดิม ภาษาคนทำต้นไม้เรียกว่า "ต้นไม้ช็อก" ดังนั้นวิธีการขุดล้อมไม้ผลจะต้องขุดแล้วล้อมทิ้งไว้ในที่เดิม 5-6 เดือน แล้วจึงย้ายมาอีกที นอกจากนี้ยังมีไม้ผิวบาง เช่น ต้นแจง ไม้เหล่านี้ล้อมแล้วดูแลยากเช่นกัน ต้นไม้ล้อมเมื่อย้ายมาอยู่ในร้านขายต้นไม้ เจ้าของต้องดูแลให้น้ำยาเร่งราก บี 1 ทิ้งไว้ 3 เดือน เพื่อให้รากฝอย ออกมาจึงจะจำหน่ายได้ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นต้นทุนหนึ่งนอกจากค่ารถเครน ค่าคนขุด ค่าต้นไม้ ค่ารถขนส่ง ค่าตำรวจนำทาง จิปาถะ เบ็ดเสร็จต้นไม้จึงมีราคานับหลักแสน ดังนั้นในเส้นรัศมีของการซื้อขายต้นไม้เหล่านี้จะห่างจากกรุงเทพฯไม่เกิน 400 กม. ได้แก่ พื้นที่ จ.ชัยภูมิ นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครสวรรค์ สระแก้ว ยังเป็นทำเลที่เหมาะสมของการย้ายต้นไม้

ยิ่งถ้าไกลออกไปราคาของต้นไม้เหล่านี้ก็จะสูงตาม แต่กระนั้นพื้นที่เหล่านี้ก็ถูกนักขุดล้อมหาต้นไม้กว้านซื้อจนเหลือน้อย พื้นที่ตลาดใหม่ตอนนี้อยู่แถวจันทบุรี แถบพื้นที่ชาวบ้านรอบ ๆอุทยานแห่งชาติเขาสอยดาว เพราะที่นั่นอุดมสมบูรณ์ และไกลออกไปที่แถบภาคเหนือที่นักค้าต้นไม้กำลังหมายตา

"เราไม่ได้ทำลายต้นไม้ แค่เปลี่ยนที่ปลูก บางครั้งอยู่ในธรรมชาติเดิมชาวบ้านจะโค่นทิ้ง แต่ไปอยู่ในเมืองมีคุณค่าไปสร้างป่าให้ในเมือง" คนพาไม้ใหญ่สู่เมืองพยายามบอกข้อดีของการย้ายถิ่นต้นไม้

ในยุคที่สังคมของคนมีเงินพยายามจะใช้เงินซื้อความรู้สึก เลือกเดินทางสู่ธรรมชาติแต่ขอเป็นธรรมชาติอันสะดวกและจัดสรรได้ หลายคนเริ่มมองเห็นแล้วว่า "ต้นไม้" คือของมีค่าและพัฒนาตัวเองเป็นมรดกตกทอดที่สร้างไว้ให้ลูกหลานได้.
 

พรประไพ เสือเขียว
article@dailynews.co.th
 


Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

กรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติถกเรื่องสมาชิกสมทบ

วันที่ 30 เมษายน 2552 เวลา 00:00 น. |
 
กรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติถกเรื่องสมาชิกสมทบ
เห็นพ้องเป็นไปตามมติให้ใช้แบบเดิมไปก่อน
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) ครั้งที่ 2/2552 ขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนาระบบการบริหารการจัดการสหกรณ์ ชั้น 1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องสมาชิกสมทบ ที่กำลังเป็นที่สนใจของสมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศขณะนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน
 
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ดร.ชาติชาย   พุคยาภรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากประเด็นเรื่องสมาชิกสมทบที่ไม่บรรลุนิติภาวะและในเรื่องของนิติบุคคล ซึ่งกฤษฎีกาไม่ตีความว่าเป็นไปได้ ทางคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) จึงได้หารือหรือยื่นอุทธรณ์เพื่อที่จะหารือแก้ไข เพราะสิ่งที่จะเกิดผลกระทบตามมามีมาก ซึ่งในขณะนี้ถือว่าเป็นไปตามมติคณะกรรมการและให้ใช้แบบเดิมไปก่อน เพื่อที่จะให้สหกรณ์สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพียงแต่ขอให้สมาชิกสมทบใหม่อย่าเพิ่งดำเนินการ โดยสมาชิกสมทบเดิมสามารถดำเนินการได้ตามปกติ นี่คือแนวทางในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น
 
"ต่อจากนี้ก็ต้องไปดูข้อกฎหมายเป็นหลักใหญ่ สำหรับในตอนนี้ก็ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบและปัญหาต่าง ๆ ตามมา" ดร.ชาติชาย กล่าว
 
ทางด้าน นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยว่า จากที่มีปัญหากับสหกรณ์ต่าง ๆ ที่มีสมาชิกสมทบเยอะ และมีสหกรณ์บางแห่งยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน ก็จะทำให้ขบวนการสหกรณ์เสียหายได้ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการว่าจะแก้ไขอย่างไร เวลามาจดทะเบียนในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รองนายทะเบียนสหกรณ์จะตีความไม่เหมือนกันก็เลยต้องการบรรทัดฐานที่เหมือนกัน
 
"ในคณะทำงานต้องมีมติกันว่าจะต้อง     ไปหารือกฤษฎีกาว่าจะมีความชัดเจนแค่ไหน ว่าอะไรคือสมาชิกสมทบ แต่พอหารือเลยมีการชี้แจงมาว่าสมาชิกสมทบตามมาตรา 41 ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะและไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมันไม่ได้เขียนแบบอื่นเลย ไม่ได้บอกว่าสมาชิกสมทบ   คืออะไรเพียงแต่บอกว่าสามารถมีได้และให้ไปกำหนดในข้อบังคับเท่านั้น พอมีมติมาก็แจ้งมาและได้ประสานไปว่าขอยกเลิกเขาก็บอกว่าทบทวน    ไปแล้วยกเลิกไม่ได้ ก็มีการไปชี้แจงเพื่อความ          เข้าใจโดยมีนิติกรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นิติกรกรมส่งเสริมสหกรณ์ นิติกรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แต่ไม่ได้มีกระบวนการสหกรณ์ไปชี้แจง    ด้วย" นางสาวสุพัตรา อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว
 
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า      มีการไปขอแก้ในกฎหมายสหกรณ์ แต่ในกฎหมายสหกรณ์ไม่ได้มีวาระที่พูดถึงเรื่องคุณสมบัติของสมาชิกไว้ ถ้าจะให้ดีก็ให้แก้ออกมาอีกฉบับหนึ่ง แต่ในเวลาปฏิบัติอาจจะช้าและจะกระเทือนต่อการทำงาน ซึ่งจริง ๆ ไม่มีดาต้าเบสเกี่ยวกับเรื่องมีสมาชิกสมทบเท่าไร ในตอนหลังทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ประสานกับทางกฤษฎีกาว่าขอชะลอ ขอหารือเพื่อทบทวนและในช่วงที่กำลังหารืออยู่นั้นนายทะเบียนได้สั่งการไปแล้วเพราะในแง่ของข้าราชการต้องปฏิบัติตามมติ ครม. ซึ่งมติ ครม.กำหนดว่ากรณีที่กฤษฎีกา       ตีความไว้อย่างไรต้องปฏิบัติตามภายใน 90 วัน
 
อย่างไรก็ตามการตีความสมาชิกสมทบที่บรรลุนิติภาวะและไม่เป็นนิติบุคคลกรณีที่ทำ     นิติกรรมก็สามารถทำนิติกรรมต่อไปได้แต่การรับสมาชิกสมทบใหม่ยังไม่ควร ก็เลยมีการนำเสนอที่ประชุม คพช.ว่าจะเอาอย่างไรจะทำเรื่องทบทวนไปยังกฤษฎีกาอีกทีหนึ่งหรือไม่อย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่าให้ของเก่าสามารถทำนิติกรรมต่อไปได้ก็ไปยกเลิกหนังสือฉบับนั้นที่นายทะเบียนสั่งไป และให้ทำเรื่องขอทบทวนไปว่าในขณะนี้สมาชิกสมทบใหม่ไม่ควรรับซึ่งนายทะเบียนก็จะต้องแจ้งไปยังสหกรณ์ทั่วประเทศ และจะไม่มีผลกระทบกับสมาชิกเดิมเพราะนิติกรรมเก่ายังสามารถทำได้อยู่การฝากเงินการถอนเงินยังทำได้ต่อไปเพียงแต่จะไม่รับสมาชิกสมทบใหม่เท่านั้น
 
อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับประเด็นนี้พบว่าตอนแรกของเดิมจะให้ทำจนกว่าจะหมดสัญญาแต่สหกรณ์จังหวัดบางจังหวัดได้ตัดตอนข้อความไปว่าห้ามฝากทันทีก็เลยทำให้เกิดการตกใจขึ้นว่าจะต้องถูกสั่งยกเลิก ซึ่งที่ผ่านมามีรายงานว่าทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำหนังสือแจ้งเวียนไปซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. ที่ส่วนราชการใดที่ส่งตีความไปจะต้องทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามนั้น     ถ้าไม่แจ้งก็จะโดนมาตรา 157 แต่ในตอนที่มีการ   ปรึกษาหารือครั้งแรกทางสหกรณ์ยังไม่เห็นด้วยที่จะให้อุทธรณ์แต่ให้ไปแก้กฎหมายดีกว่าซึ่งจะไม่สามารถตอบได้ว่าจะทำได้เมื่อไรในระยะหนึ่งปีจะทำได้        หรือไม่ก็ไม่แน่ใจ 
 
"ในกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นเขาจะต้องพูดจะต้องหาประเด็นมาพูดโดยในหน้าที่ไม่เคยพูดต่อหน้าสาธารณชนในเรื่องของความเสี่ยงความไม่ดีของสหกรณ์แต่เวลาอยู่ภายในต้องคุยต้องปรึกษากันว่าต้องระวังซึ่งจริง ๆ ตัวเราไม่ได้เป็นคนเซ็นกฤษฎีกาแต่เป็นการต่อเนื่องของการทำงานซึ่งว่ากันตามจริงเพิ่งจะมารับตำแหน่งที่นี่ได้แค่ 2 ปีแต่ที่สามารถทำงานต่อเนื่องมาได้เพราะเป็นอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาก่อนซึ่งรู้ว่าจะทำงานอย่างไรสหกรณ์ไหนเป็นอย่างไรสหกรณ์ที่ดีก็มีเยอะ สหกรณ์ที่จะต้องปรับปรุงก็มีเยอะซึ่งจะต้องระวังในเรื่องนี้ ที่สำคัญผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ควรพูดเรื่องความเสี่ยงต่อหน้าสาธารณชนเพราะไม่อย่างนั้นสมาชิกจะไปถอนเงินกันหมด" นางสาวสุพัตรา อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว.
 
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197685&NewsType=1&Template=1


Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

เก็บดอกรักขายพืชทำเงิน แต่ต้องระวังยาง

วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 เวลา 00:00 น. |
 
 
เก็บดอกรักขายพืชทำเงิน แต่ต้องระวังยาง
"ดอกรัก" หรือในบางท้องถิ่นเรียกปอเถื่อน, ปั๋นเถื่อน ที่มักพบตามที่ว่างริมทางหรือหัวไร่ปลายนาที่มีแดดจัด พบทั้งดอกสีขาว และสีม่วง โดยการใช้ประโยชน์จากดอกรักนั้น มีความผูกพันมากับขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมานานเช่นเดียวกับชื่อที่เป็นไม้นามมงคลมีความหมายถึงความรัก ดังจะพบว่าดอกรักจะถูกนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น มาร้อยทำอุบะมาลัย หรือ ร้อยมาลัยทำเครื่องมงคลถวายพระ หรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีสำคัญ แม้กระทั่งใบต้นรักเองยังถูกมารองในขันสินสอด และ ขันเงินในพิธีแต่งงาน
 
อย่างการปลูกต้นรักเพื่อเก็บดอกรักจำหน่ายเป็นการค้านั้น หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า "ดอกรัก" ที่นำมาร้อยมาลัยนั้นเป็นสายพันธุ์ที่เราเห็นขึ้นตามริมถนน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "รักแก้ว" ดอกจะมีลักษณะอ้วน ป้อม ดอกเล็ก และมีน้ำหนักน้อย ไม่เป็นที่นิยมของตลาดร้อยมาลัย เช่นเดียวกับดอกรักสีม่วง แต่ตลาดจะมีความนิยมใช้ดอกรักสีขาวพันธุ์ "จิ้งจก" ซึ่งลักษณะของดอกตูมจะดูคล้ายกับปากจิ้งจก ดอกจะมีสีขาวใส มันวาว ทรงดอกยาวใหญ่ และมีน้ำหนักคล้ายกับดอกรักที่ทำมาจากพลาสติก เกษตรกรเก็บดอกรักจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 10-300 บาท
 
ซึ่งราคาจะแพงในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา แล้วราคาจะสูงมากในช่วงฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม-มกราคมของทุกปี ดอกรักจะมีราคาสูงมาก เพราะเป็นช่วงต้นรักจะให้ดอกน้อย การขยายพันธุ์ต้นรักที่นิยม คือ การปักชำด้วยกิ่ง โดยตัดกิ่งต้นรักให้มีความยาวราว 30-40 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง, ยาวและลึก 30 เซนติเมตร จากนั้นวางท่อนพันธุ์ให้เฉียง 45 องศา ราว 3-5 กิ่ง โดยจะปลูกระยะ 3x3 เมตร ควรปลูกในช่วงฤดูฝนราว 2-3 เดือน ต้นรักก็จะสามารถเก็บดอกจำหน่ายได้ เกษตรกรที่มีความชำนาญในช่วงเช้าในแต่ละวันจะสามารถเก็บดอกรักได้ราว 3-5 กิโลกรัม
 
การเก็บดอกรักควรระวังยาง เนื่องจากยางของต้นรักเป็นเอนไซม์ประเภทหนึ่งจะค่อนข้างเป็นอันตรายมีฤทธิ์กัดกร่อน หากถูกผิวหนังหรือเข้าปากก็จะทำให้ระคายเคือง แสบคัน มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนและถ่ายอย่างแรง หากถูกศีรษะก็จะทำให้ผมร่วงได้ หรือ หากยางกระเด็ดเข้าตา จะทำให้ตาพร่ามัวหรือตาบอดได้จึงต้องระวังอย่างยิ่ง หากโดนยางของต้นรักบริเวณผิวหนังต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที หากยางเข้าตาหลังจากล้างน้ำแล้วให้รีบไปพบแพทย์ ในการป้องกันยางต้นรักสำหรับเกษตรนั้นจะต้องแต่งกายให้มิดชิด ใส่แว่นตา สวมหมวก ใส่ถุงมือ เช่น อาจจะใช้ถุงหิ้วพลาสติกแทนถุงมือ และอาจจะนำลูกโป่งมาใส่นิ้วมือแทนปลอกนิ้ว เป็นต้น เพื่อให้ปลอดภัยจากยางต้นรัก
 
ในทางประโยชน์ด้านสมุนไพรนั้น ตำรา ยาแผนโบราณจะใช้ ดอก แก้ไอ แก้หืด เปลือกต้น ทำให้อาเจียน เปลือกราก แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน ยาง ยาถ่ายอย่าง  แรง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แต่อย่างไรควรศึกษาวิธีการใช้จากผู้รู้ให้ดีเสียก่อน.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

 

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197792&NewsType=1&Template=1



Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.

สาวรุ่นใหม่กับศาสตร์ใหม่ 'ดุจดาว วัฒนปกรณ์' ดีกรี 'นักแดนซ์บำบัดจิต'

วันที่ 3 พฤษภาคม 2552 เวลา 00:00 น. |
 
 
สาวรุ่นใหม่กับศาสตร์ใหม่ 'ดุจดาว วัฒนปกรณ์' ดีกรี 'นักแดนซ์บำบัดจิต'
"แดนซ์ มูฟเมนท์ ไซโค เธอราปี (Dance Movement Psycho Therapy)" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราปี" นี่มิใช่แค่การเต้นหรือการแสดง คำ ๆ นี้ยังเป็นคำใหม่ในสังคมไทย แต่ก็มีคนไทยรุ่นใหม่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนรู้จากต่างประเทศ แล้วนำความน่าสนใจกลับมาเผยแพร่ในเมืองไทย
 
สาวไทยรุ่นใหม่คนนี้... "ดุจดาว วัฒนปกรณ์"
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ หรือ "ดาว" สาวไทยรุ่นใหม่วัย 29 ปี เธอเป็นทั้งนักแสดงละครเวทีมากฝีมือ และอดีตเคยทำงานด้านสื่อทีวี เธอเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ "แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราปี" ซึ่งเป็นการ "บำบัด" รูปแบบหนึ่ง โดย "ใช้ศิลปะการเต้นเป็นอุปกรณ์" เป็นเครื่องมือในการช่วยบำบัด
 
ดาวเล่าให้ฟังว่า เธอเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด คุณพ่อชลิต และตะวัน (พี่ชาย) มีอาชีพเป็นวิศวกร ส่วนคุณแม่เฟื่องฟ้าทำงานธนาคารพาณิชย์ โดยเธอซึ่งเป็นลูกคนเล็กกลับมีอาชีพที่แตกต่างไปจากคนอื่น ๆ ในครอบครัว คือเรียนจบปริญญาตรีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิทยุและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2545 แล้วทำงานพิธีกร เล่นละครเวที งานพิธีกรคือทำรายการเพื่อสุขภาพ รายการท่องเที่ยว ส่วนละครเวทีนั้น มีที่มาตั้งแต่ก่อนเรียนจบปริญญาตรี โดยเพื่อนส่งบทละครประกวดรางวัล สดใส อวอร์ด ซึ่งได้รับรางวัล จึงต้องทำโปรเจคท์ต่อ จากนั้นก็เข้ากลุ่มละครเวทีที่ชื่อว่า ดรีมบอกซ์ และ บี-ฟลอร์ ซึ่งมีกิจกรรมการแสดงหลากหลาย
 
ถามว่าทำไมตอนนั้นไม่เบนเข็มเล่นละครเวทีแบบเชิงพาณิชย์ที่อาจทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดัง ดาวตอบแบบไม่ลังเลว่า ไม่เคยคิด เพราะไม่ใช่ดารา และไม่ชอบอะไรแบบนี้ แต่ละครเวทีแบบเล็ก ๆ เป็นอะไรที่อยากทำจริง ๆ มันมีวิชาให้ฝึกเยอะ  มันฝึกคน ฝึกฝนทักษะ รู้สึกแค่นี้ก็ดีแล้ว ซึ่งตอนนั้นเป็นเด็ก ตอนนั้นก็ทำตรงนั้นไว้ก่อน ภายภาคหน้าค่อยว่ากันทีหลัง และก็ทำไปเรื่อย ๆ จากนั้นก็ไปเรียนต่อต่างประเทศ
 
"ต้องการจะไปเรียนต่อตั้งแต่เรียนจบแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรดี เพราะจะเรียนบริหารก็ไม่ใช่ เรียนวารสารศาสตร์ ก็ไม่เอาแล้ว อยากหาสิ่งที่เราสนใจ และชอบจริง ๆ ก็หาไปเรื่อย ๆ ระหว่างทำละครเวที จนเจอ แดนซ์ มูฟเมนท์ ไซโค เธอราปี ที่เป็นศาสตร์ใหม่ ซึ่งเราเคยมีความสงสัยมาตลอดว่าการเคลื่อนไหวกับจิตใจมันเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร และทำไมมันเกิดผลกับเรา ซึ่งศาสตร์นี้ตอบได้"
 
ดาวเล่าต่อไปว่า ครอบครัวสนับสนุนเรื่องเรียน รวมถึงเรื่องการแสดง แม้ว่าจะมีบางมุมที่อาจจะไม่เข้าใจ เพราะคุณแม่ทำงานธนาคาร คุณพ่อเป็นวิศวกร พี่ชายก็เป็นวิศวกร แต่ลูกสาวคนเล็กมาทางศิลปะ ซึ่งเล่นละครบางทีก็ไม่ได้เงิน เล่นฟรี แต่ก็ยังทำ ซึ่งครอบครัวก็สนับสนุน เพราะคิดว่าคงเอาตัวรอดได้
 
"ที่ไปเรียนต่อไม่ใช่สาขาด้านการแสดง แต่เป็นการบำบัดจิตให้คนโดยใช้ศิลปะการเคลื่อนไหว รู้สึกถูกใจเนื้อหาที่อยู่ในคอร์สมาก ๆ อยากรู้มาก และไม่ปรึกษาใครก่อนด้วย"
 
เมื่อสมัครสอบเพื่อเรียนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโกลด์ สมิธส์ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ลอนดอน ประเทศอังกฤษได้ เธอดีใจมาก โดยบอกว่า เมื่อไปเรียนแล้วเหมือนไปอยู่อีกโลกหนึ่ง เพราะชีวิตไม่เคยอยู่ในวงการที่เกี่ยวกับการทำงานในการรักษาจิตใจคน อยู่แต่กับทางศิลปะ ทางบันเทิงตลอดเวลา แค่ให้ความสุขกับคน
 
ตรงที่เรียนนี้เป็นการเอาศิลปะมาบำบัดคน ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้มันแตกต่าง ซึ่งเธออธิบายความต่างจากละคร จากการแสดงว่า ในแง่ในการบำบัดโดยการเคลื่อนไหวนั้น เป็นการทำให้คนอื่นเขารู้ว่าตัวเขามีสารอะไร ไม่เกี่ยวอะไรกับสารจากเราเหมือนที่สื่อในการแสดงแล้ว แต่เป็นสารของเขาเอง ศึกษาจากการเคลื่อนไหว
 
"เหมือนเป็นหมอรักษาคนไข้ แต่เป็นเชิงจิต ช่วยเหลือกัน ทำความเข้าใจกัน ซึ่งบำบัดคือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตัวคนไข้ ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคอะไร แต่ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นผ่านการเคลื่อนไหวแบบอิสระ เพราะว่าบางครั้งแม้คุณจะไม่พูด แต่การเคลื่อนไหวมันส่งสารออกมา เราก็เรียนวิเคราะห์การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวมันลิงก์อะไรกับทางด้านจิตใจ ซึ่งก็จะอยู่ในการเคลื่อนไหวหมดเลย และที่ต้องมีศาสตร์ตรงนี้ออกมาเพราะเป็นการมองอีกมุมหนึ่งมากกว่า มองว่าคุณป่วยก็ต้องรักษา ให้ยา แต่ศาสตร์นี้คือ ถ้าทำให้เขาหายแล้ว ในระยะยาวทำให้เขาหายขาดเลยดีไหม ให้เข้าใจตัวเอง เปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน พึ่งพาตัวเอง"
 
ดาวหรือดุจดาวบอกอีกว่า แม้ว่าจะรักษาไม่หาย แต่อาจทำให้เขาอยู่กับสิ่งที่เขาเป็นได้ ยอมรับมันได้ อยู่ในสังคมโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหา เป็นการช่วยให้ไม่เกิดปัญหาในตัวเอง ซึ่งกรณีหนัก ๆ ที่เคยเจอคือบำบัดผู้ป่วยหญิงที่เคยก่ออาชญากรรม เธอถูกจับ แต่มีประวัติป่วยทางจิต ต้องส่งมาโรงพยาบาล และรักษา ซึ่งต้องทำจิตบำบัดในกลุ่มหญิงล้วนที่ไม่เคยเกิดจิตบำบัดเลย แต่ก็กล้าเข้าไปลองทำดู
  
 "มันยากกับการสร้างกลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มบำบัด เป็นเรื่องอ่อนไหวมาก เป็นผู้ หญิง บางคนเป็นแม่ต้องระมัดระวัง เราไปเพื่อเข้าใจเขา ไปเพื่อให้เขารู้ว่ามีคนอยากจะฟังเขา ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกนี้ มีคนเห็นว่าเขาสำคัญ มีคนอยู่ข้าง ๆ เขา การบำ บัดนี้ไม่หาย เพราะคนไข้เซนซิทีฟมาก ต่อต้านมาก และระยะเวลาสั้นมาก แต่ก็สำเร็จในเชิงวัฒนธรรมองค์กร ว่ายังมีที่สำหรับเขา"
 
ก่อนปิดท้ายบทสนทนา ดุจดาวบอกว่า เธอเรียนจบกลับมาไทยเมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว ก็แสดงละครเวทีบ้าง อย่างเรื่อง ซัมทิงค์ เอลฟ์ ซึ่งเพิ่งจบไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังอยู่ในระหว่างการปรับตัว
 
"ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เพราะเมืองไทยไม่มี แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราปี ถ้าอยากทำก็คงต้องเซตอัพเอง คือเอางานไปเสนอเขา ซึ่งถ้าทำแล้วมีใครสนใจก็น่าจะเป็นเรื่องดี" ดุจดาว กล่าว
 
น่าติดตามว่าเธอจะตั้งไข่ศาสตร์นี้ในเมืองไทยได้แค่ไหน
 
ศาสตร์ในศิลปะที่ท้าทายความสามารถของคนไทย.
'แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราปี'
 
"นอกจากความรู้ที่ได้ติดตัวเพื่อตั้งใจมาทำงานในเมืองไทย สิ่งที่นอกเหนือจากความรู้ที่ได้กลับมานั้น คือความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่ดีขึ้น" ดุจดาวกล่าวถึงอีกข้อดีของการไปเรียน "แดนซ์ มูฟเมนท์ เธอราปี" จากประเทศอังกฤษ และว่า "ทุกวันนี้เริ่มแชร์ความรู้สึกกับคนในครอบครัวมากขึ้น เพราะสไตล์คนกรุงเทพฯที่ทำงานไม่ตรงกัน ไม่เจอกัน จึงไม่ได้คุยกันเท่าไร แต่สุดท้ายเราเริ่มคุยกัน เริ่มถามไถ่ว่ากิจกรรมของคนในครอบครัวแต่ละคนคืออะไร ซึ่งก็เป็นความสัมพันธ์ที่ดีทีเดียว"
 
ดุจดาวให้คำแนะนำคนไทยในยุคที่สภาพสังคมไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้มีสุขภาพจิตที่ดีว่า      "อยากให้ทุกคนเอาเวลาเข้าอินเทอร์เน็ต หรือดูทีวี สัก 1 ชั่วโมง มาดูจิตใจตัวเองบ้าง ดูเพื่อเช็กว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่าตัดสินว่าดีไม่ดี เพราะมาตรฐานผิดถูกมีมากในสังคมไทย ดูเพื่อเช็กว่าเป็นอย่างไร แต่อย่าไปตัดสินใจตนเองว่าดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด เพราะนั่นคือมัวแต่ดูข้างนอก ข้างในไม่ดูว่ามันยุ่งเหยิงขนาดไหน ร่างกายมีชีวิตจิตใจ ต้องหมั่นดูแลกันบ้าง"

สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล รายงาน/จเร รัตนราตรี ภาพ

 
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197953&NewsType=1&Template=1



Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.