วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

ข้อเสนอใหม่ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยกให้เป็นหน้าที่ "อัยการสูงสุด" แต่ผู้เดียว

ข้อเสนอใหม่ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยกให้เป็นหน้าที่ "อัยการสูงสุด" แต่ผู้เดียว
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02pol02090452&day=2009-04-09§ionid=0202

ปรก อัมระนันทน์

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ถือเป็นโมเดลคลาสสิกของข้าราชการไทย ที่ทรงอิทธิพล เรื่องราวชีวิตของเขามีตำนาน และเรื่องเล่า ที่เกี่ยวกับสังคมชั้นสูงในอดีตอย่างมีสีสันมากทีเดียว ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ ที่บ้าน ซึ่งอยู่ในวังเทวะเวศม์ ที่มีอายุกว่า 80 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 6

“บ้านหลังนี้เป็นส่วนหนึ่งของวังเทเวศร์ ซึ่งเป็นวังของกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ออกแบบโดยชาวอิตาเลียน คนเดียวกันกับ ที่สร้างพระ ที่นั่งอนันตสมาคม” ปิยสวัสดิ์บอกด้วยความภูมิใจ

วิศวกรชาวอิตาเลียนคนนี้ชื่อ E.G. Gollo เข้ามาเมืองไทยในราวปี 2443 ในฐานะ ที่ปรึกษาการก่อสร้างพระ ที่นั่งอนันตสมาคม ส่วนวังเทวะเวศม์ก่อสร้างเสร็จ

ในปี 2461กรมพระยาเทววงศ์ฯ เป็นโอรสของรัชกาล ที่ 4 กับสมเด็จพระปิยมาวดีฯ (เปี่ยม สุจริตกุล) ซึ่งมีโอรสธิดา 5 พระองค์ คือ กรมพระยาเทววงศ์ฯ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา และสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ ซึ่งเป็นทวดของ ดร.ปิยสวัสดิ์ (เป็นพ่อของตา)

“แต่กรมพระสวัสดิฯ ไม่ได้อยู่ ที่นี่ จะมีวังอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แถวถนนพระอาทิตย์ ปัจจุบัน คือ FAO ซึ่งถูกคณะราษฎรยึดไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ปิยสวัสดิ์เล่าให้ฟัง

เขาเล่าว่า วังเทวะเวศม์ไม่ได้ถูกยึดกรมพระยาเทววงศ์ฯ ขายไปทีละส่วน และปู่ของ ดร.ปิยสวัสดิ์ (พระยาวิฑุรธรรมพิเนตุ) ไปซื้อมาก่อนสงครามโลกครั้ง ที่ 2 จากหม่อมเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

“สมัยสงครามโลก วังแถบนี้ไม่ได้โดนระเบิด เพราะระเบิดไปตกลงแถบสี่เสาเทเวศร์ สมัยก่อนมีหลุมหลบภัย ซึ่งปัจจุบันก็ยังเหลืออยู่ เอาดินกลบไว้เท่านั้น ” เขาพาเดินไปบริเวณ ที่คาดว่าจะมีหลุมหลบภัย

บ้านอีกหลัง ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปู่ของปิยสวัสดิ์ก็ซื้อในระยะถัดมา ต่อมาได้ขายให้กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อกระทรวงย้ายออกไปเมื่อไม่นานมานี้ ก็ขายให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยอีกทอดหนึ่ง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซม

เรื่องราวบรรพบุรุษของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดูเหมือนด้านมารดาจะมีความสำคัญในความรู้สึกของเขามากทีเดียว อย่างไรก็ตาม ทางด้านบิดาก็น่าสนใจไม่น้อย

ปรก อัมระนันทน์ บิดาของเขาเป็นนักการทูต และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศในช่วงรัฐบาลเปรมตอนต้นๆ ปรกเป็นบุตรชายของพระยาวิทุรธรรพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) ซึ่งมีบทบาทมากพอควร ในยุคสงครามโลกครั้งสอง พระยาวิทุรฯ จบการศึกษาเนติบัณฑิตไทย และเดินทางไปเรียนต่อด้านกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษา จนถึงตำแหน่งอธิบดีกรมกฤษฎีกา “พอปี 2475 ก็ลาออก เพราะคณะราษฎรไม่เอา” ปิยสวัสดิ์ฟื้นความหลัง จากนั้น ก็ไปสมัครเลือกตั้งส.ส. อุทัยธานี ได้เป็น ส.ส. หลายครั้ง เสียชีวิตไป

เมื่อปี 2514 พระยาวิทุรฯ แต่งงานกับจำรัส ยอดมณี ซึ่งตระกูลยอดมณี เป็นตระกูลคหบดีเจ้าของโรงงานกระเบื้องอันเก่าแก่อยู่ใกล้วัดสระเกศ เธอเป็นผู้หญิง ที่เรียนหนังสือเก่งมาก จบมัธยมปลาย ที่โรงเรียนเซ็นต์โยเซฟ

เรื่องราวทางด้านมารดามีสีสัน และเร้าใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องราวความสัมพันธ์กับรัชกาล ที่ 7 และกรณีเสรีไทย หนังสือ “1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ 23 สิงหาคม 2543” ซึ่งถือเป็นหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด ที่ว่าด้วยเรื่องราวในยุคนั้น ได้บันทึกเรื่องราว ที่ไม่ได้เปิดเผยมาก่อน ที่น่าสนใจอย่างมากไว้หลายเรื่อง ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน หรือ “ท่านชิ้น” เป็นบุตรคนที่ 9 ของกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ผ่านการศึกษาทางทหาร ที่Woolish Military Acadamy โรงเรียนเดียวกับรัชกาล ที่ 7 กลับมารับราชการทหาร และพระนางเจ้ารำไพพรรณีในรัชกาล ที่ 7 ซึ่งเป็นน้องสาว เรื่องจากนั้น ของการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และสละราชสมบัติของรัชกาล ที่ 7 “ท่านชิ้น” จึงเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญนั้น

โดยเฉพาะเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลก ท่านชิ้นได้มีส่วนในขบวนการเสรีไทยคนหนึ่ง แม้ว่าบรรดาเสรีไทยจำนวนหนึ่งไม่ยอมรับก็ตาม

“สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับรุ่นหลัง คือ การที่ตาได้นั่งเก้าอี้เแถวหน้า อยู่ภายในหลังฉากของประวัติศาสตร์ไทย ในช่วง ที่มืดมิด และมีการปิดบังเซ็นเซอร์อย่างแน่นหนา ตาได้รู้ห็นเป็นพยาน ได้ทำงานใกล้ชิด ทั้งกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ตาได้แต่งงานกับสิงหเสนี และตาชิด ผู้บริสุทธิ์ ที่ตกเป็นแพะรับบาปถูกประหารชีวิตในข้อหากรณีสวรรคตนั้น เป็นญาติของยาย” ส่วนหนึ่งของคำนำหนังสือเล่มนี้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ

ข้อเขียนชิ้นนี้ไม่มีความประสงค์จะขยายความหนังสือให้มากเกินไป

มารดาของปิยสวัสดิ์ เป็นลูกสาวคนแรกของท่านชิ้น ซึ่งต่อมาก็คือ ม.ร.ว.ปิ่มสาย อัมระนันทน์ มีชีวิต อยู่ ที่อังกฤษยาวนานถึง 15 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง ที่ท่านชิ้นตามเสด็จรัชกาล ที่ 7 หลังการเปลี่ยนแปลง

การปกครองเธอจบการศึกษาระดับเกียรตินิยม สาขาประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แล้วเดินทางกลับมาเมืองไทยในปี 2494 และได้ทำงาน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเมื่อปิยสวัสดิ์ลืมตามองโลก เธอก็ลาออกจากราชการ ทำงานบ้าน สอนหนังสือ และเขียนหนังสืออยู่ ที่บ้าน เธอถูกฆาตกรรมเสียชีวิตเมื่อปี 2520 ณ บ้านเทเวศร์

ปัจจุบัน ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ในฐานะบุตรคนโตของครอบครัว และดูแลบ้านเทเวศร์อย่างดี ในฐานะคนที่มีความรักในศิลปะชื่นชอบสิ่งที่แสดงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของทั้งตัวบ้าน และของสะสมจำนวนหนึ่ง ในบ้านเนื้อ ที่ 2 ไร่กว่าในปัจจุบัน

ปิยสวัสดิ์แต่งงานกับอานิก วิเชียรเจริญ นักเรียนอังกฤษด้วยกัน (บุตรสาว ดร.อดุล วิเชียรเจริญ) ปัจจุบันทำงาน ที่บริษัทเชลล์ ครอบครัวของเขาเป็น

ครอบครัวเล็กๆ มีบุตรชาย 2 คน อายุ 14 ปี และ 16 ปี กำลังศึกษาอยู่ ที่อังกฤษ

แม้จะมีบ้าน ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ครอบครัวปิยสวัสดิ์ ดำเนินชีวิตอย่างธรรมดาไม่หรูหรา มีบ้านพักตากอากาศเป็นคอนโดริมทะเลชะอำ ในบริเวณใกล้เคียงกับตำนานการสร้างงานด้านเกษตรสมัยใหม่ของตาของเขา
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=499

สุนัขพิตบูลแอนด์เทอร์เรีย (Pit-Bull-and-Terrier) หรืออเมริกันพิตบูล

สุนัขพิตบูลแอนด์เทอร์เรีย (Pit-Bull-and-Terrier) หรืออเมริกันพิตบูล
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dPREV4TURRMU1nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB4TVE9PQ==

กว๊านพะเยาวุ่น-ปลิงจิ๋วระบาด ผวจ.จี้ตรวจ-หวั่นกระทบเล่นน้ำสงกรานต์
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNVEV4TURRMU1nPT0=§ionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB4TVE9PQ==

ชี้กรมโรงงาน-อสส.ส่อเอื้อคดี"ซัลเฟอร์" "ดีเอสไอ"หนักใจ-เจ้าหน้าที่รัฐมี"เอี่ยว"

ชี้กรมโรงงาน-อสส.ส่อเอื้อคดี"ซัลเฟอร์" "ดีเอสไอ"หนักใจ-เจ้าหน้าที่รัฐมี"เอี่ยว"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol02110452§ionid=0133&day=2009-04-11

จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท... สู่ระบบบำนาญแห่งชาติที่ยั่งยืนและพอเพียง
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02110452§ionid=0130&day=2009-04-11

การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลสุขภาพ (People Participation in Health Care)
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01110452§ionid=0130&day=2009-04-11

พร้า"ลาว"โบราณ
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01cho03110452§ionid=0144&day=2009-04-11

มีดอรัญญิก สานต่อคุณภาพจากรุ่นสู่รุ่น
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01cho01110452§ionid=0144&day=2009-04-11

สั่ง 2 ผอ.เขต'เซ่นซานติก้า'กลับที่เดิม

สั่ง 2 ผอ.เขต'เซ่นซานติก้า'กลับที่เดิม
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=196029&NewsType=1&Template=1


ดีเอสไอขอข้อมูลบีอาร์ทีเพิ่มคุ้ยคนเอี่ยวฮั้วประมูลจับตากรุงเทพธนาคมเข้าบริหาร
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195816&NewsType=1&Template=1

โยกงบอุโมงค์แครายใช้ที่อื่น 661 ล.
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195815&NewsType=1&Template=1

ชี้กรมโรงงาน-อสส.ส่อเอื้อคดี"ซัลเฟอร์" "ดีเอสไอ"หนักใจ-เจ้าหน้าที่รัฐมี"เอี่ยว"
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pol02110452§ionid=0133&day=2009-04-11

'มะรุม' ต้นไม้มหัศจรรย์

'มะรุม' ต้นไม้มหัศจรรย์
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195860&NewsType=1&Template=1

สาธารณสุขเลยชี้สูดดมไอน้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็งปอด
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195983&NewsType=1&Template=1

กุหลาบขาวบานลานร่องกล้า
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195168&NewsType=1&Template=1

บริษัทกรุงเทพธนาคมฯ มีความหมายเป็น บริษัทที่ กทม. จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195947&NewsType=1&Template=1

ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด

ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72388&NewsType=2&Template=1

'กาแฟคั่วบด' ชาวบ้านก็ผลิตขายได้
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=71814&NewsType=2&Template=1

กรดไขมันในน้ำมันชนิดต่าง ๆ
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72339&NewsType=2&Template=1

รักษาโรคพยาธิด้วยมะเกลือ
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72243&NewsType=2&Template=1

โชว์วัฒนธรรมนานาชาติ วันที่ 16-18 เมษายน 52 ที่ลานคนเมือง

สภากทม.ครบ 36 ปีโชว์วัฒนธรรมนานาชาติ วันที่ 16-18 เมษายน 52 ที่ลานคนเมือง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239379451&grpid=03&catid=08

สื่อมะกันวิจารณ์ไม่เหมาะ"โอบามา"คำนับกษัตริย์ซาอุฯ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239415076&grpid=03&catid=06

มุมสบายๆบนโต๊ะอาหารของ"อภิสิทธิ์" ในสถานการณ์แดงเดือด กับวิธีทางการทูตสกัด"ทักษิณ"เคลื่อนไหว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239289812&grpid=10&catid=01

มาเฟียหญิงแผลงฤทธิ์ .. โดยประสงค์ วิสุทธิ์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239368954&grpid=01&catid=02

พลิกตำนาน"ลอบสังหาร"บุคคลสำคัญจาก"เปรม" ถึง "ทักษิณ"ในสถานการณ์ระอุ"เรื่องจริง"หรือ"ปาหี่"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239200860&grpid=10&catid=01

20 เมษายน 2552 เวลา 08.00-14.00 นาฬิกา 306-608 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552 เวลา 08.00-14.00 นาฬิกา คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง “แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหารอย่างยั่งยืน” ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306-608 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

ที่ 505/2552 เรื่อง ตั้งผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552

http://www.senate.go.th/postweb/bk_data/601.pdf
ที่ 502/2552 เรื่อง ให้ผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา พ้นจากหน้าที่ ที่ 503/2552 เรื่อง ให้ผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา พ้นจากหน้าที่ ที่ 504/2552 เรื่อง ตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ที่ 505/2552 เรื่อง ตั้งผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552

ที่ 504/2552 เรื่อง ตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552
ที่ 505/2552 เรื่อง ตั้งผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552


เกาะติดคณะกรรมาธิการ
โดยคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสวุฒิสภา และ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา
“ทำชีวิตครอบครัวให้เป็นสุขจากเกมคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร”
0000000000000
คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา จัดการสัมมนา เรื่อง “ทำชีวิตครอบครัวให้เป็นสุขกับเกมคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารรัฐสภา ๒ การสัมมนาเริ่มขึ้นโดย มี นางยุวดี นิ่มสมบุญ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า ปัญหาเด็กและเยาวชนมีความหลากหลาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางการเมืองโลกาภิวัฒน์ และถูกรุมเร้าจากเศรษฐกิจและสังคมทุกด้าน บุคคลหลายคนที่ต้องใช้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีร้อยละ ๔๙ สำหรับเด็กและเยาวชนที่สนใจเฉพาะเรื่องเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดความสนุกความบันเทิงมากกว่าการศึกษาหาความรู้มาจากอินเทอร์เน็ตใน ยุค เทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และเกิดปัญหาความเครียดจนทำลายสุขภาพอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังกลายเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ต้องมีผู้เข้ารับการรักษาจากโรคจิตสาเหตุเกิดจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กเยาวชนชายมากกว่าเด็กหญิง ในส่วนของการพักผ่อนโดยการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ควรใช้เวลากับการเล่นอย่างเหมาะสมอยู่สม่ำเสมอ เพื่อฝึกทักษะความสามารถทางสมองที่รับรู้ข่าวสารสื่อเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน
นายอนันต์ วรธิติพงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาสังคม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวว่า ในโลกปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่า เทคโนโลยีได้แพร่หลายรวดเร็วเป็นที่สนใจและหลายฝ่ายได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากการพัฒนาที่เป็นไปได้ไกลของเทคโนโลยีและสารสนเทศ พร้อมทั้งเครือข่ายจากอีกซีกโลกหนึ่งสามารถแข่งขันกันอย่างจริงจัง เกมคอมพิวเตอร์เข้ามาได้อย่างมากมาย ดังนั้น การแข่งขันทางสังคมจึงเป็นสิ่งท้าทายอย่างมาก ซึ่งจะทำได้ยากสำหรับการจะล้าหลังสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต
การสัมมนาครั้งนี้คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ครูผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ตอบรับและได้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเป็นจำนวนถึง 200 คน พร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นระหว่างการสัมมนาอันเป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องส่งวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิธีการแก้ปัญหาเด็กติดเกมและตอบคำถามแก่ผู้รับฟังการสัมมนา
นายปรีชา ไพรภัทรกุล อนุกรรมาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้สรุปปัญหาและผลกระทบต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชนกับเกมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งแม้แต่ต่างประเทศ เด็กและเยาวชนก็ยังติดเกมคอมพิวเตอร์ และกล่าวถึงวิวัฒนาการของเกมคอมพิวเตอร์ที่เคยเป็นสื่อแนวทางเดียวจนกลายเป็นสื่อสองทาง เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตความเป็นจริงปัจจุบันของสื่อสารเทคโนโลยีได้ดังนี้การจัดประเภทเกม แบ่งตามอุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม ได้แก่ เกมพีซี (คอมพิวเตอร์) เกมคอนโซล (เครื่องเล่น) เกมอาเขต (เกมตู้) เกมแฮนด์เฮลด์ (พกพา) การจัดประเภทเกม แบ่งตามลักษณะเนื้อหาเกม (แนวเกม) ได้แก่ แนวต่อสู้ Action (Fighting) สวมบทบาท (Role-playing) Simulations game (flight military space city-building) เกมกีฬา (Sports) เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แข่งรถ เกมแนววางแผน (Strategy) เกมทางการศึกษา (Educational) เช่น เกมแนวปริศนา เกมดนตรี เคาะจังหวะ (Music)
นางเพียงใจ ชโลกุล ตัวแทนผู้ปกครอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลเด็ก และพ่อแม่ต้องพยายามที่จะเรียนรู้ไปกับลูกในกิจกรรมนี้ด้วย ต้องดูแลในเรื่องการใช้เวลาในการเล่นเกมและสังคมเพื่อน สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนก็มีอิทธิพลต่อเด็กในการกำหนดความคิด
ดร. สายพันธุ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล นักวิชาการ ระดับ ๘ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาตัวแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สรุปว่า การแก้ไขปัญหาสำหรับเด็กเยาวชนในครอบครัวโดยทั่วไปสามารถฝึกฝนบุตร ได้ดังนี้ I หมายถึง เด็ก การให้ความสำคัญเต็มที่กับเด็ก สอนให้เด็กทำความดีในสังคม มี 3 I คือ I Have การเฝ้าดูแลระมัดระวังให้ตลอดเวลา I Can ต้องให้เด็กเชี่ยวชาญมีความสามารถทำได้ I Do เด็กส่วนมากต้องการความอิสระทางความคิด ทำตามความคิดเห็นของตนเองได้ สุดท้ายแล้วต้องการให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาให้เป็น
นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้สรุปสาระสำคัญว่า การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นเพียงค่านิยมไม่ใช่วัฒนธรรม คงไม่ใช่เวลาจะมาโทษว่ากรณีเด็กติดเกมใครทำให้เกิด สังคมปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายที่ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้ให้เข้าใจถูกต้องกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ แต่ต้องลงโทษผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง อย่างร้านเกมนั้นถ้ามีเจตนารมณ์ที่ดีที่สร้างสรรค์ ก็สามารถเปิดบริการได้ ในสังคม อย่ามุ่งแต่กำไรเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าคิดว่าเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว กฎหมายก็ต้องลงโทษ ด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มี ซึ่งทุกวันนี้การเพิกเฉยเท่ากับยินดีและยินยอมให้ร้านเกมมีและเปิดต่อไป โดยการเล่นเกมของเด็กเป็นค่านิยมไม่ใช่วัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีงาม การเฝ้าระวังต้องทำการสื่อสารจากภาคประชาสังคมจากพ่อแม่ ครู อาจารย์ กระทรวงวัฒนธรรม และภาคเอกชน ทำการศึกษาเด็กติดเกมคอมพิวเตอร์และเกมอินเทอร์เน็ต โดยจะนำเกมที่คนไทยเป็น Programmer มาจัดพื้นที่ให้เด็กไทยเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการจัดนิทรรศการของการแข่งขันเกมที่ให้ประโยชน์ และมีผลลัพธ์กับสมองเด็กเยาวชนในทางสร้างสรรค์ ซึ่งจะมีการดำเนินการจัดขึ้นในวันเด็กแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๕๒
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ได้กล่าวถึงสาระสำคัญ ว่า เด็กติดเกมเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง
๑. เพื่อน – ชวน – ตามใจ – เอาอย่าง – ขาดเพื่อนไม่ได้เลยเล่นเกม
๒. ใจ – เหงา – อยากลอง – ลองแล้วติด – ถูกท้าทาย – ขี้เกียจทำงาน
๓. การใช้เวลา – ว่างมากใช้เวลาไม่เป็น
๔. ครอบครัว – ไม่เข้าใจกัน – บ่นมาก
๕. บุคคลิก – คบใครไม่ค่อยได้ – เก็บตัวมักจะไปหาเกม
ส่วนเกมคอมพิวเตอร์ที่เด็กไทยชอบเล่น คือ เกมต่อสู้ ๓๗.๗ % เกมกีฬา ๓๓.๓ % เกมแร๊กนาร๊อก ๒๒.๗% เกมลับสมอง ๒๑.๕ % เกมแฟนตาซี ๑๔.๑ % พร้อมกันนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าใครควรจะทำอะไร และอย่างไรได้แก่ ครอบครัว – ทำความเข้าใจ – การใช้เวลาร่วมกัน – กิจกรรมร่วมกัน – รู้เท่าทันเกม ชุมชน/รอบตัวเด็ก – เฝ้าระวัง+เตือนภัย – ตาสับปะรด โรงเรียน – สอนให้คิดได้ ทำเป็น มากกว่าการใช้เป็น สังคมทั่วไป – ต้องถือเป็นปัญหาร่วม และเป็นโอกาสร่วมที่จะแก้ไขและพัฒนา รัฐบาล – ให้น้ำหนักกับเรื่องคนมากกว่าเรื่องเงิน – เป็นนโยบายหลัก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ – สร้างความตระหนัก – เสนอมาตรการเพื่อเด็กและครอบครัว – การคุ้มครองเด็ก+เยาวชนกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ – ผู้คุ้มกฎ – ชัดเจน – จริงจัง – เข้มข้น เน้นนโยบายผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟท์แวร์ กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญในกระบวนการทั้งหมด – เน้นการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อเป็น Programmer ไม่ใช่แค่เป็น user รัฐสภา – ต้องเป็นจานดาวเทียมถ่ายทอดกฎหมาย/มาตรการ
นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ ๑๐ ข้อปฏิบัติในการดูแลช่วยเหลือเด็กติดเกมหรืออินเทอร์เน็ต
๑. สร้างวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก
๒. ลดโอกาสการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
๓. ใช้มาตรการทางการเงิน
๔. ฟังและพูดดีต่อกัน
๕. จับถูก (การขยันมองให้เห็นด้านดีหรือด้านบวกแม้เล็กน้อยในตัวลูก) ชื่นชม ให้กำลังใจ
๖. ร่วมกำหนดกติกาอย่างเป็นรูปธรรม และบังคับใช้อย่างเข้มแข็งแต่อ่อนโยน มีทางออกที่สร้างสรรค์ให้เด็ก
๗. สร้างรอยยิ้มเล็ก ๆ ในครอบครัว
๘. ควบคุมอารมณ์และสร้างความสุขเล็ก ๆ ในใจของพ่อแม่
๙. เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราทันที
นายพีระศักดิ์ เสนาลัย ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเกมออนไลน์ “เทลส์รันเนอร์” ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นว่า เล่นเกมต้องมีขอบเขตของเวลา ในอีกมุมหนึ่งของการติดต่อสื่อสารในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เป็นสังคมของเด็กและเยาวชนเสริมสร้างการมีสติปัญญาในความเป็นจริง อีกทั้งเพื่อร่วมกันแสดงออกทางความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความภาคภูมิใจ และเพลิดเพลินกับการเล่นเกมยิ่งขึ้น ซึ่งยังดีกว่าการเก็บตัวเงียบอยู่แต่ในบ้านไม่มีอะไรจะทำ รวมถึงความเป็นตัวของตัวเองดีขึ้น
นายชนินทร์วุฒิ กาลจักร ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเกมออนไลน์ “เทลส์รันเนอร์” ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นว่า การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นการผ่อนคลาย ไม่ได้ทำให้การเรียนเสียหาย และมีการเล่นกีฬาควบคู่กันไปด้วยทำให้ชีวิตมีความสุขในชีวิตประจำวันได้
ดร. พิจิตรพงศ์ สุนทรพิพิธ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สรุปสาระสำคัญและแสดงความคิดเห็นว่า ส่วนใหญ่เด็กเยาวชนจะมีปัญหาของโลกส่วนตัวที่เพ้อฝันมากไป ต้องแยกแยะทางการเรียนและการทำงานให้ออกจากกัน เกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์จะเปรียบเสมือนดาบ ๒ คม มีทั้งที่สร้างสรรค์และจะทำลายร้าง ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนที่ขาดวุฒิภาวะผู้ปกครองต้องตักเตือนให้ความรู้ความเข้าใจให้ เด็กและเยาวชนรับในสิ่งที่ดีที่สังคมหยิบยื่นให้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันทุกสถาบันต้องให้ความร่วมมือกันส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ดี เพื่อฝึกทักษะทางด้านสมอง อย่างไรก็ตาม ต้องแยกส่วนตัวและหน้าที่ระหว่าง ๒ ภาคให้ชัดเจนภาครัฐต้องมีหน้าที่กำหนด นโยบาย ส่วนผู้ปกครองทำหน้าที่ให้ความร่วมมือและรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะ สมกับสถานการณ์ปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเรียนรู้และเอาใจใส่แก่เด็กและเยาวชนไทยให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ในอดีต
ทั้งนี้ผู้เข้ารับฟังการสัมมนาได้มีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯจัดให้มีการสัมมนาสำหรับผู้ประกอบการ ผู้กำหนดนโยบายการเปิดร้านเกม และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากเด็กติดเกม.

ชมรมครอบครัว ฝ่ายพัฒนาเด็กและสังคม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

ขอเชิญเข้่าร่วมกิจกรรม ตัวฉันเป็นของฉัน
โดย : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เมื่อ : 1/04/2009 12:01 PM

ถ้าท่านอ่านหนังสือพิมพ์ หรือติดตามข่าวสารทางทีวี
แทบจะทุกวันที่มีข่าวการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก
แล้วที่ไม่เป็นข่าวละ่ ...... อีกเท่าไหร่

อย่า! ทันให้เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนรอบข้างของเราเลยคะ
มาสร้างเกราะป้องกันให้เค้ากันดีกว่่า

สิทธิเฉพาะ....สำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิศูนย์พิทักษ์

ขอเชิญเข้่าร่วมกิจกรรม ตัวฉันเป็นของฉัน
(สำหรับบุตรหลานของสมาชิกชาวชมรมครอบครัว)

กิจกรรมที่จะเสริมความมั่นใจ สร้างทักษะให้บุตรหลานของท่าน

1. สามารถประเมินสถานการณ์ว่าปลอดภัยหรือไม่
2. สามารขอความช่วยเหลือจากคนอื่นได้
3. สามารถปฎิเสธ หรือนำตัวเองให้พ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

รับจำนวนจำกัด เพียง 30 คนเท่านั้น!
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ชมรมครอบครัว ฝ่ายพัฒนาเด็กและสังคม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

โทร : 0-2412-0738, 0-2412-9834, 0-2864-3381
ที่อยู่ : 979 ซ.วัดดีดวด ถ.จรัลสนิทวงศ์ ซ.12 แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กทม.10600

ใบสมัครคลิก
http://www.thaingo.org/prboard_1/view.php?id=8153

งานวันปรีดี ประจำปี ๒๕๕๒ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานวันปรีดี ประจำปี ๒๕๕๒
โดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ : 2/04/2009 12:10 PM
กำหนดการ
งานวันปรีดี ประจำปี ๒๕๕๒


๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
..................................................................................

ณ บริเวณลานปรีดี พนมยงค์ หน้าตึกโดม
เวลา ๐๗.๐๐ น. -ลงทะเบียน (บริการตนเองด้วยเครื่องดื่มและอาหารว่าง)

เวลา ๐๗.๓๐ น. -พิธีสักการะอนุสาวรีย์ด้วยพานพุ่มดอกไม้ (จากวัสดุธรรมชาติ)

ณ บริเวณหน้าตึกโดม

เวลา ๐๘.๔๕ น. -พิธีถวายสังฆทานพระสงฆ์ ๑๐ รูป


ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ ตึกโดม ชั้น ๒

เวลา ๙.๑๕ น. -พิธีมอบรางวัลทุนการศึกษา “ทุนปาล พนมยงค์” โดย ทายาทของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์-ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

เวลา ๙.๓๐ น. -ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ปรีดี พนมยงค์ กับพระพุทธศาสนา” โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

-แถลงข่าว การจัดงานในวาระครบรอบ ๑๑๐ ปี ชาตกาล
รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ณ บริเวณหลังตึกโดม

เวลา ๑๑.๓๐ น. -รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา ๑๓.๐๐ น. -เสร็จพิธี

วันอาทิตย์ ที่ 19 เมษายน 2552 เวลา 16.30 น. ณ ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1

นิทรรศการภาพถ่ายชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 6
โดย : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อ : 8/04/2009 10:54 AM
สถานที่ : โถงชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
พิธีมอบรางวัล : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีประทานรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด ในวันอาทิตย์ ที่ 19 เมษายน 2552 เวลา 16.30 น. ณ ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1

จัดแสดงภาพรางวัลและภาพเข้ารอบจัดนิทรรศการ จำนวน 268 ภาพ ตลอดจนกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะและเทคนิคการถ่ายภาพ เช่น การอบรม เสวนา ฯลฯ ให้แก่ผู้สนใจที่เข้ามาร่วมงานโดยสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพจัดประกวดภาพถ่ายทั่วประเทศ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับตัดสินภาพครั้งนี้ สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bpsthai.com และ www.bpsthai.multiply.com

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 เวลา 17:00 - 21:00 น. ณ อาคารศรีจุลทรัพย์ (ห้องบอลรูม ชั้น10) ถ.พระราม 1

“ความรักและความเสียสละ อันบริสุทธิ์เพื่อชาติและประชาชน”
วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 เวลา 17:00 - 21:00 น. ณ อาคารศรีจุลทรัพย์ (ห้องบอลรูม ชั้น10) ถ.พระราม 1

การเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงาน "การแสดงดนตรีเพลงปฏิวัติ"
โดย : คณะผู้จัดงาน เมื่อ : 8/04/2009 11:02 AM
รายละเอียด และสำรองที่นั่งล่วงหน้า ตามเว็บข้างล่างนี้
http://cpt.igetweb.com:80/

วันพุธ ที่ 22 – วันศุกร์ ที่ 24 เมษายน 2552 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการภัยพิบัติระดับชุมชนสำหรับครูในโรงเรียนต้นแบบ”
โดย : สภากาชาดไทย เมื่อ : 8/04/2009 12:31 PM
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการภัยพิบัติระดับชุมชนสำหรับครูในโรงเรียนต้นแบบ”
วันพุธ ที่ 22 – วันศุกร์ ที่ 24 เมษายน 2552 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง


คณะทำงานโครงการชุมพร้อมรับภัยพิบัติ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการ - การจัดการภัยพิบัติระดับชุมชนสำหรับครูในโรงเรียนต้นแบบ” ขึ้น ในวันพุธ ที่ 22 – วันศุกร์ ที่ 24 เมษายน 2552 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยชุมชน ให้กับครูในโรงเรียนต้นแบบ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการให้โรงเรียนพร้อมรับภัยพิบัติ ร่วมวางแผนชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติกับคณะกรรมการชุมชน รวมถึงสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนและบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

โดยมี ครูและผู้แทนโรงเรียนต้นแบบ จำนวน ๓๘ คน จาก ๔ จังหวัด คือจังหวัดสตูล ระนอง พังงา และตรัง ซึ่งมี โรงเรียนบ้านเกาะพยาม จังหวัดระนอง โรงเรียนบ้านกลาง จังหวัดพังงา โรงเรียนบ้านแหลมมะขาม จังหวัดตรัง และโรงเรียนบ้านบุโบย กับโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา จังหวัดสตูล เข้าร่วมในกิจกรรมฯ ดังกล่าวด้วย”

.............................................................................

โครงการชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติ สนง.บรรเทาทุกข์ฯ สภากาชาดไทย
โทร. 02-251-7853-6, 02251-7614-5 ต่อ 2103
นายทวีศาสตร์ (ติ๊ก) ตั้งปฐมวงศ์ มือถือ 085-063-2393

วันพุธ 29 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารพัฒนาธุรกิจโบรกเกอร์ เชิงสะพานวันชาติ

“บรรยายสาธารณะ” - ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ มองผ่านการฟื้นฟูคัมภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม
โดย : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เมื่อ : 8/04/2009 12:32 PM
“บรรยายสาธารณะ” โดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
Lek-Prapai Viriyahpant Foundation public lecture series

นำเสนอการบรรยายกึ่งเคร่งเครียดกึ่งผ่อนคลาย สบายๆ แบบมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ค้นหาความหมาย ข้อมูล เรื่องราวบอกเล่าที่สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เหมาะสำหรับผู้ต้องการขบคิดและถกเถียงอย่างสร้างสรรค์และไม่ชอบด่วนสรุปเพื่อหาข้อยุติ

ทุกวันพุธ กลางๆ เดือน หลังอาหารเที่ยง
เชิญมาร่วมฟังบรรยาย ฟรี (รับจำนวนจำกัด)

ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารพัฒนาธุรกิจโบรกเกอร์ เชิงสะพานวันชาติ ใกล้ห้องอาหารดรรชนี แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ มองผ่านการฟื้นฟูคัมภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม

วันพุธ 29 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 15.00 น.
ดร.บัวไข เพ็งพระจันทร์

นักวิชาการนักเรียนทุนสมเด็จพระเทพรัตนฯ จากหอสมุดแห่งชาติลาว จะนำเสนอบางส่วนในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก จากการมองประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ผ่านโครงการอนุรักษ์ใบลานที่กลายเป็นประเด็นปัญหาเรื่องชาตินิยมในช่วงอาณานิคม และสำรวจความเป็นไปในประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ที่คนไทยต้องให้ความสนใจ

http://www.lek-prapai.org
เรียนเชิญผู้สนใจสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่บัดนี้ที่
lek_prapai@yahoo.com (รับจำนวนจำกัด)
Tel. 02-2811988,02-2803340

โครงการ จีจีพี สถานทูตญี่ปุ่น

โครงการ จีจีพี สถานทูตญี่ปุ่น
โดย : สถานทูตญี่ปุ่น เมื่อ : 9/04/2009 10:19 AM
ทางสถานทูตญี่ปุ่นยินดีที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่าสถานทูตฯได้ปรับปรุงแนวนโยบายด้านความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (จีจีพี) พร้อมกับใบสมัครสำหรับปีงบประมาณ 2552 กรุณาอ่านแนวนโยบายและใบสมัครใหม่ที่แนบมานี้

ในปีงบประมาณ2552 "การพัฒนาชุมชน" นับว่าเป็นจุดสนใจหลักของจีจีพีในประเทศไทยซึ่งประกอบไปด้วย "การพัฒนาชุมชนโดยทั่วไป" และ "การรักษาสิ่งแวดล้อม" กรุณารายดูละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของสถานทูตญี่ปุ่นที่: http://www.th.emb-japan.go.jp/th/oda/ggp.htm

ทางสถานทูตฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าหากท่านช่วยแจ้งให้องค์กรที่เกี่ยวข้องทราบถึงโครงการจีจีพี และ ส่งเอกสารแนวนโยบายและใบสมัครนี้ต่อไปยังผู้ที่สนใจ

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่แผนกจีจีพี

ด้วยความนับถือ
เจ้าหน้าที่จีจีพี สถานทูตญี่ปุ่น

นายโตชิฮิโร โมโตบายาชิ เลขานุการเอก
น.ส. ฮิโระโกะ เซนซุย ผู้ประสานงานโครงการ จีจีพี
นาง นาโอโกะ อาชิดะ ผู้ช่วย

โครงการ จีจีพี สถานทูตญี่ปุ่น
177 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์: 02-207-8500 (ภาษไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น)
โทรสาร: 02-207-8517
อีเมล์: grassroots@eoj.or.th(หาได้ทั้งภาษไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น)
โฮมเพจ: http://www.th.emb-japan.go.jp

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเสวนาและแถลงข่าว “1 ปีโศกนาฎกรรม 54 ศพ แรงงานพม่า วันนี้…ยังมีความหวัง”
โดย : องค์กรร่วมจัด เมื่อ : 8/04/2009 02:50 PM
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 16.30 น.
สถานที่ ห้องประชุมห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์
ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
----------------------------------------------------

หลักการและเหตุผล

จากเหตุการณ์ของผู้อพยพชาวพม่าที่เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจจำนวน 54 รายในรถตู้คอนเทนเนอร์ ที่จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2551 บัดนี้ ครบรอบหนึ่งปีของเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความเศร้าสลดของสังคมไทย และเกิดการตั้งคำถามจากสังคมว่า เหตุการณ์นี้ได้ดำเนินการคลี่คลายไปในทิศทางใด

การดำเนินงานช่วยเหลือที่ผ่านมาสำหรับผู้ประสบเหตุที่รอดชีวิตจำนวน 66 คน ได้เดินทางกลับบ้านยังประเทศพม่าอย่างปลอดภัย ภายใต้การดำเนินการให้ความช่วยเหลือของคณะทำงานที่ประกอบขึ้นด้วยหน่วยงานทั้งจากภาครัฐบาล และองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ รวมถึงองค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้ทายาทผู้เสียชีวิตยังได้รับค่าสินไหมชดเชยเบื้องต้น (ค่าปลงศพ) รายละ 35,000 บาท จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ. 2535 จากวงเงินเต็มจำนวน 100,000 บาท ซึ่งนับเป็นข้อพิสูจน์ว่ากฎหมายไทยสามารถนำมาซึ่งการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้เสียหายได้ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของเชื้อชาติ อันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความตระหนักต่อสิทธิมนุษยชนที่มีในสังคมไทย

อย่างไรก็ดี การดำเนินคดีทางกฎหมายยังมีขั้นตอนที่ซับซ้อน เนื่องเพราะคดีนี้เป็นคดีความที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพชาวต่างชาติ ทำให้มีเงื่อนไขการดำเนินการที่แตกต่างกับคดีที่เกิดขึ้นกับคนไทย อีกทั้งบริบทของประเทศพม่าเอง ยังมีส่วนสำคัญต่อระบบเอกสารอันเป็นหลักฐานที่ใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้เสียหาย และการยืนยันความเป็นทายาทอีกด้วย นอกจากนี้ การทำงานในครั้งนี้ยังต้องการการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้เชียวชาญในด้านต่างๆ องค์การระหว่างประเทศ ทั้งภายในประเทศไทยเอง และการทำงานร่วมกับประเทศพม่า โดยคำนึงถึงความสำคัญในหลายมิติ ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อกำหนดทางกฎหมาย และความตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนไปพร้อมกัน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงนับเป็นความท้าทายของประเทศไทยที่จะใช้เป็นบทเรียนในการพัฒนาการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของภาครัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ในการทำงานทั้งในเชิงการป้องกัน การคุ้มครอง/ ช่วยเหลือผู้เสียหาย รวมถึงการทำงานในกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าในการทำงานช่วยเหลือแรงงานอพยพ และทายาทของผู้เสียชีวิต ทั้งในด้านการเยียวยาทางสังคมและกระบวนการยุติธรรม
2. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบกลไกการทำงานเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือแรงงานอพยพ และการดำเนินการทางกฎหมายของประเทศไทย

องค์กรร่วมในการจัดงาน

1. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติฯ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาต
3. กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กระทรวงยุติธรรม
4. ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
6. โครงการความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประจำประเทศไทย (UNIAP – Thailand)

วัน เวลา และสถานที่

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มเป้าหมาย (ประมาณ 150คน)

1. ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์การระหว่างประเทศ ที่ทำงานด้านผู้อพยพ แรงงานข้ามชาติ สิทธิมนุษยชนและการต่อต้านการค้ามนุษย์

2. สื่อมวลชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการทำงานทั้งในด้านการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมซ้ำ การให้ความช่วยเหลือคุ้มครองผู้อพยพทั้งในเชิงมนุษยธรรม และในเชิงกฎหมาย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากลไกที่เป็นมาตรฐานในการทำงานร่วมกันขององค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

(ร่าง) กำหนดการเสวนาและแถลงข่าว

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 – 13.10 น. กล่าวรายงาน โดย.....
13.10 – 13.20 น. กล่าวต้อนรับ โดย
13.20 – 13.30 น. กล่าวเปิดงาน โดย....
13.30 – 13.45 น. การนำเสนอ ย้อนหลังเหตุการณ์โศกนาฎกรรมผู้เสียชีวิต 54 ศพ กรณีรถตู้คอนเทนเนอร์ จังหวัดระนอง (ภาพนิ่ง slide presentation) โดย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

13.45 – 14.00 น. รับประทานอาหารว่าง

14.00 – 15.30 น. เสวนาเรื่อง “ 1 ปีโศกนาฎกรรม 54 ศพ เกิดบทเรียนอะไรแก่สังคม?” โดย
- ผู้แทนสภาทนายความ
- ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- ผู้แทนสำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
- ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย
- ผู้แทนมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
- นักวิชาการ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- ผู้แทน.... (ด้านสิทธิมนุษยชน)

ดำเนินรายการโดยคุณกิตติ สิงหาปัด *** ระหว่างการติดต่อ

15.30 – 16.00 น. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น/ ตอบข้อซักถาม
16.00 - 16.30 น. เวที แถลงข่าว “1 ปีโศกนาฎกรรม 54 ศพ แรงงานพม่า: วันนี้…ยังมีความหวัง” โดย องค์กรร่วมจัด พร้อม เปิดให้สื่อมวลชนซักถาม

14th International Anti-Corruption Conference (IACC)

14th International Anti-Corruption Conference (IACC)
โดย : NACC เมื่อ : 9/04/2009 10:38 AM
Office of The National Anti-Corruption Commission (NACC) is an independent government organization established in 1999 in accordance with the enactment of Constitution of the Kingdom of Thailand. The key role of NACC is to exercise the empowerment in state corruption cases, administer important functions in national ant-corruption policy, policy monitoring and assessment malfeasance in judicial cases and observation of the ethics of persons holding political positions to public transparency awareness.


In the collaboration with Transparency International (TI), the global civil society organization leading in creating change towards a world free of corruption as being a co-host in preparatory organizing the 14th International Anti-Corruption Conference (IACC) in Bangkok, Thailand for the proposed upcoming conference in November 2010 .

The background of International Anti-Corruption Conference (IACC) is to arise number of anti-corruption law enforcement agencies, including Hong Kong’s Independent Commission Against Corruption, the Inspector General for the District of Columbia (Washington D.C.) and the New York City Department of Investigation. Initially, the focus was on law enforcement issues. Strategies and tactics were developed to deter and investigate official corruption and the scope of the conference grew quickly. The conference now involves the entire spectrum of stakeholders in its effort to combat corruption and fraud throughout the world.
The IACC serves as the premier global forum for the networking and cross-fertilisation that are indispensable for effective advocacy and action, on a global and national level. The conferences attract 1,500 participants; politicians, national and local government officials, representatives of the world of business, the judiciary, law enforcement and accounting professionals, researchers, international development organisations, the media, and non-governmental organisations (NGOs). In short, all those who come into contact with forms of corruption through their work, alongside those who are concerned with the prevention or prosecution of corrupt practices.
The IACC series draws attention to corruption by raising awareness and stimulating debate. It fosters the global exchange of experience and methodologies in controlling corruption. The conferences promote international cooperation among agencies and citizens from all parts of the world. They also help to develop personal relationships by providing the opportunity for face-to-face dialogue and direct liaison between representatives from the agencies and organisations taking part.
The objective of 14th International Anti-Corruption Conference (IACC) is to re-invigorate the current anti-corruption milieu through the creation of new ideas, partnership and propositions that will expand the current focus of the anti-corruption movement to take account of the depth and complexity of corruption in the global economical crisis situation.


For any further information on the 14th International Anti-Corruption Conference (IACC), please kindly contact:-

Ms. Kavida Phanthumitr
IACC Project Coordinator
National Anti-Corruption Commission
iacc2010@yahoo.comor 081689 2825

14 นานาชาติต่อต้านความเสียหายประชุม (IACC)
โดย : NACC เมื่อ : 9/04/2009 10:38 AM โดย: NACC เมื่อ: 9/04/2009 10:38
Office of The National Anti-Corruption Commission (NACC) is an independent government organization established in 1999 in accordance with the enactment of Constitution of the Kingdom of Thailand. สำนักงานแห่งชาติคณะกรรมการป้องกันความเสียหาย (NACC) เป็นองค์กรอิสระรัฐบาลจัดตั้งขึ้นในปี 1999 ตามพระราชบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. The key role of NACC is to exercise the empowerment in state corruption cases, administer important functions in national ant-corruption policy, policy monitoring and assessment malfeasance in judicial cases and observation of the ethics of persons holding political positions to public transparency awareness. กุญแจบทบาทของ NACC คือการออกกำลังกายที่ empowerment ในสภาวะความเสียหายกรณีจัดการหน้าที่สำคัญในชาติ ant-ความเสียหายนโยบายนโยบายการตรวจสอบและประเมินการผิดวินัยในกรณีตามกฎหมายและสังเกตของจริยธรรมของบุคคลถือการเมืองตำแหน่งสาธารณะโปร่งใสตระหนัก.


In the collaboration with Transparency International (TI), the global civil society organization leading in creating change towards a world free of corruption as being a co-host in preparatory organizing the 14th International Anti-Corruption Conference (IACC) in Bangkok, Thailand for the proposed upcoming conference in November 2010 . ในการทำงานร่วมกันด้วยความโปร่งใสนานาชาติ (TI), โลกประชาสังคมองค์กรชั้นนำในการสร้างเปลี่ยนต่อโลกฟรีของความเสียหายที่ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดเตรียมที่ 14 นานาชาติต่อต้านความเสียหายประชุม (IACC) ในกรุงเทพฯ, ประเทศไทยสำหรับประชุมเสนอที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2010.

The background of International Anti-Corruption Conference (IACC) is to arise number of anti-corruption law enforcement agencies, including Hong Kong’s Independent Commission Against Corruption, the Inspector General for the District of Columbia (Washington DC) and the New York City Department of Investigation. พื้นหลังของนานาชาติต่อต้านความเสียหายประชุม (IACC) ที่จะเกิดขึ้นจำนวนการป้องกันความเสียหายกฎหมายหน่วยงานรวมทั้งฮ่องกงของคณะกรรมาธิการอิสระต่อต้านความเสียหายที่ผู้ตรวจการณ์ทั่วไปสำหรับอำเภอโคลัมเบีย (วอชิงตันดีซี) และนิวยอร์กซิตี้กรมสอบสวน. Initially, the focus was on law enforcement issues. ระยะแรกโฟกัสที่ถูกกฎหมายปัญหา. Strategies and tactics were developed to deter and investigate official corruption and the scope of the conference grew quickly. กลยุทธ์และยุทธวิธีถูกพัฒนาให้กีดขวางและตรวจสอบความเสียหายทางการและขอบเขตของการประชุมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว. The conference now involves the entire spectrum of stakeholders in its effort to combat corruption and fraud throughout the world. ขณะนี้เกี่ยวกับการประชุมทั้งสเปกตรัมของผู้มีส่วนได้เสียในการพยายามต่อสู้ความเสียหายและการฉ้อโกงทั่วโลก.
The IACC serves as the premier global forum for the networking and cross-fertilisation that are indispensable for effective advocacy and action, on a global and national level. ที่ IACC เป็นอัครมหาเสนาบดีโลกฟอรั่มสำหรับเครือข่ายและข้าม fertilisation ที่มีจำเป็นสำหรับ advocacy ที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการในระดับโลกและระดับชาติ. The conferences attract 1,500 participants; politicians, national and local government officials, representatives of the world of business, the judiciary, law enforcement and accounting professionals, researchers, international development organisations, the media, and non-governmental organisations (NGOs). การเข้าร่วมประชุมดึงดูด 1500; นักการเมืองชาติและรัฐบาลท้องถิ่นเจตัวแทนของโลกของธุรกิจที่ตุลาการ, กฎหมายและการบัญชีอาชีพนักวิจัยระหว่างประเทศการพัฒนาองค์กรในสื่อและองค์กรที่ไม่ใช่ของภาครัฐ (องค์กรพัฒนาเอกชน). In short, all those who come into contact with forms of corruption through their work, alongside those who are concerned with the prevention or prosecution of corrupt practices. ในสั้นทั้งหมดบรรดาผู้ที่เข้ามาติดต่อกับรูปแบบของความเสียหายของพวกเขาผ่านทำงานพร้อมกับบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการฟ้องร้องหรือการบ่อนทำลายปฏิบัติ.
The IACC series draws attention to corruption by raising awareness and stimulating debate. ที่ IACC ชุดจับสนใจเพื่อความเสียหายโดยเพิ่มความตระหนักและกระตุ้นโต้วาที. It fosters the global exchange of experience and methodologies in controlling corruption. มัน fosters โลกแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีการในการควบคุมความเสียหาย. The conferences promote international cooperation among agencies and citizens from all parts of the world. การประชุมนานาชาติส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและประชาชนจากส่วนต่างๆของโลก. They also help to develop personal relationships by providing the opportunity for face-to-face dialogue and direct liaison between representatives from the agencies and organisations taking part. นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลโดยการให้โอกาสที่ดีสำหรับหันหน้าเข้าหากันโดยตรงบทสนทนาและการประสานงานระหว่างผู้แทนจากหน่วยงานและองค์กรที่สละส่วน.
The objective of 14th International Anti-Corruption Conference (IACC) is to re-invigorate the current anti-corruption milieu through the creation of new ideas, partnership and propositions that will expand the current focus of the anti-corruption movement to take account of the depth and complexity of corruption in the global economical crisis situation. มีวัตถุประสงค์ที่ 14 นานาชาติต่อต้านความเสียหายประชุม (IACC) คืออีกครั้งชุ่มชื่นปัจจุบันป้องกันความเสียหายจากสภาพแวดล้อมในการสร้างความคิดใหม่ๆ, ห้างหุ้นส่วนและ propositions ที่จะขยายปัจจุบันโฟกัสของการป้องกันความเสียหายที่จะเคลื่อนไหวของบัญชีลึกและความซับซ้อนของความเสียหายในโลกประหยัดวิกฤตการณ์สถานการณ์.


For any further information on the 14th International Anti-Corruption Conference (IACC), please kindly contact:- สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมใดๆที่ 14 นานาชาติต่อต้านความเสียหายประชุม (IACC) กรุณาติดต่อ: --

Ms. Kavida Phanthumitr นางสาว Kavida Phanthumitr
IACC Project Coordinator IACC ผู้ประสานงานโครงการ
National Anti-Corruption Commission แห่งชาติคณะกรรมการการต่อต้านการให้สินบน
iacc2010@yahoo.com or 081689 2825 iacc2010@yahoo.com หรือ 081689 2825
http://www.thaingo.org/prboard_1/view.php?id=8174

11 เมษายน 2552 เวลา 13.30 -15.50 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สถาบันวิจัยสังคมจุฬา อาคารวิสิฐ-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสวนาโต๊ะกลม เรื่อง Creative Industries and Its Discontent ครั้งที่ 1
โดย : วัฒนศาลา ไทยแซ่บ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เมื่อ : 9/04/2009 10:44 AM
เรียนเชิญ

วัฒนศาลา ไทยแซ่บ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ได้จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง Creative Industries and Its Discontent ครั้งที่ 1 โดยเชิญ Dr. Adam Arvidsson นักสังคมวิทยาชาวสวีเดน ซึ่งปัจจุบันสอนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยแห่งมิลาน ประเทศอิตาลี และที่วิทยาลัยธุรกิจโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค มาร่วมเสนาแลกเปลี่ยนงานวิจัยเรื่อง “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอังกฤษและเดนมาร์ค” ในวันเสาร์ที่ 11 เมษายน 2552 เวลา 13.30 -15.50 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สถาบันวิจัยสังคมจุฬา อาคารวิสิฐ-ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Dr. Adam Arvidsson มีงานหนังสือ Brands: Meaning and Value in Media Culture ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ Routledge ในปี ค.ศ. 2006 และได้ทำวิจัยในเรื่องอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอังกฤษและเดนมาร์ก และเรื่องแฟชั่นในอิตาลี

ผู้สนใจเข้าร่วมกรุณาติดต่อ วิริยะ สว่างโชติ โทร.089 4593617 เพื่อสะดวกในการจัดเตรียมอาหารว่าง

จดหมายเปิดผนึก : บันทึกน้ำตาของคนไทยตกค้าง โดย : เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติไทย จังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์

จดหมายเปิดผนึก : บันทึกน้ำตาของคนไทยตกค้าง
โดย : เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติไทย จังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ : 7/04/2009 02:59 PM

พี่น้องคนไทยพลัดถิ่นกับจดหมายเปิดผนึก
คนไทยพลัดถิ่น เป็นคนไทยที่ถูกลัทธิอาณานิคมแบ่งแยกดินแดน โดยอังกฤษที่เข้ามาปกครองพม่าเมื่อปี พ.ศ.2411 เมื่อไทยเสียดินแดนให้กับอังกฤษ เส้นเขตแดนที่ขีดกั้นดินแดนไทย-พม่า กลับมาขวางและปิดกั้นไม่ให้พวกเขาเป็นไทยเมื่อกลับเข้ามาอยู่แผ่นดินแม่ คนไทยพลัดถิ่นเริ่มเดินทางเข้ามาอยู่แผ่นดินแม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 และเริ่มเข้ามามากขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2501 เป็นต้นมา มีการทยอยเข้ามาเป็นระยะๆ เพราะทนการถูกรุกรานจากรัฐบาลทหารพม่าไม่ไหว เนื่องจากพม่าไม่นับคนไทยพลัดถิ่นเป็นคนของประเทศ ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง กระทำกับคนไทยพลัดถิ่นเหมือนชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เช่นเดียวที่กระทำกับกลุ่มชนชาติกระเหรี่ยง ชนชาติมอน

ปัจจุบันคนไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่ในแถบจังหวัดชายแดนระหว่างไทย-พม่าในภาคใต้ คือ จังหวัดระนอง แถบบ้านปากเตรียม อำเภอคุระบุรี บ้านท่ากลาง บ้านบางกล้วย บ้านท่าเรือบางกล้วย บ้านคึกฤทธิ์ บ้านไร่ใต้ บ้านคลองดาว อำเภอสุขสำราญ บ้านบางลำพู บ้านบางเบน อำเภอสุขสำราญ บ้านในตระ อำเภอกระบุรี และบ้านช้างแหก บ้านห้วยม่วง บ้านบางคด บ้านราชกรูด บ้านท่าฉาง บ้านซอยสำนักสงฆ์ บ้านหินช้าง อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่บ้านหินเทิน อำเภอบางสะพานน้อย บ้านไทรทอง บ้านคลองลอย บ้านในล็อค 1,2 อำเภอบางสะพาน บ้านทุ่งพุด หมู่ 11 บ้านโป่งแดง หมู่ 3 อำเภอทับสะแก บ้านไร่เครา หมู่ 6 อำเภอเมือง และบ้านไร่เครา หมู่ 5 อำเภอสามร้อยยอด และบางส่วนอาศัยอยู่ในอีกหลายอำเภอในจังหวัดชุมพร ซึ่งรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่น

คนไทยพลัดถิ่นเหล่านี้มีพี่น้องอยู่ในประเทศไทย ในอดีตก่อนและหลังปักปันเขตแดน (ก่อนสร้างรัฐชาติ) มีการเดินทางข้ามไปเยี่ยมเยียนกันอยู่เสมอ แม้การเดินทางไปมาจะลำบากเนื่องจากต้องเดินเท้าข้ามเขา ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล แต่ไม่ได้สร้างความลำบากใจให้กับคนทั้งสองฟากฝั่งเหมือนในยุคปัจจุบัน สมัยก่อนคนจากปกเปี้ยนเดินทางไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดภูเก็ตใช้เวลาอย่างน้อย 15 วัน ถ้ามาเยี่ยมญาติที่จังหวัดระนองใช้เวลาอย่างน้อย 2-7 วัน เป็นต้น การเชื่อมโยงสายเลือดดำรงมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อข้ามมาอยู่ฝั่งไทยคนไทยพลัดถิ่นก็มักจะไปอยู่อาศัยกับญาติพี่น้อง ก่อนที่จะขยายครอบครัวออกไป สำหรับผู้ที่อพยพมารุ่นแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ส่วนใหญ่ได้รับการสำรวจสำมะโนประชากรเป็นคนไทย มีบัตรประชาชนไทย ส่วนกลุ่มคนอพยพมาหลังจากนั้น ส่วนใหญ่จะตกหล่นการสำรวจประชากร แม้ว่าทางรัฐบาลจะเคยประกาศให้คนไทยที่ตกหล่นและอพยพเข้ามาก่อนปี พ.ศ. 2519 ให้ได้รับการสำรวจและได้สัญชาติไทย แต่คนไทยพลัดถิ่นส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบประเด็นนี้ บางส่วนไปขึ้นทะเบียนการสำรวจกับเจ้าหน้าที่อำเภอ แต่ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับแต่ประการใด พวกเขาจึงเป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยมีบัตรประชาชนไทย ทั้งยังถูกตีตราว่าเป็นต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ทางราชการทำบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนที่พวกเขารู้จักในนาม "บัตรเหลืองขอบน้ำเงิน" หรือบัตรบุคคลสัญชาติพม่า เชื้อสายไทย นอกจากบัตรชนิดนี้แล้วยังมีบัตร "ใบสำคัญถิ่นที่อยู่" ที่ระบุไว้เป็นบุคคลสองประเภทคือ "ไร้สัญชาติ" และบางคนถูกระบุว่าเป็น "สัญชาติพม่า" ทว่าเป็นบัตรเหล่านี้กลับตอกย้ำความเจ็บปวดและเบียดขับให้คนที่ได้ถือบัตรให้ไปอยู่ชายขอบของสังคมไทย ส่งผลกระทบไปถึงบุตรหลาน ที่ต้องกลายเป็นคนไร้สัญชาติและบางคนต้องถูกระบุเป็นสัญชาติพม่าตามหลักฐานของพ่อแม่ สำหรับคนที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ยังคงเป็นบุคคลไร้ตัวตนในสังคมไทย ไม่มีทะเบียนบ้าน ไม่มีชื่อในสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ไม่มีสิทธิเข้าถึงการศึกษาของรัฐอย่างสมบูรณ์ ไม่มีชื่อในบัญชีทุนการศึกษาเล่าเรียนของโรงเรียน ไม่มีสิทธิประกอบอาชีพตามความฝันของตนเอง ไม่มีสิทธิขับรถอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพราะไม่สามารถทำใบขับขี่ ฯลฯ เป็นต้น ปัจจุบันเครือข่ายการแก้ปัญหาการคืนสัญชาติไทยฯ โดยคนไทยพลัดถิ่นพยายามเรียกร้องต่อรัฐบาลให้เห็นถึงความเดือดร้อนของพวกเขา เรียกร้องการคืนสัญชาติไทย ในเบื้องต้นพวกเขาสามารถถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน (เลข 13 หลัก) อย่างน้อยก็เป็นความหวังให้พวกเขาสามารถมีตัวตนในสังคมไทยในอนาคต


คนไทยพลัดถิ่นกับการระดมสมองเพื่อเรียกร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาล

เมื่อมาอยู่ในแผ่นดินแม่ พวกเขาประสบปัญหามากมายดังที่กล่าวมาข้างต้น ต้องคอยหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะมีสถานภาพเป็นคนต่างด้าว และถูกกล่าวหาว่าเป็นพม่า ความทุกข์ยากทับถมทวี ดังจดหมายเปิดผนึกของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นจากบ้านในล็อค เขาเปลือยชีวิตของพวกเขาโดยมีความปลอดภัยในชีวิตเป็นเดิมพัน ....


จดหมายเปิดผนึกจากคนพลัดถิ่นบ้านในล็อค

บันทึกความเจ็บปวดของคนไทยตกค้างหรือไทยพลัดถิ่นเขต ตำบลสิงขร อำเภอตะนาวศรี จังหวัดมะริต ผมผู้บันทึกเป็นคนอยู่ในหมู่บ้านลำมะเท็งตอนใต้ของสิงขรเพราะในเขตอำเภอสิงขรมีคนไทยพลัดถิ่นอยู่หลายหมู่บ้านที่ยังคงพูดภาษาไทย เช่น บ้านสิงขร บ้านวังจำปา บ้านปะคลองสิงขร บ้านหินตั้ง บ้านชาละวัน บ้านหาดแก้ บ้านแหมลมยวน บ้านทุ่งข่า บ้านทุ่งทองหลาง และบ้านลำเท็ง บ้านหินแข้ บ้านมุโพรง อาชีพหลักก็ทำนา ทำสวน และทำไร่ และตัดหวายเสริมตอนงานหลักหมด อยู่กันอย่างมีความสุขได้อะไรเราก็แบ่งกันกินเจ็บป่วยเราก็ช่วยเหลือกัน แม้ตอนเสียชีวิตเราจะช่วยเหลือทุกอย่างเลย มีต้นข้านหรือเงินสิ่งของต่างๆ เราก็จะเอาไปช่วยกันวันสุดท้ายก็ช่วยกันหามไปฝังป่าช้า นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีเล่นสงกรานต์ เล่นลูกช่วง เล่นสะบ้า เล่นรำวง หนังตะลุง โนรา มีอาบน้ำพระ อาบน้ำคนแก่ และอื่นๆ อีกมากมาย

จนมาถึงปี 2470 เป็นต้นมาพี่น้องบางส่วนเริ่มเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย รุ่นสองก็จะมาประเทศไทยในปี 2501 ถึง 2510 บางส่วนก็เดินทางกลับพม่าก็มี เพราะทนรับจ้างกันไม่ไหว เพราะตอนนั้นพม่ายังไม่ทำรุนแรงกับคนไทยพลัดถิ่น มีอะไรก็จะพูดกันชาวแต่คำดี ไม่ทำร้ายร่างกาย อยากจะกินอะไรของชาวบ้านก็ซื้อหรือขอเอา ถ้าชาวบ้านไม่ให้ก็จะไม่เอาเด็ดขาด แต่หลังปี 2515 เป็นต้นมา พม่าก็เริ่มใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านอย่างเต็มที่ ไม่ว่าการจับเอาชาวบ้านไปเป็นลูกหาบของ แบกลูกปืน แบกข้าวสาร อาหารต่างๆ เป็นคนนำทางผ่านหมู่บ้านไหน ก็จะให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนจัดหาลูกหาบท่าหาไม่ได้ก็จะไล่จับกันเอาเอง และผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นลูกหาบด้วย ถ้าจับผู้ชายไม่ได้เลยก็จะจับผู้หญิงเอาไว้แทน ถ้าใครไม่อยากให้ลูกเมียไปเป็นลูกหาบก็จะออกจากป่ามาเปลี่ยนตัวแทนลูกเมียของตน ถ้าบ้านไหนไม่มีผู้ชาย พวกผู้หญิงก็ต้องไปเป็นลูกหาบเอง เป็นอย่างนี้ตลอดมา ขอให้ตัดไม้บ้าง เก็บเงินบ้าง ขุดทางถนนบ้าง เวลาไปขุดทำทางเราต้องเตรียมของไปเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจอบ อาหารการกิน เงิน หรือเสื้อผ้า ต้องนำไปเองทั้งหมด ต้องใช้ให้คนทำทางแทนรถ เอาเกวียนเอาช้างของชาวบ้านมาลากสิ่งของ เพื่อทำทางทุกอย่างต้องทำให้มันโดยชาวบ้านออกเงินออกกำลังเองทั้งหมด บางคนทนไม่ไหวก็พาครอบครัวหนีเข้าประเทศไทย มาอยู่ตามชายแดนบ้างในประเทศไทยบ้าง แต่เมื่อ พ.ศ. 2537 ทหารพม่าให้เวลาคนไทยพลัดถิ่นออกจากประเทศพม่าให้หมด โดยให้เวลา 20 วัน เมื่อครบกำหนด ทหารพม่าจะเข้าไปตรวจดู ถ้าคนไหนยังอยู่ก็จะโดนจับหรือฆ่าทิ้งทันที่ ตอนนั้นผู้เขียนเข้าไปเที่ยวเยี่ยมพี่น้องในพม่าพอดีจึงพากันละทิ้งสิ่งของต่างๆ เช่น บ้านข้าวปลาดิน นาไร่ ตอนเป็นเวลาเก็บข้าวพอดี ต้องทิ้งเอาไว้ทั้งหมดและเดินทางเข้าช่องทางมอน เขาเรียกทางบ้านใหญ่ อำเภอทับสะแก เดินทางมาจำนวน 74 คน เดินทางมา 5 วัน ลำบากมากเพราะตอนนั้นหน้าฝนพอดี ลำบากที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยเดินทางมาเลยทีเดียว หุงข้าวกินก็ลำบากทุกๆ อย่างต้องใช้ความเงียบ ถ้าไม่เงียบเดี๋ยวทหารพม่าเจอก็จะโดนยิงทิ้ง แต่พี่น้องเรามีความสามัคคีกันดีจึงรอดพ้นมากได้จนสำเร็จ จนถึงชายแดนไทยพม่าช่องบ้านใหญ่

แต่พอถึงชายแดนไทยเจ้าหน้าที่เขาไม่ให้ลงเขาส่งเจ้าหน้าที่ ต.ช.ด. มาดักพวกผม ไม่ใช้ลงประเทศไทยเกือบโดนทหารมอนเอาพวกผมไปเป็นคนของเขา ทหารมอนเอาพวกเราไปไว้ที่ช่องชี ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอน แต่เจ้าหน้าที่ ต.ช.ด. ไปบอกทหารมอนว่า ให้ส่งคนไทยพลัดถิ่นกลับคืนมา พวกเขาเป็นคนไทยพลัดถิ่น เมื่อทหารมอนรู้เรื่องแล้วเขาก็ยอมปล่อยพี่น้องพลัดถิ่นกลับคืน เมื่อมากลับมาถึงด่าน เจ้าหน้าที่ ต.ช.ด. เขาก็นึกสงสารเขาคงเห็นว่าเราเป็นคนไทยเหมือนกัน เขาเลยแอบบอกเป็นนัยๆ ว่าทำไมไม่แอบลงกันละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เลยลงกันหมดและแยกย้ายกันไปอยู่ในบ้านด่านสิงขร บ้านทุ่งพุฒิ บ้านในล็อค บ้านในราช อยู่กันได้ไม่นาน เจ้าหน้าที่หน่วยเหนือทราบเรื่องจึงให้จับพี่น้องพลัดถิ่นส่งกลับแต่เมื่อทราบว่าเราเป็นคนไทยเหมือนกันเลยสงสารเอาพวกเราไปส่งที่ป่ามะพร้าวที่บ้านหนองหอย อำเภอทับสะแก และให้พี่น้องที่มีบัตรเหมารถไปรับกลับคืนมาอยู่ที่เดิมนี้จนถึงทุกวันนี้ และเกิดการโกงกันมากมาย แต่ผู้เขียนไม่อยากจะหาเรื่องกับใครอีกจึงไม่อยากจะพูดอะไรให้มากมาย แต่ก็ขอยืนยันว่าสำหรับคนพลัดถิ่นยังไม่ได้เลิกทาสที่เราโดยกระทำเรื่องต่างๆ เหมือนวัวควายจริงๆ ขอรับรอง

ทุกวันนี้ตัวผู้เขียนและพี่น้องร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์รวมใจคนไทยพลัดถิ่นบ้านในล็อคโดยตัวผู้เขียนเป็นประธาน มีพี่น้องเป็นสมาชิก 63 คน มียอดเงินสะสม 257550 บาท มีพี่น้องรวม 315 คน อาศัยความสามัคคีช่วยกันทำทุกเรื่องไม่ว่าการฝึกลูกเสือชาวบ้าน และฝึก อ.พ.ป.ร. สายข่าวของ กอ.รมน. ทำทุกอย่าง เขาใช้บ้าง เราพร้อมใจบ้าง ถ้าไม่ทำเราก็จะอยู่อย่างลำบาก อยากจะรู้เรื่องทั้งหมดก็จงเกิดเป็นคนไทยพลัดถิ่นซิครับจะรู้ความจริง เพราะเราไม่มีใครจะพูด เพราะกลัวจะไม่ปลอดภัย สุดท้ายผู้เขียนก็อยากให้คำเขียนนี้เป็นเหมือนคำเล่าที่จริงแต่ไม่หมด เพราะบางสิ่งพูดยาก แต่สิ่งที่อยากให้รัฐแก้ไขเรื่องคนไร้สัญชาติอย่างจริงจังไม่ใช้แก้ไปวันๆ เราไปยื่นหนังสือเขาก็รับแต่ไม่แก้ไข พอจะแก้เขาเอาคนที่ไหนไม่รู้มาให้สัญชาติ

ทุกวันนี้ผมกับพี่น้องอยู่กันอย่างหวาดกลัวเพราะโดนเขากระทำทุกอย่างแต่ไม่มีใครอยากพูด เพราะพูดแล้วก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไอ้พวกเลวก็ยังนั่งอยู่บนคอของคนไทยพลัดถิ่นเหมือนเดิม และสิ่งที่ไม่ได้บังคับเราคนไทยพลัดถิ่นก็ทำในสิ่งที่เราอยากทำเป็นประจำทุกปี เช่น ปลูกต้นไม้เนื่องในวันพ่อ และวันแม่ กลางวันเราจะช่วยกันทำงานต่างๆ ทำความสะอาดหมู่บ้าน ปลูกต้นไม้ ถางป่าตามแนวถนนกลางคืน ลูกเสือชาวบ้านและพี่น้องที่เป็นคนไทยพลัดถิ่นจะร่วมกันจุดเทียนชัยถวายพระพรให้พ่อและวันแม่เป็นเวลาทุกๆ ปีไม่เคยพลาด เพราะทุกวันนี้พวกเราก็ยังมีพ่อแม่ของแผ่นดินเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องพลัดถิ่นของเรา เพราะถ้าไม่มีพระองค์พี่น้องพลัดถิ่นเราก็คงจะอยู่แผ่นดินที่ปู่ย่าสร้างไว้ไม่ได้แน่นอน เพราะแผ่นดินนี้เขาจะเอาแต่คนมีเงินเท่านั้น ถ้ามีเงินจะได้ทุกอย่างที่เขาคนนั้นอยากได้ ในแผ่นดินไทยไม่ว่าจะอยากได้สัญชาติหรือทำลายป่าด้วยยาบ้า ขนของผิดกฎหมายต่างๆ จะได้ทั้งหมดเราเป็นคนจนและเป็นคนไทยพลัดถิ่นจึงไม่ค่อยจะได้อะไรง่ายๆ ตามที่หวัง เป็นคนไทยที่ตกค้างตอนเราเสียดินแดนก็ตาม ทุกวันนี้เราอยู่กันไม่ต่างอะไรกับหมาที่เจ้านายไม่รักจะไปพึ่งใครก็ไม่มีคนที่จริงใจเลยต้องอยู่กันอย่างก้มหน้าตลอด เมื่อไรพี่น้องพลัดถิ่นเราจะพบแสงสว่างกับเขาเสียที


นายสำเนา สีทอง (ลพ)
คนไทยพลัดถิ่น บ้านลำมะเทิง
กลุ่มออมทรัพย์รวมใจคนไทยพลัดถิ่นบ้านในล็อคกลุ่ม 2
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1159

สบท. จับมือลงนามบันทึกความร่วมมือ 25 องค์กรผู้บริโภค

สบท. จับมือลงนามบันทึกความร่วมมือ 25 องค์กรผู้บริโภค
โดย : สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) (9/04/2009 11:59 AM)
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา ได้มีพิธีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนินงานร่วมกันระหว่างสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และองค์กรผู้บริโภค 25 องค์กร จากแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อลงนามร่วมกันปฏิบัติการ ส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิของผู้บริโภค และการดำเนินการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคในทุกระดับ นำไปสู่การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยมีนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สบท.ในฐานะผู้แทนจาก สบท.ร่วมลงนามกับผู้แทนองค์กรผู้บริโภค 25 องค์กร และมีคุณวรรณชัย สุวรรณกาญจน์ และคุณจินดา เจริญสุข คณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม มาร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมริชมอนด์ จ. นนทบุรี

ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีสาระสำคัญที่กล่าวถึงการจัดตั้งและสนับสนุนการทำกิจกรรมของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในระดับจังหวัด การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการโทรคมนาคม รวมทั้งการดำเนินการแก้ปัญหาของผู้ร้องเรียนอย่างครบวงจร โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ให้มีทักษะการรับเรื่องร้องเรียน การเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเบื้องต้น และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตัวเอง และเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาช่องทางการร้องเรียนผ่านระบบไอทีร่วมกัน นอกจากนั้นยังสนับสนุนในการเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายผู้บริโภคในระดับจังหวัด และภารกิจอื่นใดในอันที่จะสนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคในทุกระดับ อีกทั้งส่งเสริม พัฒนาข้อเสนอนโยบาย กฎหมาย และมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชน

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สบท. ได้กล่าวถึงการลงนามบันทึกความร่วมมือกับองค์กรผู้บริโภคในครั้งนี้ว่า ต่อจากนี้ไป สบท. กับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในจังหวัดต่างๆ จะทำงานร่วมกันในลักษณะเป็นพันธมิตรต่อกัน ไม่ใช่รูปแบบเดิมคือเป็นผู้สนับสนุนเรื่องงบประมาณเท่านั้น และหากแม้ว่าในอนาคต สบท. จะไม่ได้ให้การสนับสนุน แต่ศูนย์ฯ ก็สามารถที่จะทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยตัวเองได้
http://www.thaingo.org/board_2/view.php?id=1457

วิเคราะห์ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯครั้งที่ 15..ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์น้อยกว่าผู้ต้องหา!

วิเคราะห์ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯครั้งที่ 15..ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์น้อยกว่าผู้ต้องหา!





สถาบันข่าวอิศราฯ

วันพุธที่ 8 เมษายน 2009 11:34น.


ไม่ว่าสถานการณ์การเมืองในส่วนกลางจะปั่นป่วนวุ่นวายเช่นไร แต่ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังเป็นสถานการณ์ที่ต้องจับตา โดยเฉพาะการพิจารณาต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงครั้งที่ 15 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งคาดว่าคณะรัฐมนตรีจะประชุมกันในสัปดาห์หน้า "ทีมข่าวอิศรา" ขันอาสาวิเคราะห์หลากหลายแง่มุม....ตอนนี้เป็นตอนที่ 2

จากรายงานการศึกษาเรื่อง "บทบาทกระบวนการยุติธรรมกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้" ของ นายศราวุฒิ ประทุมราช นักวิชาการอิสระด้านสิทธิมนุษยชน และที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ที่นำเสนอต่อที่ประชุมสัมมนาโครงการเวทีความคิดเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย ชุดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ครั้งที่ 3 เมื่อไม่นานมานี้ นายศราวุฒิได้วิเคราะห์เนื้อหาของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในหลายๆ ส่วนที่น่าจะมีปัญหาขัดต่อหลักนิติธรรม หลักการตรวจสอบถ่วงดุล หลักสิทธิมนุษยชน และหลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เอาไว้อย่างน่าสนใจ

บทวิเคราะห์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

เมื่อพิจารณาหลักการและสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และศึกษารายละเอียดทั้งหมดแล้ว พบว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีเนื้อหาที่ขัดแย้งต่อหลักการสิทธิมนุษยชนใน 4 มาตราหลัก คือ มาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 16 และมาตรา 17 ดังนี้

1) ขัดต่อหลักนิติธรรม

กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย (มาตรา 17)

โดยหลักการแล้ว รัฐต้องไม่ออกกฎหมายในลักษณะที่เป็นการยกเว้นความรับผิดทางแพ่งหรือทางอาญาให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐ เพราะการลงโทษถือเป็นดุลพินิจของศาล เว้นแต่โดยสภาพของผู้กระทำความผิดไม่อยู่ในฐานะที่มีความสามารถตามกฎหมาย เช่น เป็นเด็กอายุไม่ถึง 10 ปี หรือเป็นบุคคลวิกลจริต หรือมีความบกพร่องทางสมองหรือทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์แล้ว เป็นต้น

การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ทำตามหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เท่ากับเป็นการละเมิดหลักนิติธรรม เพราะเป็นการยกเว้นหลักการที่บุคคลทุกคนย่อมเสมอกันต่อหน้ากฎหมาย ส่งผลให้เป็นช่องทางให้เกิดการลุแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถใช้อำนาจหน้าที่ได้โดยไม่ต้องเกรงว่าจะมีความผิด เพราะกฎหมายได้บัญญัติยกเว้นความรับผิดและความผิดไว้แล้ว

นอกจากนี้ การที่เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้อำนาจไว้แล้วไม่ต้องรับผิด จะทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานเกิดความรู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะกฎหมายได้ยกเว้นโทษเจ้าหน้าที่ไว้

2) ขัดต่อหลักการตรวจสอบถ่วงดุล

ทุกคนที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจได้ แต่ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีบทบัญญัติ 2 มาตราที่ขัดแย้งต่อหลักการนี้ คือในมาตรา 16 ที่บัญญัติให้ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งหมายความว่า หากมีการออกคำสั่งใดๆ ที่เป็นคำสั่งทางปกครอง หรือมีการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วเกิดความเสียหายต่อประชาชน ศาลปกครองไม่มีอำนาจในการพิจารณา พิพากษา

และในมาตรา 17 ที่บัญญัติว่า พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หากกระทำการโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินความจำเป็นแห่งกรณี

3) ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

มาตรการห้ามต่างๆ ที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 อาจไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ดังนี้

1.เสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ ไม่สอดคล้องต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 34 ที่บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร และขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ 12 ที่รับรองเสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ โดย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 กำหนดมาตรการห้ามในกรณีเหล่านี้เอาไว้ ได้แก่

1.1 ห้ามการเดินทางหรือเคลื่อนย้าย

1.2 ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น

1.3 ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

1.4 ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด

1.5 ห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ

2.เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ จากกรณีที่มาตรา 9 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

3.เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร จากกรณีมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร

4.สิทธิในทรัพย์สิน จากกรณีที่มาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กำหนดมาตรการดังนี้

4.1 ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ โดยมีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว และหากปล่อยเนิ่นช้า จะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที

4.2 ออกคำสั่ง รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว และหากปล่อยเนิ่นช้า จะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที

4.3 ยึดหรืออายัดสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใดในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.เสรีภาพในการประกอบอาชีพ จากกรณีที่มาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ บัญญัติว่าต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในการซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้าย

6.เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร กรณีที่มาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้อำนาจการตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสาร ด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม

7.สิทธิในชีวิตและร่างกาย กรณี

7.1 เรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

7.2 ห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน

4) ขัดต่อหลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

กล่าวโดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่สอดคล้องต่อหลักสิทธิผู้ต้องหา สิทธิจำเลยในคดีอาญา ทั้งกฎหมายภายในประเทศ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายหรือกฎบัตรระหว่างประเทศ คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ดังนี้

1.อำนาจการจับกุมและการควบคุมตัวบุคคลที่ถูกสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือที่เป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือที่ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กำหนดไว้ในมาตรา 12 ว่า "ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยตามประกาศในมาตรา 11 (1) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้”

ผู้ศึกษามีความเห็นว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรานี้ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนตามข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กำหนดว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้ บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย”

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คำว่า “ผู้ต้องหา” หมายถึง บุคคลที่ถูกหาว่ากระทำความผิดตามกฎหมายและเจ้าพนักงานได้แจ้งให้ทราบว่า ตกเป็นผู้ต้องหาแล้ว

แต่ในกรณีนี้ทางราชการถือว่า “ผู้ถูกจับกุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ยังไม่ถือเป็น “ผู้ต้องหา” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะเจ้าพนักงานตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังไม่มีการจับกุมผู้ใด เป็นเพียงการเชิญตัว ”บุคคลที่ถูกสงสัย” ว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินมาให้ข้อเท็จจริงเท่านั้น

ดังนั้นในเมื่อยังไม่มีผู้ใดตกเป็น “ผู้ต้องหา” เจ้าพนักงานตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวบุคคลดังกล่าว

เมื่อเจ้าพนักงานไม่มีอำนาจในการเชิญตัวแล้ว ย่อมไม่มีอำนาจในการควบคุมตัว หากเจ้าพนักงานจะอ้างว่าเชิญตัวมาเพื่อการสอบถามหรือซักถาม สามารถกระทำได้ กรณีดังกล่าวก็ต้องไปเข้าหลักของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ว่า ให้ถามชื่อ สกุล ที่อยู่ อายุ อาชีพ ได้เท่าที่จำเป็น ห้ามมิใหควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจําเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี เมื่อได้ข้อมูลจากการสอบถามแล้ว หากไม่มีเหตุอื่นใด ก็ต้องปล่อยตัวผู้นั้นไป

นอกจากนี้ การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ระบุให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัว “ผู้ถูกเชิญ” ได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ และได้ให้อำนาจในกรณีมีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอต่อศาลเพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกคราวละ 7 วัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่า 30 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว หากจะต้องควบคุมตัวต่อไป ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บทบัญญัติในมาตรานี้ จึงไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนดังกล่าวข้างต้น

ส่วนสิทธิของผู้ถูกจับและถูกควบคุมตัวในฐานะ "ผู้ต้องหา" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือ พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว ตามมาตรา 7/1(1) สิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน ตามมาตรา 7/1 สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร ตามมาตรา 7/1 (3) และสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ตามมาตรา 7/1 (4) นั้น

ปรากฏว่าระเบียบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กำหนดให้ได้รับการเยี่ยมจากญาติได้ทุกวันหลังจากการควบคุมตัว 3 วันแรกผ่านไปแล้ว ในระหว่างเวลา 09.30-10.00 น. และเวลา 14.30- 15.00 น. โดยให้ผู้ถูกควบคุมพบญาติที่มาเยี่ยมได้ไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน และระเบียบดังกล่าวนี้ใช้กับสิทธิในการเข้าเยี่ยมเพื่อปรึกษาคดีของทนายความด้วย

ดังนั้น เมื่อบุคคลที่ถูกสงสัยตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังไม่ใช่ผู้ต้องหา จึงย่อมไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่ต่ำกว่ามาตรฐานของสิทธิผู้ต้องหา เพราะเมื่อตกเป็น “ผู้ต้องหา” ก็ยังได้รับสิทธิในการพบญาติและทนายความหรือผู้ที่ตนจะให้เป็นทนายความ หรือผู้ที่ตนไว้ใจให้เข้าพบเพื่อปรึกษาคดีได้ทันทีที่ถูกจับกุม แต่บุคคลที่ทางราชการยังไม่ถือว่าเป็นผู้ต้องหา กลับถูกควบคุมตัว ห้ามเยี่ยมจากญาติ และไม่ได้พบและปรึกษาทนายความ










--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 9/4/2552

http://www.prachatai.com/05web/th/home/16266

กรรมการสิทธิมนุษยชนชุดใหม่

ผลการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนชุดใหม่


8 เมษายน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2552 เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากผู้สมัครเข้ารับการสรรหา จำนวน 1333 คน ผลการพิจารณาสรรหา มีผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
นายแท้จริง ศิริพานิช
เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ

นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุบลราชธานี
ประธานมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต

นายปริญญา ศิริสารการ
อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรม จ.นครราชสีมา
อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานมูลนิธิพัฒนาข้าราชการ

พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด
ผู้ช่วย ผบ.ตร.

นางวิสา เบ็ญจะมโน
ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ ๑๐) สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์
อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย








--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 8/4/2552

http://www.prachatai.com/05web/th/home/16260

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นพัฒนาสังคมให้เท่าเทียมด้วย ICT

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--ก.ไอซีที
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลาง) เป็นประธานในพิธีเปิด “การสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นในเรื่องรูปแบบ ข้อกำหนดต่างๆ ในกิจกรรมการฝึกอบรม โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT” ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้จัดเพื่อระดมความคิดเห็นในเรื่องรูปแบบข้อกำหนดต่างๆ ในการฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบ/ ข้อกำหนดต่างๆ อาทิ เนื้อหา/หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และผู้เข้ารับการฝึกอบรม รูปแบบการฝึกอบรม รูปแบบการประเมินผล รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และพัฒนาการดำเนินงานโครงการต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-5682453 ทิพวรรณ์ ไชมะโย

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

วันที่ ๔-๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

กิจกรรมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

เรื่อง “พระพุทธศาสนากับการแก้วิกฤติการณ์ของโลก”

วันที่ ๔-๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร




วันอาทิตย์ ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒


แขกผู้มีเกียรติต่างประเทศเดินทางถึงประเทศไทย และลงทะเบียน




วันจันทร์ ที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒



๐๘.๐๐ น.
ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางถึงหอประชุมพุทธมณฑล

๐๘.๐๐ น.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

เดินทางถึงพุทมณฑล

๐๘.๓๐ น.
ผู้นำชาวพุทธเข้าสู่หอประชุมตามลำดับประเทศ

- ฉายวีดีทัศน์

๐๘.๔๕ น.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เดินทางถึงหอประชุมพุทธมณฑล

คณะกรรมการจัดงานถวายการต้อนรับ และนำเข้าสู่หอประชุมพุทธมณฑล
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลังกรณราชวิทยาลัยประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก กล่าวถวายรายงาน
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถา
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เดินทางกลับ

๐๙.๓๐ น.
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา

วันสำคัญสากลของโลก กล่าวต้อนรับ

๐๙.๔๕ น.
สุนทรพจน์และสาส์นจากพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ และผู้นำชาวพุทธ

๑๑.๐๐ น.
ฉันภัตตาหารเพล และรับประทานอาหารกลางวัน

๑๒.๐๐ น.
ถ่ายภาพหมู่

๑๓.๓๐ น.
พร้อมกันที่หอประชุมพุทธมณฑล เจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา

๑๔.๐๐ น.
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินถึงหอประชุมพุทธมณฑล

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการจัดงานเฝ้ารับเสด็จฯ
ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายรายงาน
พระราชดำรัสเปิดการประชุม
เสด็จฯ กลับ

๑๕.๐๐ น.
ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์

๑๕.๒๐-๑๘.๓๐ น.
สุนทรพจน์และสาส์นจากพระสังฆราช ประมุขสงฆ์ และผู้นำชาวพุทธ




วันอังคาร ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

๐๘.๐๐ น.
ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางถึงมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร

อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

๐๘.๓๐ น.
การสัมมนาและประชุมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย

กลุ่มที่ ๑ พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม

กลุ่มที่ ๒ พระพุทธศาสนากับแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ

กลุ่มที่ ๓ พระพุทธศาสนากับการแก้วิกฤติการเมือง และพัฒนาสันติภาพ

กลุ่มที่ ๔ สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติกับการร่วมมือ
ด้านการศึกษา

กลุ่มที่ ๕ โครงการร่วมมือการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากลเพื่อแจก
ในโรงแรมทั่วโลก

กลุ่มที่ ๖ แหล่งข้อมูล และเครือข่ายทางอีเลกทรอนิกทางพระพุทธศาสนา

๑๑.๓๐ น.
ฉันภัตตาหารเพล และรับประเทศอาหารกลางวัน

๑๒.๓๐ น.
การสัมมนาและประชุมกลุ่มย่อย (ต่อ)

๑๗.๓๐ น.
รับประทานอาหารเย็น

๑๙.๐๐ น.
ชมการแสดงทางวัฒนธรรมนานาชาติ




วันพุธ ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒

๐๘.๐๐ น.
ผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางถึงศูนย์ประชุมสหประชาชาติ

๐๘.๓๐ น.
เจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนา

๐๙.๐๐ น.
พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา

วันสำคัญสากลของโลก กล่าวต้อนรับ

๐๙.๑๐ น.
สุนทรพจน์และสาส์นจากบุคคลสำคัญ

· เลขาธิการองค์การสหประชาชาติหรือผู้แทน

· เลขาธิการองค์การยูเนสโก หรือผู้แทน

· เลขาธิการบริหารองค์ สำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

๑๐.๐๐ น.
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์

๑๐.๔๕ น.
สุนทรพจน์และสาส์นจากผู้นำประเทศต่าง ๆ

๑๑.๓๐ น.
ฉันภัตตาหารเพล/ รับประทานอาหารกลางวัน

๑๒.๓๐ น.
ถ่ายภาพหมู่

๑๓.๐๐ น.
รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของกลุ่มต่างๆ พร้อมทั้งซักถาม

๑๕.๐๐ น.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

กล่าวอนุโมทนากถาและกล่าวปิดการประชุม

๑๖.๐๐ น.
เดินทางไปร่วมประกอบพิธีธรรมยาตรา และเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล




วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒


เดินทางกลับประเทศ

http://www.icundv.com/programme.php

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

ขอเชิญร่วมงานและสัมมนาวิชาการนานาชาติ วันที่ ๔-๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก

พุทธศาสนิกชน 70 ประเทศ ชุมนุมใหญ่"วันวิสาขบูชาโลก"
http://www.whitemedia.org/wma/content/view/4307/

ขอเชิญร่วมงานและสัมมนาวิชาการนานาชาติ วันที่ ๔-๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
http://gotoknow.org/blog/ganeshnoi/252238

GotoKnow ฟอรัม ครั้งที่ 1 : ขอเชิญ Blogger ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน วันอาทิตย์ที่ 24 พ.ค. 2552 - วันจันทร์ที่ 25 พ.ค. 2552 โรงแรมหาดใหญ่พาราไดส์แอนด์รีสอร์ท อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
http://gotoknow.org/blog/pr4u/252455

แดนสนธยา

แดนสนธยา
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=72069&NewsType=2&Template=1

4 กระทรวงผนึกกำลังฝ่าวิกฤติ จัดงาน 'ไทยรวมพลังกู้ศก.ชาติ'
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=71913&NewsType=2&Template=1

ทึ่ง 'รอยพระหัตถ์พระพุทธเจ้า' เมืองไทยมีทั้งภาค 'เหนือ-ใต้'
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=71866&NewsType=2&Template=1

http://www.icundv.com/
Buddhism Approach to Global Crisis
วันที่ 4-6 พฤษภาคม 2552 พุทธมณฑล จ.นครปฐม

สมาคมนักข่าวฯ จัดราชดำเนินเสวนา “บำนาญแห่งชาติหลักประกันรายได้ยามชรา [7 เม.ย. 52]

สมาคมนักข่าวฯ จัดราชดำเนินเสวนา “บำนาญแห่งชาติหลักประกันรายได้ยามชรา [7 เม.ย. 52]
http://www.thairath.co.th/news.php?section=sponser&content=131269

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดแสดงปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ [21 ธ.ค.52]
http://www.thairath.co.th/news.php?section=sponser&content=115661

อี-คอมเมิร์ซ ทางเลือกของอนาคต
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=71967&NewsType=2&Template=1

โอทอป VS บลู
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=72023&NewsType=2&Template=1

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=72134&NewsType=2&Template=1

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

ดนตรีปกาเกอญอ บทเพลงชาติพันธุ์

ดนตรีปกาเกอญอ บทเพลงชาติพันธุ์
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEExTURRMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB3TlE9PQ==

มอบรางวัลเชิดชู พลเมืองคนกล้า
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakExTURRMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB3TlE9PQ==

หมอหนุ่มขึ้นดอย ช่วยรักษาชาวเขา
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREExTURRMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB3TlE9PQ==

"เม่นใหญ่"เขาใหญ่ อาคันตุกะยามวิกาล
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOVEExTURRMU1nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB3TlE9PQ==

วันที่ 22 เมษายน-7 พฤษภาคม 2552 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เปิดอบรมภาษาอังกฤษฟรีสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในหัวข้อ Daily life, Memorable Events, My Future Plans, If I Were a Superstar..., When Was U.S.A. Discovered ?, Let"s Talk 1&2, Listen & Talk พร้อมรับประกาศนียบัตร ในระหว่างวันที่ 22 เมษายน-7 พฤษภาคมนี้ สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 เมษายนนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โทร.0-2942-6900-99 ต่อ 3024 ด่วน เพราะรับจำนวนจำกัด

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยสํานักงานคุ้มครองพยาน ศึกษาดูงาน ณ ประเทศออสเตรเลีย/ ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยสํานักงานคุ้มครองพยาน ศึกษาดูงาน ณ ประเทศออสเตรเลีย 14 - 19 กุมภาพันธ์ 2552
http://moj.fabburry.com/download/intro%20-AFP.pdf

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยสํานักงานคุ้มครองพยาน ศึกษาดูงาน ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
http://moj.fabburry.com/download/081229-2.pdf

การสัมมนา ประจำเดือนเมษายน 2552 สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จัดกิจกรรมวิชาการเพื่อเทิดพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา
และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบการสถาปนา 75 ปี
ข่าวการสัมมนาประจำเดือน เมษายน 2552
(ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการสัมมนา)


สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดจัดกิจกรรมบริการความรู้ทางวิชาการเพื่อเทิดพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา ในปี 2552 และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบวันสถาปนา 75 ปี รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนทั่วไป ทุกอาชีพ ไม่จำกัดเพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยกำหนดจัดหัวข้อการสัมมนา ประจำเดือนเมษายน 2552 จำนวน 15 เรื่อง ดังนี้

เรื่อง “เมนูชูสุขภาพ....ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด”
บรรยายโดย : อาจารย์สง่า ดามาพงษ์
วันพุธที่ 1 เมษายน 2552 เวลา 9.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารมูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ ถ.ศรีอยุธยา กทม.
(สำนัก จัดร่วมกับ มูลนิธิ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ)


เรื่อง “ธรรมคลีนิค”
บรรยายโดย : พระอาจารย์อารยะวังโส (สำนัก จัดร่วมกับ มูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ)
วันเสาร์ที่ 4 - อาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2552 เวลา 9.00 -15.00 น.
ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารมูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ ถ.ศรีอยุธยา กทม.


โครงการฝึกอาชีพ เรื่อง “ปาท่องโก๋และสังขยาโซ้ยตี๋”
บรรยายโดย : อาจารย์กิตินา กองอนันตพงษ์
วันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2552 เวลา 9.00-13.00 น.
ณ บริเวณลานโรงอาหาร 60 ปี (ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา) อาคารอเนกประสงค์ 2 มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.
(เรื่อง “ปาท่องโก๋และสังขยาโซ้ยตี๋” )


“โครงการพัฒนาผู้นำเยาวชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อม” รุ่นที่ 2
วันพุธที่ 22 เมษายน 2552 เวลา 9.00 – 17.00 น.
ณ ห้อง C 5 ชั้น 5 ห้อง 513 อาคารวิทยาลัยนวัตกรรม มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.
วันพฤหัสบดีที่ 23 – เสาร์ที่ 25 เมษายน 2552
ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา


เรื่อง “โรคที่มากับฤดูร้อน”
บรรยายโดย : รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กัมมาล กุมาร ปาวา
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2552 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ชุมชนอิสลาม เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี (สำนัก จัดร่วมกับ เทศบาลเมืองท่าโขลง)


เรื่อง “ธรรมคลีนิค”
บรรยายโดย : พระอาจารย์อารยะวังโส (สำนัก จัดร่วมกับ มูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ)
วันเสาร์ที่ 25 - อาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552 เวลา 9.00-15.00 น.
ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารมูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ ถ .ศรีอยุธยา กทม.


เรื่อง “บอกเล่าเรื่องลาว” (สำนัก จัดร่วมกับ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ นาคะประทีป)
วิทยากร : อาจารย์สุชาติ สวัสดิ์ศรี, อาจารย์ดวง เดือน บุนยาวง , อาจารย์ทรงกลด บางยี่ขัน ,
อาจารย์ศรัณย์ บุญประเสริฐ, อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ และ อาจารย์นิรมล เมธีสุวกุล
วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 เวลา 13.00-19.00 น.
ณ ห้องประชุม ประภาศน์ อวยชัย ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ 1 มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.


เรื่อง “การพัฒนาและบริหารชีวิต ด้วยวิถีธรรมชาติ” รุ่นที่ 1
(สำนัก จัดร่วมกับ สมาคมเสริมศึกษาสัมพันธ์ธรรมศาสตร์ และ ชมรมหยดน้ำ)
วันเสาร์ที่ 25 - อาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552 เวลา 9.00 - 20.00 น.
ณ เวลเนสโฮม รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สอบถามรายละเอียดได้ที่ :
คุณดรุณี ติรณสวัสดิ์ โทร. 02-6205058
หรือ คุณกิติพร หวังลาวัลย์ โทร. 02-6818413


เรื่อง “ฝึกลมปราณเพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 4/52
บรรยายโดย : อาจารย์ศุภกิจ นิมมานนรเทพ
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุม ประภาศน์ อวยชัย ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ 1 มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.


เรื่อง “ศิลปวัฒนธรรมไทย : ชมวัด ไหว้พระ ฟังธรรม” ครั้งที่ 28 ณ วัดสามพระยา
(ผู้เข้ารับการสัมมนาพบกัน ณ ตึกพักสงฆ์ (โรงครัว)
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ วัดสามพระยา เขตพระนคร กทม.


เรื่อง “ความรู้ด้านสุขภาพ”
บรรยายโดย : คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2552 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้อง C5 ชั้น 5 ห้อง 513 อาคารวิทยาลัยนวัตกรรม มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.


เรื่อง “ความรู้ด้านสุขภาพ”
บรรยายโดย : คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2552 เวลา 13.00 – 15.00 น.
ณ ห้อง C5 ชั้น 5 ห้อง 513 อาคารวิทยาลัยนวัตกรรม มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.


เรื่อง “การตรวจสอบอาคารตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของทุกคน”
บรรยายโดย : ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์
วันพุธที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม ประภาศน์ อวยชัย ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ 1 มธ. ท่าพระจันทร์ กทม.


เรื่อง “หลักประกันการมีสุขภาพดีตามวิถีแบบไทย ๆ”
บรรยายโดย : ผศ.ดร.เกษร สำเภาทอง
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2552 เวลา 9.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารมูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ ถ .ศรีอยุธยา กทม.
(สำนัก จัดร่วมกับ มูลนิธิ รพ. ธรรมศาสตร์ฯ)


เรื่อง “ความรุนแรงในสังคมไทย”
บรรยายโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท รุจิวิชชญ์
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2552 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองท่าโขลง ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี
(สำนัก จัดร่วมกับ เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี)
ผู้สนใจขอรับแผ่นข่าวการสัมมนา และขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 5 ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ
โทร. 02-6133820-5, 02-2264396
www.icess.tu.ac.th

สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอเชิญรับฟังสาระน่ารู้
ได้ที่
- รายการ “สาระน่ารู้กับเสริมศึกษา” ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ A.M.981 khz.
ทุกวันพุธ เวลา 20.00 - 20.30 น.
- รายการ “เสริมศึกษาธรรมศาสตร์” ทางสถานีวิทยุ F.M.108 Mhz.
ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 13.00 – 14.00 น.

วันที่ 8 เมษายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ ร.พ.ธรรมศาสตร์ฯ

ร.พ.ธรรมศาสตร์ฯ คิดดีทำดี จัดโครงการสุขภาพตาดีในผู้สูงอายุ
ฉลอง 75 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บริการตรวจตาเบื้องต้นฟรี..! 75 ราย



ร.พ.ธรรมศาสตร์ฯ คิดดีทำดี จัดโครงการสุขภาพตาดีในผู้สูงอายุ ฉลอง 75 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริการตรวจตา เบื้องต้นฟรี..! 75 ราย รศ.นพ.ศุภชัย ฐิติอาชากุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แจ้งว่า คณะกรรมการการ พัฒนาคุณภาพบริการจักษุ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กำหนดจัด “โครงการสุขภาพตาดีในผู้สูงอายุ ฉลอง 75 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
ในวันที่ 8 เมษายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30-12.00 น.
ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์

โดยในปัจจุบันนี้พบว่า ยังมีโรคตาหลายชนิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดูแลหรือปฏิบัติต่อตาอย่างไม่ถูกต้อง และโรคตายังมีอีกหลายชนิด ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ ซึ่งหากเป็นโรคตาแล้วผู้ป่วยต้องใช้เวลาดูแลและมีภาระค่าใช้จ่าย ดังนั้นโครงการดังกล่าว จึงมีวัตถุประสงค์ ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตาในผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญ ของการดูแลสุขภาพตา ซึ่งคาดว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพตาได้อย่างถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาได้ สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคทางตา และการบรรยายวิชาการความรู้เกี่ยวกับโรคทางตา

วิทยากรโดย...อ.นพ.กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล และ ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการยังจะได้รับการตรวจตาเบื้องต้น จำนวน 75 รายอีกด้วย

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จึงขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวตามวันเวลาที่กำหนด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณรุ้งจิราโทร. 0-2926-9957

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552 เวลา 9.00-16.00น ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การผึกอบรมเชิงปฏิบัติการทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง
ไบโอดีเซลสำหรับประชาชน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนเข้าใจคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำมันไบโอดีเซล และยอมรับการนำ
น้ำมันไบโอดีเซลมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม
หลักการ และเหตุผล
เนื่องจากในปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นเข้าสู่สภาวะวิกฤติ รัฐบาลจึงมี
นโยบายให้นำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ไบโอดีเซลเป็นแหล่งพลังงานหนึ่งที่
รัฐบาลสนับสนุนให้นำมาทดแทนน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม โดยในปัจจุบันได้นำน้ำมันไบโอดีเซล
มาผสมกับน้ำมันดีเซลในอัตราส่วน 5% เรียกว่า B5 และพบว่ามีแนวโน้มที่จะผสมสัดส่วนของ
น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น
วันเวลา และสภานที่ในการฝึกอบรม
วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552 9.00-16.00น ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวนผู้เข้าอบรมที่สามารถรับได้ 20 ท่าน
ค่าลงทะเบียน ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
กำหนดการ
8.30-9.00 ลงทะเบียนรับเอกสารประกอบการอบรม
9.00-9.10 พิธีการเปิดการอบรม
9.10-9.50 พลังงานทดแทนในปัจจุบัน
9.50-10.00 พักรับประทานอาหารว่าง
10.00-11.00 ไบโอดีเซล และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ
11.00-12.00 ปฏิบัติการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 ปฏิบัติการทดสอบน้ำมันไบโอดีเซล
14.30-14.40 พักรับประทานอาหารว่าง
14.40-16.00 ปฏิบัติการทดสอบน้ำมันไบโอดีเซล (ต่อ)
16.00-16.30 ตอบคำถามข้อสงสัย และประเมินผล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ดร.ชนาธิป สามารถ, ดร.วราวุธ ติยพงศ์พัฒนา 02-5644440 ต่อ 2418
แบบลงทะเบียน
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซลสำหรับประชาชน
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่ง
สถานที่ทำงาน
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน โทรสาร
โทรศัพท์มือถือ
อีเมลล์
ต้องการให้จองที่พัก (หัองพักภายในมหาวิทยาลัย)
ต้องการ ไม่ต้องการ
จำนวนห้อง ห้อง ระยะเวลา คืน
รับจำนวนจำกัดเพียง 20 คนเท่านั้น กรุณาแฟกซ์แบบลงทะเบียนมาที่หมายเลข
โทรศัพท์ 02-5644483 หรือโทรแจ้งมาที่หมายเลข 02-5644440 ต่อ 2418 อ.ดร.
ชนาธิป สามารถ หรือ อ.ดร.วราวุธ ติยพงศ์พัฒนา หมดเขตลงทะเบียน 30
เมษายน 2552
แจ้งผลการตอบรับให้เข้าร่วมฝึกอบรมภายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2552

วันอังคารที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ อาคารสถาบัน ๓ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ

จุฬาฯจัดเสวนา “ภัยแล้ง โลกร้อน มหันตภัยใกล้ตัว”

ข่าวลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการเรื่อง“ภัยแล้ง โลกร้อน มหันตภัยใกล้ตัว” ในวันอังคารที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ อาคารสถาบัน ๓ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเพื่อเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น โดยมีการบรรยายในหัวข้อต่างๆได้แก่ “ภัยแล้ง โลกร้อน มหันตภัยใกล้ตัว” โดย ดร.แสงจันทร์ ลิ้มจิรกาล ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาสิ่งแวดล้อม การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาฯ “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ” โดย ดร.สมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา “ผลกระทบจากภัยแล้งด้านผลผลิตทางการเกษตรและแนวทางแก้ไข” โดย นางลาวัลย์ จิระพงษ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “การวางแผนเพื่อลดผลกระทบและ การป้องกันภัยพิบัติจากสภาวะโลกร้อน” โดย นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทย

ผู้สนใจเข้าร่วมการเสวนาฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ โทร. ๐-๒๒๑๘-๘๑๓๕