'ปฏิทินสงกรานต์' ร้อยเรื่องราวปีใหม่ไทย
สงกรานต์ เทศกาลที่มีสีสันความหมายถ่ายทอดประเพณีไทยงดงามมีสายน้ำชุ่มฉ่ำชื่นใจเป็นสื่อเชื่อมสานสัมพันธไมตรีแสดงความเคารพ ความกตัญญู ความเอื้ออาทร
วันสงกรานต์ ยังเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ มีมาแต่ครั้งโบราณ ช่วงเวลานี้นอกจากจะได้เห็นบรรยากาศการเดินทางกลับบ้านของคนไกลครอบครัวคืนถิ่นฐาน เยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่อยู่พร้อมหน้ากันในบรรยากาศครอบครัวแล้ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่แบบไทย ๆ ยังเป็นอีกโอกาส อันดี ใช้ฤกษ์งามยามดีนี้เริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีงาม
ย้อนถึงการนับวันขึ้นปีใหม่แบบสากลที่กำหนดวันแรกเริ่มต้นเดือนมกราคมเป็นวันขึ้น ปีใหม่ แต่ในครั้งโบราณนั้นกล่าวกันว่าการนับวันขึ้นปีใหม่ของแต่ละชาติจะกำหนดขึ้นตามแต่ความนิยมและความคิดเห็นของชาตินั้น ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นวันเดียวกันเหมือนกับในปัจจุบัน
ส่วนการ นับวันขึ้นปีใหม่ของไทย จากหนังสือวันสำคัญฯ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งเคยเผยแพร่ไว้กล่าวถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทยโดยที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง เริ่มแรกถือ วันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เหมือนกับหลายชาติที่ถือฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ทั้งนี้ด้วยเพราะคนสมัยก่อนเห็นว่า ฤดูหนาวเป็นช่วงผ่านพ้นจากฤดูฝนอันมืดครึ้ม สว่างเหมือนเวลาเช้า
ส่วนฤดูร้อนเป็นช่วงที่สว่างเหมือนเวลากลางวัน และฤดูฝนเป็นเวลามืดหม่นคล้ายกลาง คืนจึงนับฤดูหนาวซึ่งมักตรงกับเดือนอ้ายซึ่งสว่างเหมือนเวลาเช้าเป็นต้นปีและนับช่วงฤดูร้อนเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นปลายปีต่อมาได้มีการเปลี่ยน วันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ราวช่วงสงกรานต์ อันเป็นการเปลี่ยนตามคติพราหมณ์ที่นับวันตามจันทรคติ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ จากนั้นต่อมาในสมัย
รัชกาลที่ 5 เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น วันที่ 1 เมษายน อันเป็นการนับวันทางสุริยคติซึ่งประกาศใช้มานับแต่ปี พ.ศ. 2432 ต่อจากนั้นมาในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นไปตามแบบสากลนิยมกำหนดคือ วันที่ 1 มกราคม
ในวันสงกรานต์ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมา อย่างที่กล่าวสมัยโบราณถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่เป็นการเริ่มต้นปีของไทย การจะได้ล่วงรู้ถึง วัน เดือน ปีขณะที่ปฏิทินมีความหมายความสำคัญและจากที่ปฏิทินมีปรากฏหลากหลายรูปแบบ ปฏิทินสงกรานต์ เป็นปฏิทินอีกรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ถ่ายทอดความเป็นไทยวิถีวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์งดงาม ยุทธพงษ์ เรืองหิรัญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสินและหนึ่งในผู้ วาดภาพปฏิทินสงกรานต์ธนาคารออมสินซึ่งเผยแพร่สืบรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์มายาวนาน ให้ความรู้ปฏิทินไทย การสร้างสรรค์ปฏิทินสงกรานต์ว่า
ปฏิทินหลากหลายรูปแบบที่ปรากฏ การพิมพ์ปฏิทินของไทยจากที่มีหลักฐานกล่าวว่ามีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยเรียกว่า ประนินทิน แต่ครั้งนั้นปฏิทินไม่ได้บอก วัน เดือน ปีแต่เป็นปฏิทินที่บอกโมงและทุ่ม วันข้างขึ้น ข้างแรมของแต่ละเดือน
ต่อมาภายหลังได้มีปฏิทินที่บอกวัน เดือน ปี ใน หนังสือพิมพ์มิวเซียม ซึ่งผู้ ที่ทำปฏิทินคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยพระ องค์ทรงคิดวิธีปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติกาลทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและโปรดให้ใช้เป็นประเพณีของบ้านเมือง นอกจากนี้โปรดให้พิมพ์ปฏิทินแบบใหม่แจก ในวันสงกรานต์ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นของปฏิทินไทย
ปฏิทินปีขาล ปี พ.ศ. 2493 เป็นปฏิทินสงกรานต์ของทางธนาคารออมสินที่ค้นพบ ปฏิทินภาพนี้เป็นของสมาคมโหรแห่งประเทศไทยซึ่งมีธนาคารออมสิน สำนักแพทย์โยคีสถานเป็นผู้อุปถัมภ์ ซึ่งจากจุดนี้เป็นแนวคิดให้กับธนาคารได้จัดทำปฏิทินสงกรานต์ขึ้นต่อเนื่องมา ซึ่งในการจัดทำปฏิทินปีแรกนั้น น่าจะเป็นปี พ.ศ. 2494 โดยมีอาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ซึ่ง ต่อมาได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติได้เขียนภาพปฏิทินเรื่อยมาท่านได้เขียนอยู่ยาวนานกว่ายี่สิบปี กระทั่งเกษียณ จากนั้นบุคลากรกลุ่มงานศิลปกรรมธนาคารได้หมุนเวียนกันสร้างสรรค์
ในขั้นตอนการจัดทำปฏิทินสงกรานต์นั้นจะเริ่มจากการอ่านคำทำนายของโหรจากสำนักพระราชวัง หรือที่เรียกว่า ประกาศสงกรานต์ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของนางสงกรานต์ จากนั้นศิลปินจะนำเนื้อหามา แปลความหมาย สร้างสรรค์เขียนภาพจิตรกรรมไทยด้วยลายเส้นประณีต
“ปฏิทินสงกรานต์จะเขียนตามประกาศสง กรานต์ปีนั้น ๆ จะบอก ปี อย่างปีขาล ปีฉลู นางสงกรานต์ แต่งกาย อย่างไร ทัดดอกไม้อะไร มีเอกลักษณ์อย่างไร ทรงพาหนะอะไร อาวุธเป็นอย่างไร ฯลฯ ภาพในปฏิทินสงกรานต์ศิลปินจะเป็นผู้วางตำแหน่งภาพต่าง ๆ ตามจินตนาการ สร้างภาพอยู่ในกรอบลายไทยที่มีความแตกต่างกันในแต่ละปี
การเขียนจะเป็นไปตามจินตนาการของช่างเขียน ภาพนางสงกรานต์ พาหนะ อากัปกิริยา ฯลฯ องค์รวมในภาพเป็นไปตามจินตนาการของช่างเขียน ขณะที่การให้สีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโทนสีที่ใช้กับภาพซึ่งช่างเขียนจะกำหนดให้มี ความสวยงามตามจินตนาการของศิลปิน ตามสภาพความ เป็นจริง”
ส่วนการกำหนดขนาดของตัวอักษรและการให้สีที่ตัวอักษรข้อความต่าง ๆ จะเน้นความชัดเจน และจากการจัดทำต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันยังคง มุ่งเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย เป็นความภูมิใจที่ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของประเพณีดีงามของไทย
นอกจากวัน เดือน ปีที่ปรากฏในปฏิทินสงกรานต์ ยังบอกถึงวันมงคล วันที่ควรละเว้นทำการมงคล คำพยากรณ์ที่บอก กล่าวถึงนาคให้น้ำบันดาลฝน เกณฑ์ธัญญาหาร ฯลฯ เหล่านี้ ยังมีความหมายถ่ายทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวเนื่องผูกพันกับน้ำ การเกษตรกรรม อ.พลา ดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการอิสระให้ความรู้เพิ่มเติมของปฏิทินไทยว่า ปฏิทินที่มีรูปนางสงกรานต์เป็นปฏิทินที่มีความเป็นไทย มีเอกลักษณ์ที่พร้อมให้ศึกษา ทั้งวิธีการใช้ มีภาพจิตรกรรม ถ่ายทอดเรื่องราวนางสงกรานต์ บอกข้างขึ้น ข้างแรม ฯลฯ อีกทั้งยังแสดงถึงสภาพสังคม อาชีพเกษตรกรรม การดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยทรงคุณค่าที่ไม่ควรละทิ้ง
จากปัจจุบันปฏิทินมีพัฒนาการหลากหลายรูปแบบ ปฏิทินสงกรานต์เป็นอีกปฏิทินที่ไม่เพียงมีความหมายเพียงแค่การบอกบันทึกวัน เดือน ปีให้ได้ล่วงรู้..
หากแต่ยังคงไว้ด้วยเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ถ่ายทอดภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ของไทยให้ประจักษ์.
วันสงกรานต์ ยังเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ มีมาแต่ครั้งโบราณ ช่วงเวลานี้นอกจากจะได้เห็นบรรยากาศการเดินทางกลับบ้านของคนไกลครอบครัวคืนถิ่นฐาน เยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่อยู่พร้อมหน้ากันในบรรยากาศครอบครัวแล้ว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่แบบไทย ๆ ยังเป็นอีกโอกาส อันดี ใช้ฤกษ์งามยามดีนี้เริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีงาม
ย้อนถึงการนับวันขึ้นปีใหม่แบบสากลที่กำหนดวันแรกเริ่มต้นเดือนมกราคมเป็นวันขึ้น ปีใหม่ แต่ในครั้งโบราณนั้นกล่าวกันว่าการนับวันขึ้นปีใหม่ของแต่ละชาติจะกำหนดขึ้นตามแต่ความนิยมและความคิดเห็นของชาตินั้น ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นวันเดียวกันเหมือนกับในปัจจุบัน
ส่วนการ นับวันขึ้นปีใหม่ของไทย จากหนังสือวันสำคัญฯ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งเคยเผยแพร่ไว้กล่าวถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทยโดยที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง เริ่มแรกถือ วันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เหมือนกับหลายชาติที่ถือฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ทั้งนี้ด้วยเพราะคนสมัยก่อนเห็นว่า ฤดูหนาวเป็นช่วงผ่านพ้นจากฤดูฝนอันมืดครึ้ม สว่างเหมือนเวลาเช้า
ส่วนฤดูร้อนเป็นช่วงที่สว่างเหมือนเวลากลางวัน และฤดูฝนเป็นเวลามืดหม่นคล้ายกลาง คืนจึงนับฤดูหนาวซึ่งมักตรงกับเดือนอ้ายซึ่งสว่างเหมือนเวลาเช้าเป็นต้นปีและนับช่วงฤดูร้อนเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นปลายปีต่อมาได้มีการเปลี่ยน วันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ราวช่วงสงกรานต์ อันเป็นการเปลี่ยนตามคติพราหมณ์ที่นับวันตามจันทรคติ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ จากนั้นต่อมาในสมัย
รัชกาลที่ 5 เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น วันที่ 1 เมษายน อันเป็นการนับวันทางสุริยคติซึ่งประกาศใช้มานับแต่ปี พ.ศ. 2432 ต่อจากนั้นมาในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นไปตามแบบสากลนิยมกำหนดคือ วันที่ 1 มกราคม
ในวันสงกรานต์ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมา อย่างที่กล่าวสมัยโบราณถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่เป็นการเริ่มต้นปีของไทย การจะได้ล่วงรู้ถึง วัน เดือน ปีขณะที่ปฏิทินมีความหมายความสำคัญและจากที่ปฏิทินมีปรากฏหลากหลายรูปแบบ ปฏิทินสงกรานต์ เป็นปฏิทินอีกรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ถ่ายทอดความเป็นไทยวิถีวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์งดงาม ยุทธพงษ์ เรืองหิรัญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสินและหนึ่งในผู้ วาดภาพปฏิทินสงกรานต์ธนาคารออมสินซึ่งเผยแพร่สืบรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์มายาวนาน ให้ความรู้ปฏิทินไทย การสร้างสรรค์ปฏิทินสงกรานต์ว่า
ปฏิทินหลากหลายรูปแบบที่ปรากฏ การพิมพ์ปฏิทินของไทยจากที่มีหลักฐานกล่าวว่ามีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยเรียกว่า ประนินทิน แต่ครั้งนั้นปฏิทินไม่ได้บอก วัน เดือน ปีแต่เป็นปฏิทินที่บอกโมงและทุ่ม วันข้างขึ้น ข้างแรมของแต่ละเดือน
ต่อมาภายหลังได้มีปฏิทินที่บอกวัน เดือน ปี ใน หนังสือพิมพ์มิวเซียม ซึ่งผู้ ที่ทำปฏิทินคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยพระ องค์ทรงคิดวิธีปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติกาลทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและโปรดให้ใช้เป็นประเพณีของบ้านเมือง นอกจากนี้โปรดให้พิมพ์ปฏิทินแบบใหม่แจก ในวันสงกรานต์ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นของปฏิทินไทย
ปฏิทินปีขาล ปี พ.ศ. 2493 เป็นปฏิทินสงกรานต์ของทางธนาคารออมสินที่ค้นพบ ปฏิทินภาพนี้เป็นของสมาคมโหรแห่งประเทศไทยซึ่งมีธนาคารออมสิน สำนักแพทย์โยคีสถานเป็นผู้อุปถัมภ์ ซึ่งจากจุดนี้เป็นแนวคิดให้กับธนาคารได้จัดทำปฏิทินสงกรานต์ขึ้นต่อเนื่องมา ซึ่งในการจัดทำปฏิทินปีแรกนั้น น่าจะเป็นปี พ.ศ. 2494 โดยมีอาจารย์ประสงค์ ปัทมานุช ซึ่ง ต่อมาได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติได้เขียนภาพปฏิทินเรื่อยมาท่านได้เขียนอยู่ยาวนานกว่ายี่สิบปี กระทั่งเกษียณ จากนั้นบุคลากรกลุ่มงานศิลปกรรมธนาคารได้หมุนเวียนกันสร้างสรรค์
ในขั้นตอนการจัดทำปฏิทินสงกรานต์นั้นจะเริ่มจากการอ่านคำทำนายของโหรจากสำนักพระราชวัง หรือที่เรียกว่า ประกาศสงกรานต์ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของนางสงกรานต์ จากนั้นศิลปินจะนำเนื้อหามา แปลความหมาย สร้างสรรค์เขียนภาพจิตรกรรมไทยด้วยลายเส้นประณีต
“ปฏิทินสงกรานต์จะเขียนตามประกาศสง กรานต์ปีนั้น ๆ จะบอก ปี อย่างปีขาล ปีฉลู นางสงกรานต์ แต่งกาย อย่างไร ทัดดอกไม้อะไร มีเอกลักษณ์อย่างไร ทรงพาหนะอะไร อาวุธเป็นอย่างไร ฯลฯ ภาพในปฏิทินสงกรานต์ศิลปินจะเป็นผู้วางตำแหน่งภาพต่าง ๆ ตามจินตนาการ สร้างภาพอยู่ในกรอบลายไทยที่มีความแตกต่างกันในแต่ละปี
การเขียนจะเป็นไปตามจินตนาการของช่างเขียน ภาพนางสงกรานต์ พาหนะ อากัปกิริยา ฯลฯ องค์รวมในภาพเป็นไปตามจินตนาการของช่างเขียน ขณะที่การให้สีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโทนสีที่ใช้กับภาพซึ่งช่างเขียนจะกำหนดให้มี ความสวยงามตามจินตนาการของศิลปิน ตามสภาพความ เป็นจริง”
ส่วนการกำหนดขนาดของตัวอักษรและการให้สีที่ตัวอักษรข้อความต่าง ๆ จะเน้นความชัดเจน และจากการจัดทำต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันยังคง มุ่งเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย เป็นความภูมิใจที่ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของประเพณีดีงามของไทย
นอกจากวัน เดือน ปีที่ปรากฏในปฏิทินสงกรานต์ ยังบอกถึงวันมงคล วันที่ควรละเว้นทำการมงคล คำพยากรณ์ที่บอก กล่าวถึงนาคให้น้ำบันดาลฝน เกณฑ์ธัญญาหาร ฯลฯ เหล่านี้ ยังมีความหมายถ่ายทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวเนื่องผูกพันกับน้ำ การเกษตรกรรม อ.พลา ดิศัย สิทธิธัญกิจ นักวิชาการอิสระให้ความรู้เพิ่มเติมของปฏิทินไทยว่า ปฏิทินที่มีรูปนางสงกรานต์เป็นปฏิทินที่มีความเป็นไทย มีเอกลักษณ์ที่พร้อมให้ศึกษา ทั้งวิธีการใช้ มีภาพจิตรกรรม ถ่ายทอดเรื่องราวนางสงกรานต์ บอกข้างขึ้น ข้างแรม ฯลฯ อีกทั้งยังแสดงถึงสภาพสังคม อาชีพเกษตรกรรม การดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยทรงคุณค่าที่ไม่ควรละทิ้ง
จากปัจจุบันปฏิทินมีพัฒนาการหลากหลายรูปแบบ ปฏิทินสงกรานต์เป็นอีกปฏิทินที่ไม่เพียงมีความหมายเพียงแค่การบอกบันทึกวัน เดือน ปีให้ได้ล่วงรู้..
หากแต่ยังคงไว้ด้วยเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ถ่ายทอดภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ของไทยให้ประจักษ์.
พงษ์พรรณ บุญเลิศ
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=196197&NewsType=1&Template=1
'ปฏิทินสงกรานต์' ร้อยเรื่องราวปีใหม่ไทย
|
Rediscover Hotmail®: Get e-mail storage that grows with you. Check it out.