วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน //หวัดมรณะ สายพันธุ์ใหม่ จากเม็กซิโก



--- On Thu, 4/30/09, JeaB <kwanruthai@dpiap.org> wrote:

From: JeaB <kwanruthai@dpiap.org>
Subject: โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน //หวัดมรณะ สายพันธุ์ใหม่ จากเม็กซิโก
 
Date: Thursday, April 30, 2009, 4:07 AM

 

โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน

สถานการณ์ไวรัสไข้หวัด A/H1N1 ไข้หวัดเม็กซิโก

หวัดมรณะ สายพันธุ์ใหม่ จากเม็กซิโก

     
    
จากข่าวที่ดังไปทั่วโลกที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ กับไข้หวัดมรณะ ที่เกิดในในภูมิภาค ลาตินอเมริกา ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนในประเทศเม็กซิโก  ไปถึง 159 คน และอีก 2 คนในอเมริกา (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 52) ซึ่งพบผู้ติดเชื้อชนิดนี้อีกหลายพันคนในเม็กซิโก ล่าสุดองค์การอนามัยโลก ได้เพิ่มระดับความรุนแรง ของโรคไข้หวัดชนิดนี้เป็นระดับ 4 จาก 6 ระดับ ซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้  ทำให้เกรงกันว่าจะย้อนรอยเหมือนไข้หวัดสเปน ซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายสิบล้านคน หรือไข้หวัดนก ซึ่งได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเจ้าเชื้อไวรัสชนิดนี้กันก่อน


     ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ได้ อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899
   
     เชื้อไวรัสถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาแม้ว่าจะมีกำลังขยายถึง 100 เท่าก็ตาม เชื้อไวรัสต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศอิเลคตรอน ซึ่งมีกำลังขยายตั้งแต่ 5,000 เท่าขึ้นไป จึงจะทำให้มองเห็นได้  เชื้อไวรัสสามารถที่จะแบ่งตัว ขยายจำนวนได้ในเซลล์ของร่างกายคนเรา โดยเซลล์ที่มีเชื้อไวรัสอยู่ อาจถูกทำลายไป หรืออาจถูกรุกราน ทำให้เซลล์นั้นทำงานได้ไม่เหมือนปกติ ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ ได้ อาการและโรคบางชนิดที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาการไอหรือไข้ในเด็กเป็นต้น นอกจากนี้โรคฮิตในปัจจุบันก็คือ โรคเอดส์ก็มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเช่นกัน
     โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาโดยเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นโรคบางโรคที่ทำให้เกิดอาการไม่ร้ายแรง ก็อาจหายไปได้เอง เพียงแต่รักษาตามอาการที่มีอยู่ มีการพักผ่อนที่เพียงพอ แต่โรคบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ ก็ยาวที่จะทำให้หายไปได้ เพราะยังไม่มียาที่จะไปฆ่าเชื้อไวรัสเหล่านั้นได้(ข้อมูลจาก http://www.bangkokhealth.com )

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A, B และ C

1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A ก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์หลายชนิด เช่น ม้า สุกร นก ไก่ เป็นต้น โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบในมนุษย์มีสาเหตุเกิดจาก type A ประมาณร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกด้วย ที่สำคัญ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A มีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสไปจากเดิมมากจนกระทั่งเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นอยู่เรื่อยๆ

2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบรองลงมาจาก type A ก่อการติดเชื้อเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น มักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B มีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินเช่นกัน แต่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากพอที่จะจัดเป็นสายพันธุ์ใหม่

3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด C พบว่ามีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์และสุกร แต่ไม่ค่อยมีความสำคัญ มนุษย์ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการอย่างอ่อน คุณสมบัติของไวรัสชนิดนี้ค่อนข้างแตกต่างไปจาก type A และ B

แอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่

1. ฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin, H) ทำหน้าที่ในการจับกับโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ โปรตีนตัวรับพบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจ และพบบนผิวเม็ดเลือดแดงด้วย ฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอและสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม ซึ่งคุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง 15 subtypes พบได้ในนก แต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypes คือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆ มีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำ และปลาวาฬ ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B และ C ยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype

2. นิวรามินิเดส (neuraminidase, N) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวรับบนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์ เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วย ทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับไวรัสไว้ ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้น ไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุกเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไป ในปัจจุบันนี้ นิวรามินิเดสของเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 9 subtypes ด้วยกัน คือจาก N1, N2, N3... N9 โดยเชื้อที่พบในมนุษย์เป็น N1 และ N2 ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B และ C ยังไม่มีการแบ่งนิวรามินิเดสออกเป็น subtype
 
ลักษณะของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

1. มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม หรือเป็นสายยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 นาโนเมตร แต่พวกที่เป็นสายยาวอาจมีความยาวหลายไมโครเมตร

2. สายพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยวมี polarity เป็นลบ และแยกเป็นชิ้น โดย types A และ B มี 8 ชิ้น ส่วน type C มี 7 ชิ้น

3. ชั้นนอกของไวรัสเป็นเปลือกหุ้ม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไขมัน และไกลโคโปรตีน บนเปลือกหุ้ม มี spikes สองชนิดคือฮีแมกกลูตินิน ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่ง และนิวรามินิเดส ซึ่งมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด spikes 2 ชนิด รวมกันมีจำนวนประมาณ 500 ก้าน จำนวนของ H : N มีอัตราส่วนประมาณ 4-5: 1

4. ไวรัสไข้หวัดใหญ่มี transcription และ genome replication เกิดขึ้นในนิวเคลียส ซึ่งแตกต่างจาก RNA viruses ทั่วไป ที่มีการเพิ่มจำนวนในไซโตพลาสซึมเท่านั้น

5. ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ไม่ทนต่อความแห้ง ถูกทำลายได้ง่ายโดยน้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งเป็นสารเคมีชนิดต่างๆ ที่ใช้กันแอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

6. เชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ได้นานในสิ่งขับถ่าย และสิ่งคัดหลั่ง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย และเสมหะ

7. สามารถเปลี่ยนแปลงแอนติเจนได้ง่าย โดยการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย หรือมีการเปลี่ยนยีนในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2 subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้ และเป็นสาเหตุที่ก่อระบาดวิทยาใหญ่ทั่วโลกบ่อยกว่าไวรัสอื่น

การเปลี่ยนแปลงแอนติเจน

1. เนื่องจากไวรัสมีจีโนมเป็น RNA และเป็นท่อน และมีการติดเชื้อในสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก ม้า และสุกร เป็นต้น จึงทำให้จีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุรรมได้ค่อนข้างบ่อย การเปลี่ยนแปลงจีโนมทำให้แอนติเจนซึ่งเป็นผลผลิตของยีนเปลี่ยนแปลงไปด้วย

2. antigenic shift พบเฉพาะในไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A เท่านั้น เกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortment คือ การที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2 ฃนิด ซึ่งเป็น type A เหมือนกับมีการติดเชื้อในเซลล์เดียวกัน ในขั้นตอน self assembly เพื่อประกอบขึ้นเป็นอนุภาค อาจมีการนำชิ้นจีโนมบางชิ้นของไวรัสชนิดนึ่งใส่เข้าไปในอนุภาคของไวรัสอีกชนิดหนึ่ง จึงได้อนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งมีแอนติเจนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการเปลียน subtype ของ H และหรือ N ก็ได้ และเนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดใหม่ เชื้อจึงทำให้เกิดการระบาดใหญ่ขึ้น

3. การระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัสไข้หวัดใหญ่ผ่านมาแล้วหลายครั้ง เกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อมี antigenic shift ดังกล่าว ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบใน species ต่างๆ ในปัจจุบันเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ของนกน้ำ

4. antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย พบได้ในไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุก type แต่ไม่มากพอที่จะเป็น H และ N subtypes ใหม่ การเปลี่ยนแปลงชนิด antigenic drift อาจทำให้เกิดการระบาดได้ในวงไม่กว้างนัก

5. กลไกในการเกิด antigenic drift เชื่อว่าเกิดจากขบวนการ point mutation ภายในจีโนม เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีเอนไซม์ RNA polymerase ซึ่งไม่มี proof reading activity ความผิดพลาดในการ replicate จีโนมพบได้ในอัตรา 1/10*4 bases ในแต่ละ replication cycle จากอัตราส่วนนี้จะพบว่ามีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมากมาย เพียงแต่บางอนุภาคเท่านั้นที่จะเพิ่มจำนวนได้ต่อไป
วงจรการติดต่อข้ามชนิดสัตว์

1. ตามปกติเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกจะพบ H1-H15 และ N1-9 ซึ่ง H และ N สามารถจับคู่ผสมกัน แต่ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในกลุ่มของ H5 และ H7

2. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกรพบอยู่ในกลุ่มของ H1N1, H1N2 และ H3N2

3. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในกลุ่ม H1N1, H2N2 และ H3N2

4. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้ามไปมาระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ โดยปรากฎสมมติฐานการติดต่อจากนกน้ำชนิดต่างๆ มายังเป็นหรือไก่ ผ่านสุกรที่เป็นตัวกลางผสมผสานไวรัสก่อนที่มาติดต่อถึงมนุษย์

5. โดยปกติในเซลล์ของมนุษย์จะไม่ปรากฏโมเลกุลตัวรับไวรัสที่มาจากสัตว์ปีก ส่วนในสุกรจะมีตัวรับไวรัสทั้งมนุษย์ และสัตว์ปีก ตามธรรมชาติของไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้ซึ่งมีองค์ประกอบของสารพันธุกรรมซึ่งเป็น 8 ชิ้นส่วน แต่ละชิ้นส่วนเป็นรหัสควบคุมการสร้างโครงสร้างต่างๆ ของไวรัส รวมทั้ง H และ N ซึ่งมีความหลากหลาย

6. สุกรจึงมีโอกาสรับเชื้อไวรัสจาก 2 แหล่งคือจากสัตว์ปีก และมนุษย์ซึ่งจะเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เดียวกัน<%2