|
| | ของสำคัญ 3 สิ่งของชาวชุมชนกุฎีจีน "…กุฎีจีน หรือ กะดีจีน เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนที่อาศัยอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับปากคลองตลาด ซึ่งมี "ศาลเจ้าเกียนอันเกง" เป็นที่เคารพสักการะของคนในชุมชนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของชุมชนกุฎีจีนแห่งนี้ยังมีเรื่องให้เล่าขานอีกมากมาย โดยเฉพาะสัมพันธภาพภายใต้ความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของคนในชุมชนที่ประกอบไปด้วยชาวจีน อินเดีย และยุโรป ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์มาเป็นเวลากว่า 200 ปี..."
"กุฎีจีน" เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี บรรพบุรุษของชาวกุฎีจีนประกอบไปด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา ทั้งชาวคริสต์ที่อพยพตาม "บาทหลวงยาโกเบ กอรร์ (Jacgues Corrre)" มาจากเขมร ชาวคริสต์เชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพตาม "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" มาจากกรุงศรีอยุธยา และชาวจีนจากกรุงศรีอยุธยาที่อพยพมาในยุคแรกของการสร้างกรุงธนบุรี ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนมาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือคลองกุฎีจีนใกล้วัดกัลยาณมิตร ส่วนชาวคริสต์และชาวโปรตุเกสตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ทางตอนใต้ลงมา
สำหรับสาเหตุที่เรียกชุมชนนี้ว่า "กุฎีจีน" นั้น "สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ทรงวินิจฉัยว่า "...กุฎีจีน น่าจะหมายถึงศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมคลองกุฎีจีน ซึ่งชาวจีนที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมสร้างไว้ตั้งแต่ก่อนขุดคลองลัดบางกอก คือก่อนสมัยพระไชยราชา บริเวณที่ตั้งศาลเจ้านี้เดิมเป็นส่วนแหลมที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเลี้ยวไปทางคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมีศาลเจ้าจีนมาตั้งอยู่ตรงปลายแหลมจึงเป็นจุดสังเกต และกลายเป็นนามที่ชาวบ้านใช้เรียกบริเวณนี้ติดปากว่า กุฎีจีน..."
ปัจจุบันศาลเจ้าจีนแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยยังคงลักษณะสถาปัตยกรรมจีนโบราณ ภายในประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนในแถบนั้นมาก ศาลเจ้าแห่งนี้เรียกกันว่า "ศาลเจ้าเกียงอันเกง" และสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของคำว่า "กุฎีจีน"
ส่วนชาวคริสต์นั้น บาทหลวงยาโกเบ กอรร์ แม้เป็นชาวฝรั่งเศสแต่ก็ถือเป็นผู้นำชาวคริสต์และชาวโปรตุเกสในขณะนั้น ได้ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ สร้างบ้านเรือนขึ้นในชุมชนของชาวโปรตุเกส และได้สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2313 เรียกกันว่า "วัดซางตาครูส" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดกุฎีจีน" นับเป็นโบสถ์คริสต์เก่าแก่ที่สุดในย่านฝั่งธนบุรี และถือเป็นวัดในคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในฝั่งธนบุรีด้วย
วัดแห่งนี้ภายหลังได้รับการบูรณะใหม่อย่างใหญ่โต สวยงาม ตัวโบสถ์มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกผสมกับเรเนอซองส์ มีจุดเด่นที่หอคอยของอาคารซึ่งเป็นรูปโดม มีลักษณะเหมือนกับพระที่นั่งอนันตสมาคม ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาม กระจกบนโดมเป็นกระจกสี เขียนเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญในคริสต์ศาสนา
ในชุมชนนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ขนมฝรั่งกุฎีจีน" ซึ่งเป็นขนมเก่าแก่กว่า 200 ปี เจ้าของต้นตำรับเดิมเป็นชาวโปรตุเกสที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนกุฎีจีนนี้ แล้วทำขายจนเป็นที่แพร่หลาย แต่ปัจจุบันนี้เหลือครอบครัวที่ยังทำขนมฝรั่งกุฎีจีนนี้อยู่เพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น
ปัจจุบันชุมชนกุฎีจีนอยู่ในสภาพค่อนข้างแออัด เนื่องจากมีถนนตัดผ่าน ทำให้เกิดความจอแจวุ่นวาย ภาพชุมชนอันสงบเงียบและมีวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างหลายเชื้อชาติได้อย่างกลมเกลียว จึงค่อยๆ สูญสลายลง กลายเป็นความพลุกพล่านไม่ต่างไปจากชุมชนอื่นๆ ในสังคมยุคใหม่เท่าใดนัก
| ชุมชนกุฎีจีน ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 | | วัดซางตาครู้ส : 0-2466-0347, 0-2472-0153-4 | | วัดซางตาครู้ส : 0-2465-0930 | | วัดซางตาครู้ส : เวลา 17.00 - 19.00 น. | | สาย 3, 4, 7, 7ก, 9, 10, 19, 21, 37, 40, 42, 56, 82, 85, ปอ.3, 4, 7, 21, 82 | | - เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าราชินี - เรือโดยสารข้ามฟาก : ท่าปากคลองตลาด - วัดกัลยาณ์ | | บริเวณภายในวัด | | สามารถถ่ายรูปได้ | | กุฎีเจริญพาศน์, ป้อมวิชัยประสิทธ,ิ์ พระราชวังเดิม, มัสยิดบางหลวง, วัดกัลยาณมิตร, สะพานเจริญพาศน์, สะพานพุทธ, สะพานพระปกเกล้า, วัดประยุรวงศาวาส, โรงเรียนศึกษานารี, วัดบุปผาราม, วงเวียนเล็ก
| | คลิกดูแผนที่ตั้งของชุมชนกุฎีจีน
| | | | | |
https://www.myfirstbrain.com/AroundTheCity_View.aspx?Id=47739
Insert movie times and more without leaving Hotmail®.
See how.