วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กลิ่นหอมของดอกไม้กำลังจะจางหายไป

กลิ่นหอมของดอกไม้กำลังจะจางหายไป
 
อะไร ? เป็นปัจจัยที่ทำให้กลิ่นหอมของดอกไม้จางหายไป

นอกจากการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัสแล้ว "กลิ่น" นับว่า มีบทบาทอย่างมากต่อการรับรู้ของเรา กลิ่นหอมเป็นสิ่งที่ทุกคนชอบและกลิ่นเหม็นเป็นสิ่งที่คนไม่ชอบ ปกติแล้วโมเลกุลของกลิ่นนั้นแพร่กระจายได้ง่ายๆ ในอากาศ แต่นักชีวเคมีชี้แจงว่า มลภาวะทางอากาศสกัดกั้นระยะการแพร่ของกลิ่นดอกไม้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า กลิ่นเหล่านี้ทำให้การดึงดูดผึ้งและสัตว์ช่วยผสมเกสรอื่นๆ ทำงานในระยะทางที่น้อยลงถึง 1 ใน 3 ทีเดียว ดังนั้นหากเราต้องการรับกลิ่นหอมให้ได้ระยะไกลๆ ไปนานๆ จึงต้องช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

ทำไมเราจึงได้กลิ่น - กลิ่นนั้นเป็นสัญญาณที่ตอบสนองจากสารเคมีผสมในอากาศรอบๆ ตัวเรา ที่เรารับได้ผ่านตัวรับที่อยู่ในเซลล์ (olfactory cell) ในจมูกของเรา ตัวรับที่ไม่เหมือนกันจะตรวจจับองค์ประกอบของเคมีได้ต่างกันทำให้การรับกลิ่นนั้นต่างกัน ตัวรับเหล่านี้เกิดจากยีนที่แตกต่างกันจำนวนหนึ่งพันยีนหรือเกือบร้อยละ 3 ของยีนทั้งหมด

สิ่งที่จมูกสัมผัสได้ - บางครั้งรสชาติอาหารก็เพิ่มขึ้นได้เพราะกลิ่น ดังนั้นเมื่อเราเป็นหวัดเราจึงรู้สึกว่า อาหารนั้นมีรสชาติเปลี่ยนไป เซลล์ตัวรับประสาทสัมผัสในจมูกสามารถตรวจจับกลิ่นที่เข้าไปในร่างกายของเราโดยอากาศได้ และส่งสัญญาณไปยังสมองผ่านเส้นประสาทการรับกลิ่น

(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
ส่วนหนึ่งมาจากมลภาวะ
มลภาวะทางอากาศ - เกิดจากก๊าซหลายชนิด ละอองของเหลวและอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ได้ในอากาศ ทำให้อากาศสกปรก วิธีที่เราจะสังเกตอนุภาคที่มีอยู่ในอากาศคือ การหายใจออกในวันที่อากาศหนาวแล้วสังเกตเห็นควันออกมาจากปาก สิ่งเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในอากาศเหมือนกันกล่าวคือ ในบางสภาวะโมเลกุลอิสระจะเกิดการรวมตัวกันและเกิดเป็นอนุภาค ในตัวเมืองมลภาวะอาจเกิดจากรถยนต์ รถเมล์ เครื่องบิน โรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง

ศาสตราจารย์ Jose Fuentes นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศจากมหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียบอกว่าเมื่อเราเดินเข้าไปในสวนดอกไม้ สิ่งที่เราอยากได้ก็คือดมกลิ่นหอมหวานของดอกไม้เหล่านั้น แต่ตอนนี้กลับพบว่า มีบางอย่างที่สกัดกั้นกลิ่มหอมนั้น มลภาวะและไอระเหยจากรถยนต์และโรงงานสร้างมลพิษให้เกิดในอากาศ ซึ่งอาจทำลายกลิ่นหอมของดอกไม้ได้ กลิ่นหอมของดอกไม้เดินทางไปได้ไกลเพียง 1 ใน 3 ของระยะทางเดิมเท่านั้น ดอกไม้สร้างกลิ่นที่มีโมเลกุลที่เหมาะสมกับการโชยไปในอากาศ แต่มลภาวะก็ทำให้โมเลกุลของกลิ่นแตกออกและทำลายกลิ่น สำหรับมนุษย์แล้วจะไม่ได้กลิ่นหอมของดอกไม้แต่สำหรับผึ้งแล้วบางทีมันก็ได้กลิ่นแต่บางทีก็ไม่ได้กลิ่น สัตว์ที่ช่วยผสมเกสรใช้เวลาในการหาอาหารมากขึ้นแต่กลับใช้เวลาเก็บอาหารน้อยลง

กลิ่นของดอกไม้ที่หายไปนั้นมีผลอย่างมากต่อประชากรผึ้ง และประชากรดอกไม้ก็อาจจะลดลงเนื่องจากพืชก็ต้องการสัตว์ผสมเกสรในการผสมให้เกิดเป็นดอกไม้ แต่เราก็ช่วยทำให้ประชากรผึ้งและกลิ่นของดอกไม้กลับมาได้ สิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังนั่นเอง...


ที่มาข้อมูล : www.animalpicturegallery.net
www.biotec.or.th
www.britannica.com
www.library.thinkquest.org
 
https://www.myfirstbrain.com/sciEvent.aspx?Id=66812

Insert movie times and more without leaving Hotmail®. See how.