วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สะพานชุดเจริญ คือสะพานข้ามคลองจำนวน 6 สะพาน ในกรุงเทพมหานคร

สะพานชุดเจริญ
สะพานชุดเจริญ คือสะพานข้ามคลองจำนวน 6 สะพาน ในกรุงเทพมหานคร

สะพานชุดเจริญ เป็นสะพานซึ่งนำหน้าชื่อว่า เจริญ เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา มีจำนวน 6 สะพาน โดยใช้คำนำหน้าว่า เจริญ เริ่มตั้งแต่ สะพานเจริญ 31 - 36 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสืบเนื่องพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานชุดเฉลิมในวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี โดยการสร้างสะพานชุดเจริญเริ่มขึ้นครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ขณะทรงเจริญพระชนมพรรษา 31 พรรษา ชื่อ "สะพานเจริญรัช 31"

  • สะพานเจริญรัช 31 เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ส่วนที่เรียกว่า "ปากคลองตลาด" แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร เป็นสะพานคู่กับสะพานเฉลิมสวรรค์ 58 ที่ ปากคลองด้านเหนือ นับเป็นสะพานแรกในสะพานชุด "เจริญ" ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมตัวสะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขอบสะพานทั้งสองข้างเป็นรูปครึ่งวงกลม ลูกกรงสะพานทำด้วยปูนปั้นประดับลวดลายเป็นรูปเสือยืนหันข้างเป็นแถวถือพระขรรค์ หันหน้าเข้าสู่กลางสะพาน ซึ่งประดิษฐานพระนามาภิไธย ย่อ ว.ป.ร. ราวปลายสะพานมีแป้นกลมจารึกเลข 31 ซึ่งเป็นจำนวนพระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ในปีนั้น และเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานเจริญรัช 31 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2454

    สะพานเจริญรัช 31

  • สะพานเจริญราษฎร์ 32 ข้ามคลองมหานาคที่ตำบลมหานาค ที่ซึ่งถนนกรุงเกษมตัดข้ามคลองมหานาคแทนที่สะพานร้อยปี เป็นสะพานที่ 2 ของสะพานชุดเจริญที่สร้างในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา 32 พรรษา ซึ่งสร้างเมื่อสมโภชพระนครครบ 100 ปี เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ปลายสะพานทั้ง 4 มุมประดิษฐ์เป็นรูปนาคราช 5 เศียร แผ่รับแผ่นสัมฤทธิ์จารึกพระปรมาภิไธยย่อ วปร.

  • สะพานเจริญพาศน์ 33 ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ถนนอิสรภาพ เป็นสะพานที่ 3 ของสะพานชุดเจริญที่สร้างในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2456 เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา 33 พรรษา และเป็นสะพานขนาดใหญ่สะพานแรกที่สร้างขึ้นทางฝั่งธนบุรี

  • สะพานเจริญศรี 34 ข้ามคลองคูเมืองเดิม บริเวณวัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นสะพานที่ 4 ของสะพานชุดเจริญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา 34 พรรษา ในพ.ศ.2457 ส่วนลักษณะเด่นของสะพานนี้ คือมีเสา 4 เสาประดิษฐ์เป็นรูปพาน ซึ่งมีฐานเป็นเฟื่องอุบะงดงามมาก ลูกกรงสะพานเป็นปูนหล่อ

    สะพานเจริญศรี 34

  • สะพานเจริญทัศน์ 35 ข้ามคลองวัดสุทัศนเทพวราราม ถนนบำรุงเมือง เป็นสะพานที่ 5 ของสะพานชุดเจริญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา 35 พรรษา สร้างขึ้นแทนที่สะพานเก่าที่ชำรุด เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เสด็จเปิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2458

  • สะพานเจริญสวัสดิ์ 36 ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง สร้างขึ้นแทนที่สะพานสุประดิษฐ์ ซึ่งชำรุดทรุดโทรม และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2459 สะพานเจริญสวัสดิ์ 36 เป็นสะพานชุดเจริญสะพานสุดท้าย สร้างเมื่อ พ.ศ.2459
สะพานเจริญสวัสดิ์ 36

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ขณะนั้นกรุงเทพมหานครมี สะพานจำนวนมากเพียงพอแก่การสัญจรของประชาชนแล้ว จึงควรสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์อื่นๆ แทนสะพาน ใน พ.ศ.2460 โปรดเกล้าฯ ให้นำเงินที่จะสร้างสะพานไปเป็นทุนสร้างโรงพยาบาลที่มณฑลภูเก็ต

และใน พ.ศ.2461 เมื่อกรมสุขาภิบาลกราบบังคมทูลถามเรื่องสร้างสะพานในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยเสนอให้สร้างสะพานที่ถนนสามเสนข้ามคลองบางลำพูแทนสะพานนวรัตนสถานซึ่งเก่าชำรุดมาก และขอพระราชทานนามสะพาน แต่มีพระราชกระแสว่า "นึกจะสร้างของอื่นไม่ใช่สะพาน" การสร้างสะพานชุดเจริญจึงสิ้นสุดลง

อย่างไรก็ตาม ปรากฏในเอกสารกระทรวงนครบาลใน พ.ศ.2460 ว่าสะพานเจริญซึ่งจะได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสำหรับทรงเปิดในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2460 นั้น กรมสุขาภิบาลกราบบังคมทูลเสนอสะพานให้ทรงเลือก โปรดเกล้าฯ ให้เลือกสะพานเก่าในถนนอัษฎางค์มุมวัดราชบพิธ ซึ่งชำรุดทรุดโทรม และพระราชทานนามว่า เจริญวิท แต่ไม่ปรากฏว่ามีการก่อสร้างแต่อย่างใด
https://www.myfirstbrain.com/AroundTheCity_View.aspx?Id=58111


Hotmail® has a new way to see what's up with your friends. Check it out.