| วิทยาลัยนาฏศิลป เดิมมีชื่อว่า " โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2477 นับเป็นสถาบันของชาติแห่งแรกที่ให้การศึกษา ทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลป ขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2478 ทางการมีความประสงค์ที่จะให้วิชาศิลปทางโขน ละคร และดนตรี มารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน จึงได้โอนครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ กับศิลปินประจำราชสำนักของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเครื่องดนตรี เครื่องโขน เครื่องละครของหลวงบางส่วนจากกระทรวงวัง ให้มาสังกัดกรมศิลปากร กรมศิลปากรจึงได้แก้ไขปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
| พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ก่อตั้ง ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2478 ได้มีคำสั่งตั้งโรงเรียนศิลปากร สอนวิชาช่างปั้น ช่างเขียน และช่างรักขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร และให้โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ไปรวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียน ศิลปากร เรียกชื่อเฉพาะแผนกนี้ว่า "โรงเรียนศิลปากรแผนกนาฏดุริยางค์" ให้การศึกษาวิชาศิลปทางดนตรี ปี่พาทย์ และละครแต่ยังไม่มีโขน ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2485 ได้ยุบกองโรงเรียนและให้ "แผนกช่าง" ของโรงเรียนศิลปากรไปขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยศิลปากร และโอนกรมศิลปากรไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2485 กรมศิลปากรปรับปรุงกองดุริยางคศิลป์ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองการสังคีต และโอนแผนกนาฏดุริยางค์จากโรงเรียนศิลปากรขึ้นกับกองการสังคีต เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนสังคีตศิลป" ขึ้นอยู่กับแผนกนาฏศิลป แต่เนื่องจากอุปสรรคและสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งราชการได้คืนสถานที่ไปใช้ราชการอย่างอื่น ระหว่าง พ.ศ.2485-2487 การศึกษาของโรงเรียนสังคีตศิลปจึงหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง
พ.ศ.2488 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายกรัฐมนตรีบัญชาให้แก้ไขปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนสังคีตศิลปใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนนาฏศิลป" มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
- เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลปและดุริยางคศิลป์ของทางราชการ
- เพื่อบำรุงรักษาและเผยแพร่นาฏศิลปและดุริยางคศิลป์ประจำชาติไทย
- เพื่อให้ศิลปทางดนตรีและโขน-ละคร ภายในประเทศมีฐานะเป็นที่ยกย่อง
เมื่อเปิดโรงเรียนนาฏศิลป ปี พ.ศ.2488 มีนักเรียนเก่าเหลืออยู่ในโรงเรียนสังคีตศิลป 33 คน เป็นนักเรียนหญิงทั้งสิ้น จึงเปิดรับสมัครนักเรียนชายเข้าฝึกหัดโขน จำนวน 60 คน นับแต่นั้นมา โรงเรียนนาฏศิลปก็ขยายการศึกษาทั้งนาฏดุริยางคศิลป์ไทยและสากล กองการสังคีตมาขึ้นกับกอง ศิลปศึกษา และได้รับการยกฐานะให้เป็น "วิทยาลัยนาฏศิลป" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ. ศ.2515
สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวิทยาลัยนาฏศิลป
พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีจิตกรรมฝาผนังเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ ปัจจุบันเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาของนักเรียน
พระพิฆเนศ เป็นเทพแห่งศิลปศาสตร์ ประดิษฐานยู่บริเวณหน้าตึกอำนวยการ เป็นที่เคารพสักการะของชาวนาฏศิลป
แท่นหินสลัก เป็นฐานรองรับองค์พระพิฆเนศ เดิมคือ บุษบกสำหรับตั้งพระปฐมบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1
| ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 | | 0-2225-0197 | | 0-2224-1391 | | จันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น. | | สาย 3, 9, 15, 30, 32, 33, 53, 59, 64, 65, 80, 91, 203, 506, 507
| | - เรือด่วนเจ้าพระยา : ท่าพระอาทิตย์ - เรือข้ามฟาก : ท่าสะพานพระปิ่นเกล้า | | ภายในวิทยาลัย | | สามารถถ่ายรูปได้เฉพาะภายนอกอาคาร | | ตึกถาวรวัตถุ, พระบรมมหาราชวัง, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร, พิพิธภัณฑ์ฯ ศิลป์ พีระศรี, พิพิธภัณฑ์ฯ หอศิลป, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, โรงละครแห่งชาติ, ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว กทม., สนามหลวง, ถนนพระอาทิตย์, สะพานพระปิ่นเกล้า | | คลิกดูแผนที่ตั้งของวิทยาลัยนาฏศิลป
| | | | | |
ที่มาข้อมูล : ของดีกรุงเทพฯ ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว www.wikipedia.com
| |