วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สะพานช้างโรงสี แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก

สะพานช้างโรงสี
สะพานช้างโรงสี แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก

ในยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น (รัชกาลที่ 5) เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครของเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสร้างเมืองอารยธรรม ให้ใกล้เคียงกับชาติตะวันตก ที่ในขณะนั้นได้ส่งผลกระทบต่อ ดินแดนแถบอุษาคเนย์กันถ้วนทั่ว ดังนั้น ในยุคสมัยดังกล่าวจึงได้มีอาคารต่างๆ ที่ไม่เคยมีใน แผ่นดินสยามเกิดขึ้นมากมาย

เสาปลายราวสะพานมีรูปสุนัข
อันเป็นสัญลักษณ์ของปี
แผนการจัดระบบเมืองส่วนหนึ่ง อันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การคมนาคมของกรุงเทพเปลี่ยนไป นั่นคือการขุดคูคลองรอบกรุง ซึ่งในยุคนั้นกรุงเทพฯ เรามีคลองน้อยใหญ่มากมายจนต่างชาติให้ฉายาว่าเป็น "เวนิสตะวันออก" และ เมื่อมีคูคลองเกิดขึ้น ก็ยอมต้องมีการสร้างสะพานขึ้นตามเพื่อให้สะดวกแก่ประชาชนในการสัญจรตามไปด้วย โดยเฉพาะสะพานตรง กระทรวงมหาดไทยนั้น ก็มีการสร้างสะพานคร่อมคูเมืองเดิม คือ "สะพานช้างโรงสี" (สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม ปลายถนนบำรุงเมืองเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร)

สะพานช้างโรงสีเป็นสะพานช้าง ชื่อสะพานช้างใช้เรียกสะพานที่มีความแข็งแรงมากพอที่ ช้างจะเดินข้ามได้ สะพานช้างโรงสีมีลักษณะเป็นสะพานตอม่อก่อด้วยอิฐ ปูพื้นด้วยไม้ซุงเหลี่ยม เรียกว่า สะพานช้างโรงสี เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวของฉางหลวงสำหรับพระนคร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ (รัชกาลที่ 6) ให้สร้างสะพานช้างโรงสีขึ้นใหม่ เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเสร็จใน พ.ศ.2453 โดยมิได้พระราชทานนามใหม่ เนื่องจากชื่อสะพานช้างโรงสีเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้ว

ที่เสาปลายราวสะพานมีรูปสุนัขอันเป็นสัญลักษณ์ของปีซึ่งเป็นปีนักษัตรของ ร.ศ.129 (พ.ศ.2453) อันเป็นปีที่สร้างเสร็จพร้อมชื่อสะพานติดไว้ สะพานช้างโรงสีได้รับการปรับปรุงในรัชกาลปัจจุบัน โดยรื้อสะพานเดิมออกเพื่อปรับปรุงผิวจราจรบนสะพานใน พ.ศ.2517 - 2518 แต่ยังคงลักษณะเดิมทุกประการ
https://www.myfirstbrain.com/AroundTheCity_View.aspx?Id=58020


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.