วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"รอบียะ กอดีร์" เป้าโจมตีในศึกขัดแย้งอุยกูร์-จีน

“รอบียะ กอดีร์” เป้าโจมตีในศึกขัดแย้งอุยกูร์-จีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2552 16:28 น.
รอบียะ กอดีร์ผู้นำสภาอุยกูร์โลกแถลงข่าวที่สมาคมสื่อแห่งชาติ(National Press Club) กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์(6 ก.ค.) ปฏิเสธคำกล่าวหาของรัฐบาลจีน ที่ระบุว่าเธอเป็นผู้ยุแหย่จลาจลในอูหลู่มู่ฉี เมืองเอกของเขตปกครองตัวเองชนชาติอุยกูร์แห่งซินเจียง-เอเอฟพี
       เอเจนซี--เมื่อไม่นานมานี้ รอบียะ กอดีร์ ได้รับการเชิดชูเป็นสัญลักษณ์ความสำเร็จแห่งยุคจีนสมัยใหม่ เธอเป็นผู้หญิง เป็นชาวมุสลิม เป็นนักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ทั้งมีเกียรติยศตำแหน่งสูงในองค์กรสำคัญของผู้นำคอมมิวนิสต์จีน
       

       แต่ชีวิตเธอกลับพลิกผัน ต้องใช้ชีวิตพลัดถิ่นอาศัยในสหรัฐอเมริกา และกำลังถูกกล่าวหาเป็นผู้ยุแหย่การจลาจลในดินแดนที่ห่างไกลออกไปถึงครึ่งซีกโลก นั่นคือจลาจลที่อูหลู่มู่ฉีเมืองเอกของเขตปกครองตัวเองชนชาติอุยกูร์แห่งซินเจียงเมื่อวันเสาร์(4 ก.ค.) ทำให้ผู้คนต้องสังเวยชีวิต 156 คน
       

       “ขณะที่ฉันอยู่ในประเทศจีน ก็พยายามทำงานในระบบเพื่อเรียกร้องเสรีภาพแก่ชาวอุยกูร์ ฉันพยายามทำดีที่สุด แต่ก็ล้มเหลว” รอบียะ กอดีร์ หญิงนักสู้ชาวอุยกูร์กล่าวผ่านล่าม เล่าถึงความพยายามคลี่คลายปัญหาระหว่างพี่น้องชาวมุสลิมอุยกูร์ของเธอในเขตปกครองตัวเองมณฑลซินเจียงกับรัฐบาลกลางของผู้นำคอมมิวนิสต์จีนในอดีต
       
       ปัจจุบันกอดีร์เป็นประธานสภาอุยกูร์โลก และสมาคมอเมริกัน-อุยกูร์
       

       ความขัดแย้งในซินเจียง หรือซินเกียง ซึ่งเป็นเขตของชนชาติส่วนน้อยมุสลิมเชื้อสายอุยกูร์คล้ายกับความขัดแย้งในเขตปกครองตัวเองชนชาติทิเบต โดยชนชาติส่วนน้อยในท้องถิ่นต้องการอิสระในการดำเนินวิถีชีวิตวัฒนธรรมของตัวเอง มีการเคลื่อนไหว ขณะที่รัฐบาลกลางดำเนินนโยบายที่สร้างไม่พอใจแก่คนท้องถิ่น และมักกล่าวหาพวกเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตลอดจนเชื่อมโยงกับลัทธิก่อการร้าย ทันทีที่เกิดการปะทะจลาจลในท้องถิ่น ทะไล ลามะ ก็ถูกกล่าวหาเป็นผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในทิเบต และในหนนี้ก็เช่นกัน ผู้นำจีนก็ชี้นิ้วกล่าวโทษมาที่รอบียะ กอดีร์ เป็นผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนแห่งซินเจียง และเป็นผู้ยุแหย่จลาจล
       
       กอดีร์เปิดการแถลงข่าวในกรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์(6 ก.ค.) ปฏิเสธคำกล่าวหาของรัฐบาลจีน
       
       สำหรับหลักฐานที่ผู้นำจีนกล่าวหาเธอ สื่อของรัฐจีนระบุว่าประกอบด้วยเครื่องบันทึกเสียงของตำรวจที่ดักฟังโทรศัพท์ของเธอ โดยมีเสียงของเธอพูดว่า “จะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในอูหลู่มู่ฉี
       

       กอดีร์กล่าวในที่ประชุมข่าวว่าเธอรู้ข่าวจากเว็บไซต์หลายแห่งซึ่งเผยว่าชาวอุยกูร์วางแผนการประท้วงที่อูหลู่มู่ฉี และเธอก็โทรศัพท์ไปหาพี่ชาย บอกให้เขาและเพื่อนๆอยู่ห่างๆจากการประท้วง กอดีร์เล่าว่าครอบครัวของเธอมักเป็นเป้าโจมตีเมื่อเกิดการเผชิญหน้าทำนองนี้ขึ้น และขณะนี้ลูกชาย 2 คน ของเธอก็ถูกจำคุกในจีน ดังนั้น เธอจึงกลัวว่าคนในครอบครัวอาจถูกจับกุมตัวอีกในการประท้วง
       
       ชาวอุยกูร์มักเปรียบเทียบปัญหาของตนกับทิเบต แต่ชาวโลกไม่ค่อยรู้ถึงเรื่องราวของพวกเขา เนื่องจากไม่มีผู้นำที่โดดเด่นอย่างทะไล ลามะ ที่คอยเผยแพร่เป้าหมายของกลุ่ม
       
       สำหรับกอดีร์ดูไม่ใช่ปฏิปักษ์ของรัฐบาล ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เธอเป็นสัญลักษณ์ความรุ่งโรจน์ของจีนยุคสมัยใหม่ที่หันมาดำเนินการปฏิรูประบบตลาด ขณะนั้นเธอเป็นนักธุรกิจหญิง เป็นคุณแม่ที่มีลูก 11 คน สร้างเนื้อสร้างตัว ก่อตั้งบริษัทการค้า มีห้างสรรพสินค้าใหญ่ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำในคณะกรรมการปรึกษาการเมืองอันทรงเกียรติของจีน เจ้าหน้าที่รัฐบาลก็มักพาผู้มาเยี่ยมเยือนไปที่ห้างสรรพสินค้าของเธอในอูหลู่มู่ฉี เพื่อโชว์ว่าชาวอุยกูร์ก็มั่งคั่งเช่นกัน
       
       ขณะที่กอดีร์กำลังรุ่งโรจน์ ลัทธิแบ่งแยกดินแดนก็ย่างกรายเข้ามาในซินเจียง เปิดฉากประท้วงอำนาจการปกครองของจีน ซึ่งก็ได้รับการโต้ตอบที่หนักข้อ ทั้งมาตรการคุมเข้มด้านความปลอดภัยของกองกำลังพิทักษ์สันติราษฎร์ จำกัดวัตรปฏิบัติของกลุ่มอิสลาม สามีของกอดีร์ก็ลี้ภัยไปยังสหรัฐฯ กลายเป็นกลุ่มรณรงค์อิสรภาพซินเจียง กระทั่งกอดีร์ถูกบีบให้หย่ากับสามี แต่ยิ่งถูกบีบ เธอก็ยิ่งวิพากษ์วิจารณ์จีนมากขึ้น
       
       ต่อมา เธอถูกปลดออกจากตำแหน่งและความรับผิดชอบทั้งหมดในองค์กรการปกครองของจีน จนในปี 2542 ตำรวจก็จับกุมตัวเธอระหว่างที่เธอกำลังเดินทางไปพบกับเจ้าหน้าที่สภาคองเกรสแห่งสหรัฐฯที่มาเยือนอูหลู่มู่ฉี เธอถูกกล่าวหาก่ออาชญากรรมบ่อนทำลายความมั่นคงประเทศ
       
       กอดีร์ถูกจำคุกในจีน 6 ปี ได้รับการปล่อยตัวและเริ่มต้นชีวิตพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา ปี 2548 เธอได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยทางการเมือง และอาศัยในแฟร์แฟกซ์ เวอร์จิเนีย ในปี 2549 กอดีร์ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

รอบียะ กอดีร์ผู้นำสภาอุยกูร์โลกแถลงข่าวที่สมาคมสื่อแห่งชาติ(National Press Club) กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์(6 ก.ค.) ปฏิเสธคำกล่าวหาของรัฐบาลจีน ที่ระบุว่าเธอเป็นผู้ยุแหย่จลาจลในอูหลู่มู่ฉี เมืองเอกของเขตปกครองตัวเองชนชาติอุยกูร์แห่งซินเจียง-เอเอฟพี
       เมื่อกอดีร์เริ่มเป็นที่รู้จัก จีนก็เริ่มกล่าวหากอดีร์เกี่ยวข้องกับปัญหามากมายในซินเจียง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวหาเธอเชื่อมโยงกับกลุ่มเคลื่อนไหวอิสลามิก เติร์กกิสถานตะวันออก (ETIM) ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีดำลัทธิก่อการร้ายของสหรัฐฯ โดยที่ไม่มีหลักฐานใดๆมาแสดง
       

       กอดีร์กล่าวในที่ประชุมข่าวเมื่อวันจันทร์ “รัฐบาลจีนมักโทษว่าฉันและสภาอุยกูร์สร้างปัญหาในซินเจียง แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้นมาจากนโยบายที่กดขี่ของรัฐบาลต่างหาก ชาวอุยกูร์ที่กล้าประท้วงแม้เป็นกลุ่มเล็กๆและทำอย่างสงบเพียงไรก็ตาม ก็จะถูกโต้ตอบด้วยกำปั้นเหล็กอย่างรุนแรง”
       

       กอดีร์ยังชี้ว่ารัฐบาลก็มีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงในซินเจียงในช่วง 2-3 ปีมานี้ อย่างไรก็ตาม เธอก็ประณามกลุ่มเดินขบวนชาวอุยกูร์ที่สร้างความรุนแรง สำหรับองค์กรของเธอสนับสนุนการประท้วงอย่างสันติเท่านั้น และขอไว้อาลัยแก่ผู้ที่เสียชีวิตในจลาจลเมื่อวันเสาร์และอาทิตย์(5-6 ก.ค.) ทั้งชาวจีนฮั่นและชาวอุยกูร์ แต่เธอประมาณว่ากว่า 90 เปอร์เซนต์ของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นเป็นชาวอุยกูร์
       
       ในต้นปีนี้ "Dragon Fighter" หนังสือชีวิตการต่อสู้ของกอดีร์ฉบับตีพิมพ์ใหม่ ก็ออกวางตลาด
http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=9520000076731

--
  ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.pdc.go.th
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com