กลุ่มเอ็นจีโอเพื่อผู้บริโภค จึ้ "รมว.สธ." เปิดฟังความคิดเห็นร่าง กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ
เอ็นจีโอผู้บริโภคทำหนังสือถึง "รมว.สธ." ชี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณะสุข มีการปรับเปลี่ยนหลักการและสาระหลายประเด็น เรียกร้องให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอีกครั้ง
เครือข่ายประชาชนผู้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ประกอบด้วย เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย ทำหนังสือถึง นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้เปิดรับฟังความเห็น และแสดงทัศนะต่อ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้
1.เปลี่ยนแปลงชื่อกฎหมาย จาก "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... " เป็น "ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ..." ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์และหลักการของร่างกฎหมายที่ผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีแล้ว จากเดิมที่มุ่งเน้นการชดเชยความเสียหายเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของผู้เสียหาย เป็นมุ่งเน้นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยลดทอนความสำคัญของการชดเชยความเสียหายลงไป
2.เพิ่มขั้นตอนการไกล่เกลี่ย หลักการดำเนินการเดิมมุ่งเน้นการชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับเพิ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย
3.ปรับให้สำนักงานอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ตามร่างเดิมเสนอให้มีสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แต่ได้มีการปรับแก้ในร่างใหม่ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเป็นสำนักงานเลขานุการ
จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นผู้ให้บริการและเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในหลายกรณี จึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นกลาง และไม่ได้รับการยอมรับจากเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
นอกจากนี้ กรมสนับสนุนบริการยังไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายตลอดจนขาดประสบการณ์และบุคลากรที่มีความสามารถในการบริหารกองทุน หากจะยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสำนักงานเลขานุการไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการมิใช่ผู้ให้บริการ และสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการหรือพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจหน้าที่ ดังเช่นที่ต้องดำเนินการกรณีกำหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นสำนักงานเลขานุการ
4.ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย ได้ปรับแก้องค์ประกอบให้มีสัดส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันพบว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นอุปสรรคในการพิจารณาการชดเชยความเสียหายและทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นที่เป็นธรรม
บทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือการพิจารณาว่าความเสียหายเกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ เพื่อจ่ายเงินชดเชย โดยไม่ต้องพิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้กระบวนการพิสูจน์ความรับผิดซึ่งใช้ระยะเวลานาน และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ ดังนั้นองค์ประกอบของคณะกรรมการจึงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ แต่ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม และองค์ประกอบของคณะกรรมการควรมีผู้ที่มีผลงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในสัดส่วนที่เหมาะสม
5.สิทธิกรณีผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาล ตามร่างเดิมหากผู้เสียหายหรือทายาทฟ้องคดีต่อศาล ให้ยกเลิกการพิจารณาคำร้อง แต่ในร่างใหม่ปรับแก้เป็นให้ยุติการดำเนินการและตัดสิทธิที่จะยื่นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้อีก และเพิ่มเติมในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินจากกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้แทนผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่
ดังนั้น การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นควรจะได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนและหาข้อสรุปในสาระสำคัญของกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะร่างเดิมของทั้งกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายประชาชนผู้มีสิทธิเสนอกฎหมายไม่ได้แตกต่างกันในหลักการและสาระสำคัญ แต่การจัดสัมมนาในครั้งนี้ กลับดำเนินการตั้งประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสภาพปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน รวมทั้งสะท้อนความไม่เป็นธรรมในกำหนดการจัดสัมมนาเป็นอย่างดี โอกาสในการพูดที่ไม่เท่าเทียม การแสดงความเห็นของกลุ่มที่ขัดแย้งเห็นได้จาก มีเวลาที่จำกัดในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพียง 30 นาทีก่อนการปิดการประชุม จึงต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ประธานในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอีกครั้ง โดยที่กลุ่มองค์กรข้างต้น
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1243417057&grpid=01&catid=04
Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!