วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปารีสท้าทายจีนยกย่องทะไล ลามะเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์

ปารีสท้าทายจีนยกย่องทะไล ลามะเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มิถุนายน 2552 15:19 น.

ทะไล ลามะ(ซ้าย) ถือกรอบประกาศรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์ของกรุงปารีส หลังที่รับมอบรางวัลจาก นายเบอร์ตราน เดอลาโน นายกเทศมนตรีกรุงปารีส(ขวา) ที่หอประชุมประจำเมืองเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มิ.ย.-เอเอฟพี

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ทะ ไล ลามะ(ซ้าย) พูดคุยกับ นายเบอร์ตราน เดอลาโน นายกเทศมนตรีกรุงปารีส ระหว่างพิธีมอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มิ.ย. –เอเอฟพี

ทะ ไล ลามะ(ซ้าย) กำลังคล้องผ้าขาวแก่ นายเบอร์ตราน เดอลาโน นายกเทศมนตรีกรุงปารีส การคล้องผ้าขาวศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีทิเบตนี้ เป็นการแสดงการต้อนรับแขก และอวยพรให้โชคดี -เอเอฟพี

เอเจนซี--ผู้นำแดนน้ำหอมมอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งกรุงปารีสแด่ทะไล ลามะในวานนี้(7 มิ.ย.)
       

       “ฉันรับการแต่งตั้งนี้ฯเพื่อปกป้องคุณค่ามนุษย์ สันติภาพ และอหิงสา” ทะไล ลามะ กล่าวระหว่างรับมอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์จากนายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส นายเบอร์ตราน เดอลาโน (Bertrand Delanoe )ในวันอาทิตย์(7 มิ.ย.)ที่หอประชุมประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ นายเบอร์ตราน เดอลาโน เป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยม ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของรัฐบาลแดนน้ำหอม
       
       การ ที่ผู้นำฝรั่งเศสยกย่องทะไล ลามะเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของกรุงปารีส นับเป็นการท้าทายจีนในทางการทูต โดยขณะนี้ฝรั่งเศสกำลังซ่อมแซมสัมพันธ์ที่แตกร้าวระหว่างสองประเทศอันเป็นผล มาจากประธานาธิบดีนิโคลัส ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศสพบปะกับทะไล ลามะเมื่อเดือนธันวาคม
       
       ทะไล ลามะเดินสายเยือนกลุ่มชาติยุโรปเที่ยวล่าสุดตั้งแต่เมื่อวันศุกร์(5 มิ.ย.) โดยเยือนเดนมาร์กเป็นชาติแรก จากนั้นก็ไปยังไอซ์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์
       
       ด้านผู้นำในปักกิ่งนั้นกล่าวหามาตลอดว่าทะไล ลามะเป็นผู้นำกลุ่มลัทธิแบ่งแยกดินแดน และถือว่าการที่ผู้นำประเทศใดๆพบปะกับทะไล ลามะ เป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศจีน นอกจากนี้จีนยังเตือนบรรดาผู้นำยุโรปอาจเผชิญกับการโต้ตอบทางการทูต และเดือนที่แล้วก็เตือนผู้นำฝรั่งเศสว่าว่า อย่า ทำผิดเกี่ยวกับเรื่องทิเบตอีก
       
       ด้านรัฐบาลซาร์โกซีอธิบายว่าการมอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์แก่ทะไล ลามะ เป็นเรื่องของเทศบาลนครล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องของประเทศ
       
       นาย เดอลาโน กล่าวว่าสภาปารีสตัดสินแต่งตั้งทะไล ลามะเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ในเดือนมีนาคา 2551 เพื่อเป็นรางวัลแด่การทำงาน และการต่อสู้เพื่อการเจรจาและสันติภาพ
       
       ก่อนรับมอบรางวัลเกียรติยศดังกล่าว ทะไล ลามะผู้นำจิตวิญญาณทิเบต ได้พบปะกับกลุ่มชาวจีนที่มีความเห็นไม่สอดคล้องกับรัฐบาลจีน และกล่าวหาผู้นำจีนวางแผนกดขี่ชาวทิเบต นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการจลาจลที่เกิดขึ้นในเดือนมีนาคมเมื่อปีที่แล้วว่า เป็นแผนการของรัฐบาลจีน เพื่อหาข้ออ้างปราบปรามกลุ่มรณรงค์ในท้องถิ่นโดยกล่าวหาพวกเขาเป็นผู้ก่อ หวอดการจลาจล
       
       “ในวันที่ 14 มีนาคม จู่ๆก็มีชาวทิเบตที่ไม่มีใครในลาซารู้จักมาก่อน บุกเผาทำลายร้านค้า ขว้างก้อนหินใส่ชาวจีนโดยที่ไม่มีตำรวจเข้ามาจัดการเลย ขณะที่ตากล้องที่ประจำที่อยู่ก่อนแล้ว ก็บันทึกภาพเผยแพร่ไปทั่วโลก จากนั้นกองกำลังรักษาความมั่นคงจีนก็เข้าปราบปราม...”
       
       ทะไล ลามะผู้ได้รับรางวัลโนเบลไพร์ซสาขาสันติภาพเมื่อปี 2532 (1989) ยังชี้ว่าผู้นำจีนบิดเบือนจุดยืนการเรียกร้องของท่านและประกาศแก่ชาวโลกว่า ท่านเคลื่อนไหวอิสรภาพดินแดน เป็นกลุ่มลัทธิแบ่งแยกดินแดน แต่ก็ยอมรับภายในกันเองว่าท่านเรียกร้องเพียงอำนาจการปกครองตัวเองเท่านั้น
       
       ทั้งนี้ ทะไล ลามะใช้ชีวิตเป็นผู้นำพลัดถิ่นที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ปี 2502 เมื่อจีนยึดครองทิเบต.
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000064319