วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มะเร็งคร่านักวิทย์จีน ผู้โคลนนิงวัวตัวแรกของสหรัฐฯ ด้วยวัยเพียง 49

มะเร็งคร่านักวิทย์จีน ผู้โคลนนิงวัวตัวแรกของสหรัฐฯ ด้วยวัยเพียง 49
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กุมภาพันธ์ 2552 15:25 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
หยาง เซี่ยงจง หรือที่เพื่อนๆ เรียกว่า เจอร์รี่ หยาง นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนสัญชาติอเมริกัน ผู้โคลนนิงวัวได้สำเร็จครั้งแรกในสหรัฐฯ เสียชีวิตด้วยมะเร็งต่อมน้ำลาย ในวัยเพียง 49 ปี

นักวิทย์จีนสัญชาติอเมริกันผู้โคลนนิงวัวได้ครั้ง แรกของสหรัฐฯ จากโลกนี้ไปด้วยวัย 49 ปี หลังต่อสู้กับโรคมะเร็งต่อมน้ำลายมากว่า 10 ปี แม้จะพยายามศึกษาหาทางสร้างสเต็มเซลล์เพื่อรักษาโรคร้าย รวมถึงมะเร็ง แต่ก็ยังไม่สำเร็จทันการณ์
       
       หยาง เซี่ยงจง (Xiangzhong Yang) หรือ เจอร์รี่ หยาง แห่งมหาวิทยาลัยคอนเน็คติกัต (University of Connecticut) ผู้สร้างชื่อให้โลกรู้จักด้วยการโคลนนิงสัตว์สำหรับการกสิกรรมได้ครั้งแรกใน สหรัฐอเมริกา เสียชีวิตลงแล้วเมื่อวันที่ 6 ก.พ.52 ที่ผ่านมา ด้วยวัยเพียง 49 ปี ตามแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยอันเป็นต้นสังกัดของเขา
       
       "เอมี" (Amy) ลูกวัวโคลนนิงของหยาง จากห้องแล็บของมหาวิทยาลัยคอนเน็คติกัต สหรัฐฯ ได้ปรากฎสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี 2542 ไล่หลังจากแกะดอลลี่ (Dolly) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่โคลนนิงสำเร็จตัวแรกของโลกในเกาะอังกฤษเพียงแค่ 3 ปี
       
       ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยคอนเน็กติกัต ได้ออกแถลงการณ์ว่า หลังจากประสบความสำเร็จจากเอมี หยางก็เดินหน้าทดลองโคลนตัวอ่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นความหวังว่าจะสร้างสเต็มเซลล์ ที่นำไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายภายในร่างกาย รวมทั้งปลูกเป็นอวัยวะและนำไปปลูกถ่ายทดแทน หรือแม้แต่การใช้รักษาโรคร้ายทางพันธุกรรมต่างๆ
       
       ทว่า ก่อนประสบความสำเร็จจากการโคลนนิงลูกวัว 3 ปี (ในปี 2539) หยางได้ตรวจพบมะเร็งที่ต่อมน้ำลาย และเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ โรงพยาบาลบริงแฮม ยัง วีเม็น เซ็นเตอร์ (Bringham Young Women's Center hospital) ในเมืองบอสตัน มลรัฐเมสซาชูเซ็ตต์
       
       สำหรับหยาง เขาเป็นชาวแดนมังกรเกิดเมื่อปี 2502 ในชนบทห่างไกลบนแผ่นดินจีน และสามารถรอดวิกฤติการขาดแคลนอาหารมาได้ในช่วง 2 ขวบปีแรก หลังจากเติบโตขึ้นจนสิ้นสุดยุคปฏิวัติวัฒนธรรม เขาทิ้งฟาร์มที่เฝ้าเลี้ยงหมูเพื่อเป็นหนทางสู่มหาวิทยาลัยการเกษตรแห่ง ปักกิ่ง (Beijing Agricultural University) และหันไปสอบแข่งขันเข้าเรียนที่วิทยาลัย และต่อมาเขาก็ได้คำตอบรับให้ไปเรียนระดับปริญญาตรีที่สหรัฐฯ ในปี 2526
       
       หยางจบการศึกษาระดับปริญญาเอก (Ph.D) ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell University) และทำงานตำแหน่งแรกที่คอร์แนล เป็นนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (embryologist ) ซึ่งมีผลงานโดดเด่น จนกระทั่งปี 2539 ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยคอนเนคติกัต และในปี 2544 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ชีววิทยากรสร้างอวัยวะใหม่ (Center for Regenerative Biology) ของมหาวิทยาลัย
       
       หยางแต่งงานกับเถียน ซีวชุน (Xiuchun (Cindy) Tian) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยคอนเน็กติกัต หลังย้ายมาพบรักที่นี่ และภรรยาเป็นผู้ดูแลตลอดเวลาหลังจากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย
       
       ทั้งนี้ ผลงานของหยางได้ช่วยทางการสหรัฐฯ ในการพิจารณาว่าสัตว์โคลนนิงที่ใช้ในการกสิกรรม อาทิ วัว หมู แกะ นั้นปลอดภัยต่อการบริโภค และยังช่วยอธิบายถึงกระบวนการที่เซลล์ผู้ใหญ่กลับไปเป็นเซลล์อ่อนอีกครั้ง เมื่อผ่านกระบวนการนำไปฝังลงในตัวอ่อนลงหรือไข่ที่ถอดพันธุกรรมออกแล้ว ซึ่งก็คือเทคนิคการเพาะตัวอ่อนสำหรับการโคลนนิงที่ใช้สร้างแกะดอลลี่ หรือเอมีของหยางนั่นเอง

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000015232