วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

'ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว' อนาคตสังคมไทย


"ครอบครัว" คำๆ นี้ ชวนให้นึกถึงภาพพ่อ แม่ ลูก อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างอบอุ่น ทว่าสภาพสังคมในปัจจุบัน ครอบครัวได้เปลี่ยนไปมีความหลากหลายมากขึ้น ..

"ครอบครัว" คำๆ นี้ ชวนให้นึกถึงภาพพ่อ แม่ ลูก อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างอบอุ่น ทว่าสภาพสังคมในปัจจุบัน ครอบครัวได้เปลี่ยนไปมีความหลากหลายมากขึ้น ขณะที่อัตราการหย่าร้างหรือแยกทางกันของคู่สมรสมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การหย่าร้างที่เกิดขึ้นในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัว ที่มีลูก ส่งผลให้ผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกเพียงลำพัง เรียกว่า "ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว" (Single-Parent Families) 



ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่  5 ประชากรและสังคม 2552 เรื่อง "ครอบครัวไทย ในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร" เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวและแผนงานสุขภาวะครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาว่า จากการศึกษาข้อมูลรายงานประชากรและสังคม 2552 ที่ วปส.จัดทำ พบข้อมูลน่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทยที่ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวมีแนวโน้มมากขึ้น รวมถึงครอบครัวเพศเดียวกันซึ่งสังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้น ครอบครัวบุตรบุตรธรรม ครอบครัวผู้สูงอายุ ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและเด็ก ต่างมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังพบครอบครัวที่เด็กกำพร้าอาศัยอยู่กันตามลำพังมีถึงร้อยละ 8 ของครอบครัวจากการสำรวจ ซึ่งมาจากการที่บิดามารดาเสียชีวิต ประเด็นนี้ควรศึกษาเชิงลึกว่าเด็กกำพร้าเหล่านี้อยู่กันอย่างไร 

จากสถิติการจดทะเบียนสมรสชี้ชัดว่า การแต่งงานของคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มลดลง คนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน 25-41 ปี จะอยู่เป็นโสดมากกว่าคนรุ่นก่อนที่อายุราว 73 ปีขึ้นไป และถ้าแต่งงานก็มีลูกน้อยกว่าคนรุ่นก่อนถึง 3 เท่าตัว ขณะที่ครอบครัวมีขนาดเล็กลง คืออยู่คนเดียวหรืออยู่เฉพาะพ่อแม่ลูกมากขึ้น และพบร้อยละ 12 ของครัวเรือนไทยยังยากจน มากที่สุดที่อีสานสูงถึงร้อยละ 23 และยังพบ 1.3 ล้านครอบครัวจากจำนวนทั้งหมด 20 ล้านครอบครัว เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว สาเหตุมาจากการสิ้นสุดชีวิตคู่ใน 4 รูปแบบคือ การละทิ้ง การแยกทาง การหย่าร้าง และการเสียชีวิตของคู่สมรส ซึ่งการหย่าร้างเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ดังสถิติการหย่าที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจากประมาณเกือบ 50,000 คู่ในปี 2536 เพิ่มเป็น 100,000 คู่ในปี 2550 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการไม่จดทะเบียนสมรสก็มีเพิ่มมากขึ้น 

ก่อนหน้านี้ สำนักวิจัยเอแบคโพล ได้สำรวจพบว่า มุมมองของประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคม โดยให้เหตุผลว่า เพราะครอบครัวขาดความอบอุ่น ขาดที่พึ่ง ดูแลไม่ทั่วถึง ไม่มีเวลาให้ลูก ทำให้ลูกมีปมด้อย ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา ซึ่งเมื่อพิจารณาในแง่ของปัญหาสังคมกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จะเห็นได้ว่า ประชาชนได้ให้ความสำคัญและแสดงความ เป็นห่วงต่อผู้ที่เป็นลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเป็นพิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจที่ระบุว่า ผู้เป็นลูกที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะได้รับผลกระทบมากกว่าพ่อหรือแม่ที่รับภาระเลี้ยงดูลูกตามลำพัง 



สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้ครอบครัวเกิดความแตกแยกหรือทำให้ เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในสังคมไทย  ได้แก่ ให้คุยกันในครอบครัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีเวลาคุยกันให้มากขึ้น ให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกให้มาก สร้างความอบอุ่นในครอบครัว ดูแลเอาใจใส่กันให้มากขึ้น และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ให้เวลากันมากขึ้น  

"ทิศทางการเปลี่ยนแปลงครอบครัวที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกจะพบครอบครัวขยายลดลง มีเสรีในการเลือกคู่มากขึ้น รวมถึงสิทธิสตรี เสรีภาพทางเพศและสิทธิเด็กมีมากขึ้น ขณะที่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นลดลง ส่วนพฤติกรรมครอบครัวจะพบการแต่งงานเมื่อสูงอายุขึ้น ครองโสดมากขึ้น รูปแบบการแต่งงานเปลี่ยนไป มีการแต่งงานข้ามพรมแดน" ศ.นพ.วิจารณ์ ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหา และว่าเวลานี้ สิ่งที่ควรจะเอาใจใส่ในทุกครอบครัว คือ ทำอย่างไรให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น 



สถาบันครอบครัวถือเป็นเป้าหมายหลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ที่จะสร้างให้ครอบครัวไทยเป็นครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง  ดังนั้น จึงควรหาแนวทางแก้ไขและรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการสร้างสถาบัน ครอบครัวให้เข้มแข็ง ด้วยการร่วมระดมความคิดและร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาความเสื่อมของสถาบัน ครอบครัว เพื่อให้สถาบันครอบครัวเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและหล่อหลอมให้สมาชิกใน ครอบครัวมีความแข็งแกร่งทั้งทางกาย จิตใจ และผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศมีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

http://www.thairath.co.th/content/edu/18013
--
  ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.pdc.go.th
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com