วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ม.มหิดล เตรียมมอบรางวัล "สุดยอดอาจารย์ แขนงวิชาแพทยศาสตร์"

ม.มหิดล เตรียมมอบรางวัล "สุดยอดอาจารย์ แขนงวิชาแพทยศาสตร์"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กรกฎาคม 2552 17:47 น.
       ม.มหิดล เตรียมพิธีมอบผลรางวัล "มหาวิทยาลัยมหิดล" ประจำปีการศึกษา 2551 พร้อมคัดเลือกจากบุคลากรที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการและประชาชน เพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยในปีนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกำหนดจะเสด็จในวันที่ 6 กรกฏาคม 2552 ณ หอประชุมหองทัพเรือ
       
       ทั้งนี้ มีผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2551จำนวน 2 ท่าน ดังนี้

       

ศาสตราจารย์นายแพทย์สุชาย สุนทรภา รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู
       รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู
       
       ศาสตราจารย์นายแพทย์สุชาย สุนทราภา เป็นครูแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถมีวิธีถ่ายทอดความรู้อย่างหลากหลาย และมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการอุทิศตนเอย่างเต็มกำลังความสามารถ ถ่ายทอดวิชาทางด้านยูโรวิทยาแก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน ผลงานดีเด่นทางวิชาการ ได้แก่ การประดิษฐ์และคิดค้น "สารสกัด Capsaicin จากพริกกระเหรี่ยง เพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินและรับรู้ไวเกิน" ได้รับอนุสิทธิบัตร เมื่อปี 2549
       
       Capsaicin เป็นสารสกัดจากพริกที่มีรสเผ็ดร้อน สามารถเคลือบและทำลายปลายประสาทบริเวณผนังกระเพาะที่คอยกระตุ้นให้บีบตัวบ่อย จนกระเพาะปัสสาวะสามารถทำหน้าที่ได้ปกติเหมือนเดิม ไม่ถ่ายปัสสาวะบ่อยอีกต่อไป
       
       การใส่สารสกัดจากพริกที่มีรสเผ็ดร้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะบับตัวไวเกินไป หรือปัสสาวะบ่อบ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่ประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก และคนไข้ไม่ต้องกินยาอีกต่อไป ซึ่งวิธีการนี้เริ่มมีผู้มาใช้บริการกันมากขึ้น เริ่มแรก แพทย์จะตรวจคนไข้ก่อนโดยตรวจปัสสาวะ ส่องกล่องดูกระเพาะปัสสาวะ ตรวจดูความกว้างของท่อปัสสาวะ และตรวจทางยูโรพลศาสตร์ (การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ) เพื่อดูความจุของกระเพาะปัสสาวะว่า จุปัสสาวะได้มากน้อยเท่าใด ความดันของกระเพาะปัสสาวะในขณะถ่ายปัสสาวะเป็นเท่าใด จากนั้นให้คนไข้นอนราบ ใส่ยาชาเข้าทางสายสวนปัสสาวะราวครึ่งชั่วโมง จึงปล่อยออก คนไข้อาจจะรู้สึกปวดแสบ ในรายที่ไวต่อความรู้สึก อาจฉีดยาชาทางไขสันหลัง หรือดมยาสลบเพื่อระงับปวด ซึ่งจากการรักษากับคนไข้ ส่วนใหญ่ปรากฏว่า ได้ผลดี คนไข้ไม่ถ่ายปัสสาวะบ่อย จำนวนครั้งลดลง อาการปัสสาวะรีบเร่งลดลงหรือหายไป
       
       ปัจจุบัน ศาสตราจารย์นายแพทย์สุชาย สุนทราภา ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายคุณธรรมและจริยธรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการสอนมักจะสอดแทรกการอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้ศิษย์ทุกครั้งที่มีโอกาส
       


รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์สุรินทร์ สูอำพัน รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000075051
       รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ
       
       รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์สุรินทร์ สูอำพัน เป็นผู้มีบทบาทในการกำกับดูแล และพัฒนาการปฏิบัติงานโครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ให้บริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินน้ำลาย เคลือบหลุมร่องฟันป้องกันฟันผุ ใส่ฟันเทียมถอดได้ชนิดฐานพลาสติก และทันตสุขศึกษามาแล้วกว่า 100,000 คน นอกจากนี้ได้ริเริ่มโครงการวิจัย เรื่องการรักษาเพื่อให้เกิดสภาพหยุดผุเอง สำหรับฟันกรามน้ำนมเด็กก่อนวัยเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร เพื่อประยุกต์ใช้ในการรักษาฟันกรามน้ำนมเด็กในการออกหน่วยทันตกรรมพระราชทาน
       

       ซึ่งการหยุดผุนั้นเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ สภาพการหยุดผุและกลับแข็งตัวของรอยผุในฟันน้ำนมดังกล่าว มีลักษณะเป็๋นหลุมตื้นกว้าง (Shallow cavity) พื้นที่หลุมมีสีดำหรือน้ำตาลดำ ผิวหน้าของหลุมมีความแข็ง เมื่อกดด้วยเครื่องมือตรวจปลายแหลม โดยใช้แรงพอประมาณ สภาพการหยุดผุในฟันน้ำนมดังกล่าวนี้ ได้ตรวจสอบในเด็กก่อนวัยเรียน ขณะออกปฏิบัติงานหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จากการสอบถามและสังเกตจากสภาพความสะอาดของฟันน้ำนมและฟันแท้ข้างเดียว เชื่อว่าเด็กสามารถใช้ฟันที่มีรอยหยุดผุนั้น เครี้ยวอาหารได้ตามปกติ ขอบหลุดรอยผุส่วนที่แตกนี้เป็นขอบเคลือบหันส่วนบนที่บาง เมื่อแตกบิ่นจะไม่มีความเจ็บปวดใดๆ แต่จะทำให้หลุมรอยผุเสมือนตื้นขึ้นไม่สามารถเก็บกักเศษอาหารได้เหมือนเดิม จากนั้นจึงเป็นไปตามทฤษฏีของการหยุดผุ ซึ่งในที่สุดเนื้อฟัน บริเวณนั้นจะกลับแข็งตัวพร้อมกับใช้งานได้ตามปกติต่อไป จนกระทั่งถึงระยะที่ฟันหลุดตามธรรมชาติ
       
       จากปัญหาและเหตุผลดังกล่าวจึงเกิดความคิดที่จะหาวิธีการรักษาที่ทำให้เกิดสภาพการหยุดผุ ด้วยตัวเอง (self Arresting Caries Treatment) ของฟันกรามน้ำนมเด็กนักเรียนก่อนวัยเรียนในถิ่นทุรกันการ ซึ่งในการรักษาจะกรอของหลุมรอยผุบริเวณด้านข้างของฟันกรามน้ำนมซี่ที่ 1 และ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นเคลือบฟัน (enamel) พร้อมกับลบส่วนคม เป็นบริเวณกว้างประมาณ 1-2 มม. เท่านั้น โดยไม่กรอส่วนเนื้อฟัน (dentine) เพื่อไม่ให้มีความเจ็บปวด แล้วใช้ Spoon ขูดตักเอาเศษอาหารที่หลงเหลือออก ซับฟันนั้นให้นั้นให้แห้งแล้วทาด้วยฟลูออไรด์วานิช จากนั้นประเมินผลทางคลินิคประมาณทุก 2 เดือน จนถึง 2 ปี ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการรักษาแบบง่ายๆ ใช้เวลาในการรักษาน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานต่อเด็ก ดังเช่นวิธีการบูรณะด้วยการอุดฟันตามปกติ
       
       
ปัจจุบัน รองศาสตรจารย์ ทันแพทย์สุรินทร์ สูอำพัน ดำรงตำแหน่งรองคณบดี ฝ่ายโครงการพิเศษ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักในการบริการ คือ ให้บริการทันตกรรมที่มีคุณภาพได้มาตรฐานแก่ประชาชน อย่าเสมอภาคและเป็นธรรม
       



--
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://www.pdc.go.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com