วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มังกรคาบแก้วคริสต์มาสแคคตัส

รายงานโดย :เรื่อง/ภาพ ม.ล.จารุพันธุ์ ทองแถม:
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
มังกรคาบแก้ว เป็นไม้ประดับที่ปลูกเลี้ยงประดับได้เป็นสองแบบ กล่าวคือในช่วงฤดู การเจริญเติบโตทางต้นและใบมันจะสวยงามคล้ายไม้ใบจำพวกกระบองเพชรที่มีใบสีเขียวหัวห้อยลง

แต่เมื่อย่างเข้าฤดูหนาว อากาศเย็นและกลางวันสั้นลง ช่วงกลางคืนยาวนานจะกระตุ้นให้ไม้ประดับสกุลนี้ผลิตาออกดอก สีสันสวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ ออกสู่สายตาของเรา ดอกจะบานเต็มที่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของทุกคนในโลก ดังนั้นมังกรคาบแก้วจึงเป็นที่รักของผู้เลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ และพัฒนาซื้อหาไปแขวนหรือตั้งประดับและนำไปฝากเป็นของขวัญกันในเทศกาลแห่งความสุขสนุกสนานร่าเริงนี้ คริสต์มาสแคคตัส ดูสุกใส ด้วยสีเขียวเข้มของกิ่งใบและช่อดอกสดคล้ายทำจากเทียนสีแดงสด ไม่แต่เพียงเท่านี้มันมีมากมายหลายชนิดหลายพันธุ์ ทำให้ดอกมีหลายสีตั้งแต่ส้มสด และม่วง เหลือง ชมพู ใบของมันจะแบน ขอบใบหยักดูคล้ายของใบเสมา หากดูผิวเผินที่คล้ายกันคือ มันเป็นไม้อวบน้ำในกลุ่มกระบองเพชร อิงอาศัยที่ปลูกเลี้ยงง่ายสามารถยกไปตั้งประดับได้ดีบนหิ้งชั้นวางของ และตั้งบนโต๊ะรับแขกโต๊ะอาหารกลางวัน เราอาจแขวนมันในบริเวณหน้าต่างกระจกที่เปิดให้แสงแดดยามเช้า-บ่ายสาดส่องเข้ามาได้ มังกรคาบแก้วเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย ดังนั้นคุณจึงปลูกและสะสมพันธุ์ที่มีดอกสีต่างๆ เอาไว้ได้อย่างไม่รู้เบื่อ
มังกรคาบแก้วจัดอยู่ในสกุลชลุมเบอร์กีรา (Schlumbergera) ประกอบด้วยชนิดต่างๆ ประมาณ 6 ชนิดด้วยกัน ทั้งหมดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเทือกเขาสูงเขตป่าฝนของบราซิล ซึ่งป่าทั้งป่าจะดูสว่างไสว ขึ้นเมื่อความหนาวเย็นกรายเข้ามาในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. มังกรคาบแก้วบางชนิดเริ่มผลิดอกบานก่อนคริสต์มาส (เดือนพ.ย.) และดอกจะบานทนทานหลายสัปดาห์ทีเดียว มีผู้นำมังกรคาบแก้วออกจากป่าบราซิลเข้าไปในยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 ซึ่ง S. truncate ได้ชื่อทางพฤกษศาสตร์มาจากนักเก็บสะสมกระบองเพชรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เฟรเดริก ชลุมแบร์แชร์ (Frederic Schlumberger) ซึ่งต่อมาไม่นานนัก ผู้คนต่างติดอกติดใจกับความสวยงาม ความมีน้ำอดน้ำทน และปลูกเลี้ยงง่ายของมังกรคาบแก้วชนิดนี้ ต่อมามันเข้าไปโชว์ตัวอยู่ตามเรือนกระจกเมืองร้อนที่เรียกว่า คอนเซอร์เวตอรี (Conservatory) ในอังกฤษ ต่อมามีผู้ผสมข้าม S. truncata เข้ากับ S. russelliana เมื่อตอนกลางของศตวรรษที่ 19 และลูกผสมที่เกิดขึ้นมีทรงดอกคล้ายฝาหอยเซลล์ดูน่ารักและแปลกตามาก เราเรียกพันธุ์ลูกผสมชุดนี้ว่า Scalloped Variety ซึ่งต่อมาก็เป็นตัวก่อให้เกิดพันธุ์ปลูกเพื่อการค้าต่างๆ อีกมากมาย น่าเสียดายที่พันธุ์เหล่านี้ล้มหายตายจากไปเสียหมดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โชคดีที่มีบางต้นเหลือรอดมาได้และถูกขยายพันธุ์ หรือจะเรียกให้ถูกก็ควรเรียกว่าถูกขยายต้นเดิมหรือโคลน (Clone) ของมันออกไป โดยวิธีการปักชำ จากคนหนึ่งต่อไปอีกคนหนึ่ง
ความสำเร็จของการปลูกมังกรคาบแก้ว ก็คือเลียนแบบที่อยู่ของมันดั้งเดิมจากป่าอเมริกาใต้ ซึ่งต้นมันจะเกาะแนบกับลำต้นไม้ใหญ่ที่มอสปกคลุม และได้อาหารจากผิวเปลือกต้นไม้หรือใบไม้ผุที่ร่วงลงมา เราควรปลูกเลี้ยงให้ได้แสงจัด แต่ไม่ใช่แสงแดดโดยตรง (แสงเพียง 50-60%) ก็น่าจะเพียงพอในกรุงเทพฯ รดน้ำให้วันละ 1 ครั้ง เครื่องปลูก เช่น กาบมะพร้าวชิ้นกลาง หั่นผสมกับใบก้ามปูผุเล็กน้อย กระถางพลาสติกใช้ปลูกเลี้ยงไว้ ก้นกระถางควรมีถ่านไม้ (สำหรับหุงข้าว) รองไว้ 7-8 ก้อน เพื่อช่วยให้โปร่งระบายน้ำดี ควรแขวนกระถางไว้ในที่ที่มีอากาศโปร่งถ่ายเทลมดี แต่มีความชื้นสูง ปุ๋ยเคมีที่ควรใช้กับมังกรคาบแก้ว คือ สูตร 8-30-15 หากจะให้ดอกดก หรือใช้ปุ๋ยน้ำ หรือจะใช้สูตร 14-14-14 NPK ก็ไม่ถึงกับเสียหาย แต่ควรกลับไปใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง ธาตุไนโตรเจนต่ำ เช่น สูตร 8-24-24 จะให้ตาดอกออกมาในช่วงฤดูหนาว

มังกรคาบแก้ว (Christmas Cactus) อีกชนิดที่รู้จักกันดีในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ S. bridgesesii ส่วน S. rhipsalidopsis นั้นเรียกกันทั่วไปว่า อีสเตอร์แคคตัส (Easter Cactus)

ลูกผสมซึ่งพบมากในตลาดการค้าปัจจุบันเกิดจากลูกผสมระหว่าง S. truncates กับ S. russeliana ทำให้ลูกผสมที่ได้มีกลีบดอกหลายสี ทั้งชมพู แดง ม่วงอมแดง ม่วง และแม้แต่สีเหลือง

ทั้งคริสต์มาสแคคตัสและอีสเตอร์แคคตัส หรือมังกรคาบแก้ว มีคุณสมบัติอย่างยิ่งซึ่งมีประโยชน์มากคือ มันช่วยดูดคาร์บอนไดออกไซด์ และปลดปล่อยออกซิเจนออกมาในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ Camplant นั่นเอง
 

รายงานโดย :เรื่อง/ภาพ ม.ล.จารุพันธุ์ ทองแถม:
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มังกรคาบแก้ว เป็นไม้ประดับที่ปลูกเลี้ยงประดับได้เป็นสองแบบ กล่าวคือในช่วงฤดู การเจริญเติบโตทางต้นและใบมันจะสวยงามคล้ายไม้ใบจำพวกกระบองเพชรที่มีใบสีเขียวหัวห้อยลง

แต่เมื่อย่างเข้าฤดูหนาว อากาศเย็นและกลางวันสั้นลง ช่วงกลางคืนยาวนานจะกระตุ้นให้ไม้ประดับสกุลนี้ผลิตาออกดอก สีสันสวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ ออกสู่สายตาของเรา ดอกจะบานเต็มที่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของทุกคนในโลก ดังนั้นมังกรคาบแก้วจึงเป็นที่รักของผู้เลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ และพัฒนาซื้อหาไปแขวนหรือตั้งประดับและนำไปฝากเป็นของขวัญกันในเทศกาลแห่งความสุขสนุกสนานร่าเริงนี้ คริสต์มาสแคคตัส ดูสุกใส ด้วยสีเขียวเข้มของกิ่งใบและช่อดอกสดคล้ายทำจากเทียนสีแดงสด ไม่แต่เพียงเท่านี้มันมีมากมายหลายชนิดหลายพันธุ์ ทำให้ดอกมีหลายสีตั้งแต่ส้มสด และม่วง เหลือง ชมพู ใบของมันจะแบน ขอบใบหยักดูคล้ายของใบเสมา หากดูผิวเผินที่คล้ายกันคือ มันเป็นไม้อวบน้ำในกลุ่มกระบองเพชร อิงอาศัยที่ปลูกเลี้ยงง่ายสามารถยกไปตั้งประดับได้ดีบนหิ้งชั้นวางของ และตั้งบนโต๊ะรับแขกโต๊ะอาหารกลางวัน เราอาจแขวนมันในบริเวณหน้าต่างกระจกที่เปิดให้แสงแดดยามเช้า-บ่ายสาดส่องเข้ามาได้ มังกรคาบแก้วเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่าย ดังนั้นคุณจึงปลูกและสะสมพันธุ์ที่มีดอกสีต่างๆ เอาไว้ได้อย่างไม่รู้เบื่อ
มังกรคาบแก้วจัดอยู่ในสกุลชลุมเบอร์กีรา (Schlumbergera) ประกอบด้วยชนิดต่างๆ ประมาณ 6 ชนิดด้วยกัน ทั้งหมดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเทือกเขาสูงเขตป่าฝนของบราซิล ซึ่งป่าทั้งป่าจะดูสว่างไสว ขึ้นเมื่อความหนาวเย็นกรายเข้ามาในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. มังกรคาบแก้วบางชนิดเริ่มผลิดอกบานก่อนคริสต์มาส (เดือนพ.ย.) และดอกจะบานทนทานหลายสัปดาห์ทีเดียว มีผู้นำมังกรคาบแก้วออกจากป่าบราซิลเข้าไปในยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 ซึ่ง S. truncate ได้ชื่อทางพฤกษศาสตร์มาจากนักเก็บสะสมกระบองเพชรชาวฝรั่งเศส ชื่อ เฟรเดริก ชลุมแบร์แชร์ (Frederic Schlumberger) ซึ่งต่อมาไม่นานนัก ผู้คนต่างติดอกติดใจกับความสวยงาม ความมีน้ำอดน้ำทน และปลูกเลี้ยงง่ายของมังกรคาบแก้วชนิดนี้ ต่อมามันเข้าไปโชว์ตัวอยู่ตามเรือนกระจกเมืองร้อนที่เรียกว่า คอนเซอร์เวตอรี (Conservatory) ในอังกฤษ ต่อมามีผู้ผสมข้าม S. truncata เข้ากับ S. russelliana เมื่อตอนกลางของศตวรรษที่ 19 และลูกผสมที่เกิดขึ้นมีทรงดอกคล้ายฝาหอยเซลล์ดูน่ารักและแปลกตามาก เราเรียกพันธุ์ลูกผสมชุดนี้ว่า Scalloped Variety ซึ่งต่อมาก็เป็นตัวก่อให้เกิดพันธุ์ปลูกเพื่อการค้าต่างๆ อีกมากมาย น่าเสียดายที่พันธุ์เหล่านี้ล้มหายตายจากไปเสียหมดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โชคดีที่มีบางต้นเหลือรอดมาได้และถูกขยายพันธุ์ หรือจะเรียกให้ถูกก็ควรเรียกว่าถูกขยายต้นเดิมหรือโคลน (Clone) ของมันออกไป โดยวิธีการปักชำ จากคนหนึ่งต่อไปอีกคนหนึ่ง
ความสำเร็จของการปลูกมังกรคาบแก้ว ก็คือเลียนแบบที่อยู่ของมันดั้งเดิมจากป่าอเมริกาใต้ ซึ่งต้นมันจะเกาะแนบกับลำต้นไม้ใหญ่ที่มอสปกคลุม และได้อาหารจากผิวเปลือกต้นไม้หรือใบไม้ผุที่ร่วงลงมา เราควรปลูกเลี้ยงให้ได้แสงจัด แต่ไม่ใช่แสงแดดโดยตรง (แสงเพียง 50-60%) ก็น่าจะเพียงพอในกรุงเทพฯ รดน้ำให้วันละ 1 ครั้ง เครื่องปลูก เช่น กาบมะพร้าวชิ้นกลาง หั่นผสมกับใบก้ามปูผุเล็กน้อย กระถางพลาสติกใช้ปลูกเลี้ยงไว้ ก้นกระถางควรมีถ่านไม้ (สำหรับหุงข้าว) รองไว้ 7-8 ก้อน เพื่อช่วยให้โปร่งระบายน้ำดี ควรแขวนกระถางไว้ในที่ที่มีอากาศโปร่งถ่ายเทลมดี แต่มีความชื้นสูง ปุ๋ยเคมีที่ควรใช้กับมังกรคาบแก้ว คือ สูตร 8-30-15 หากจะให้ดอกดก หรือใช้ปุ๋ยน้ำ หรือจะใช้สูตร 14-14-14 NPK ก็ไม่ถึงกับเสียหาย แต่ควรกลับไปใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง ธาตุไนโตรเจนต่ำ เช่น สูตร 8-24-24 จะให้ตาดอกออกมาในช่วงฤดูหนาว

มังกรคาบแก้ว (Christmas Cactus) อีกชนิดที่รู้จักกันดีในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ S. bridgesesii ส่วน S. rhipsalidopsis นั้นเรียกกันทั่วไปว่า อีสเตอร์แคคตัส (Easter Cactus)

ลูกผสมซึ่งพบมากในตลาดการค้าปัจจุบันเกิดจากลูกผสมระหว่าง S. truncates กับ S. russeliana ทำให้ลูกผสมที่ได้มีกลีบดอกหลายสี ทั้งชมพู แดง ม่วงอมแดง ม่วง และแม้แต่สีเหลือง

ทั้งคริสต์มาสแคคตัสและอีสเตอร์แคคตัส หรือมังกรคาบแก้ว มีคุณสมบัติอย่างยิ่งซึ่งมีประโยชน์มากคือ มันช่วยดูดคาร์บอนไดออกไซด์ และปลดปล่อยออกซิเจนออกมาในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ Camplant นั่นเอง
 
http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=47703



Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!