วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

ที่ 505/2552 เรื่อง ตั้งผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552

http://www.senate.go.th/postweb/bk_data/601.pdf
ที่ 502/2552 เรื่อง ให้ผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา พ้นจากหน้าที่ ที่ 503/2552 เรื่อง ให้ผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา พ้นจากหน้าที่ ที่ 504/2552 เรื่อง ตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ที่ 505/2552 เรื่อง ตั้งผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552

ที่ 504/2552 เรื่อง ตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552
ที่ 505/2552 เรื่อง ตั้งผู้ปฏิบัติงานให้สมาชิกวุฒิสภา ปีงบประมาณ พ.ศ.2552


เกาะติดคณะกรรมาธิการ
โดยคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสวุฒิสภา และ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา
“ทำชีวิตครอบครัวให้เป็นสุขจากเกมคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร”
0000000000000
คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา จัดการสัมมนา เรื่อง “ทำชีวิตครอบครัวให้เป็นสุขกับเกมคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารรัฐสภา ๒ การสัมมนาเริ่มขึ้นโดย มี นางยุวดี นิ่มสมบุญ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า ปัญหาเด็กและเยาวชนมีความหลากหลาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางการเมืองโลกาภิวัฒน์ และถูกรุมเร้าจากเศรษฐกิจและสังคมทุกด้าน บุคคลหลายคนที่ต้องใช้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีร้อยละ ๔๙ สำหรับเด็กและเยาวชนที่สนใจเฉพาะเรื่องเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดความสนุกความบันเทิงมากกว่าการศึกษาหาความรู้มาจากอินเทอร์เน็ตใน ยุค เทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากการเล่นเกมเพียงอย่างเดียวจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และเกิดปัญหาความเครียดจนทำลายสุขภาพอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังกลายเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ต้องมีผู้เข้ารับการรักษาจากโรคจิตสาเหตุเกิดจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กเยาวชนชายมากกว่าเด็กหญิง ในส่วนของการพักผ่อนโดยการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ควรใช้เวลากับการเล่นอย่างเหมาะสมอยู่สม่ำเสมอ เพื่อฝึกทักษะความสามารถทางสมองที่รับรู้ข่าวสารสื่อเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน
นายอนันต์ วรธิติพงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาสังคม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวว่า ในโลกปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่า เทคโนโลยีได้แพร่หลายรวดเร็วเป็นที่สนใจและหลายฝ่ายได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากการพัฒนาที่เป็นไปได้ไกลของเทคโนโลยีและสารสนเทศ พร้อมทั้งเครือข่ายจากอีกซีกโลกหนึ่งสามารถแข่งขันกันอย่างจริงจัง เกมคอมพิวเตอร์เข้ามาได้อย่างมากมาย ดังนั้น การแข่งขันทางสังคมจึงเป็นสิ่งท้าทายอย่างมาก ซึ่งจะทำได้ยากสำหรับการจะล้าหลังสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต
การสัมมนาครั้งนี้คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ครูผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ตอบรับและได้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเป็นจำนวนถึง 200 คน พร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นระหว่างการสัมมนาอันเป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องส่งวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิธีการแก้ปัญหาเด็กติดเกมและตอบคำถามแก่ผู้รับฟังการสัมมนา
นายปรีชา ไพรภัทรกุล อนุกรรมาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้สรุปปัญหาและผลกระทบต่อพฤติกรรมเด็กและเยาวชนกับเกมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งแม้แต่ต่างประเทศ เด็กและเยาวชนก็ยังติดเกมคอมพิวเตอร์ และกล่าวถึงวิวัฒนาการของเกมคอมพิวเตอร์ที่เคยเป็นสื่อแนวทางเดียวจนกลายเป็นสื่อสองทาง เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตความเป็นจริงปัจจุบันของสื่อสารเทคโนโลยีได้ดังนี้การจัดประเภทเกม แบ่งตามอุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม ได้แก่ เกมพีซี (คอมพิวเตอร์) เกมคอนโซล (เครื่องเล่น) เกมอาเขต (เกมตู้) เกมแฮนด์เฮลด์ (พกพา) การจัดประเภทเกม แบ่งตามลักษณะเนื้อหาเกม (แนวเกม) ได้แก่ แนวต่อสู้ Action (Fighting) สวมบทบาท (Role-playing) Simulations game (flight military space city-building) เกมกีฬา (Sports) เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แข่งรถ เกมแนววางแผน (Strategy) เกมทางการศึกษา (Educational) เช่น เกมแนวปริศนา เกมดนตรี เคาะจังหวะ (Music)
นางเพียงใจ ชโลกุล ตัวแทนผู้ปกครอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลเด็ก และพ่อแม่ต้องพยายามที่จะเรียนรู้ไปกับลูกในกิจกรรมนี้ด้วย ต้องดูแลในเรื่องการใช้เวลาในการเล่นเกมและสังคมเพื่อน สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนก็มีอิทธิพลต่อเด็กในการกำหนดความคิด
ดร. สายพันธุ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล นักวิชาการ ระดับ ๘ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาตัวแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สรุปว่า การแก้ไขปัญหาสำหรับเด็กเยาวชนในครอบครัวโดยทั่วไปสามารถฝึกฝนบุตร ได้ดังนี้ I หมายถึง เด็ก การให้ความสำคัญเต็มที่กับเด็ก สอนให้เด็กทำความดีในสังคม มี 3 I คือ I Have การเฝ้าดูแลระมัดระวังให้ตลอดเวลา I Can ต้องให้เด็กเชี่ยวชาญมีความสามารถทำได้ I Do เด็กส่วนมากต้องการความอิสระทางความคิด ทำตามความคิดเห็นของตนเองได้ สุดท้ายแล้วต้องการให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาให้เป็น
นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้สรุปสาระสำคัญว่า การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นเพียงค่านิยมไม่ใช่วัฒนธรรม คงไม่ใช่เวลาจะมาโทษว่ากรณีเด็กติดเกมใครทำให้เกิด สังคมปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายที่ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้ให้เข้าใจถูกต้องกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ แต่ต้องลงโทษผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง อย่างร้านเกมนั้นถ้ามีเจตนารมณ์ที่ดีที่สร้างสรรค์ ก็สามารถเปิดบริการได้ ในสังคม อย่ามุ่งแต่กำไรเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าคิดว่าเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว กฎหมายก็ต้องลงโทษ ด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มี ซึ่งทุกวันนี้การเพิกเฉยเท่ากับยินดีและยินยอมให้ร้านเกมมีและเปิดต่อไป โดยการเล่นเกมของเด็กเป็นค่านิยมไม่ใช่วัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีงาม การเฝ้าระวังต้องทำการสื่อสารจากภาคประชาสังคมจากพ่อแม่ ครู อาจารย์ กระทรวงวัฒนธรรม และภาคเอกชน ทำการศึกษาเด็กติดเกมคอมพิวเตอร์และเกมอินเทอร์เน็ต โดยจะนำเกมที่คนไทยเป็น Programmer มาจัดพื้นที่ให้เด็กไทยเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการจัดนิทรรศการของการแข่งขันเกมที่ให้ประโยชน์ และมีผลลัพธ์กับสมองเด็กเยาวชนในทางสร้างสรรค์ ซึ่งจะมีการดำเนินการจัดขึ้นในวันเด็กแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๕๒
นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ได้กล่าวถึงสาระสำคัญ ว่า เด็กติดเกมเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง
๑. เพื่อน – ชวน – ตามใจ – เอาอย่าง – ขาดเพื่อนไม่ได้เลยเล่นเกม
๒. ใจ – เหงา – อยากลอง – ลองแล้วติด – ถูกท้าทาย – ขี้เกียจทำงาน
๓. การใช้เวลา – ว่างมากใช้เวลาไม่เป็น
๔. ครอบครัว – ไม่เข้าใจกัน – บ่นมาก
๕. บุคคลิก – คบใครไม่ค่อยได้ – เก็บตัวมักจะไปหาเกม
ส่วนเกมคอมพิวเตอร์ที่เด็กไทยชอบเล่น คือ เกมต่อสู้ ๓๗.๗ % เกมกีฬา ๓๓.๓ % เกมแร๊กนาร๊อก ๒๒.๗% เกมลับสมอง ๒๑.๕ % เกมแฟนตาซี ๑๔.๑ % พร้อมกันนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าใครควรจะทำอะไร และอย่างไรได้แก่ ครอบครัว – ทำความเข้าใจ – การใช้เวลาร่วมกัน – กิจกรรมร่วมกัน – รู้เท่าทันเกม ชุมชน/รอบตัวเด็ก – เฝ้าระวัง+เตือนภัย – ตาสับปะรด โรงเรียน – สอนให้คิดได้ ทำเป็น มากกว่าการใช้เป็น สังคมทั่วไป – ต้องถือเป็นปัญหาร่วม และเป็นโอกาสร่วมที่จะแก้ไขและพัฒนา รัฐบาล – ให้น้ำหนักกับเรื่องคนมากกว่าเรื่องเงิน – เป็นนโยบายหลัก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ – สร้างความตระหนัก – เสนอมาตรการเพื่อเด็กและครอบครัว – การคุ้มครองเด็ก+เยาวชนกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ – ผู้คุ้มกฎ – ชัดเจน – จริงจัง – เข้มข้น เน้นนโยบายผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟท์แวร์ กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญในกระบวนการทั้งหมด – เน้นการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อเป็น Programmer ไม่ใช่แค่เป็น user รัฐสภา – ต้องเป็นจานดาวเทียมถ่ายทอดกฎหมาย/มาตรการ
นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ ๑๐ ข้อปฏิบัติในการดูแลช่วยเหลือเด็กติดเกมหรืออินเทอร์เน็ต
๑. สร้างวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก
๒. ลดโอกาสการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
๓. ใช้มาตรการทางการเงิน
๔. ฟังและพูดดีต่อกัน
๕. จับถูก (การขยันมองให้เห็นด้านดีหรือด้านบวกแม้เล็กน้อยในตัวลูก) ชื่นชม ให้กำลังใจ
๖. ร่วมกำหนดกติกาอย่างเป็นรูปธรรม และบังคับใช้อย่างเข้มแข็งแต่อ่อนโยน มีทางออกที่สร้างสรรค์ให้เด็ก
๗. สร้างรอยยิ้มเล็ก ๆ ในครอบครัว
๘. ควบคุมอารมณ์และสร้างความสุขเล็ก ๆ ในใจของพ่อแม่
๙. เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราทันที
นายพีระศักดิ์ เสนาลัย ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเกมออนไลน์ “เทลส์รันเนอร์” ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นว่า เล่นเกมต้องมีขอบเขตของเวลา ในอีกมุมหนึ่งของการติดต่อสื่อสารในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เป็นสังคมของเด็กและเยาวชนเสริมสร้างการมีสติปัญญาในความเป็นจริง อีกทั้งเพื่อร่วมกันแสดงออกทางความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความภาคภูมิใจ และเพลิดเพลินกับการเล่นเกมยิ่งขึ้น ซึ่งยังดีกว่าการเก็บตัวเงียบอยู่แต่ในบ้านไม่มีอะไรจะทำ รวมถึงความเป็นตัวของตัวเองดีขึ้น
นายชนินทร์วุฒิ กาลจักร ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเกมออนไลน์ “เทลส์รันเนอร์” ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นว่า การเล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นการผ่อนคลาย ไม่ได้ทำให้การเรียนเสียหาย และมีการเล่นกีฬาควบคู่กันไปด้วยทำให้ชีวิตมีความสุขในชีวิตประจำวันได้
ดร. พิจิตรพงศ์ สุนทรพิพิธ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สรุปสาระสำคัญและแสดงความคิดเห็นว่า ส่วนใหญ่เด็กเยาวชนจะมีปัญหาของโลกส่วนตัวที่เพ้อฝันมากไป ต้องแยกแยะทางการเรียนและการทำงานให้ออกจากกัน เกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์จะเปรียบเสมือนดาบ ๒ คม มีทั้งที่สร้างสรรค์และจะทำลายร้าง ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนที่ขาดวุฒิภาวะผู้ปกครองต้องตักเตือนให้ความรู้ความเข้าใจให้ เด็กและเยาวชนรับในสิ่งที่ดีที่สังคมหยิบยื่นให้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันทุกสถาบันต้องให้ความร่วมมือกันส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ดี เพื่อฝึกทักษะทางด้านสมอง อย่างไรก็ตาม ต้องแยกส่วนตัวและหน้าที่ระหว่าง ๒ ภาคให้ชัดเจนภาครัฐต้องมีหน้าที่กำหนด นโยบาย ส่วนผู้ปกครองทำหน้าที่ให้ความร่วมมือและรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะ สมกับสถานการณ์ปัจจุบัน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเรียนรู้และเอาใจใส่แก่เด็กและเยาวชนไทยให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ในอดีต
ทั้งนี้ผู้เข้ารับฟังการสัมมนาได้มีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯจัดให้มีการสัมมนาสำหรับผู้ประกอบการ ผู้กำหนดนโยบายการเปิดร้านเกม และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากเด็กติดเกม.