วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

ปรก อัมระนันทน์

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ถือเป็นโมเดลคลาสสิกของข้าราชการไทย ที่ทรงอิทธิพล เรื่องราวชีวิตของเขามีตำนาน และเรื่องเล่า ที่เกี่ยวกับสังคมชั้นสูงในอดีตอย่างมีสีสันมากทีเดียว ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ ที่บ้าน ซึ่งอยู่ในวังเทวะเวศม์ ที่มีอายุกว่า 80 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 6

“บ้านหลังนี้เป็นส่วนหนึ่งของวังเทเวศร์ ซึ่งเป็นวังของกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ออกแบบโดยชาวอิตาเลียน คนเดียวกันกับ ที่สร้างพระ ที่นั่งอนันตสมาคม” ปิยสวัสดิ์บอกด้วยความภูมิใจ

วิศวกรชาวอิตาเลียนคนนี้ชื่อ E.G. Gollo เข้ามาเมืองไทยในราวปี 2443 ในฐานะ ที่ปรึกษาการก่อสร้างพระ ที่นั่งอนันตสมาคม ส่วนวังเทวะเวศม์ก่อสร้างเสร็จ

ในปี 2461กรมพระยาเทววงศ์ฯ เป็นโอรสของรัชกาล ที่ 4 กับสมเด็จพระปิยมาวดีฯ (เปี่ยม สุจริตกุล) ซึ่งมีโอรสธิดา 5 พระองค์ คือ กรมพระยาเทววงศ์ฯ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา และสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ ซึ่งเป็นทวดของ ดร.ปิยสวัสดิ์ (เป็นพ่อของตา)

“แต่กรมพระสวัสดิฯ ไม่ได้อยู่ ที่นี่ จะมีวังอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แถวถนนพระอาทิตย์ ปัจจุบัน คือ FAO ซึ่งถูกคณะราษฎรยึดไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ปิยสวัสดิ์เล่าให้ฟัง

เขาเล่าว่า วังเทวะเวศม์ไม่ได้ถูกยึดกรมพระยาเทววงศ์ฯ ขายไปทีละส่วน และปู่ของ ดร.ปิยสวัสดิ์ (พระยาวิฑุรธรรมพิเนตุ) ไปซื้อมาก่อนสงครามโลกครั้ง ที่ 2 จากหม่อมเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

“สมัยสงครามโลก วังแถบนี้ไม่ได้โดนระเบิด เพราะระเบิดไปตกลงแถบสี่เสาเทเวศร์ สมัยก่อนมีหลุมหลบภัย ซึ่งปัจจุบันก็ยังเหลืออยู่ เอาดินกลบไว้เท่านั้น ” เขาพาเดินไปบริเวณ ที่คาดว่าจะมีหลุมหลบภัย

บ้านอีกหลัง ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปู่ของปิยสวัสดิ์ก็ซื้อในระยะถัดมา ต่อมาได้ขายให้กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อกระทรวงย้ายออกไปเมื่อไม่นานมานี้ ก็ขายให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยอีกทอดหนึ่ง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซม

เรื่องราวบรรพบุรุษของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดูเหมือนด้านมารดาจะมีความสำคัญในความรู้สึกของเขามากทีเดียว อย่างไรก็ตาม ทางด้านบิดาก็น่าสนใจไม่น้อย

ปรก อัมระนันทน์ บิดาของเขาเป็นนักการทูต และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศในช่วงรัฐบาลเปรมตอนต้นๆ ปรกเป็นบุตรชายของพระยาวิทุรธรรพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) ซึ่งมีบทบาทมากพอควร ในยุคสงครามโลกครั้งสอง พระยาวิทุรฯ จบการศึกษาเนติบัณฑิตไทย และเดินทางไปเรียนต่อด้านกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษา จนถึงตำแหน่งอธิบดีกรมกฤษฎีกา “พอปี 2475 ก็ลาออก เพราะคณะราษฎรไม่เอา” ปิยสวัสดิ์ฟื้นความหลัง จากนั้น ก็ไปสมัครเลือกตั้งส.ส. อุทัยธานี ได้เป็น ส.ส. หลายครั้ง เสียชีวิตไป

เมื่อปี 2514 พระยาวิทุรฯ แต่งงานกับจำรัส ยอดมณี ซึ่งตระกูลยอดมณี เป็นตระกูลคหบดีเจ้าของโรงงานกระเบื้องอันเก่าแก่อยู่ใกล้วัดสระเกศ เธอเป็นผู้หญิง ที่เรียนหนังสือเก่งมาก จบมัธยมปลาย ที่โรงเรียนเซ็นต์โยเซฟ

เรื่องราวทางด้านมารดามีสีสัน และเร้าใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องราวความสัมพันธ์กับรัชกาล ที่ 7 และกรณีเสรีไทย หนังสือ “1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ 23 สิงหาคม 2543” ซึ่งถือเป็นหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด ที่ว่าด้วยเรื่องราวในยุคนั้น ได้บันทึกเรื่องราว ที่ไม่ได้เปิดเผยมาก่อน ที่น่าสนใจอย่างมากไว้หลายเรื่อง ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน หรือ “ท่านชิ้น” เป็นบุตรคนที่ 9 ของกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ผ่านการศึกษาทางทหาร ที่Woolish Military Acadamy โรงเรียนเดียวกับรัชกาล ที่ 7 กลับมารับราชการทหาร และพระนางเจ้ารำไพพรรณีในรัชกาล ที่ 7 ซึ่งเป็นน้องสาว เรื่องจากนั้น ของการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และสละราชสมบัติของรัชกาล ที่ 7 “ท่านชิ้น” จึงเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญนั้น

โดยเฉพาะเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลก ท่านชิ้นได้มีส่วนในขบวนการเสรีไทยคนหนึ่ง แม้ว่าบรรดาเสรีไทยจำนวนหนึ่งไม่ยอมรับก็ตาม

“สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับรุ่นหลัง คือ การที่ตาได้นั่งเก้าอี้เแถวหน้า อยู่ภายในหลังฉากของประวัติศาสตร์ไทย ในช่วง ที่มืดมิด และมีการปิดบังเซ็นเซอร์อย่างแน่นหนา ตาได้รู้ห็นเป็นพยาน ได้ทำงานใกล้ชิด ทั้งกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ตาได้แต่งงานกับสิงหเสนี และตาชิด ผู้บริสุทธิ์ ที่ตกเป็นแพะรับบาปถูกประหารชีวิตในข้อหากรณีสวรรคตนั้น เป็นญาติของยาย” ส่วนหนึ่งของคำนำหนังสือเล่มนี้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ

ข้อเขียนชิ้นนี้ไม่มีความประสงค์จะขยายความหนังสือให้มากเกินไป

มารดาของปิยสวัสดิ์ เป็นลูกสาวคนแรกของท่านชิ้น ซึ่งต่อมาก็คือ ม.ร.ว.ปิ่มสาย อัมระนันทน์ มีชีวิต อยู่ ที่อังกฤษยาวนานถึง 15 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง ที่ท่านชิ้นตามเสด็จรัชกาล ที่ 7 หลังการเปลี่ยนแปลง

การปกครองเธอจบการศึกษาระดับเกียรตินิยม สาขาประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แล้วเดินทางกลับมาเมืองไทยในปี 2494 และได้ทำงาน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเมื่อปิยสวัสดิ์ลืมตามองโลก เธอก็ลาออกจากราชการ ทำงานบ้าน สอนหนังสือ และเขียนหนังสืออยู่ ที่บ้าน เธอถูกฆาตกรรมเสียชีวิตเมื่อปี 2520 ณ บ้านเทเวศร์

ปัจจุบัน ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ในฐานะบุตรคนโตของครอบครัว และดูแลบ้านเทเวศร์อย่างดี ในฐานะคนที่มีความรักในศิลปะชื่นชอบสิ่งที่แสดงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของทั้งตัวบ้าน และของสะสมจำนวนหนึ่ง ในบ้านเนื้อ ที่ 2 ไร่กว่าในปัจจุบัน

ปิยสวัสดิ์แต่งงานกับอานิก วิเชียรเจริญ นักเรียนอังกฤษด้วยกัน (บุตรสาว ดร.อดุล วิเชียรเจริญ) ปัจจุบันทำงาน ที่บริษัทเชลล์ ครอบครัวของเขาเป็น

ครอบครัวเล็กๆ มีบุตรชาย 2 คน อายุ 14 ปี และ 16 ปี กำลังศึกษาอยู่ ที่อังกฤษ

แม้จะมีบ้าน ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ครอบครัวปิยสวัสดิ์ ดำเนินชีวิตอย่างธรรมดาไม่หรูหรา มีบ้านพักตากอากาศเป็นคอนโดริมทะเลชะอำ ในบริเวณใกล้เคียงกับตำนานการสร้างงานด้านเกษตรสมัยใหม่ของตาของเขา
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=499