วันนี้คุณแต่งตัวไปงานตรงตาม Dress code หรือไม่ ? (1) |
โดย แดงส์ ตักสิลา | 23 มิถุนายน 2552 18:06 น. |
|
fashionhora@gmail.com การแต่งกาย ที่อดีตเป็นแค่การนุ่งห่มปกปิดร่างกาย โดยเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และค่อยๆ พัฒนาเพิ่มความงาม หรือสุนทรียภาพ ในการมองเห็นภาพรวมตัวตนของตนเอง หรือมองเห็นคนรอบด้าน และเมื่อแฟชั่นคือ นิยามชัดว่าเป็นการแต่งกายให้ดูดี เหมาะสม ลงตัว เท่าทันเท่าเทียม กับกระแสแนวนิยมสากล หรือค่านิยมกลุ่ม การแต่งกายก็กลายมาเป็นศาสตร์แห่งศิลปะที่ล้ำลึก
| ในอดีตซึ่งปัจจุบันก็ยังคงอยู่ แต่เราจะสนใจหรือไม่ คือ การระบุ Dress code หรือรูปลักษณ์เฉพาะการแต่งกาย ที่มุมล่างซ้ายหรือขวาของบัตรเชิญ คำเฉพาะหรือที่เรียกว่า Dress code นั้นรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมและค่านิยมสากล เป็นเสมือนรหัสภาพรวมพลังตัวตน (Image Power) ที่ผู้จัดงานกำหนดช่วงเวลา รูปแบบงาน สถานที่ บรรยากาศแล้ว ต้องการให้แขกที่ได้รับเชิญมางาน เลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ และด้วยความเป็นสากล คนที่เข้าใจมาตรฐานก็ต้องแต่งให้ตรงตามรหัส หรือ Dress code นั้น แต่ผมเริ่มไม่แน่ใจว่าคนไทยแต่งตัวออกงานไปร่วมงาน ให้ความสำคัญกับ Dress code หรือไม่เข้าใจ หรือไม่สนใจ หรืออยากจะแต่งตามแต่ตนเองจะแต่ง ??
| พจนานุกรมของ Cambridge ให้นิยามของคำว่า Dress code 2 นิยามคือ dress code (noun) 1 UK: an accepted way of dressing for a particular occasion or in a particular social group: รูปแบบเฉพาะการแต่งกายเพื่อวาระโอกาส หรือกาลเทศะในกลุ่มสังคมเฉพาะที่กำหนดขึ้น นิยามอังกฤษส่วนใหญ่จะเป็นการแต่งกายที่เป็นทางการ เช่น งานเลี้ยง งานราตรีสโมสร งานปาร์ตี้เฉพาะกลุ่ม 2 US: a set of rules for what you can wear: รูปลักษณ์เฉพาะเงื่อนไข หรือกติกาว่าด้วยสไตล์การแต่งกายที่เราควรจะใส่ไปแต่ละสังคม นิยามอเมริกันครอบคลุมเพิ่มไปถึงเรื่องเครื่องแบบพนักงาน นักเรียน นักศึกษา ที่ถือว่าเป็น Dress code เช่นกัน
| ไทยเราก็มีวัฒนธรรมการแต่งกายที่กำหนดรูปลักษณ์เชิง Dress code ไว้เช่นกัน แต่จะเริ่มต้นมาจากการแต่งกายไปร่วมพิธีการต่างๆ และพัฒนากลายมาเป็นเครื่องแต่งกายยามมีกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินาถ ก็ได้ทรงพระราชทานเครื่องแต่งกายที่เรียกว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" ซึ่งแยกเป็นไทยเรือนต้น ไทยอัมรินทร์ ไทยบรมพิมาณ ไทยดุสิต ไทยจักรี ไทยจักรพรรดิ เป็นต้น แต่ละสไตล์ก็มีความเหมาะสมสำหรับการแต่งไปร่วมงานในลักษณะต่างๆ มีรายละเอียดชิ้นส่วนองค์ประกอบชัดเจน ซึ่งปัจจุบันไม่แน่ใจว่า คนไทยจะยังรู้จักและให้ความสนใจหรือไม่ ผมดูรูปถ่ายจากงานสังคมในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ข่าวสารผ่านรายการโทรทัศน์ ทั้งจากงานสังคมต่างๆ การมาเป็นแขกรับเชิญออกรายการ ทั้งเกมส์โชว์ ทอล์คโชว์ หรือนั่งเล่าเรื่องส่วนตัว เห็นสไตล์การแต่งกายแล้ว มีทั้งที่ดูดี เหมาะสม ลงตัว และมีทั้งดูดี แต่ไม่เหมาะสม และดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจแต่งมาออกงาน เหมือนไม่ให้เกียรติ รวมทั้งแต่งในสไตล์ ที่ถือเป็นภาพลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งเห็นชัดจากกลุ่มที่ทำงานด้านศิลปะ ผมเห็นบางคนใส่กางเกงยีนส์ เสื้อยืด ยืนถ่ายรูปกับคนอื่นๆ ที่แต่งตัวเนี้ยบเป็นทางการ ผมเห็นคนใส่กางเกงสามส่วน เสื้อปล่อยชาย ท่ามกลางคนแต่งตัวทำผมแต่งหน้าจริงจังเป็นทางการ ผมเห็นผู้หญิงบางคนปรากฏกายด้วยความยับเยินจากชุดที่คงใส่ทำงานมาทั้งวันแล้ว พร้อมๆ กับเห็นคนแต่งตัวแบบตั้งใจแต่งมากจนเกินบรรยากาศงาน
| | | อักขระรหัสกลุ่ม Occasion ของรหัสพลังตัวตน (HEP Lifecode) แยกออกเป็น อักขระรหัส W มาจาก Workwear Style คือ Dress code ที่เน้นให้แต่งกายด้วยภาพรวมพลังตัวตน สื่อชัดๆ ว่า แต่งตัวไปทำมาหากิน ซึ่งคงต้องแปรผันไปตามการงานที่ทำมาหากิน ด้วยหน้าที่การงานแบบใด อักขระรหัส SE มาจาก Social Event Style คือ Dress code ที่เน้นให้ต้องตระหนักว่า กำลังแต่งตัวไปให้คนอื่นมองเห็น ณ สถานที่สังคมต่างๆ ซึ่งคงต้องพิจารณาว่ากำลังไปปรากฏกายในสังคมที่กำลังมีกิจกรรมอะไร อักขระรหัส ATW มาจาก All Time Wear คือ Dress code ที่เน้นให้รู้ตัวเลยว่า วันนี้กำลังแต่งตัวในภาพรวมที่สื่อพลังตัวตน แบบลุยไปได้ทุกที่ ไม่ว่าจะไป Workplace หรือออกสังคม หรือไปงานเลี้ยงที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งคงต้องดูว่าเราเป็นใคร และต้องการสื่อภาพรวมพลังตัวตนใด มักเป็นเสื้อผ้าแนวผสมผสาน สลับสับเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ อักขระรหัส VO มากจาก Very Occasion Style คือ Dress code ที่ชัดเจนเลยว่า กำลังแต่งไปร่วมงานสังคมโอกาสพิเศษ มีการแจ้งล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการปรากฏกาย ณ ที่ใด ร่วมกับใครบ้าง การแต่งกายอักขระรหัสนี้คือ ปัญหาเรื้อรังในปัจจุบัน เห็นผู้คนแต่งกายหลากหลาย และไม่เข้าใจว่าควรจะแต่งอย่างไร ให้ตนเองดูดี มีพลังตัวตน เหมาะสมกับรูปแบบงานและคนร่วมงาน Dress code เป็นสาระที่น่าสนใจ ผมจะนำมาเล่าต่อในตอนต่อไป ตอนนี้แค่เริ่มเกริ่นให้เริ่มตระหนักกันก่อนว่า ต้องใส่ใจ สนใจ ตัวอักษรเล็กๆ มุมล่างซ้าย หรือขวาของบัตรเชิญว่า เขาระบุ Dress code ให้แต่งตัวนิยามใด และเข้าใจในนิยามนั้นหรือไม่ เพื่อจะได้เลือกแต่งกายด้วยองค์ประกอบที่มารวมตัวกันแล้ว ทำให้เราดูดีมีพลังตัวตน เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ตอนต่อไปมาทำความรู้จักกับนิยามของแต่ละ Dress code ในบัตรเชิญ ตัวอย่างต่อไปนี้กันนะครับ Attire ,Outfit, Casual, Casual Sport, Smart Casual, Business Formal Attire, Business Casual Attire, Business Casual Sport Attire, Business Very Occasion Attire. | http://www.manager.co.th/lady/viewnews.aspx?NewsID=9520000070976 |
Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
Windows Live™: Keep your life in sync.
Check it out!