วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เด็กนักเรียนก็เสี่ยง! หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เด็กนักเรียนก็เสี่ยง! หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


    เปิดเทอมทีไร...เห็นเด็กนักเรียนทั้งแบก   ทั้งหิ้ว  กระเป๋านักเรียนใบใหญ่  ที่ข้างในเต็มไปด้วยสมุด  หนังสือ  อุปกรณ์การเรียน  ของเล่น  หรืออื่นๆ  อีกมากมาย  โดยไม่เคยรู้เลยว่าการแบกน้ำหนักเกินตัวเกือบ  10  กิโลกรัมไปโรงเรียนทุกวัน  อาจกลายเป็นอันตรายต่อระบบโครงสร้างร่างกาย  กระดูกสันหลัง  ส่งผลเสียในระยะยาวโดยที่พ่อแม่อาจคาดไม่ถึง
    นางบัณลักข  ถิรมงคล  ผู้อำนวยการคลินิกกายภาพบำบัด  ดีสปายน์  ไคโรแพรคติก  ให้ข้อมูลว่า  สภาพร่างกายและโครงสร้างทางร่างกายของเด็กไทยในยุคปัจจุบันผิดปกติไปจากเดิมมาก  ทั้งนี้  เป็นผลมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่สมดุล  ทั้งการเดิน  นั่ง  นอน  หรือแม้แต่การแบกกระเป๋าหนักๆ  ก็อาจส่งผลทำให้โครงสร้างร่างกายของเด็กผิดปกติได้
     จากข้อมูลของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคระบุว่า   เด็กน้อยในระดับชั้น   ป.1  ป.2  และ  ป.3  ไม่ควรแบกกระเป๋าหนักเกินร้อยละ  10  ของน้ำหนักตัว  แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ากระเป๋านักเรียนของเด็กๆ  มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ  20  ของน้ำหนักตัว  สมมติว่าน้ำหนักตัว  30   กิโลกรัม  กระเป๋านักเรียนจะต้องไม่หนักกว่า  3  กิโลกรัม  แต่ประมาณ  80  เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาใช้กระเป๋าหนักเกินร้อยละ  20  ของน้ำหนักตัว  ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติและไม่เหมาะสมกับวัยจะส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลัง   ทำให้ความโค้งของกระดูกสันหลังผิดรูปร่างได้
     นางบัณลักขกล่าวว่า   นักเรียนส่วนใหญ่จะใช้กระเป๋าประเภทสะพายไว้ข้างหลัง  ทำให้น้ำหนักของกระเป๋ากดทับโดยตรงกล้ามเนื้อต้นคอ   ไหล่  หลัง  และกระดูกสันหลัง  ทำให้เด็กประมาณ   29  เปอร์เซ็นต์  มีอาการปวดคอ  ไหล่  หลัง  หรือแม้กระทั่งอาการปวดศีรษะ   หากไม่ได้รับการดูแล  การกดทับของน้ำหนักกระเป๋าจะลงไปสู่กระดูกสันหลังของเด็ก  และหมอนรองกระดูกอาจจะเกิดปัญหาได้   หากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะเกิดผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสุขภาพของนักเรียนต่อไปในอนาคต
    สำหรับแนวทางการป้องกันนั้น   นางบัณลักขให้คำแนะนำว่า  วิธีดีที่สุดก็คือการใช้กระเป๋านักเรียนที่ใส่สัมภาระน้ำหนักไม่เกินร้อยละ   10  ของน้ำหนักตัว  และที่สำคัญขนาดของกระเป๋าก็จะต้องมีขนาดและรูปร่างที่พอดีกับตัวของเด็ก   โดยจัดวางสิ่งของในกระเป๋าอย่างเหมาะสม   โดยให้กระจายน้ำหนักเท่ากันทั้ง   2   ด้าน  หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของหนักเพียงด้านเดียว   ถ้าหากเป็นกระเป๋าสำหรับสะพายไหล่   ควรจะมีความกว้างมากกว่า  6  ซม.  เพราะสายเล็กจะทำให้เกิดการกดทับบริเวณไหล่ได้  และอาจกดลึกจนมีผลต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้   ถ้าหากเป็นกระเป๋าสำหรับสะพายหลัง    ควรปรับสายสะพายเพื่อให้กระเป๋าแนบบริเวณหลัง  ไม่ห้อยต่ำ  ก้นกระเป๋าต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าบั้นเอว  ควรแนะนำเด็กให้เดินตัวตรง  ไม่เอนตัวไปข้างหน้า  หรือทำหลังค่อมเพื่อรับน้ำหนัก  การแบกกระเป๋าจะต้องใช้สายสะพายไหล่ทั้งสองข้างเพื่อให้เกิดความสมดุล  หากสะพายข้างใดข้างหนึ่งอาจทำให้ไหล่รับน้ำหนักไม่เท่ากัน   และส่งผลทำให้ไหล่ไม่เสมอเท่ากัน  และอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการปวดต้นคอ  ไหล่  และหลังได้
     นางบัณลักขกล่าวทิ้งท้ายว่า  ถ้าหากเด็กเกิดอาการปวดหลัง  ปวดคอ  ปวดไหล่  หรือปวดศีรษะ  ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบโครงสร้างร่างกาย  เพราะหากเกิดการกดทับของแนวเส้นประสาทแล้วจะทำให้ระบบต่างๆ   ที่สัมพันธ์กันถูกรบกวน   ทำให้เกิดความเจ็บปวด  แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอาศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกมาใช้ในการป้องกันรักษาเกี่ยวกับระบบโครงสร้างของร่างกาย  โดยเฉพาะกระดูกสันหลังของเด็ก  ซึ่งจะเป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยาหรือผ่าตัด  ขั้นตอนการตรวจรักษาจะใช้มือเป็นหลัก  ขึ้นอยู่กับเทคนิคการรักษาของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน  ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้รับการตรวจสุขภาพกระดูกสันหลังแต่เนิ่นๆ  หลังจากที่มีการปรับโครงสร้างร่างกายที่มีปัญหากลับเข้าที่  ก็จะทำให้ระบบการทำงานต่างๆ  ของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล  กลไกอัจฉริยะที่มาพร้อมกับร่างกายอยู่แล้ว  ก็จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่  อาการปวดหรือเจ็บป่วยก็จะลดลง  ทั้งยังส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีให้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย.
http://www.thaipost.net/x-cite/010709/7056

Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com




Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!