วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ศิริราชเตรียมพัฒนาผ่าตัดรักษาทารกในครรภ์ที่กระดูกสันหลังพิการ



--- On Mon, 5/18/09, JeaB <kwanruthai@dpiap.org> wrote:

From: JeaB <kwanruthai@dpiap.org>
Subject: ศิริราชเตรียมพัฒนาผ่าตัดรักษาทารกในครรภ์ที่กระดูกสันหลังพิการ
 Date: Monday, May 18, 2009, 9:36 PM

ศิริราชเตรียมพัฒนาผ่าตัดรักษาทารกในครรภ์ที่กระดูกสันหลังพิการ
19 พฤษภาคม 2552

ศิริราชเตรียมพัฒนาผ่าตัดรักษาทารกในครรภ์ที่กระดูกสันหลังพิการ 

เมื่อเวลา ๑๓.๓๐ น.ที่ผ่านมา (๑๘ พ.ค.)ที่ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เป็นประธานแถลงข่าว "ศิริราชส่องกล้องรักษาแฝดในครรภ์แก้ไขหลอดเลือดที่รกผิดปกติ สำเร็จเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" โดยมีนพ.ชาญชัย วันทนาศิริ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ นพ.ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด และนพ.อนุวัฒน์ สุตัณฑวิบูลย์ แพทย์ผู้รับผิดชอบการตั้งครรภ์ และนางญาณี โพธิบัวทอง ที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาแฝดในครรภ์แก้ไขหลอดเลือดที่รกผิดปกติซึ่งมาพร้อม บุตรชายแฝดทั้ง ๒ คน คือ น้องเจเจ และน้องบีบี อายุ ๒ เดือน ๑๑ วัน ร่วมแถลงข่าว โดย นพ.อนุวัฒน์ กล่าวว่า กรณีนางญาณีเมื่อครั้งที่เข้ามาฝากครรภ์ โดยเข้ามาฝากครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ได้เพียงประมาณ ๑ เดือน ซึ่งถือว่าฝากครรภ์เร็ว แต่เนื่องจากนางญาณีมีอายุค่อนข้างมาก จึงแนะนำให้อัลตราซาวด์ จึงพบว่ามีลักษณะการตั้งครรภ์แฝด โดยคนหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ขณะที่อีกคนมีขนาดเล็กกว่าปกติเล็กน้อย จากลักษณะของทารกจึงคิดว่าน่าจะเกิดจากไข่ใบเดียวกัน และจากการเฝ้าสังเกตช่วง ๒ สัปดาห์พบว่า มีการเชื่อมต่อของหลอดเลือดระหว่างทารกทั้งสอง ที่สำคัญมีการถ่ายเลือกระหว่างทารกบ้างแล้วแต่ยังไม่มาก ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า โรคถ่ายเลือดในครรภ์แฝด

นพ.อนุวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกทั้งคู่ประมาณ ๑๖ สัปดาห์ พบว่าเด็กมีขนาดต่างกันจนน่าวิตก เพราะการถ่ายเลือกของทารกทั้งคู่มีคนหนึ่งเป็นผู้ถ่ายเลือด ทำให้มีการเติบโตช้า และมีน้ำคร่ำน้อย ส่วนทารกที่รับเลือดจะมีขนาดตัวโตผิดปกติ มีน้ำคร่ำมาก หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดภาวะเลือดข้น บวมน้ำ หัวใจล้มเหลว และส่งผลให้ทารกเสียชีวิตทั้งคู่ และทางคณะแพทย์เห็นว่าการใช้กล้องส่องตรวจทารกในครรภ์ หรือฟีโตสโคป น่าจะเป็นการรักษาที่ดีที่สุด จึงตัดสินใจรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องดังกล่าว

นพ.ตวงสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดจะใช้กล้องฟีโตสโคป ที่มีขนาดเล็กเพียง ๒ มิลลิเมตร สอดเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วใช้เลเซอร์ที่มีกำลังต่ำจี้ตัดหลอดเลือดให้ขาดออกจากกัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่เชื่อมระหว่างทารกทั้งสองหยุด ใช้เวลาผ่าตัดไม่ถึง ๑ ชั่วโมง จากนั้นให้พักฟื้นที่โรงพยาบาลอีก ๒ วัน เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ก่อนให้นางญาณีกลับบ้านจนกว่าจะครบกำหนดคลอด อย่างไรก็ตามทางคณะแพทย์ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามทารกในครรภ์ของนางญาณี อย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และประเมินสถานการณ์ ก่อนที่จะตัดสินใจร่วมกับนางญาณี ที่จะผ่าตัดคลอดหลังจากตั้งครรภ์ได้ ๓๕ สัปดาห์ เมื่อวันที่ ๖ มี.ค. ที่ผ่านมา และได้บุตรชายทั้งคู่ คือน้องเจจ และบีบี ทั้งนี้การดูแล รักษา ทารกในครรภ์ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องดังกล่าว ถือเป็นการทำเสร็จแห่งแรกในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้าน นพ.วิทยา กล่าวว่า การเกิดครรภ์แฝดจะมี ๒ ลักษณะ คือครรภ์แฝดมีไข่ ๒ ใบ กับครรภ์แฝดมีไข่ใบเดียว ซึ่งกรณีในไข่ใบเดียวกันจะมีโอกาสเกิดขึ้นยากกว่า โดยมีโอกาสเกิดขึ้น ๑ ใน ๒๕๐ และถ้าเป็นกรณีของนางญาณี ที่มีหลอดเลือดของทารกเชื่อมติดกันนั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้น ๖ ใน ๑๐,๐๐๐ คน เท่านั้น ขณะที่ นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า ต่อไปทางคณะแพทยศาสตร์จะพัฒนาการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องรักษาแฝดในครรภ์แบบ กาฝาก ที่จะส่งผลให้เกิดการแท้ง รวมทั้งจะพัฒนาไปยังการรักษาทารกในครรภ์ที่มีความพิการของกระดูกสันหลัง และไส้เลื่อนกระบังลมด้วย ( ไทยรัฐออนไลน์ ๑๙ พค. ๒๕๕๒ http://www.thairath.co.th/today/view/6879 )

 

ขออภัยหากอีเมลฉบับนี้เป็นการรบกวน  

ขอบคุณค่ะ

ขวัญฤทัย  สว่างศรี

 

 

 

Ms. Kwanruthai Savangsri

National Project Coordinator

********************************************************************

Disabled Peoples' International Asia-Pacific Region (DPI/AP)

29/486 Moo 9, Soi 12, Muang Thong Thani, Bangpood Sub-district , Pakkred District Nonthaburi Province 11120 THAILAND

Tel: 66-2503-4268 Fax: 66-2503-4269

Email: kwanruthai@dpiap.org and iam_jeabja@hotmail.com

Website: http://www.dpiap.org/

********************************************************************