วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องถิ่น และภาษีป้าย จำเป็นต้องเสียภาษีเพื่อป้องกันการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องถิ่น และภาษีป้าย จำเป็นต้องเสียภาษีเพื่อป้องกันการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง


รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องถิ่น และภาษีป้าย จำเป็นต้องเสียภาษีเพื่อป้องกันการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง โดยสามารถยื่นต่อเขตเพื่อขอผ่อนชำระได้สูงสุด 24 งวด
นายธีรชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โครงการภาษีเติมสุข เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจและรับรู้เรื่องการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องถิ่น และภาษีป้ายอย่างถูกต้อง รวมถึงให้เกิดความตระหนักถึงหน้าที่การเสียภาษีอื่นนอกจากภาษีรายได้ส่วนบุคคล เพราะปัจจุบัน กทม.จัดเก็บภาษีทั้ง 3 ประเภทได้ต่ำกว่าเป้า ทั้งนี้ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน เจ้าของโรงเรือนต้องยื่นแบบแจ้งรายการ ภ.ร.ด.2 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และชำระภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ส่วนภาษีบำรุงท้องที่ ต้องชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี และสำหรับภาษีป้ายต้องยื่นแบบแจ้งรายการภาษีป้าย หรือ ภป 1 เพื่อชำระภายในเดือนมีนาคมของทุกปี แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งป้ายใหม่ภายหลังเดือนมีนาคม ต้องยื่นแบบภายใน 15 วันนับจากวันติดตั้ง ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนในการชำระภาษี โดยผ่านระบบ teller payment ของธนาคารกรุงไทย โดยนำแบบแจ้งการประเมินพร้อมใบแจ้งการชำระภาษีไปชำระที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งมีค่าธรรมเนียมเพียง 10 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถชำระได้ที่สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่กองการเงิน สำนักการคลัง กทม. หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2224-6369 หรือ 0-22266221
นายมโนมัย กล่าวอีกว่า ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว แต่ละเลยจะต้องเสียค่าปรับ และชำระภาษีย้อนหลัง ส่วนผู้ที่ต้องการผ่อนชำระภาษีสามารถติดต่อกับสำนักงานเขตเพื่อขอผ่อนชำระ โดยสามารถผ่อนได้สูงสุดถึง 24 งวด ทั้งนี้กรุงเทพมหานครจะนำเงินจากการจัดเก็บภาษีที่ได้เพื่อไปพัฒนาโครงการต่างๆ ของ กทม.ต่อไป
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255203270232&tb=N255203&news_headline=ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน%20ภาษีบำรุงท้องถิ่น%20และภาษีป้าย%20จำเป็นต้องเสียภาษีเพื่อป้องกันการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง