วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

e-Digest+ August 2009 - Thalassemia, Bone Marrow Transplantation, Hematopoietic Stem Cell Transplantation






 



From: edigest@bangkokhospital.com
To: 
Subject: e-Digest+ August 2009 - Thalassemia, Bone Marrow Transplantation, Hematopoietic Stem Cell Transplantation
Date: Mon, 10 Aug 2009 22:50:29 -0400

  If you cannot see this e-mail, please click here
Click  
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
โรงพยาบาลวัฒโนสถ
รับคำปรึกษาแพทย์
โปรแกรมและแพคเกจ
ติดต่อเรา
 
 
Bangkok Health Knowledges
>> "ธาลัสซีเมีย" ติดโผโรคเสี่ยงตายด้วยหวัด 09 ชี้กินน้ำน้อยมีสิทธิ์ช็อก
>> 8 คำถามที่อยากรู้เมื่อลูกเป็นธาลัสซีเมีย
>> พบวิธีรักษาแล้ว ธาลัสซีเมีย
>> เปลี่ยนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
>> ภาวะโลหิตจาง
>> สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
>> การวินิจฉัยโรคเบาหวานในเด็ก และวัยรุ่น
>> สารเคอร์คิวนอยด์ (Curcuminoid)
Monthly Healthy Programs
การเตรียมความพร้อมก่อน
การสมรส
การตรวจเบื้องต้นเพื่อหา
สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
สัมภาษณ์ รศ.นพ.
ปรีดา วาณิชยเศรษฐกุล
เรื่อง "การปลูกถ่าย
ไขกระดูก
"
Bangkok Promotions
Related Centers and Clinics
คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลกรุงเทพ มี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยาผู้มี ประสบการณ์ออกตรวจประจำ ให้คำแนะนำ ดูแล รักษาเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีภาวะโลหิตจาง สาเหตุจากโรคธาลัสซีเมีย การให้บริการทาง สุขภาพจะเป็นไปอย่างครบถ้วน ครอบคลุม และประยุกต์ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย หรือผู้มารับ คำปรึกษาแต่ละราย
>> คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากกรุงเทพ โรงพยาบาล กรุงเทพ ตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังจะช่วยสานความฝัน ของคู่สมรส เพื่อให้กำเนิดลูกน้อยตามที่ต้อง การ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการ รักษาผู้มีบุตรยากที่จะให้คำปรึกษาและ การดู แลอย่างครอบคลุม เรามีห้องปฏิบัติการเทคโน โลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยและได้ มาตรฐาน ระดับสากลในการรักษาคู่สมรสที่มี บุตรยากจากสาเหตุต่างๆ อาทิ
o การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก
o กิ๊ฟท์
o ซิฟท์
o เด็กหลอดแก้ว หรือ ไอ.วี.เอฟ.
o การฉีดอสุจิเพียงหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ ไข่หรืออิ๊กซี่
>> คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
Medical Consultation
Make an Appointment
Unsubscription
หากท่านไม่ต้องการรับข่าวสารทาง e-mail จากศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ ท่าน สามารถยกเลิกการรับข่าวสารได้ที่
SureStopTM Unsubscribe ด้านล่างค่ะ
 
โรคธาลัสซีเมีย (thalassemia)
เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย คนไทย ร้อยละ 1 หรือประมาณ 600,000 คน เป็นโรคธาลัสซีเมีย และร้อยละ 40 ของ ประชากรไทยเป็นพาหะของโรค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยทุกคนจะต้องมี อาการรุนแรงเสมอไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่า 5 แสนคน จะเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิด เอช ซึ่งเกิดจากแอลฟ่า 1 ผนวกกับแอลฟ่า 2 หรือแอลฟ่า 1 ผนวกกับซีเอส
โดยจะมีอาการซีดตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงปานกลาง
ธาลัสซีเมีย หมายถึงความผิดปกติในการสร้างโปรตีนอันเป็นส่วน ประกอบของโมเลกุลของฮีโมโกลบิน โดยร่างกายสร้างได้น้อยไป ธาลัสซีเมียมี ชนิดใหญ่ๆอยู่ 2 ชนิด สุดแล้วแต่เส้นโปรตีนใดที่น้อยไป คือแอลฟ่า ธาลัสซีเมีย (α-thalassemia) และเบต้า ธาลัสซีเมีย (β-thalassemia) ทั้งแอลฟ่าและเบต้า ธาลัสซีเมีย ยังมีชนิดแยกย่อยลงไปอีกมาก เมื่อกล่าวถึงธาลัสซีเมียจะหมายรวม ถึงทั้งธาลัสซีเมียและ ฮีโมโกลบินที่ผิดปกติเพราะมีความสัมพันธ์กัน
ผู้มียีนแฝงอยู่หรือเป็นพาหะ
ผู้มียีนแฝงอยู่หรือเป็นพาหะ คือผู้ที่มียีนหรือสารพันธุกรรมผิดปกติ ที่ทำให้เป็น โรคธาลัสซีเมียแฝงอยู่ บุคคลเหล่านี้จะมีสุขภาพปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่ถือว่า เป็นโรค จะมีชีวิตยืนยาวเหมือนบุคคลอื่นๆ แต่สามารถถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมีย ต่อไปให้ลูกได้ ในประเทศไทยมีประชากรที่เป็นพาหะหรือมียีนธาลัสซีเมียชนิด ต่างๆแฝงอยู่ประมาณร้อยละ 40 หรือประมาณ 24 ล้านคน
โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
1. ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนแฝง (พาหะทั้งคู่) ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ ลูกจะเป็นโรคเท่ากับร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับร้อย ละ 50 หรือ 2 ใน 4 ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกไม่มียีนแฝงเท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4
2. ถ้าพ่อหรือแม่เป็นยีนแฝง (พาหะ) เพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นยีน แฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4 โอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4
3. ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียเพียงคนเดียว และอีกฝ่ายมี ยีนปกติ ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะมียีนแฝง หรือเท่ากับร้อยละ 100
4. ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเพียงคนเดียว และอีกฝ่ายมียีนแฝงใน การมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4 โอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย อาศัยลักษณะประวัติอาการเจ็บป่วย ประวัติญาติ พี่น้องในครอบครัว ตรวจร่างกายพบว่าซีด ตับม้ามโต รวมทั้งการตรวจเลือดพบ เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ หรือตรวจพบชนิดของฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ
แนวทางการรักษา
1. การรักษาพื้นฐาน คือ การให้เลือด และการให้ยาขับเหล็ก
2. การให้เลือด เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ป่วยธาลัสซีเมียจำนวนมาก จึงมีปัญหา ที่ไม่สามารถให้เลือดผู้ป่วยที่ควรได้รับเลือดทุกคนอย่างเต็มที่ ส่วนการให้ยาขับ เหล็ก ผู้ป่วยควรได้รับยาขับเหล็กเพื่อขจัดภาวะเหล็กเกิน เพราะภาวะเหล็กเกิน ก่อให้เกิดพยาธิสภาพหลายแห่ง ปัญหาคือ ยาขับเหล็กมีราคาแพง และการให้ก็ ยากลำบาก desferrioxamine เป็นยาขับเหล็กตัวเดียวที่ใช้กันมา 3 ทศวรรษ การบริหารยานี้ต้องใช้เครื่องฉีดติดตัวที่สามารถฉีดเข้าใต้ผิวหนังต่อเนื่อง อัตโนมัติ ในระยะหลังมีการใช้ยา L1 ที่เพิ่งออกวางตลาด
3. การรักษาด้วยการกระตุ้นการสร้าง Hb F ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ที่มีการสร้าง Hb F มาก เม็ดเลือดแดงจะมีอายุมากขึ้น ทำให้ระดับฮีโมโกลบินสูง ปัจจุบันมียา 3 ตัว ที่กระตุ้นการสร้าง Hb F ได้แก่ hydroxyurea, butyrate และ erythropoietin การใช้ยาเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน สูงขึ้น ทำให้สบายขึ้น ลดหรือขจัดการต้องถ่ายเลือดให้
4. การรักษาให้หายจากโรคธาลัสซีเมีย ได้แก่ การปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplantation) การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ (stem cell) และ การรักษาด้วยยีน (gene therapy)
ปัญหาของการปลูกถ่ายไขกระดูก
คือ ทำได้ยาก ราคาแพงประมาณ 1 ล้านบาทต่อราย และทำได้น้อยคน ส่วนการ รักษาโดยใช้สเต็มเซลล์ ซึ่งใช้วิธีการแยกเซลล์ตัวอ่อนจากไขกระดูกเลี้ยงเพิ่ม จำนวนแล้วฉีดเข้าไปในร่างกายใหม่ ได้เซลล์จำเพาะ เพื่อให้เซลล์สร้างเม็ดเลือด แดงได้ ขณะนี้มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก ค่ารักษาจะถูกกว่าการเปลี่ยนไข กระดูกประมาณ 2 แสนบาทต่อราย
สำหรับการรักษาด้วยยีนนั้น ขณะนี้ทำได้แล้วในสัตว์ทดลอง จึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตจะสามารถรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยีน
นายแพทย์วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ >> คลิกที่นี่
นัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ >> คลิกที่นี่
ข้อมูลนี้สงวนสิทธิ์การเผยแพร่เฉพาะสมาชิก e-digest+ ของศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพเท่านั้น
Copyright © 2009 Bangkok Hospital Medical Center (BMC) 2 Soi Soonvijai 7, New Petchburi Rd., Bangkok 10310, Thailand.

This e-mail was sent to: churchan@hotmail.com.
You have received this email because you subscribed with Bangkok Hospital and agreed to receive e-mail.
If you received this message in error or wish to be removed from this mailing list please click on or copy the unsubscribe link below.

 SureStopTM Unsubscribe



ปาร์ตี้ไปกับ Buddy! เติมประกายให้ Messenger ของคุณด้วย emoticons ฟรีๆ คลิกที่นี่เลย