วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"กาฬโรคปอด" โรคร้ายที่ควรรู้

 
"กาฬโรคปอด" โรคร้ายที่ควรรู้


กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague) เป็นหนึ่งในสามประเภทของกาฬโรค อีก 2 ประเภทคือ กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague) และกาฬโรคเลือด (Septicemic Plague) กาฬโลกทั้ง 3 ประเภทนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกัน คือ Yersinia pestis แต่มีอาการที่แตกต่างกัน กาฬโรค ปอดเป็นโรคที่น่ากลัวมาก มีการติดต่อจากคนสู่คนด้วยการได้รับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่งของ ผู้ป่วย แบบเดียวกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งกำลังระบาดและตื่นตระหนกกันอยู่ในขณะนี้มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 เท่านั้น


ข้อมูลทั่วไปของโรคกาฬโรคปอด


สาเหตุ :

ได้รับเชื้อแบคทีเรีย Yersinia pestis

พาหะ :

เชื้อ Yersinia pestis จะอยู่ในสัตว์ฟันแทะ (Rodent) เช่น หนู กระรอก กระแต เม่น บีเวอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนู และเห็บหรือหมัดหนูซึ่งกินเลือดจากหนูที่มีเชื้อไป

การแพร่เชื้อ :

มีอยู่ด้วยกัน 2 ทาง คือ

  1. แพร่กระจายจากสัตว์พาหะ : หนูหรือหมัดหนูที่มีเชื้อ Yersinia pestis ไปกัดหนูตัวอื่นหรือไปกัดคน

  2. แพร่กระจายจากคนสู่คน : ผู้มีเชื้อ Yersinia pestis ได้แพร่เชื้อให้ลอยอยู่ในอากาศหรือติดตามสิ่งของเครื่องใช้จากการไอและจาม แล้วบุคคลอื่นได้รับเชื้อนั้นผ่านระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งการถ่ายเทเลือดและสารคัดหลั่งระหว่างผู้มีเชื้อกับบุคคลอื่น
การเกิดโรค :

เกิดขึ้นจากการได้รับเชื้อ Yersinia pestis โดยตรง และเป็นอาการแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
เชื้อ Yersinia pestis
เป็นเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดกาฬโรคปอด


ระยะฟักตัว :

เชื้อ Yersinia pestis มีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มปรากฏอาการของโรค

อาการ :

หลังพ้นระยะฟักตัวของเชื้อ Yersinia pestis แล้วจะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว โดยผู้ ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวรุนแรง เจ็บหน้าอก ไอ มีเสมหะตอนแรกเหนียวใสแล้วกลายเป็นสีสนิมหรือแดงสดเพราะเชื้อจะเข้าไปทำลาย ปอดโดยตรง แต่มักไม่พบปื้นแผลที่ปอด ปอดอักเสบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำ ช๊อคหมดสติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้ภายใน 48 ชั่วโมง

การวินิจฉัยโรค :

ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย ด้วยการนำเสมหะของผู้ป่วยมาย้อมสีกรัมและเพาะเชื้อในอาหารเพาะเลี้ยง เพื่อตรวจสอบว่าเป็นกาฬโรคปอด ไม่ใช่โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย Pneumococci หรือเชื้อตัวอื่น ซึ่งมีอาการเบื้องต้นใกล้เคียงกัน

การรักษา :

(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ของปอดที่หายไปข้างหนึ่งจากการเกิดโรคกาฬโรคปอด
รักษา ด้วยยาปฏิชีวนะชนิด Streptomycin, gentamicin, tetracyclines หรือ chloramphenicol และเพื่อให้ได้ผลที่ดีควรได้รับยาให้เร็วที่สุด หรือภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มแสดงอาการของโรค แต่ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว เช่น โรคปอด ถุงลมโป่งพอง หอบหืด จะยิ่งมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถหายได้เองหรือร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิต้านทาน ขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

การควบคุมโรค :

ผู้ป่วยต้องสวมหน้ากากอนามัยและต้องถูกแยกกักไว้ อย่างเข้มงวดมาก ส่วนผู้สัมผัสโรค บุคคลใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย จะต้องได้รับเคมีป้องกันและเฝ้าดูอาการเป็นเวลา 7 วัน นอกจากนั้นยังต้องทำรายงานให้องค์การอนามัยโลกได้ทราบข้อมูลอีกด้วย ส่วนในด้านสังคมต้องรณรงค์ให้ผู้คนทำความสะอาดบ้านเรือนและชุมชน กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู ใช้หน้ากากอนามัย ดูแลการกินการขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกาฬโรค

กาฬโรค (Plague) เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่เคยระบาดมาแล้วหลายครั้งในยุคกลาง (พ.ศ.1019-1996) จนคร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย และต่อมาในช่วง ปี พ.ศ.1891-1893 ก็เกิดการระบาดอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้งในทวีปยุโรป จนมีผู้คนล้มตายไปหลายสิบล้านคน หรือกว่าร้อยละ 25 ของประชากรในทวีปยุโรป ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร มีวิธีรักษาหรือป้องกันอย่างไร แต่ผู้ป่วยจะมีตุ่มสีดำขึ้นตามต่อมน้ำเหลืองทั่วลำตัวซึ่งเกิดจากต่อมน้ำ เหลืองอักเสบ จึงเรียกโรคนี้กันว่า Black Death หรือ มัจจุราชสีดำ แล้วเชื่อกันว่าเป็นโรคที่พระเจ้าส่งลงมาฆ่าคนที่ทำบาป จึงแห่กันไปทำพิธีไถ่บาปด้วยวิธีการต่างๆ นานา แต่ก็ไม่ได้ผล จนถึงกับต้องอพยพย้ายเมืองหนี ไม่เว้นแม้แต่สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ก็ยังต้องทรงย้ายจากพระราชวังในลอนดอนมาประทับอยู่ที่พระราชวังวินเซอร์ที่ นอกเมือง ในสมัยนั้นโรคนี้เป็นที่หวาดสะพรึงกลัวกันมากเพราะไม่มีวิธีการรักษาที่ถูก วิธี จนกระทั่งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยต้องถูกจับฆ่าเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ กระจาย ส่วนคนอื่นๆ ก็ปิดประตูเงียบอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น จนกระทั่งโรคค่อยๆ ระบาดน้อยลงและหยุดระบาดไปเอง แต่ก็ไม่ได้หายไปตลอดกาล เพราะเมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่สิบปีก็จะกลับมาระบาดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
ภาพวาดการระบาดของกาฬโรคในยุโรปเมื่อสมัยยุคกลาง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย
จน กระทั่งปี พ.ศ.2437 นักแบคทีเรียวิทยาชื่อ Yersin แห่งสถาบันปาสเตอร์ได้ค้นพบเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้จากผู้ป่วยในฮ่องกง เรียกเชื้อนี้ว่า Pasteurella pestis แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Yersin ผู้คนพบว่า Yersinia pestis เหมือนชื่อในปัจจุบัน และจากการศึกษาจึงได้ค้นพบว่าโรคนี้มีลักษณะอาการ 3 รูปแบบ คือ มีอาการต่อต่อมน้ำเหลือง (bubonic) มีอาการต่อเลือด (septicemic) และมีอาการต่อปอด (peneumonic) นำมาซึ่งการรักษาอย่างถูกวิธีเหมือนเช่นในปัจจุบัน จนทำให้กาฬโรคห่างหายไปจากโลกนี้เป็นเวลานาน ในประเทศไทยก็ไม่ปรากฏผู้ป่วยโรคนี้มาเป็นเวลานับ 10 ปีแล้ว กระทั่งกลับมามีข่าวครึกโครมกันอีกครั้ง เมื่อต้น เดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 ที่ได้พบผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคปอดจำนวน 2 ราย และผู้ป่วยอีก 10 ราย ในถิ่นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยชาวทิเบตที่เมืองจื่อเคอถาน มณฑลชิงไห่ ทางแถบทิวเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน จนทางการจีนต้องสั่งปิดเมืองและดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคอย่าง เร่งด่วน เพื่อไม่ให้กระจายออกสู่ภายนอกจนเกิดเป็นการระบาดครั้งใหญ่เช่นในอดีต





ที่มาข้อมูล : ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
http://en.wikipedia.org/wiki/Pneumonic_plague
หนังสือตำนานการระบาดของกาฬโรคในยุโรปยุคกลาง
 

https://www.myfirstbrain.com/Knowledge_View.aspx?Id=71350&Browsesub2s=1740
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thanks for visiting!  
http://www.parent-youth.net
http://ilaw.or.th
http://ww2.oja.go.th/home
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.projectlib.in.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.nstda.or.th/th
http://www.arda.or.th
http://www.nppdo.go.th
http://www.tlcthai.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.oknation.net/blog/assistance
http://weblogcamp2009.blogspot.com/